สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
แตกประเด็นที่หก จุดที่ยากที่สุดของการก้าวผ่านความผิดพลาด คือการ “ยอมรับ” ว่าตัวเอง “ผิดพลาด”
หนังแตะประเด็นความรู้สึกของลินและแบงก์ที่เป็นเด็กชนชั้นกลาง เรียนดี แต่ ‘รู้สึก’ โดนเอาเปรียบจากหลายๆสิ่งหลายๆอย่างในชีวิต พล็อตเรื่องเล่าไปถึงการถูกตัดโอกาสของแบงก์ ที่มีน้ำหนักมากพอจะทำให้คนๆหนึ่งเข้าสู่ด้านมืดที่แท้ทรู แบงก์กลายเป็นโลภ อยากโกงข้อสอบอีกครั้งหลังจากได้แตะเงินล้าน จะเห็นได้จากความโลภที่มากขึ้นตั้งแต่ฉากการบีบบังคับเพื่อขอเงินเพิ่ม ฉากการเปลี่ยนร้านใหม่ของแบงก์ โอเค คือมันมีเหตุผลที่ทำให้แบงค์เลวอ่ะครับ ทั้งโดนตัดโอกาส ทั้งการเป็นคนดีในสังคมปลอมเปลือก
....แต่สุดท้ายมนุษย์ก็คือมนุษย์
ต่อให้มีเหตุผลมากมายแค่ไหนผลักดันให้เราเป็นคนเลว
สุดท้ายคนที่เลือกว่าจะเลวหรือไม่ก็คือตัวเราเองอยู่ดี
ไม่ว่าจะเป็นลินที่ทำทุกอย่างเพราะเงินผลักดันแม้จุดเริ่มต้นจะมาจากความรู้สึกที่เหมือน “โดนโกง” จนทำให้เริ่มต้นการทุจริตให้กับเกรซ
เกรซและพัฒน์ที่คิดว่าเงินจะช่วยสร้างทุกอย่างได้ ตีค่าความสัมพันธ์เป็นเรื่องของเงินตรา
แม้กระทั้งตัวแบงก์เองที่พล็อตมันพาให้เลว แต่สุดท้ายก็เป็นคนเลือกทางที่เลวร้ายที่สุดเองในตอนจบ
เราเลือกไม่ได้ครับว่าเราจะเจอคนทำเลวใส่เราตอนไหน เจอคนที่มีตรรกะแปลกๆแบบพัทและคนอื่นๆเมื่อไหร่ หรือเจอสังคมที่บีบคั้นเรามากขนาดไหนแต่สุดท้ายแล้วแบงก์คือคนที่ตัดสินใจเลือกเองนะครับว่าจะโกงข้อสอบ แม้จะมีเหตุและปัจจัยจากการถูกตัดโอกาส แต่การที่เราโดนทำชั่วใส่มามาไม่ได้แปลว่าจะเป็นเหตุผลที่มากพอให้เราทำชั่วนะครับ
แต่เรา "เลือก" ได้นิครับว่าเราจะทำอะไร
การที่เห็นคนอื่นเลว ใช่ว่าเราต้องเลวตามซะหน่อย
ในขนาดที่ลินย้อนกลับไปสู่จุดที่ยากที่สุดในการก้าวพ้นความผิดพลาดมันคือเรื่องของการ “ยอมรับ” ครับ
ไม่ว่าใครก็เคยผิดพลาด ไม่ว่าใครก็เคยทำเรื่องที่เลวร้าย
การกล่าวผ่านความผิดพลาด คือการเรียนรู้และยอมรับถึงความผิดพลาดของตัวเอง ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ถึงสิ่งที่ได้กระทำลงไปแล้ว
ไม่มีใครแก้ไขอดีตได้ ไม่ว่าผมหรือคุณ
เราล้วนแต่เป็นผลผลิตที่เคยผิดพลาด เราล้วนแต่มีความหลัง
แต่สุดท้ายแล้ว เราต้องเรียนรู้ถึงการไม่กลับไปทำซ้ำใหม่
การยอมรับว่าตัวเองผิดพลาด จึงเป็นสิ่งที่ยากมากที่สุดเท่าที่คนๆหนึ่งจะทำได้ และเป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวผ่านมันไป
ดังนั้นแล้ว ตัวคุณเองนั้นแหละ ที่ต้องเป็นคน”รับ”ทั้ง “ผิด” และ “ชอบ” จากการกระทำของตัวเอง
เพราะสุดท้ายแล้วไม่ว่าโลกทั้งใบจะบีบบังคับเรามากแค่ไหน
คุณ...คือคนที่เป็นคนเลือกทางเดินและการตัดสินใจเป็นของตัวเอง
แตกประเด็นที่หก จุดที่ยากที่สุดของการก้าวผ่านความผิดพลาด คือการ “ยอมรับ” ว่าตัวเอง “ผิดพลาด”
หนังแตะประเด็นความรู้สึกของลินและแบงก์ที่เป็นเด็กชนชั้นกลาง เรียนดี แต่ ‘รู้สึก’ โดนเอาเปรียบจากหลายๆสิ่งหลายๆอย่างในชีวิต พล็อตเรื่องเล่าไปถึงการถูกตัดโอกาสของแบงก์ ที่มีน้ำหนักมากพอจะทำให้คนๆหนึ่งเข้าสู่ด้านมืดที่แท้ทรู แบงก์กลายเป็นโลภ อยากโกงข้อสอบอีกครั้งหลังจากได้แตะเงินล้าน จะเห็นได้จากความโลภที่มากขึ้นตั้งแต่ฉากการบีบบังคับเพื่อขอเงินเพิ่ม ฉากการเปลี่ยนร้านใหม่ของแบงก์ โอเค คือมันมีเหตุผลที่ทำให้แบงค์เลวอ่ะครับ ทั้งโดนตัดโอกาส ทั้งการเป็นคนดีในสังคมปลอมเปลือก
....แต่สุดท้ายมนุษย์ก็คือมนุษย์
ต่อให้มีเหตุผลมากมายแค่ไหนผลักดันให้เราเป็นคนเลว
สุดท้ายคนที่เลือกว่าจะเลวหรือไม่ก็คือตัวเราเองอยู่ดี
ไม่ว่าจะเป็นลินที่ทำทุกอย่างเพราะเงินผลักดันแม้จุดเริ่มต้นจะมาจากความรู้สึกที่เหมือน “โดนโกง” จนทำให้เริ่มต้นการทุจริตให้กับเกรซ
เกรซและพัฒน์ที่คิดว่าเงินจะช่วยสร้างทุกอย่างได้ ตีค่าความสัมพันธ์เป็นเรื่องของเงินตรา
แม้กระทั้งตัวแบงก์เองที่พล็อตมันพาให้เลว แต่สุดท้ายก็เป็นคนเลือกทางที่เลวร้ายที่สุดเองในตอนจบ
เราเลือกไม่ได้ครับว่าเราจะเจอคนทำเลวใส่เราตอนไหน เจอคนที่มีตรรกะแปลกๆแบบพัทและคนอื่นๆเมื่อไหร่ หรือเจอสังคมที่บีบคั้นเรามากขนาดไหนแต่สุดท้ายแล้วแบงก์คือคนที่ตัดสินใจเลือกเองนะครับว่าจะโกงข้อสอบ แม้จะมีเหตุและปัจจัยจากการถูกตัดโอกาส แต่การที่เราโดนทำชั่วใส่มามาไม่ได้แปลว่าจะเป็นเหตุผลที่มากพอให้เราทำชั่วนะครับ
แต่เรา "เลือก" ได้นิครับว่าเราจะทำอะไร
การที่เห็นคนอื่นเลว ใช่ว่าเราต้องเลวตามซะหน่อย
ในขนาดที่ลินย้อนกลับไปสู่จุดที่ยากที่สุดในการก้าวพ้นความผิดพลาดมันคือเรื่องของการ “ยอมรับ” ครับ
ไม่ว่าใครก็เคยผิดพลาด ไม่ว่าใครก็เคยทำเรื่องที่เลวร้าย
การกล่าวผ่านความผิดพลาด คือการเรียนรู้และยอมรับถึงความผิดพลาดของตัวเอง ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ถึงสิ่งที่ได้กระทำลงไปแล้ว
ไม่มีใครแก้ไขอดีตได้ ไม่ว่าผมหรือคุณ
เราล้วนแต่เป็นผลผลิตที่เคยผิดพลาด เราล้วนแต่มีความหลัง
แต่สุดท้ายแล้ว เราต้องเรียนรู้ถึงการไม่กลับไปทำซ้ำใหม่
การยอมรับว่าตัวเองผิดพลาด จึงเป็นสิ่งที่ยากมากที่สุดเท่าที่คนๆหนึ่งจะทำได้ และเป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวผ่านมันไป
ดังนั้นแล้ว ตัวคุณเองนั้นแหละ ที่ต้องเป็นคน”รับ”ทั้ง “ผิด” และ “ชอบ” จากการกระทำของตัวเอง
เพราะสุดท้ายแล้วไม่ว่าโลกทั้งใบจะบีบบังคับเรามากแค่ไหน
คุณ...คือคนที่เป็นคนเลือกทางเดินและการตัดสินใจเป็นของตัวเอง
ความคิดเห็นที่ 4
แตกประเด็นที่สี่ ระบบการศึกษาในไทย ล้มเหลวจริงเหรอ?
“เรียนที่ไหนก็เหมือนๆกัน จบออกมามีงานทำก็พอแล้ว”
“เรียนที่ไหนก็ไม่ต่างกันหรอกถ้าไม่ยึดติดสถาบัน”
“ทุกที่ก็เรียนเหมือนๆกัน ต่างกันตรงไหน?”
ต่างครับ ต่าง ต่างมากๆ
ก่อนอื่น ผมข้อตั้งคำถามขึ้นมาคำถามๆหนึ่งก่อน
เราตั้งใจเรียนไปเพื่ออะไรเหรอครับ?
เราพยายามอย่างมากในการเป็นที่หนึ่งของการศึกษาไปทำไมเหรอครับ?
เพื่อศึกษาหาความรู้ไปประกอบวิชาชีพ
เพื่อเพิ่มคอนเนคชั่นและต่อยอดสิ่งที่มีอยู่ที่รุ่นพ่อรุ่นแม่สร้างไว้ให้
หรือแม้กระทั้งการใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือผลักดันในการก้าวผ่าน “ความแตกต่างและช่องว่างของความเหลือมล้ำระหว่างคนรวยและคนจน” ซึ่งเป็นช่องว่างขนาดใหญ่ในประเทศไทย
และไม่ว่าคุณจะมีคำตอบแบบไหน สุดท้ายแล้วปัจจัยที่ทำให้ระบบการศึกษาไทยล้มลงมาด้วยตัวมันเองก็ยังคงจะเป็นแบบนั้นต่อไป ต่อไป ต่อไป ตราบเท่าที่ผลประโยชน์ยังคงสำคัญกว่าความหมายของการให้โอกาส
อะไรบ้างคือสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุและผลดังกล่าว
- บุคลากรทางการศึกษาไม่เพียงพอต่อความต้องการเมื่อเทียบกับอัตราของเด็กที่แต่ล่ะคนต้องดูแล
อาชีพครู หน้าที่หลักนอกจากการสอนแล้ว ยังมีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบหลายๆอย่าง เช่นการทำงานธุรการ การทำโครงการวิจัย การทำสิ่งที่นอกเหนือไปจาก “หน้าที่ความเป็นครู” ของคน และอัตราครู 1 คน ต่อนักเรียนหนึ่งห้องราวสี่สิบกว่าคนนั้นไม่ใช่อัตราที่เหมาะสมเลยในการทำหน้าที่ความเป็นครูที่ควรจะมี
- บุคลากรทางการศึกษา คุณภาพไม่เท่ากัน
นอกจากเด็กที่ต้องสอบแข่งขันในการเข้าเรียนต่อในะดับมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว กระทั้งตัวของครูเองก็ยังมีการสอบแข่งขันการบรรจุเข้าประจำในรั่วโรงเรียนชื่อดังหลายต่อหลายแห่ง เทียบกับสภาพแวดล้อมแล้ว ไม่ใช่แค่เด็กหรอกที่อยากเจอสังคมดีๆ ครูเองหลายๆท่านก็อยากเจอสังคมนักเรียนที่ขวนขวายการเรียนรู้มากกว่านักเรียนที่มาเรียนเพราะ “มันเป็นหน้าที่อยู่แล้ว”
- ตัวผู้เรียนไม่เข้าใจว่าการศึกษาจะช่วยยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเขาได้ยังไง
นักเรียนหลายๆคนมองไม่ออกว่า การศึกษาที่ดีจะช่วยพัฒนาคุณภาพและชีวิตของเขาไปได้ยังไง รู้ว่ามันดีแต่ไม่รู้ว่ามันดียังไง ไม่รู้ว่าต้อง “เรียนดี” แบบไหน ถึงจะสามารถทำให้ชีวิตของเขาก้าวไปข้างหน้าได้
ไม่เข้าใจว่าทำไมตัวเองถึงต้องพยายาม ในเมื่อชีวิตของเขาที่เป็นอยู่มันก็มากเกินพอแล้ว
ไม่มีเป้าหมายในชีวิต ไม่มีแรงผลักดันให้ก้าวไปข้างหน้า
และที่เลวหลายที่สุดคือ.....เขาไม่คิดว่าชีวิตเขาจะสามารถพัฒนาไปได้ไกลมากกว่าที่เป็นอยู่
- ทำไมหลายๆคนถึงสามารถยอมจ่ายเพื่อแลกกับการติวสอบ การเรียนพิเศษหนักๆ หรือการโกงสอบหรือเพื่อแลกกับการเข้าไปอยู่ในสถาบันการศึกษาชั้นนำ?
มันไม่ใช่แค่เรื่องของชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยครับ แต่มันคือการเปิดสังคมใหม่ๆ เปิด “โอกาส” ในการที่จะได้รับ “โอกาส” จากคนในแวดวงหรือคนในสังคม “ระดับเดียวกัน” หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ‘คอนเนคชั่น’ นั้นแหละ จริงอยู่ มันไม่ใช่ว่าทุกคนที่หลุดเข้าไปถึงตรงจุดนั้นแล้วจะได้รับโอกาส แต่มันเป็นการเพิ่ม ”ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น” เพิ่มโอกาสในการที่จะสามารถจับพัดจับพลูไปอยู่ในจุดที่มันดีกว่านี้ได้ ซึ่งทั้งหมดนั้นจะว่าเป็นเรื่องของสถาบันอย่างเดียวก็กล่าวได้ไม่เต็มปาก เพราะคนที่จบจากสถาบันเดียวกัน ย่อมผ่านสังคมที่มีภราดรภาพในรูปแบบคล้ายกัน เข้าใจถึงความรู้ความสามารถในการเรียนรู้จากสถาบันที่นี้ หรือที่มากไปกว่านั้นคือการได้เห็นฝีมือแล้วว่ารุ่นน้องของตัวเองนั้นเหมาะสมที่จะได้รับโอกาสในการก้าวไปสู่อนาคตที่มากกว่า
เอาปัจจัยทั้งหมดมาเขย่ารวมกัน จะเห็นภาพประมาณนี้...
>>>>> โรงเรียนชั้นกลางโรงเรียนหนึ่ง มีนักเรียนห้องหนึ่งตกอยู่ประมาณ 45-50 คน ต่ออัตราคุณครูหนึ่งคน แน่นอนว่าการดูแลเด็กทุกคนให้ทั่วถึงนั้นมันเป็นไปไม่ได้
>>>> อาจารย์หนึ่งท่านเปรียบเสมือนน้ำหนึ่งเหยือก เด็กหนึ่งคนเปรียบเสมือนภาชนะที่รองรับของเหลวได้ และแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไป ผลลัพธ์จากเหยือกน้ำที่ไม่ได้มีน้ำเต็มเหยียกคือการเทน้ำออกไปแบบไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
>>>> ตัวเด็กเองมองไม่เห็นภาพและไม่เข้าใจว่าเขาจะเปลี่ยนแปลงอนาคตได้ยังไง เรียนมา 16 ปีเพื่อเป็นกรรมกรในห้องแอร์ เงินเดือน 15 เค โดยที่แมร่งไม่รู้เลยว่า ถ้าคุณคิดว่าเรียนไปขนาดนั้นแล้วคุณจะหาเงินได้เท่านี้ มันก็คงจะสมควรแล้วที่ตัวคุณจะทำเงินให้ตัวเองได้เท่านี้ หรือเขาจะรู้ไหมว่า ถ้าคุณไม่เรียนต่ออย่าว่าแต่ฐานเงินเดือน 15 เคเลย การจะแตะไปถึง 12 เคยังเป็นเรื่องยากด้วยซ้ำ สำหรับแรงงานที่ไม่ต้องใช้ความรู้ทั่วไป ไม่รับรวมถึงค่าครองชีพที่จะแพงมากขึ้นเรื่อยๆเป็นเงาตามตัว สุดท้ายก็วนนกลับไปอีหรอบเดิมเหมือนหนังฉายซ้ำอีกรอบต่อไปในรุ่นลูกรุ่นหลาน
>>>>> แก๊ปช่องว่างและระยะห่างระหว่างคนมีต้นทุนและคนไม่มีต้นทุนจะกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ มากขึ้นจนคนชนชั้นล่างที่อยู่ใต้ระบบมันจะยากมากหากคุณคิดจะก้าวผ่านมันมา มันไม่ใช่แค่เรื่องของระบบโปรเสสความคิดที่มันคิดได้หรือไม่ได้ แต่ในโลกที่หมุนเวียนและขับเคลื่อนไปด้วยเงินตรา เราไม่ได้แข่งขันกันที่จุด 0 หรือติดลบ บางคนสตาร์ 10 บางคนหลักร้อย หรือบางคนก็เข้าเส้นชัยตั้งแต่เกิด คนที่มีต้นทุนมากกว่าย่อมมีโอกาสมากกว่าที่จะ “จ่าย” ออกไปและได้รับผลลัพท์ที่มากกว่านั้นกลับมา ตั้งแต่กระบวนการบรู๊ฟเด็กคนหนึ่งให้มีความสามารถทางวิชาการไปตลอดการสนับสนุนให้เจอสังคม เจอคอนเนคชั่นที่เอื้อหนุน และโลกจะหมุนวนไปแบบนั้นเรื่อยๆ ตราบเท่าที่คนเรายังตีค่ากันจากความรู้ความสามารถทางวิชาการ
หลายๆครั้งเราจะเห็นข่าวเด็กเรียนดียากจนหลายๆคนออกมาขอรับบริจาค ทั้งจริงบ้าง เท็จบ้างก็ว่ากันไป แต่ประเด็นที่สำคัญประเด็นหนึ่งที่ผมมองคือทุกคนมีจุดร่วมเหมือนกันอย่างหนึ่ง
ทุกคนสอบติดสถาบันชื่อดังหรือคณะดังๆโดยหลายๆคนมองเห็นว่านี้คือตัวตัดสินว่าคนๆหนึ่งสมควรจะได้รับโอกาสในการได้ศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
นั้นเป็นสิ่งที่ผมถามย้อนกลับไปกับตัวเอง
....แล้วเด็กที่ไม่โดดเด่นด้านวิชาการไม่มีสิทธิ์หรือสมควรเลยงั้นเหรอที่เขาจะได้ศึกษาต่อและต่อยอดในสิ่งที่มันสามารถพัฒนาชีวิตพวกเขาได้ ต่อยอดความสามารถด้านอื่นๆของพวกเขา
พวกเขาไม่สมควรได้รับ “โอกาส” ในการพัฒนาชีวิตของพวกเขา
เพียงแค่เพราะเขาไม่มีตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมใช่ไหมครับว่าพวกเขาสามารถพัฒนาชีวิตตัวเองต่อไปได้ ...หากได้รับโอกาส
ผมถึงได้บอกว่าการศึกษาในไทยมันล้มเหลว เพราะมันพังตั้งแต่กระบวนการแรกเริ่มของการเรียนรู้ด้วยซ้ำไป
“เรียนที่ไหนก็เหมือนๆกัน จบออกมามีงานทำก็พอแล้ว”
“เรียนที่ไหนก็ไม่ต่างกันหรอกถ้าไม่ยึดติดสถาบัน”
“ทุกที่ก็เรียนเหมือนๆกัน ต่างกันตรงไหน?”
ต่างครับ ต่าง ต่างมากๆ
ก่อนอื่น ผมข้อตั้งคำถามขึ้นมาคำถามๆหนึ่งก่อน
เราตั้งใจเรียนไปเพื่ออะไรเหรอครับ?
เราพยายามอย่างมากในการเป็นที่หนึ่งของการศึกษาไปทำไมเหรอครับ?
เพื่อศึกษาหาความรู้ไปประกอบวิชาชีพ
เพื่อเพิ่มคอนเนคชั่นและต่อยอดสิ่งที่มีอยู่ที่รุ่นพ่อรุ่นแม่สร้างไว้ให้
หรือแม้กระทั้งการใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือผลักดันในการก้าวผ่าน “ความแตกต่างและช่องว่างของความเหลือมล้ำระหว่างคนรวยและคนจน” ซึ่งเป็นช่องว่างขนาดใหญ่ในประเทศไทย
และไม่ว่าคุณจะมีคำตอบแบบไหน สุดท้ายแล้วปัจจัยที่ทำให้ระบบการศึกษาไทยล้มลงมาด้วยตัวมันเองก็ยังคงจะเป็นแบบนั้นต่อไป ต่อไป ต่อไป ตราบเท่าที่ผลประโยชน์ยังคงสำคัญกว่าความหมายของการให้โอกาส
อะไรบ้างคือสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุและผลดังกล่าว
- บุคลากรทางการศึกษาไม่เพียงพอต่อความต้องการเมื่อเทียบกับอัตราของเด็กที่แต่ล่ะคนต้องดูแล
อาชีพครู หน้าที่หลักนอกจากการสอนแล้ว ยังมีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบหลายๆอย่าง เช่นการทำงานธุรการ การทำโครงการวิจัย การทำสิ่งที่นอกเหนือไปจาก “หน้าที่ความเป็นครู” ของคน และอัตราครู 1 คน ต่อนักเรียนหนึ่งห้องราวสี่สิบกว่าคนนั้นไม่ใช่อัตราที่เหมาะสมเลยในการทำหน้าที่ความเป็นครูที่ควรจะมี
- บุคลากรทางการศึกษา คุณภาพไม่เท่ากัน
นอกจากเด็กที่ต้องสอบแข่งขันในการเข้าเรียนต่อในะดับมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว กระทั้งตัวของครูเองก็ยังมีการสอบแข่งขันการบรรจุเข้าประจำในรั่วโรงเรียนชื่อดังหลายต่อหลายแห่ง เทียบกับสภาพแวดล้อมแล้ว ไม่ใช่แค่เด็กหรอกที่อยากเจอสังคมดีๆ ครูเองหลายๆท่านก็อยากเจอสังคมนักเรียนที่ขวนขวายการเรียนรู้มากกว่านักเรียนที่มาเรียนเพราะ “มันเป็นหน้าที่อยู่แล้ว”
- ตัวผู้เรียนไม่เข้าใจว่าการศึกษาจะช่วยยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเขาได้ยังไง
นักเรียนหลายๆคนมองไม่ออกว่า การศึกษาที่ดีจะช่วยพัฒนาคุณภาพและชีวิตของเขาไปได้ยังไง รู้ว่ามันดีแต่ไม่รู้ว่ามันดียังไง ไม่รู้ว่าต้อง “เรียนดี” แบบไหน ถึงจะสามารถทำให้ชีวิตของเขาก้าวไปข้างหน้าได้
ไม่เข้าใจว่าทำไมตัวเองถึงต้องพยายาม ในเมื่อชีวิตของเขาที่เป็นอยู่มันก็มากเกินพอแล้ว
ไม่มีเป้าหมายในชีวิต ไม่มีแรงผลักดันให้ก้าวไปข้างหน้า
และที่เลวหลายที่สุดคือ.....เขาไม่คิดว่าชีวิตเขาจะสามารถพัฒนาไปได้ไกลมากกว่าที่เป็นอยู่
- ทำไมหลายๆคนถึงสามารถยอมจ่ายเพื่อแลกกับการติวสอบ การเรียนพิเศษหนักๆ หรือการโกงสอบหรือเพื่อแลกกับการเข้าไปอยู่ในสถาบันการศึกษาชั้นนำ?
มันไม่ใช่แค่เรื่องของชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยครับ แต่มันคือการเปิดสังคมใหม่ๆ เปิด “โอกาส” ในการที่จะได้รับ “โอกาส” จากคนในแวดวงหรือคนในสังคม “ระดับเดียวกัน” หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ‘คอนเนคชั่น’ นั้นแหละ จริงอยู่ มันไม่ใช่ว่าทุกคนที่หลุดเข้าไปถึงตรงจุดนั้นแล้วจะได้รับโอกาส แต่มันเป็นการเพิ่ม ”ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น” เพิ่มโอกาสในการที่จะสามารถจับพัดจับพลูไปอยู่ในจุดที่มันดีกว่านี้ได้ ซึ่งทั้งหมดนั้นจะว่าเป็นเรื่องของสถาบันอย่างเดียวก็กล่าวได้ไม่เต็มปาก เพราะคนที่จบจากสถาบันเดียวกัน ย่อมผ่านสังคมที่มีภราดรภาพในรูปแบบคล้ายกัน เข้าใจถึงความรู้ความสามารถในการเรียนรู้จากสถาบันที่นี้ หรือที่มากไปกว่านั้นคือการได้เห็นฝีมือแล้วว่ารุ่นน้องของตัวเองนั้นเหมาะสมที่จะได้รับโอกาสในการก้าวไปสู่อนาคตที่มากกว่า
เอาปัจจัยทั้งหมดมาเขย่ารวมกัน จะเห็นภาพประมาณนี้...
>>>>> โรงเรียนชั้นกลางโรงเรียนหนึ่ง มีนักเรียนห้องหนึ่งตกอยู่ประมาณ 45-50 คน ต่ออัตราคุณครูหนึ่งคน แน่นอนว่าการดูแลเด็กทุกคนให้ทั่วถึงนั้นมันเป็นไปไม่ได้
>>>> อาจารย์หนึ่งท่านเปรียบเสมือนน้ำหนึ่งเหยือก เด็กหนึ่งคนเปรียบเสมือนภาชนะที่รองรับของเหลวได้ และแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไป ผลลัพธ์จากเหยือกน้ำที่ไม่ได้มีน้ำเต็มเหยียกคือการเทน้ำออกไปแบบไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
>>>> ตัวเด็กเองมองไม่เห็นภาพและไม่เข้าใจว่าเขาจะเปลี่ยนแปลงอนาคตได้ยังไง เรียนมา 16 ปีเพื่อเป็นกรรมกรในห้องแอร์ เงินเดือน 15 เค โดยที่แมร่งไม่รู้เลยว่า ถ้าคุณคิดว่าเรียนไปขนาดนั้นแล้วคุณจะหาเงินได้เท่านี้ มันก็คงจะสมควรแล้วที่ตัวคุณจะทำเงินให้ตัวเองได้เท่านี้ หรือเขาจะรู้ไหมว่า ถ้าคุณไม่เรียนต่ออย่าว่าแต่ฐานเงินเดือน 15 เคเลย การจะแตะไปถึง 12 เคยังเป็นเรื่องยากด้วยซ้ำ สำหรับแรงงานที่ไม่ต้องใช้ความรู้ทั่วไป ไม่รับรวมถึงค่าครองชีพที่จะแพงมากขึ้นเรื่อยๆเป็นเงาตามตัว สุดท้ายก็วนนกลับไปอีหรอบเดิมเหมือนหนังฉายซ้ำอีกรอบต่อไปในรุ่นลูกรุ่นหลาน
>>>>> แก๊ปช่องว่างและระยะห่างระหว่างคนมีต้นทุนและคนไม่มีต้นทุนจะกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ มากขึ้นจนคนชนชั้นล่างที่อยู่ใต้ระบบมันจะยากมากหากคุณคิดจะก้าวผ่านมันมา มันไม่ใช่แค่เรื่องของระบบโปรเสสความคิดที่มันคิดได้หรือไม่ได้ แต่ในโลกที่หมุนเวียนและขับเคลื่อนไปด้วยเงินตรา เราไม่ได้แข่งขันกันที่จุด 0 หรือติดลบ บางคนสตาร์ 10 บางคนหลักร้อย หรือบางคนก็เข้าเส้นชัยตั้งแต่เกิด คนที่มีต้นทุนมากกว่าย่อมมีโอกาสมากกว่าที่จะ “จ่าย” ออกไปและได้รับผลลัพท์ที่มากกว่านั้นกลับมา ตั้งแต่กระบวนการบรู๊ฟเด็กคนหนึ่งให้มีความสามารถทางวิชาการไปตลอดการสนับสนุนให้เจอสังคม เจอคอนเนคชั่นที่เอื้อหนุน และโลกจะหมุนวนไปแบบนั้นเรื่อยๆ ตราบเท่าที่คนเรายังตีค่ากันจากความรู้ความสามารถทางวิชาการ
หลายๆครั้งเราจะเห็นข่าวเด็กเรียนดียากจนหลายๆคนออกมาขอรับบริจาค ทั้งจริงบ้าง เท็จบ้างก็ว่ากันไป แต่ประเด็นที่สำคัญประเด็นหนึ่งที่ผมมองคือทุกคนมีจุดร่วมเหมือนกันอย่างหนึ่ง
ทุกคนสอบติดสถาบันชื่อดังหรือคณะดังๆโดยหลายๆคนมองเห็นว่านี้คือตัวตัดสินว่าคนๆหนึ่งสมควรจะได้รับโอกาสในการได้ศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
นั้นเป็นสิ่งที่ผมถามย้อนกลับไปกับตัวเอง
....แล้วเด็กที่ไม่โดดเด่นด้านวิชาการไม่มีสิทธิ์หรือสมควรเลยงั้นเหรอที่เขาจะได้ศึกษาต่อและต่อยอดในสิ่งที่มันสามารถพัฒนาชีวิตพวกเขาได้ ต่อยอดความสามารถด้านอื่นๆของพวกเขา
พวกเขาไม่สมควรได้รับ “โอกาส” ในการพัฒนาชีวิตของพวกเขา
เพียงแค่เพราะเขาไม่มีตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมใช่ไหมครับว่าพวกเขาสามารถพัฒนาชีวิตตัวเองต่อไปได้ ...หากได้รับโอกาส
ผมถึงได้บอกว่าการศึกษาในไทยมันล้มเหลว เพราะมันพังตั้งแต่กระบวนการแรกเริ่มของการเรียนรู้ด้วยซ้ำไป
ความคิดเห็นที่ 39
ประเด็นที่1ของจขกท.เป็นเรื่องที่ประสบมากับตัวแบบจังๆตอนม.ปลายบอกเลยรู้สึกแย่และรังเกียจครูประเภทนี้ที่สุด
นอกเหนือจากการไม่สอนเต็มที่ในห้องเรียนกั๊กไปสอนช่วงเรียนพิเศษแล้วยังมีหน้ามาพูดในห้องเรียนอีก
'....คนที่เรียนพิเศษกับผมก็เรียนแล้วเนอะ' อันเนื่องมจากก่อนหน้านั้นเราและเพื่อนๆหลายคนพากันเลิกเรียนพิเศษกับครูคนนี้
Heก็เลยพยายามทำเหมือนเอาคืนด้วยการกั๊กการสอนในห้องให้รู้ว่าพวกคุณจะเสียใจถ้าไม่ไปเรียนพิเศษกับHe
ผลสุดท้ายคือถึงขั้นรวมตัวกันไปที่ฝ่ายวิชาการของโรงเรียนเพื่อเปลี่ยนครูผู้สอนรายวิชานั้น
สุดท้ายโดนรองฝ่ายวิชาการประนีประนอมให้ครูสอนต่อจนจบเทอม แต่บรรยากาศในห้องเรียนมันเปลี่ยนไปแล้ว
เราที่เหมือนจะเป็นแกนนำในตอนนั้นโดนหมายหัว มีหลายเรื่องทั้งในห้องเรียนและห้องสอบที่โดนปฏิบัติแบบไม่แฟร์
วันนี้มองกลับไปไม่เสียใจที่ทำแบบนั้นถึงจะโดนมองว่าก้าวร้าวอะไรก็ตามแต่
ถ้าไม่สู้เค้าก็ได้ใจว่านักเรียนไม่มีปากมีเสียงต้องยอมรับความอยุติธรรมจากหัวโขนที่เค้าใส่
นอกเหนือจากการไม่สอนเต็มที่ในห้องเรียนกั๊กไปสอนช่วงเรียนพิเศษแล้วยังมีหน้ามาพูดในห้องเรียนอีก
'....คนที่เรียนพิเศษกับผมก็เรียนแล้วเนอะ' อันเนื่องมจากก่อนหน้านั้นเราและเพื่อนๆหลายคนพากันเลิกเรียนพิเศษกับครูคนนี้
Heก็เลยพยายามทำเหมือนเอาคืนด้วยการกั๊กการสอนในห้องให้รู้ว่าพวกคุณจะเสียใจถ้าไม่ไปเรียนพิเศษกับHe
ผลสุดท้ายคือถึงขั้นรวมตัวกันไปที่ฝ่ายวิชาการของโรงเรียนเพื่อเปลี่ยนครูผู้สอนรายวิชานั้น
สุดท้ายโดนรองฝ่ายวิชาการประนีประนอมให้ครูสอนต่อจนจบเทอม แต่บรรยากาศในห้องเรียนมันเปลี่ยนไปแล้ว
เราที่เหมือนจะเป็นแกนนำในตอนนั้นโดนหมายหัว มีหลายเรื่องทั้งในห้องเรียนและห้องสอบที่โดนปฏิบัติแบบไม่แฟร์
วันนี้มองกลับไปไม่เสียใจที่ทำแบบนั้นถึงจะโดนมองว่าก้าวร้าวอะไรก็ตามแต่
ถ้าไม่สู้เค้าก็ได้ใจว่านักเรียนไม่มีปากมีเสียงต้องยอมรับความอยุติธรรมจากหัวโขนที่เค้าใส่
ความคิดเห็นที่ 10
ขอแสดงความคิดเห็นนะคะ ถึงจะขึ้นเตือนว่า สปอย เนื้อหาทั้งเรื่อง ก็ยังคิดว่า ไม่ควรจะเล่า ประเด็นละเอียดขนาดนี้
ในส่วนของหัวกระทู้
ในความคิดเห็น 1 คห 2 อะไรลงมา โอเค เพราะเป็นการคุยวิพากษ์ กับคนที่ได้ไปดูมาแล้ว อ่านก็จะเข้าใจเองว่าพูดถึงอะไรอยู่
คนยังไม่ได้ดูมาอ่านก็อาจจะถูกสปอยบ้าง ก็เป็นสิทธิของผู้อ่านที่เลือกอ่านเอง
แต่การ ที่พิม เล่าเรื่องทั้งหมดตอนแรก มันไม่ดูไม่ค่อยเหมาะนะคะ เพราะหนังเพิ่งเข้าฉายเมื่อวานวันแรก ไม่เหมาะทั้งทางด้านมารยาท และความควรไม่ควร
และคิดว่า กระทู้อาจจะถูกลบทิ้ง ได้เร็วๆ นี้ เพราะถ้าจะเล่าขนาดนี้ อ่ะนะ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในส่วนของหัวกระทู้
ในความคิดเห็น 1 คห 2 อะไรลงมา โอเค เพราะเป็นการคุยวิพากษ์ กับคนที่ได้ไปดูมาแล้ว อ่านก็จะเข้าใจเองว่าพูดถึงอะไรอยู่
คนยังไม่ได้ดูมาอ่านก็อาจจะถูกสปอยบ้าง ก็เป็นสิทธิของผู้อ่านที่เลือกอ่านเอง
แต่การ ที่พิม เล่าเรื่องทั้งหมดตอนแรก มันไม่ดูไม่ค่อยเหมาะนะคะ เพราะหนังเพิ่งเข้าฉายเมื่อวานวันแรก ไม่เหมาะทั้งทางด้านมารยาท และความควรไม่ควร
และคิดว่า กระทู้อาจจะถูกลบทิ้ง ได้เร็วๆ นี้ เพราะถ้าจะเล่าขนาดนี้ อ่ะนะ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความคิดเห็นที่ 1
แตกประเด็นแรก - การสอนพิเศษที่โรงเรียนจากอาจารย์ประจำวิชา และปัญหาจากทุจริตที่ใครๆก็มองเห็นเป็นเรื่องไกลตัว
ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าในระดับมัธยมศึกษามีเพื่อนๆคนไหนบ้างที่เคยผ่านการเรียนพิเศษจากอาจารย์ประจำชั้นหรือประจำวิชาที่โรงเรียนตัวเองสอน แต่ผมเคยเจอครับ และเหตุการณ์เป๊ะแบบในเรื่องเลย โชคดีคือผมมีเพื่อนที่ไปเรียนมาและกลับมาติวด้วยกัน(คือไม่รู้หรอกนะว่าไอ้ที่ติวๆนะข้อสอบยกแผง)ทำให้พอเข้าห้องสอบก็สามารถทำข้อสอบได้
แต่แมร่งโคตรไม่แฟร์เลย
ถ้าผมไม่มีเพื่อนที่ไปเรียนพิเศษมา ผมสามารถทำข้อสอบของอาจารย์ได้ แต่แล้วยังไงล่ะ ผมรู้สึกว่ามันไม่เป็นธรรมเลยสักนิดกับการที่มีคนทำแบบนั้น แล้วนักเรียนที่เหลือที่ไม่ได้ไปเรียนกับคุณ ทำไหมพวกเขาถึงต้องมาโดนเอาเปรียบเพราะผลประโยชน์ของคุณวะ ในขนาดที่พวกเราอ่านแทบตายแต่เด็กคุณกลับได้ข้อสอบทั้งดุ้น
หนำซ้ำไปมากกว่านั้น เด็กไทยมองว่าการลอกข้อสอบไม่ใช่ความผิดอะไร ประเด็นที่พบเห็นได้บ่อยมากที่สุดคือ “ก็คุณตัดสินเราจากเกรดเฉลี่ย ผลมันออกมาเป็นแบบนี้”
ทั้งๆที่จริงแล้ว มันคือต้นต่อของปัญหาการเกิดคอรัปชั่นด้วยซ้ำ
ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าในระดับมัธยมศึกษามีเพื่อนๆคนไหนบ้างที่เคยผ่านการเรียนพิเศษจากอาจารย์ประจำชั้นหรือประจำวิชาที่โรงเรียนตัวเองสอน แต่ผมเคยเจอครับ และเหตุการณ์เป๊ะแบบในเรื่องเลย โชคดีคือผมมีเพื่อนที่ไปเรียนมาและกลับมาติวด้วยกัน(คือไม่รู้หรอกนะว่าไอ้ที่ติวๆนะข้อสอบยกแผง)ทำให้พอเข้าห้องสอบก็สามารถทำข้อสอบได้
แต่แมร่งโคตรไม่แฟร์เลย
ถ้าผมไม่มีเพื่อนที่ไปเรียนพิเศษมา ผมสามารถทำข้อสอบของอาจารย์ได้ แต่แล้วยังไงล่ะ ผมรู้สึกว่ามันไม่เป็นธรรมเลยสักนิดกับการที่มีคนทำแบบนั้น แล้วนักเรียนที่เหลือที่ไม่ได้ไปเรียนกับคุณ ทำไหมพวกเขาถึงต้องมาโดนเอาเปรียบเพราะผลประโยชน์ของคุณวะ ในขนาดที่พวกเราอ่านแทบตายแต่เด็กคุณกลับได้ข้อสอบทั้งดุ้น
หนำซ้ำไปมากกว่านั้น เด็กไทยมองว่าการลอกข้อสอบไม่ใช่ความผิดอะไร ประเด็นที่พบเห็นได้บ่อยมากที่สุดคือ “ก็คุณตัดสินเราจากเกรดเฉลี่ย ผลมันออกมาเป็นแบบนี้”
ทั้งๆที่จริงแล้ว มันคือต้นต่อของปัญหาการเกิดคอรัปชั่นด้วยซ้ำ
แสดงความคิดเห็น
[สปอยทั้งเรื่อง] แตกประเด็น “ฉลาดเกมส์โกง” คอรัปชั่น คอนเนคชั่น และความล้มเหลวของระบอบการศึกษาในไทย
*ติดแท็กการศึกษาเพราะมีเรื่องการศึกษาในไทย หวังว่าพี่ WM คงเข้าใจนะครับ
คำเตือน เนื่องจากกระทู้นี้มีการแตกประเด็นและมีการสปอยเนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบ ใครที่ยังไม่ได้ดูถ้าไม่อยากเจอสปอยกดปิดออกไปได้เลยนะครับ
คำเตือนสอง กระทู้ยาวมากจนต้องแบ่งเป็นหลายๆพาร์ท
เริ่ม !!!
- เริ่มต้นเรื่องเปิดฉากมา หนังพาเราไปพบกับ ลิน ตัวเอกของเรื่องกำลังถูกคาดคั้นให้รับสารภาพผิดถึงการทุจริตการโกงข้อสอบเอทริค ข้อสอบที่หนังสมมุติขึ้นมาว่าเป็นข้อสอบวัดระดับการเรียนต่อที่ยูนิเวอร์ของ Us ภาพตัดกลับไปวันที่ลินมาสมัครเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 ก่อนลินจะแสดงความสามารถออกมาต่อหน้าผอ.จนได้ทุนเรียนฟรี
- ต่อมา ลินสนิทกับเกรซ เพื่อนสาวเด่นกิจกรรมแต่อ่อนการเรียน หนังเล่าถึงการขอร้องให้ลินช่วยติวหนังสือเตรียมสอบให้กับเกรซจากชีท “สอนพิเศษ” ของอาจารย์ประจำวิชาคณิตที่โรงเรียน ก่อนจะเข้าห้องสอบจริงแล้วพบว่าข้อสอบกลางภาคที่ต้องสอบนั้น เป็นข้อสอบชุดเดียวกับที่อาจารย์ประจำวิชาใช้สอนเด็กในคลาสเรียนพิเศษ !! หนังมีการเกริ่นถึงคำพูดอาจารย์ที่ว่า “ผมบอกแล้วว่าให้คนที่อ่อนคณิตก็ให้มาลงเรียนพิเศษกับผม จะมาขวนขวายเอาตอนนี้มันก็ไม่ทันแล้ว” ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ลินรู้สึกโกรธเพราะนั้นหมายถึงอาจารย์ใช้ผลประโยชน์(ชีทที่ใช้สอนพิเศษและข้อสอบกลางภาคเป็นข้อสอบชุดเดียวกัน)ในการให้เด็กลงเรียนพิเศษกับตนเอง !!!
- เกรซผู้ซึ่งลินติวให้แล้วด้วยข้อสอบชุดเดียวกับชีทสอนพิเศษก็ยังไม่สามารถบรรลุได้แม้กระทั้งสักข้อ ได้รับยางลบวิเศษประทานพรจากลิน ...และนั้นคือจุดเริ่มต้นของ “การโกง” ข้อสอบครั้งแรกของคนทั้งคู่
- แน่นอน ไอ้ครั้นจะได้เกรดดีเฉยๆก็กระไร เกรซเล่าเรื่องนี้ให้ พัฒน์ แฟนหนุ่มของตนฟัง ก่อนพัฒน์จะยื่นข้อเสนอขอให้ลินให้ลอกข้อสอบวิชาล่ะ 3000 พันบาท
- หนังกล่าวไปถึง “ค่าน้ำชา” ที่เด็กส่วนใหญ่โรงเรียนชื่อดังหลายๆแห่งต้องเสียไปตอนเข้าโรงเรียน แน่ล่ะ มันถูกแทนด้วยชื่อเล่นเก๋ๆว่า “ค่าบำรุงโรงเรียน” แม้เด็กแต่ล่ะคนจะจ่ายไม่เท่ากันก็ตามแต่ และนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย ผู้ปกครองหลายๆท่านยอมจ่ายเพื่อแลกมากับการให้ลูกได้เข้าไปอยู่ในสังคมที่พวกเขาเห็นว่าเหมาะสมกับลูกของตนเอง
- ลินรู้สึกเหมือนถูกเอาเปรียบจากโรงเรียน จึงทำการเปิดสอนคอร์สเปียโน ชะชะช่าซึ่งเป็นคอร์สสอนลอกข้อสอบจากตนเองด้วยการกำหนดคียเวิร์ดมือขึ้นมาเป็นทำนองเพลงคลาสิคสากล 4 เพลงสั้นๆแทนข้อ ก ข ค ง
- ทุกอย่างเหมือนจะไปได้ด้วยดี ลินรับจ้างจากเพื่อนมากขึ้นๆจนกระทั้งถึงวันสอบรวมห้องหลายๆห้อง วันที่ “แบงก์” เด็กนักเรียนทุนเรียนดีอีกคนได้มาสอบด้วย
- หนังย้อนกลับไปฉากก่อนหน้านั้นที่ โต้ง เพื่อนในห้องขอลอกข้อสอบจากแบงก์ แน่นอนว่าเด็กผู้รักความยุติธรรมแบบแบงก์ไม่ยอมให้มันเกิดขึ้น กระนั้นเองโต้งได้ทำการลอกกับลิน ซึ่งนี้เป็นอีกฉากที่ผมชอบ ข้อสอบมีทั้งหมดชุดเอและชุดบี โค้ดเพลงเปียโนไม่สามารถให้คำตอบได้ทั้งเอและบี
- กระนั้นเองลินหาวิธีแก้ด้วยการสลับข้อสอบ ก่อนจะสามารถทำข้อสอบออกมาได้เสร็จสิ้นทันเวลา
- ทุกอย่างเหมือนจะไปได้ด้วยดี แต่แล้วเสียงตามสายกลับประกาศชื่อลินและโต้งออกมา เชิญพบที่ห้องครูใหญ่
- แบงก์ฟ้องว่าโต้งได้ทำการลอกข้อสอบจากลิน นี้เป็นฉากหนึ่งที่แสดงอารมณ์โกรธได้ถึงก้นบึ้งจริงๆ แบงก์รู้สึกว่า “มันไม่ยุติธรรม” ในขนาดที่ตัวเขาพยายามแทบตายในการอ่านหนังสือเตรียมสอบ ทำงานหนักชิบห*ย แต่ใครที่ไหนไม่รู้กลับมาฉวยโอกาสสบายบนความรักลำบากของเรา มันจะยุติธรรมได้ยังไง
- ลินถูกปลดออกจากการเป็นนักเรียนทุน
- หนังเล่าไปถึงเกรซไปเจอกับพ่อแม่ของพัท (รู้ว่าไม่ได้เขียนแบบนี้ แต่เขียนแบบนั้นยากชิบ) ก่อนพ่อแม่จะชื่นชมเกรซว่าพาลูกชายไปในทางที่ดี และจบลงด้วยการยื่นข้อเสนอกลายๆว่าอยากให้ช่วยพาเจ้าพัดไปเรียนต่อที่ยูเมืองนอกที่พ่อเคยเรียน
- แน่นอนว่าคนที่เอาตัวเองยังไม่รอดอย่างเกรซก็ได้บากหน้าไปขอความช่วยเหลือจากลิน ซึ่งตอนนี้เหมือนจะย้ายโรงเรียนแล้ว? เพราะมีการกล่าวถึงว่า “อีกสองเทอม เอาตัวรอดกันได้ใช่ไหม?” นั้นเอง
- พัทยื่นข้อเสนอว่าจะจ่าย 6 แสนแลกกับการให้ลินช่วยหาช้อสอบมาให้ลอก
- ลินตกลง หลังจากนึกถึงเรื่องไทม์ไลน์ของเวลาที่แตกต่างกันได้ พร้อมเปรยๆว่า “มีคนเดียวที่จะช่วยเราได้ แต่แมร่งคงไม่ยอมทำ”
- หนังเล่าไปถึงว่าแบงก์โดนนักเลงสองคนรุมกระทืบก่อนจะเอาไปทิ้งที่กองขยะจนทำให้ไม่สามารถไปสอบชิงทุนเรียนฟรีที่สิงค์โปร ความพีคที่โหดคือมันเป็นภาพจากกล้องวงจรปิด ตรงจุดนี้ผมนึกไปถึงฉากภาพกล้องวงจรปิดจากฮอร์โมน ss3 ตอนที่แม่เฟิร์สโดนทำร้าย มันเรียลและหดหู่จนไม่สามารถดูซ้ำได้เป็นครั้งที่สองจริงๆ
- ลินไปหาแบงก์พร้อมยื่นข้อเสนอว่า หากงานนี้สำเร็จแบงก์จะได้เงินส่วนแบ่งเป็นเงินถึงหลักล้านบาท
- แบงก์ตอบตกลงก่อนทุกคนจะมาสักซ้อมถึงวิธีการลอกข้อสอบ แบ่งกันคนล่ะครึ่งพาร์ททั้งลินและแบงก์ต้องช่วยกันจำออกมาจากห้องสอบ
- เปิดเผยความจริงว่าที่แบงก์โดนซ้อมไม่ใช่ความซวยของโชคชะตาและดาวเหนือ แต่เป็นความจัดฉากของพัท ที่สะเทือนใจที่สุดคือ
ขอกราบเท้าคนแสดง ณ ตรงนี้เลย คือมันระเบิดอารมณ์แบบคนเก็บกดที่แบบ กูไม่ผิดอ่ะ แล้วทำไมกูต้องมาเจออะไรแบบนนี้ด้วยวะ
- แบงก์เกือบหันหลังให้กับทุกอย่าง ก่อนจะเดินไปเจอป้ายโฆษณา “เทคโนโลยีซักผ้าในอนาคต” แน่ล่ะ คิดถึงแม่ขึ้นมาน้ำตามันก็ไหล... งานกตัญญูต้องมา แบงก์กลับไปหาลินก่อนทั้งคู่จะเลทอิทโกไปซิดนีย์ทวีปออสเตรเลีย
- ฉากลอกข้อสอบคือฉากที่โคตรพ่อโคตรแม่พีค วิธีการและกระบวนการพวกนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จริง ถ้า ถ้า ถ้าว่าข้อสอบจริงๆมันมีชุดสอบแค่หนึ่งชุดซึ่งมันไม่ใช่ ในโลกของความเป็นจริงมันมากกว่าหนึ่งชุด และแน่นอน กรรมการคุมสอบไม่ได้มีแค่นั้นหรอก ตรงจุดนี้ถ้าเอาตามหนังมันก็ค่อนข้างสมเหตุสมผล แต่ถ้าเทียบในโลกของความเป็นจริงก็ยังถือว่าเป็นไปไม่ได้ตั้งแต่สอบพร้อมกันทั่วโลกแล้ว
- ต่อจากด้านบน แบงก์ต้องการส่วนแบ่งเพิ่มอีกหนึ่งล้านบาทค่าโดนกระทืบไม่งั้นจะไม่ยอมส่งคำตอบกลับไป เล่นเอาพัทหัวเสียถึงขนาดเตะเครื่องจักร
- หนังเล่าถึงการโดนจับได้ของแบงก์และการพยายามเอาตัวรอดของลิน สลับตัดภาพกลับไปที่ไทย ทุกอย่างวุ่นวายและอลหม่านทั้งด้านของเกรซและพัท ไหนจะพ่อของลินที่ตามมาถึงบ้านเกรซ
- ลินจำคำตอบทั้งหมดออกมา ก่อนจะเป็นฉากไล่ล่าระหว่างลุงเนลสันเวอร์ชั่นหนุ่มกับลิน เฉี่ยวซ้าย แวบขวา หลบหนีกันไปมาแบบคนดูหายใจไม่ทั่วท้อง ไม่ทั่วท้องจริงๆครับ จังหวะแมร่งนรกมาก ยอมใจคนตัดต่อ ยอมใจภาพเสียง และทุกสิ่ง มันกดดันมากๆ จริงๆถึงใจแน่นอนครับ
- ลินส่งคำตอบสุดท้ายกลับไปทัน ก่อนทุกอย่างเหมือนจะจบลงด้วยดี
- แบงก์โดนตัดสิทธิ์สอบชิงทุนต่างประเทศและโดนเชิญออกจากโรงเรียน
- ตรงนี้มีโมเม้นท์ลินแบงก์แบบจะขาดใจมากจริงๆ
- ลินบินกลับมาที่ไทย ก่อนทุกอย่างเหมือนจะจบลงด้วยดี ลินตั้งใจจะเรียนต่อในคณะครุศาสตร์พร้อมสอบรับตรงติดที่หนึ่ง วันนั้นเองที่แบงก์ sms ให้ไปหาที่บ้าน
- ลินไปถึงร้านซักรีดบ้านของแบงก์ก่อนจะพบว่าทุกอย่างถูก Evo ยกระดับหมด ทั้งรถส่วนตัวของแบงก์และเครื่องซักผ้าใหม่ๆหลายๆรุ่น
- แบงก์ต้องการให้ลินช่วยลอกข้อสอบอีกครั้ง แต่ครั้งนี้จะเป็นการโกงสอบแกทแพท หรือข้อสอบวัดความสามารถของเด็กไทยที่มีอยู่จริง ลินปฏิเสธแต่แบงก์ไม่ยอม “ถ้าจะพังก็ต้องพังกันทั้งหมด ถ้าเธอไม่ช่วยฉันจะแฉเรื่องโกงข้อสอบเอทริค รับรองว่าตัดคะแนนกันทั้งประเทศแน่นอน ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับเธอแล้วลิน”
- “ใช่...ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับเราจริงๆ”
- หนังตัดภาพไปที่ลินเดินเข้าไปในห้อง พร้อมการเริ่มบันทึกเทป “การให้สัมภาษณ์การโกงข้อสอบเอทริค”
- คุณพร้อมนะ?
- ค่ะ ฉันพร้อมแล้ว