What Does It Take for a K-Pop Band to Blow Up in South America?
By
JEFF BENJAMIN
หากคุณได้ชมรายการข่าวเช้าของชิลีเมื่อวันศุกร์หนึ่งของเดือนที่ผ่านมา คุณจะพบกับเรื่องที่น่าแปลกใจ อย่างการถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ในชื่อว่า K-pop(If you were watching Chilean TV on a Friday morning last month, you might have encountered a surprising scene: the interruption of a newscast in the name of pop coreano.)
ผู้สื่อข่าวชาวชิลีรายงานจากด้านในท่าอากาศยานนานาชาติซานติอาโก พยายามอย่างยิ่งเพื่อที่จะได้ภาพของ BTS หนึ่งในวงเคป๊อปที่โด่งดังที่สุดตอนนี้ที่เดินทางมาถึงประเทศชิลีเพื่อขึ้นแสดงคอนเสิร์ต 2 รอบ ที่ Movistar Arena ในวันที่ 11 และ 12 มีนาคมที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวสาวรายนั้นไม่มีโอกาสเข้าไปสัมภาษณ์หนุ่ม ๆ แต่ช่างภาพของเธอก็สามารถเก็บภาพคณะของ BTS ที่กำลังเดินผ่านแฟน ๆ ที่กำลังกรี๊ดร้อง และถือป้ายเชียร์พวกเขาไว้ได้ ผู้สื่อข่าวสัมภาษณ์แฟนคลับหญิงคนหนึ่งว่านี่มันคุ้มกันมั้ยกับการรอคอย แฟนคลับรายนั้นตอบกลับมาด้วยเสียงสั่นเครือและน้ำตาแห่งความสุข "มันคุ้มค่ากับการรอคอยมาตลอดทั้งคืนค่ะ"
ภาพประกอบโดย Daniel Salmieri
กระแสความนิยมของเคป๊อปขยายตัวไปทั่วโลกประหนึ่งลมพายุ แต่สำหรับที่ชิลีนั้นมันเป็นชัยชนะที่แตกต่างออกไป ที่ผ่านมาสถานีวิทยุในชิลีไม่เคยให้ความสนใจ/ไม่เคยเล่นเพลงจากศิลปินเคป๊อป ดนตรีจากนอกประเทศที่เป็นที่นิยมในหมู่คนฟังเพลงชาวชิลีมีความโน้มเอียงเข้ากับสไตล์ละตินอเมริกัน ทั้งแนว Reggaeton และ Hip-Hop รวมถึงเพลงป๊อปแบบอเมริกัน รวมถึงในประเทศชิลีเองก็มีศิลปินชื่อดังจำนวนมาก อย่าง Mon Laferte(ศิลปินหญิงที่โด่งดังด้วยดนตรีแนวทดลอง ที่ผสมผสานระหว่างแนวบลูส์และอิเลคทรอนิคร็อค), Camila Moreno(นักร้อง-นักแต่งเพลงแนวอัลเทอร์เนทีฟพ็อพ) และ Gepe(ศิลปินแนวนิวเอจที่ได้แรงบันดาลใจจากดนตรีพื้นเมืองของแอนดีสแบบยุค '60s - '70s ผสมผสานกับดนตรีอิเลคโทรนิคพ็อพ)
ดังนั้น BTS และศิลปินเคป๊อปอื่น ๆ จึงต้องใช้ช่องทางผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการเข้าถึงผู้ฟังในชิลี หนึ่งในจุดเริ่มต้นสำคัญของกระแสเคป๊อปในชิลี คือ Coca-Cola FM สถานีวิทยุออนไลน์ของบริษัทเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ ชื่อนี้อาจไม่เป็นที่รู้จักนักในอเมริกา แต่สำหรับที่ชิลีมันเป็นวิทยุออนไลน์ที่โด่งดัง ในแต่ละวันจะมีผู้ฟังถึง 4 หมื่นคน และในทุกวันศุกร์ก็จะมีรายการเพลงเคป๊อปที่จัดโดย Rodrigo Gallina ดีเจชาวชิลี โซเชี่ยลมีเดียเองก็มีบทบาทอย่างมากเช่นกัน BTS มีผู้ติดตามทางทวิตเตอร์มากกว่า 5 ล้านบัญชี ติดอันดับ 1 บนชาร์ต Billboard’s Social 50 นานถึง 22 สัปดาห์ โดยชาร์ตนี้เก็บข้อมูลทั้งจากความนิยมบนโลกออนไลน์และเพลงที่ถูกเล่นจากแฟน ๆ ตลอดสัปดาห์ ในกลุ่มแฟนคลับของ BTS ในชิลีก็มีแฟนที่ทุ่มเทแปลข่าวที่เกี่ยวกับ BTS หรือแปลข้อความจาก BTS มาเป็นภาษาสเปนเพื่อแฟน ๆ ในประเทศ แฟนชาวชิลีบางคนก็เลือกที่จะติดตาม BTS ผ่านทาง V app แอพพลิเคชั่นสัญชาติเกาหลีที่เปิดโอกาสให้ศิลปินแต่ละวงได้ถ่ายทอดสดพูดคุยกับแฟน ๆ จากทั่วโลกได้ ซึ่ง BTS มีผู้ติดตามใน V app มากกว่า 4.7 ล้านบัญชี
ความนิยมในโลกออนไลน์ของ BTS ทำให้ผู้จัดคอนเสิร์ตในชิลีไม่จำเป็นต้องโปรโมทคอนเสิร์ตผ่านช่องทางสื่อเก่า(โทรทัศน์/สิ่งพิมพ์) แฟน ๆ จำนวนมากพากันมาปักหลักรอหน้าจุดจำหน่ายตั๋วคอนเสิร์ต ก่อนหน้าที่จะมีการเปิดขายจริงถึงเกือบ 1 สัปดาห์ ตั๋วสำหรับ 1 รอบการแสดง จำนวน 12,500 ใบ ที่มีราคาตั้งแต่ 38 ดอลล่าร์สหรัฐ ถึง 212 ดอลล่าร์สหรัฐ ทำสถิติขายหมดเกลี้ยงภายในเวลาเพียง 2 ชั่วโมง Gonzalo Garcia ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง NoiX Productions ผู้จัดคอนเสิร์ตที่นำศิลปินเอเชียมาเปิดการแสดงในชิลีและในภูมิภาคอเมริกาใต้ เปิดเผยกับสื่อว่าด้วยความเร็วในการขายตั๋วคอนเสิร์ต พวกเขาตัดสินใจเริ่มเตรียมการสำหรับการเพิ่มรอบการแสดงที่ 2 ทันที และ NoiX ได้ลงโฆษณาเพื่อขอบคุณแฟน ๆ ของ BTS ที่ซื้อตั๋วเข้าชมการแสดงบนหนังสือพิมพ์รายวัน La Tercera เป็นเวลา 8 วันอีกด้วย
วงบอยแบนด์ระดับโลกอย่าง The Backstreet Boys, One Direction และ The Jonas Brothers ต่างก็เคยมาเปิดการแสดงที่ชิลีกันมาทั้งนั้น แต่สำหรับการแสดงของวงบอยแบนด์จากเกาหลีใต้ที่กำลังสร้างปรากฏการณ์อยู่ในตอนนี้เพิ่งเริ่มมาบุกตลาดชิลีเมื่อปี 2012 เป็นต้นมานี้เอง ก่อนคอนเสิร์ตเมื่อเดือนก่อน BTS เคยมาเปิดการแสดงที่ชิลีมาแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม 2015 ในตอนนั้นผู้จัดจองที่นั่งใน Movistar Arena ไว้เพียงครึ่งหนึ่งของความจุเท่านั้น แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือนความนิยมของ BTS กลับพุ่งสูงขึ้นมาก อัลบั้ม Wings กลายเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในเกาหลีใต้ประจำปี 2016 แฟน ๆ ทั่วโลกก็เหมือนจะต่อกันติดกับเพลงที่สละสลวยมากขึ้นและเนื้อเพลงที่เปี่ยมไปด้วยความหวัง Rap Monster เคยพูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “ในเพลงของพวกเรานั้น พวกเราพยายามพูดถึงเรื่องราวของความสับสนและปัญหาที่อยู่อยู่ในจิตใจของเราอย่างตรงไปตรงมาที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงว่าปัญหาพวกนี้มันเติบโตไปพร้อมกับพวกเราอย่างไร พวกเราเชื่อว่าแฟน ๆ ชาวชิลีสามารถเข้าถึงเรื่องราวเหล่านี้ได้ บางทีอาจจะลึกซึ้งมากกว่าแฟน ๆ ที่อื่นก็เป็นได้”
The band’s delighted handlers struggle ในการหามาตรวัดที่เหมาะสม ที่จะชี้ถึงการขยายตัวของความนิยมของ BTS ในชิลี แน่นอน หนึ่งในมาตรวัดนั้นคือเงิน Garcia เปิดเผยว่าสามารถทำรายได้จากการขายตั๋วเข้าชมคอนเสิร์ตทั้ง 2 รอบไปได้มากกว่า 2 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งนี่ยังไม่รวมรายได้จากการขายสินค้าที่ระลึกจากคอนเสิร์ต สำหรับต้นสังกัดของ BTS อย่าง Big Hit Entertainment ตัวชี้วัดที่โดดเด่นที่สุดสำหรับพวกเขาคือการมีส่วนร่วมของแฟน ๆ ในโลกออนไลน์ Yandi Park ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจการแสดงของ Big Hit เปิดเผยว่าพวกเขาคอยตรวจสอบสถิติต่าง ๆ บนช่องทางต่าง ๆ ของโซเชี่ยลมีเดีย เพื่อเช็คขนาดของฐานแฟนคลับในแต่ละประเทศ เขาบอกอีกว่า “พวกเราคาดหวังว่าตั๋วจะขายดี เพราะทางผู้จัดเองก็มั่นใจว่าอย่างนั้น แต่เราไม่ได้หวังว่ามันจะขายดีจนหมดเกลี้ยงภายในไม่กี่นาทีแบบนี้” นอกจากนี้ยังมีตัวชี้วัดอื่นที่สะท้อนถึงความนิยมของเคป๊อปในประเทศชิลีอีก เช่น กลุ่มแฟนคลับจำนวนหลายพันคนที่ออกมารวมตัวกันซ้อมเต้นเพลงของศิลปินเคป๊อป ตามพื้นที่สาธารณะหรือตามสวนสาธารณะทั่วประเทศ
อีกหนึ่งตัวชี้วัดที่น่าประทับใจและน่าตกใจไปในเวลาเดียวกัน ก็คือเสียงกรี๊ดของแฟน ๆ ทาง Movistar Arena บอกกับผู้จัดคอนเสิร์ตว่าเสียงกรี๊ดจากแฟน ๆ ที่เข้าชมคอนเสิร์ตของ BTS ในช่วงที่บนเวทีไม่ได้มีการแสดงอยู่นั้น มีความดังวัดได้ถึง 127 เดซิเบล ซึ่งเป็นระดับความดังที่อาจทำลายประสาทหูบางส่วนได้ ทางผู้จัดคอนเสิร์ตประกาศสถิตินี้ด้วยความภูมิใจว่านี่เป็นเสียง(กรี๊ด)ที่ดังที่สุดที่เคยถูกบันทึกไว้ได้ที่อารีน่าแห่งนี้
แปล-เรียบเรียง
@mhonism //
http://www.mhonism.com
[K-POP][แปลบทความ] New York Times Magazine: ความสำเร็จของ BTS ในชิลี
By JEFF BENJAMIN
หากคุณได้ชมรายการข่าวเช้าของชิลีเมื่อวันศุกร์หนึ่งของเดือนที่ผ่านมา คุณจะพบกับเรื่องที่น่าแปลกใจ อย่างการถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ในชื่อว่า K-pop(If you were watching Chilean TV on a Friday morning last month, you might have encountered a surprising scene: the interruption of a newscast in the name of pop coreano.)
ผู้สื่อข่าวชาวชิลีรายงานจากด้านในท่าอากาศยานนานาชาติซานติอาโก พยายามอย่างยิ่งเพื่อที่จะได้ภาพของ BTS หนึ่งในวงเคป๊อปที่โด่งดังที่สุดตอนนี้ที่เดินทางมาถึงประเทศชิลีเพื่อขึ้นแสดงคอนเสิร์ต 2 รอบ ที่ Movistar Arena ในวันที่ 11 และ 12 มีนาคมที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวสาวรายนั้นไม่มีโอกาสเข้าไปสัมภาษณ์หนุ่ม ๆ แต่ช่างภาพของเธอก็สามารถเก็บภาพคณะของ BTS ที่กำลังเดินผ่านแฟน ๆ ที่กำลังกรี๊ดร้อง และถือป้ายเชียร์พวกเขาไว้ได้ ผู้สื่อข่าวสัมภาษณ์แฟนคลับหญิงคนหนึ่งว่านี่มันคุ้มกันมั้ยกับการรอคอย แฟนคลับรายนั้นตอบกลับมาด้วยเสียงสั่นเครือและน้ำตาแห่งความสุข "มันคุ้มค่ากับการรอคอยมาตลอดทั้งคืนค่ะ"
ภาพประกอบโดย Daniel Salmieri
กระแสความนิยมของเคป๊อปขยายตัวไปทั่วโลกประหนึ่งลมพายุ แต่สำหรับที่ชิลีนั้นมันเป็นชัยชนะที่แตกต่างออกไป ที่ผ่านมาสถานีวิทยุในชิลีไม่เคยให้ความสนใจ/ไม่เคยเล่นเพลงจากศิลปินเคป๊อป ดนตรีจากนอกประเทศที่เป็นที่นิยมในหมู่คนฟังเพลงชาวชิลีมีความโน้มเอียงเข้ากับสไตล์ละตินอเมริกัน ทั้งแนว Reggaeton และ Hip-Hop รวมถึงเพลงป๊อปแบบอเมริกัน รวมถึงในประเทศชิลีเองก็มีศิลปินชื่อดังจำนวนมาก อย่าง Mon Laferte(ศิลปินหญิงที่โด่งดังด้วยดนตรีแนวทดลอง ที่ผสมผสานระหว่างแนวบลูส์และอิเลคทรอนิคร็อค), Camila Moreno(นักร้อง-นักแต่งเพลงแนวอัลเทอร์เนทีฟพ็อพ) และ Gepe(ศิลปินแนวนิวเอจที่ได้แรงบันดาลใจจากดนตรีพื้นเมืองของแอนดีสแบบยุค '60s - '70s ผสมผสานกับดนตรีอิเลคโทรนิคพ็อพ)
ดังนั้น BTS และศิลปินเคป๊อปอื่น ๆ จึงต้องใช้ช่องทางผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการเข้าถึงผู้ฟังในชิลี หนึ่งในจุดเริ่มต้นสำคัญของกระแสเคป๊อปในชิลี คือ Coca-Cola FM สถานีวิทยุออนไลน์ของบริษัทเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ ชื่อนี้อาจไม่เป็นที่รู้จักนักในอเมริกา แต่สำหรับที่ชิลีมันเป็นวิทยุออนไลน์ที่โด่งดัง ในแต่ละวันจะมีผู้ฟังถึง 4 หมื่นคน และในทุกวันศุกร์ก็จะมีรายการเพลงเคป๊อปที่จัดโดย Rodrigo Gallina ดีเจชาวชิลี โซเชี่ยลมีเดียเองก็มีบทบาทอย่างมากเช่นกัน BTS มีผู้ติดตามทางทวิตเตอร์มากกว่า 5 ล้านบัญชี ติดอันดับ 1 บนชาร์ต Billboard’s Social 50 นานถึง 22 สัปดาห์ โดยชาร์ตนี้เก็บข้อมูลทั้งจากความนิยมบนโลกออนไลน์และเพลงที่ถูกเล่นจากแฟน ๆ ตลอดสัปดาห์ ในกลุ่มแฟนคลับของ BTS ในชิลีก็มีแฟนที่ทุ่มเทแปลข่าวที่เกี่ยวกับ BTS หรือแปลข้อความจาก BTS มาเป็นภาษาสเปนเพื่อแฟน ๆ ในประเทศ แฟนชาวชิลีบางคนก็เลือกที่จะติดตาม BTS ผ่านทาง V app แอพพลิเคชั่นสัญชาติเกาหลีที่เปิดโอกาสให้ศิลปินแต่ละวงได้ถ่ายทอดสดพูดคุยกับแฟน ๆ จากทั่วโลกได้ ซึ่ง BTS มีผู้ติดตามใน V app มากกว่า 4.7 ล้านบัญชี
ความนิยมในโลกออนไลน์ของ BTS ทำให้ผู้จัดคอนเสิร์ตในชิลีไม่จำเป็นต้องโปรโมทคอนเสิร์ตผ่านช่องทางสื่อเก่า(โทรทัศน์/สิ่งพิมพ์) แฟน ๆ จำนวนมากพากันมาปักหลักรอหน้าจุดจำหน่ายตั๋วคอนเสิร์ต ก่อนหน้าที่จะมีการเปิดขายจริงถึงเกือบ 1 สัปดาห์ ตั๋วสำหรับ 1 รอบการแสดง จำนวน 12,500 ใบ ที่มีราคาตั้งแต่ 38 ดอลล่าร์สหรัฐ ถึง 212 ดอลล่าร์สหรัฐ ทำสถิติขายหมดเกลี้ยงภายในเวลาเพียง 2 ชั่วโมง Gonzalo Garcia ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง NoiX Productions ผู้จัดคอนเสิร์ตที่นำศิลปินเอเชียมาเปิดการแสดงในชิลีและในภูมิภาคอเมริกาใต้ เปิดเผยกับสื่อว่าด้วยความเร็วในการขายตั๋วคอนเสิร์ต พวกเขาตัดสินใจเริ่มเตรียมการสำหรับการเพิ่มรอบการแสดงที่ 2 ทันที และ NoiX ได้ลงโฆษณาเพื่อขอบคุณแฟน ๆ ของ BTS ที่ซื้อตั๋วเข้าชมการแสดงบนหนังสือพิมพ์รายวัน La Tercera เป็นเวลา 8 วันอีกด้วย
วงบอยแบนด์ระดับโลกอย่าง The Backstreet Boys, One Direction และ The Jonas Brothers ต่างก็เคยมาเปิดการแสดงที่ชิลีกันมาทั้งนั้น แต่สำหรับการแสดงของวงบอยแบนด์จากเกาหลีใต้ที่กำลังสร้างปรากฏการณ์อยู่ในตอนนี้เพิ่งเริ่มมาบุกตลาดชิลีเมื่อปี 2012 เป็นต้นมานี้เอง ก่อนคอนเสิร์ตเมื่อเดือนก่อน BTS เคยมาเปิดการแสดงที่ชิลีมาแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม 2015 ในตอนนั้นผู้จัดจองที่นั่งใน Movistar Arena ไว้เพียงครึ่งหนึ่งของความจุเท่านั้น แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือนความนิยมของ BTS กลับพุ่งสูงขึ้นมาก อัลบั้ม Wings กลายเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในเกาหลีใต้ประจำปี 2016 แฟน ๆ ทั่วโลกก็เหมือนจะต่อกันติดกับเพลงที่สละสลวยมากขึ้นและเนื้อเพลงที่เปี่ยมไปด้วยความหวัง Rap Monster เคยพูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “ในเพลงของพวกเรานั้น พวกเราพยายามพูดถึงเรื่องราวของความสับสนและปัญหาที่อยู่อยู่ในจิตใจของเราอย่างตรงไปตรงมาที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงว่าปัญหาพวกนี้มันเติบโตไปพร้อมกับพวกเราอย่างไร พวกเราเชื่อว่าแฟน ๆ ชาวชิลีสามารถเข้าถึงเรื่องราวเหล่านี้ได้ บางทีอาจจะลึกซึ้งมากกว่าแฟน ๆ ที่อื่นก็เป็นได้”
The band’s delighted handlers struggle ในการหามาตรวัดที่เหมาะสม ที่จะชี้ถึงการขยายตัวของความนิยมของ BTS ในชิลี แน่นอน หนึ่งในมาตรวัดนั้นคือเงิน Garcia เปิดเผยว่าสามารถทำรายได้จากการขายตั๋วเข้าชมคอนเสิร์ตทั้ง 2 รอบไปได้มากกว่า 2 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งนี่ยังไม่รวมรายได้จากการขายสินค้าที่ระลึกจากคอนเสิร์ต สำหรับต้นสังกัดของ BTS อย่าง Big Hit Entertainment ตัวชี้วัดที่โดดเด่นที่สุดสำหรับพวกเขาคือการมีส่วนร่วมของแฟน ๆ ในโลกออนไลน์ Yandi Park ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจการแสดงของ Big Hit เปิดเผยว่าพวกเขาคอยตรวจสอบสถิติต่าง ๆ บนช่องทางต่าง ๆ ของโซเชี่ยลมีเดีย เพื่อเช็คขนาดของฐานแฟนคลับในแต่ละประเทศ เขาบอกอีกว่า “พวกเราคาดหวังว่าตั๋วจะขายดี เพราะทางผู้จัดเองก็มั่นใจว่าอย่างนั้น แต่เราไม่ได้หวังว่ามันจะขายดีจนหมดเกลี้ยงภายในไม่กี่นาทีแบบนี้” นอกจากนี้ยังมีตัวชี้วัดอื่นที่สะท้อนถึงความนิยมของเคป๊อปในประเทศชิลีอีก เช่น กลุ่มแฟนคลับจำนวนหลายพันคนที่ออกมารวมตัวกันซ้อมเต้นเพลงของศิลปินเคป๊อป ตามพื้นที่สาธารณะหรือตามสวนสาธารณะทั่วประเทศ
อีกหนึ่งตัวชี้วัดที่น่าประทับใจและน่าตกใจไปในเวลาเดียวกัน ก็คือเสียงกรี๊ดของแฟน ๆ ทาง Movistar Arena บอกกับผู้จัดคอนเสิร์ตว่าเสียงกรี๊ดจากแฟน ๆ ที่เข้าชมคอนเสิร์ตของ BTS ในช่วงที่บนเวทีไม่ได้มีการแสดงอยู่นั้น มีความดังวัดได้ถึง 127 เดซิเบล ซึ่งเป็นระดับความดังที่อาจทำลายประสาทหูบางส่วนได้ ทางผู้จัดคอนเสิร์ตประกาศสถิตินี้ด้วยความภูมิใจว่านี่เป็นเสียง(กรี๊ด)ที่ดังที่สุดที่เคยถูกบันทึกไว้ได้ที่อารีน่าแห่งนี้
แปล-เรียบเรียง @mhonism // http://www.mhonism.com