ก่อนอื่นเลย จากกระทู้ในตำนานครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ทำไมต้องมีเพลงสรรเสริญพระบารมี ก่อนการฉายภาพยนตร์
เห็นกระทู้ข้างล่างถาม ผมเลยช่วยหาความรู้ให้ครับ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ได้อ่านเจอมาอีกเช่นเดิมครับ สำหรับความเป็นมาถึงการเล่นเพลงสรรเสริญพระบารมี ก่อนการจัดฉายภาพยนตร์ โดยหัวหน้างานอนุรักษ์ภาพยนตร์ หอภาพยนตร์แห่งชาติ โดม สุขวงศ์ ให้ข้อมูลซึ่งเรียบเรียงจากรายการจดหมายเหตุกรุงศรี ว่า..
ธรรมเนียมการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ในประเทศไทย น่าจะมีมาแต่ครั้งรัชกาลที่ 5 เมื่อเริ่มมีการตั้งโรงภาพยนตร์แล้ว โดยเฉพาะโรงหนังญี่ปุ่นหลวง ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์ถาวรแห่งแรกในสยาม และเป็นโรงแรกที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประดับตราแผ่นดิน
ธรรมเนียมนี้อาจได้แบบอย่างมาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมืองสิงคโปร์ ซึ่งขณะนั้นอยู่ในปกครองของอังกฤษ มีการฉายพระบรมรูปพระราชินีอังกฤษและบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีคือเพลง "God Save the Queen-ก็อด เซฟ เดอะ ควีน" เมื่อจบรายการฉายภาพยนตร์ ให้ผู้ชมยืนถวายความเคารพ
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสชวา พ.ศ.2439 มีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์บรรจบกัน 2 ประการคือ ได้ทอดพระเนตรประดิษฐกรรมผลิตภาพยนตร์ที่พระตำหนักเฮอริเคนเฮาส์ เมืองสิงคโปร์ และการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญจักรพรรดิมาลาแก่ผู้แต่งทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมีถวาย ชื่อ นายยี.เอช.แวนสัชเตเลน ที่เมืองดยกชาการตา (ด-ยก-ชา-การตา) คือจาร์กาตาปัจจุบัน
เมื่อเสด็จกลับ โปรดเกล้าฯ นายเฮวุดเซน ครูแตรทหารมหาดเล็ก แต่งทำนองเพลงคำนับรับเสด็จอย่างเพลง God Save the Queen โดยพระราชทานทำนองเพลงที่นายแวนสัชเตเลนแต่งให้ นายเฮวุดเซนได้นำทำนองเพลงนั้นมาปรับปรุงเรียบเรียงขึ้นใหม่จนเป็นต้นเค้าของทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ใช้อยู่ โดยบทที่บรรเลงในปัจจุบัน สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์คำร้อง ส่วนทำนองประพันธ์โดย นายปโยตร์ สซูโรฟสกี้ ชาวรัสเซีย
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงแก้คำในวรรคสุดท้าย จาก "ดุจจะถวายชัย ฉะนี้" เป็น "ดุจจะถวายชัย ไชโย" และประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2456
เพลงสรรเสริญพระบารมีนี้เองที่ภายหลังเมื่อมีภาพยนตร์เข้ามาฉายในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนังเงียบ ต้องมีแตรวงหรือวงเครื่องสายผสมบรรเลงประกอบการฉาย วงดังกล่าวจึงได้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเพื่อถวายความเคารพเมื่อภาพยนตร์ฉายจบ โดยแรกๆ คงบรรเลงอย่างเดียว ต่อมาจึงฉายกระจกพระบรมรูปพระเจ้าแผ่นดินขึ้นบนจอด้วย ปฏิบัติเป็นธรรมเนียมทั่วทุกโรงภาพยนตร์ในสยาม โดยมิได้มีกฎหมายบังคับแต่อย่างใด และแม้เมื่อเปลี่ยนเป็นยุคภาพยนตร์เสียงในฟิล์มแล้ว โรงภาพยนตร์ทุกโรงยังคงฉายสไลด์พระบรมรูปและเปิดแผ่นเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี
สมัยต่อมามีการเปลี่ยนเป็นฉายพระบรมฉายาลักษณ์และเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมีก่อนการฉายภาพยนตร์ ก่อนค่อยๆ เปลี่ยนเป็นจัดทำเป็นภาพยนตร์พระราชกรณียกิจฉายประกอบเพลงซึ่งแต่ละโรงภาพยนต์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
จากคุณ : ซาตานน้อย - [ 11 ก.ค. 51 14:02:15 ]
มาถึงคำถาม ก็เข้าใจอยู่นะครับว่ามีไว้เพื่อรำลึก แต่ผมไม่เข้าใจว่าทำไม ไม่เอาออกครับ
จากบทความ ข้อแรก สมัยก่อนมีการอนุญาติให้ใช้ตรา รวมถึงช่วยออกงบ จึงรำลึก และขอบคุณด้วยเพลง
ข้อสอง ที่สิงคโปร์ตอนนี้เป็นยังไงครับ ไม่ทราบว่าได้มีการตัดออกไปหรือยังหลังจากเป็นเอกราช?
ข้อสาม จากบทความเหมือนจะไม่มีกฎหมายบังคับ อยากทราบว่าในเรื่องการเปิดเพลง ได้มีกฎหมายบังคับอยู่หรือไม่
จากความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ในเรื่องนี้ผมว่าควรเอาออกเถอะครับ เพราะในปัจจุบันโรงภาพยนตร์ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก โรงหนังสามารถเข้าถึงได้ง่าย คนที่ชอบดูหนังอย่างผม เห็นบ่อยๆ ความรู้สึกที่เคยมีก็กลายมาเป็นเฉยๆ เรื่องการยืนนั้น ไม่มีการบังคับ ก็....แหละครับ
ส่วนเรื่องความเหมาะสมไม่ต้องพูดถึงครับ ขอยกตัวอย่างในกรณีการโฆษณาของบริษัท เพื่อรักษาภาพลักษณ์จึงได้มีการถอดโฆษณาจากผู้ให้บริการวิดิโอออนไลน์ เพราะมีการนำมาฉายก่อนวิดีโอที่ไม่เหมาะสม
นั้นแหละครับ ในโรงภาพยนตร์ มีทั้งตัวอย่างหนัง โฆษณาอีกมากมาย การใช้ภาษาที่มีการยอมรับในเรื่องคำไม่สุภาพ และคำสบถ รวมไปถึงฉากของหนังเรท r+ ที่มีภาพขึ้นเรื่อยๆ และความรุนแรงของหนัง
ตัวอย่าง ผมเข้าโรงไป เจอโฆษณา เจอตัวอย่างหนัง เจอเพลงสรรเสริญฯ เจอหนังเรื่อง"จันดารา" นั้นแหละครับ
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของเวลา ขอเถอะครับ หนังเริ่มตั้งแต่ประมาณเที่ยงวัน ยันเที่ยงคืน เอาเถอะครับ
รวมๆก็ อยากให้ทางผู้ดำเนินโรงภาพยนตร์พิจารณาเรื่องนี้ อ๋อ ลืมไปครับ พึ่งนึกออก ขนาดเพลง**** ยังสามารถใช้หาเงินได้อยู่ครับ ได้ภาพลักษณ์ด้วย เพื่อจะนึกไม่ออก ..."ข้าพระพุทธเจ้า บริษัท..."
นั้นแหละครับ
รบกวนชี้แนะด้วยครับ
เคยสงสัยกันไหม ทำไมต้องมีเพลงสรรเสริญฯ ในโรงภาพยนตร์?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
มาถึงคำถาม ก็เข้าใจอยู่นะครับว่ามีไว้เพื่อรำลึก แต่ผมไม่เข้าใจว่าทำไม ไม่เอาออกครับ
จากบทความ ข้อแรก สมัยก่อนมีการอนุญาติให้ใช้ตรา รวมถึงช่วยออกงบ จึงรำลึก และขอบคุณด้วยเพลง
ข้อสอง ที่สิงคโปร์ตอนนี้เป็นยังไงครับ ไม่ทราบว่าได้มีการตัดออกไปหรือยังหลังจากเป็นเอกราช?
ข้อสาม จากบทความเหมือนจะไม่มีกฎหมายบังคับ อยากทราบว่าในเรื่องการเปิดเพลง ได้มีกฎหมายบังคับอยู่หรือไม่
จากความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ในเรื่องนี้ผมว่าควรเอาออกเถอะครับ เพราะในปัจจุบันโรงภาพยนตร์ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก โรงหนังสามารถเข้าถึงได้ง่าย คนที่ชอบดูหนังอย่างผม เห็นบ่อยๆ ความรู้สึกที่เคยมีก็กลายมาเป็นเฉยๆ เรื่องการยืนนั้น ไม่มีการบังคับ ก็....แหละครับ
ส่วนเรื่องความเหมาะสมไม่ต้องพูดถึงครับ ขอยกตัวอย่างในกรณีการโฆษณาของบริษัท เพื่อรักษาภาพลักษณ์จึงได้มีการถอดโฆษณาจากผู้ให้บริการวิดิโอออนไลน์ เพราะมีการนำมาฉายก่อนวิดีโอที่ไม่เหมาะสม
นั้นแหละครับ ในโรงภาพยนตร์ มีทั้งตัวอย่างหนัง โฆษณาอีกมากมาย การใช้ภาษาที่มีการยอมรับในเรื่องคำไม่สุภาพ และคำสบถ รวมไปถึงฉากของหนังเรท r+ ที่มีภาพขึ้นเรื่อยๆ และความรุนแรงของหนัง
ตัวอย่าง ผมเข้าโรงไป เจอโฆษณา เจอตัวอย่างหนัง เจอเพลงสรรเสริญฯ เจอหนังเรื่อง"จันดารา" นั้นแหละครับ
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของเวลา ขอเถอะครับ หนังเริ่มตั้งแต่ประมาณเที่ยงวัน ยันเที่ยงคืน เอาเถอะครับ
รวมๆก็ อยากให้ทางผู้ดำเนินโรงภาพยนตร์พิจารณาเรื่องนี้ อ๋อ ลืมไปครับ พึ่งนึกออก ขนาดเพลง**** ยังสามารถใช้หาเงินได้อยู่ครับ ได้ภาพลักษณ์ด้วย เพื่อจะนึกไม่ออก ..."ข้าพระพุทธเจ้า บริษัท..."
นั้นแหละครับ
รบกวนชี้แนะด้วยครับ