คณะสถาปัตย์ของแต่ละมหาลัยต่างกันยังไงบ้าง

ตอนนี้ จขกท.อยู่มฬปลายค่ะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ กำลังจะเข้ามหาลัยและส่วนตัวตอนนี้มีความสนใจที่จะเรียนสถาปัตย์ แต่คือก็ยังไม่รู้ว่าอยากเรียนสาขาอะไรนะคะแต่ที่พอรู้จักก็มีพวกอินทีเรียอะไรประมาณนี้ คืออยากทราบว่าคณะสถาปัตย์ของแต่ละมหาลัยมีข้อแต่ต่างกันอย่างไรบ้าง ถ้าอยากเรียนสาขานี้ๆต้องเข้ามหาลัยอะไร คือพูดง่ายๆว่าอยากรู้ภาพรวมของแต่ละมหาลัยเลยก็ว่าได้อะค่ะ ใครพอมีความรู้หรือประสบการณ์การณ์ทางด้านนี้ช่วยตอบทีนะคะ ต้องการคำตอบจริงๆ ขอบคุณไว้ก่อนค่ะ อิอิ ปล. ไม่ดราม่าเนอะะ5555555555
**ละก็ขออีกคำถามนึงคือ การจะสอบเข้าสถาปัตย์เนี่ยมีช่องทางกี่ช่องทางอะไรยังไงบ้าง วิชาที่ใช้สอบมีอะไรบ้าง (จะได้ตั้งใจเรียนเป็นพิเศษ) ละก็คำถามสุดท้าย สถาปัตย์ต้องใช้ฟิสิกส์มากน้อยแค่ไหน ขอบคุณค่ะะ

***ปล. ไม่ดราม่าเนอะะ5555555555
:เพี้ยนกินมาม่า:]

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
พี่เรียนที่ธรรมศาสตร์อ่ะ จะพูดถึงของแต่ธรรมศาสตร์ละกันเนอะ
1.สถ.มธ. หรือคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมืองธรรมศาสตร์นี้จะมีทั้งหมด 7 สาขามีภาคไทย 5สาขา และก็ภาคอินเตอร์ 2 สาขา
ภาคไทยก็จะมี สถาปัตย์หลัก(AR) สถาปัตย์ภายใน (IA) สถาปัตย์อสังหา(RD) ผังเมือง(UP) และก็แลนด์สเคป(LN)
ส่วนภาคอินเตอร์ก็มี DBTMกับUDDI ก็จะเป็นออกแบบผลิตภัณฑ์กับผังเมือง
2.การสอบเข้าของมธ.หลักๆก็จะมีแบบรับตรง,แอดมิชชั่น,โครงการพิเศษ(อาสา) แต่สำหรับน้องปี61พี่ไม่แน่ใจนะว่าจะมีการปรับเปลี่ยนการสอบเข้าอะไรหรือเปล่า(ลองติดตามข่าวตามเว็บคณะหรือเพจเฟสบุ๊คของคณะเอานะ)วิชาที่สอบเข้าก็ขึ้นอยู่กับว่าน้องจะสอบเข้าแบบไหน แต่โดยหลักๆรอบรับตรงก็จะมีการสเก๊ตดีไซด์ ภาพperpective ฟิสิกส์ ส่วนรอบแอดก็จะมี 0-net,pat4,gat
3.เรื่องหลักฟิสิกส์ พี่ไม่แน่ใจนะว่าสถาปัตย์เราเรียนลึกเท่าวิศวะหรือเปล่า แต่คือการจะออกแบบบ้านหรือสถาปัตยกรรมอื่นๆได้นั้นเราต้องรู้หลักฟิสิกอ่ะ คือเราจะได้เรียนในระดับที่เอาไปไว้ใช้คำนวนว่าโครงสร้างเป็นแบบนี้สามารถสร้างได้นะ สามารถรองรับได้ไม่ใช่พอสร้างแล้วตึกถล่ม ยังไงฟิสิกส์มันก็เป็นเรื่องใกล้ตัวนะ ตั้งใจเรียนฟิสืกส์ไว้ก็ดี แต่บางสาขาก็ไม่มีเรียนฟิสิกส์นะ เพราะการทำงานจริงๆบางสาขามันไม่ต้องใช้อ่ะ
ปล.สงสัยไรถามพี่ได้นะ จริงๆช่วงเปิดเทอมหรือไฟนอลพี่ๆเขาไม่ค่อยว่างมาตอบกันอ่า ส่วนใหญ่มันมีโปรเจคหรืองานที่ต้องทำส่งตลอดเวลา ยิ้ม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่