วันนี้อยากมาแบ่งปันประสบการณ์ การบริจาคน้ำเหลือง หรือพลาสมา(Plasma) ที่สภากาชาดครับ หลายคนอาจจะเคยได้ยิน หรือไม่เคยได้ยินมาก่อน ก็ไม่เป็นไร มาทำความเข้าใจแบบสั้นๆ กันสักรอบนึง
ถ้ากลับไปจุดตั้งต้นของการบริจาคเลือด ก็คือการดูดเลือดออกไปจากร่างกายเรา 350-400 ซีซี โดยประมาณ ดูดปู้ดเดียวก็จบ ใช้เวลา 15-20 นาที หลังจากนั้นกระบวนการก็จะนำไปปั่นแยกส่วนประกอบต่างๆ คือ เกล็ดโลหิต เม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาว และพลาสมา สามารถบริจาคได้ทุก ๆ 3 เดือน
แต่ส่วนการบริจาคพลาสมา หรือน้ำเหลืองนั้น จะต่างกันตรงกันกระบวนการ คือเครื่องจะดูดเลือดออกมา และปั่นแยกเฉพาะส่วนพลาสมา ใส่ถุงรองรับ เมื่อเสร็จส่วนการปั่นแยกก็จะคืนเลือดส่วนที่เหลือกลับเข้าร่างกายเรา(ตามรูป) ทำแบบนี้วนไปจนครบ 500 ซีซี ก็เป็นอันเสร็จกระบวนการ ใช้เวลา 40 นาทีโดยประมาณ และยังสามารถกลับมาบริจาคได้อีกทุกๆ 14 วัน
" พลาสมาที่ได้รับบริจาค นอกจากจะใช้ในรูปของส่วนประกอบโลหิตที่นำไปช่วยชีวิตผู้ป่วยเฉพาะโรคแล้ว ยังนำไปผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์โลหิต เช่น แอลบูมิน (Albumin) แฟคเตอร์ 8 เข้มข้น แฟคเตอร์ 9 เข้มข้น อิมมูโนโกลบูลิน ชนิดฉีดเข้าเส้นป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี หรือ ป้องกันพิษสุนัขบ้า "
อ้างอิง
https://goo.gl/ExpbBJ
:: ทีนี่เราไปลุยกันเลยดีกว่าว่าบริจาคจริง ๆ จะเป็นยังไง ::
ทุกครั้งที่มาบริจาคผมจะนั่งรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีศาลาแดง และเดินข้างตึกธนิยะมา ข้ามแยกก็ถึงสภากาชาดไทยครับ ใช้เวลาไม่นาน หรือใครอยากนั่งวินก็ได้เช่นกันครับ จะได้ไม่เหนื่อยด้วย
เมื่อมาถึงมองหาอาคารเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชินีนาถ สีน้ำเงิน ก็เดินเข้ามาได้เลยครับ
บริเวณทางเข้าจะมีวัน และเวลาทำการแจ้งไว้ หรือสามารถมาตามบัตรนัดหลังบริจาคโลหิตก็ได้เช่นกัน
เมื่อเข้ามาภายในอาคารให้เดินตรงเข้ามาเลยครับ(รูปนี้ถ่ายจากชั้นสอง) ข้างๆ บันไดเลื่อนจะเจอจุดกรอกแบบฟอร์ม และจุดวัดความดันอยู่ ก็ให้กรอกเอกสารตามความเป็นจริง วัดความดัน และชั่งนำหนักให้เรียบร้อยครับ
จุดวัดความดัน ทำเองได้เลยนะครับ จะมีวิธีบอกชัดเจนที่เครื่อง ง่าย ๆ เพียงสอดมือขวากเข้าไปให้ได้ระดับที่กำหนด นั่งให้ถูกต้อง และก็กดปุ่มเริ่ม วัดได้เลยครับ แค่แป๊ปเดียวเครื่องก็จะปริ้นผลแผ่นเล็ก ๆ มาให้ครับ หากใครยังไม่เคยทำมาก่อน สามารถขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ได้ ไม่ต้องเขิลอาย ….แต่…ถ้าใครเพิ่งเดินมาเหนื่อย ๆ อาจจะต้องนั่งรอสักพักนึง ก่อนค่อยทำการวัดความดันนะครับ
พอวัดความดันเสร็จก็แวะดื่มน้ำให้มากๆครับ เพิ่มพลังกันสักหน่อย
พอดื่มน้ำเสร็จแล้วก็ถือเอกสารมาที่ช่องที่ 2 ลงทะเบียนผู้บริจาคโลหิต และช่องที่ 3 ส่วนของการคัดกรองผู้บริจาคโลหิต ครับ
เมื่อเสร็จผ่านการซักประวัติ และสอบถามข้อมูลของผู้บริจาคแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะให้วิตามินบํารุงโลหิตมาด้วย หลังจากนั้นก็ให้เดินขึ้นมาชั้นสองครับ มองหาห้องหมายเลข 5 ก็เดินเข้าไปรอคิวได้เล้ยยยยย
ตอนที่ผมมาถึงคนยังไม่เยอะครับ มีคนกำลังบริจาคอยู่แค่คนเดียวทางขวามือ
เราตัดมาที่ระหว่างกำลังบริจาคเลยดีกว่า จากขั้นตอนในตอนต้นที่อธิบายไปแล้ว ด้านล่างจะเห็นว่ามีถุงรองรับห้อยอยู่ และมีน้ำเหลืองที่ถูกปั่นแยกออกมาอยู่บ้างแล้ว
จอเล็กๆนี้จะบอกว่าได้พลาสมามาแล้ว 61 ซีซี จากที่ต้องการทั้งหมด 500 ซีซี เครื่องก็จะทำงาน ดูด ปั่นแยก และคืน แบบนี้วนไปจนกว่าจะครบ 505 ซีซี….จะว่าไปจริง ๆ ผมชอบเครื่องรุ่นนี้นะครับ เราเห็นเป้าหมายว่าได้พลาสมาไปเท่าไหร่แล้ว ถ้าเป็นเครื่องอีกรุ่น เหมือนนอนไปแบบไม่เห็นเป้าหมาย ฮ่าๆๆ
อันนี้เป็นเครื่องอีกรุ่นนึง หน้าจอการทำงานจะอยู่ที่ฝา ลักษณะเครื่องคล้าย ๆ กระเป๋าสบายข้าง ถึงหน้าตาจะต่างกัน แต่มีขั้นตอนการทำงานที่เหมือนกัน
เอาล่ะ เวลาผ่านไป 40 นาที ไวเหมือนโกหก เราได้ปริมาณพลาสมาครบตามที่ต้องการคือ 505 ซีซี แล้ว ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการบริจาค จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะทำการถอดเข็มออก แล้วให้เรานอนพักสักแปปนึง สุดท้ายจะได้ถุงน้ำเหลืองสีขุ่นๆ 1 ถุงเพื่อเอาไปเข้าสู่กระบวนการ และช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป
จากนั้นได้เวลาไปกินของว่าง ที่เลื่องลื่อขึ้นชื่อถึงความอร่อยของโอวัลติน(หรืออาจไมโล ก็ไม่แน่ใจ) ให้มาที่ห้องหมายเลข 6 เป็นห้องพักหลังการบริจาคได้เลยครับ เพื่อมารับของว่าง
เมื่อเดินเข้ามาแล้วจะเจอรถเข็นอาหารรออยู่แล้ว ใครชอบเย็นชอบร้อนก็เลือกได้เลย
ชุดอาหารว่างวันนี้มีโอวันตินเย็น 1 แก้ว ซาลาเปาไส้ถั่วดำ และไข่ต้ม 1 ฟอง รสชาติอร่อยสมคำร่ำลือ
:: สุดท้ายนี้ ::
ถ้าใครมีโอกาส หรือสนใจ
มาบริจาคโลหิตกันเถอะ หรือสามารถมาขอคำปรึกษาได้จากเจ้าหน้าที่ในการบริจาคพลาสมา หรือเกล็ดเลือดก็ได้เช่นกันครับ
ขอบคุณครับ
***แก้ไขคำผิด
-= เล่าประสบการณ์ บริจาคน้ำเหลือง(พลาสมา) ที่สภากาชาดไทย <3 =-
วันนี้อยากมาแบ่งปันประสบการณ์ การบริจาคน้ำเหลือง หรือพลาสมา(Plasma) ที่สภากาชาดครับ หลายคนอาจจะเคยได้ยิน หรือไม่เคยได้ยินมาก่อน ก็ไม่เป็นไร มาทำความเข้าใจแบบสั้นๆ กันสักรอบนึง
ถ้ากลับไปจุดตั้งต้นของการบริจาคเลือด ก็คือการดูดเลือดออกไปจากร่างกายเรา 350-400 ซีซี โดยประมาณ ดูดปู้ดเดียวก็จบ ใช้เวลา 15-20 นาที หลังจากนั้นกระบวนการก็จะนำไปปั่นแยกส่วนประกอบต่างๆ คือ เกล็ดโลหิต เม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาว และพลาสมา สามารถบริจาคได้ทุก ๆ 3 เดือน
แต่ส่วนการบริจาคพลาสมา หรือน้ำเหลืองนั้น จะต่างกันตรงกันกระบวนการ คือเครื่องจะดูดเลือดออกมา และปั่นแยกเฉพาะส่วนพลาสมา ใส่ถุงรองรับ เมื่อเสร็จส่วนการปั่นแยกก็จะคืนเลือดส่วนที่เหลือกลับเข้าร่างกายเรา(ตามรูป) ทำแบบนี้วนไปจนครบ 500 ซีซี ก็เป็นอันเสร็จกระบวนการ ใช้เวลา 40 นาทีโดยประมาณ และยังสามารถกลับมาบริจาคได้อีกทุกๆ 14 วัน
" พลาสมาที่ได้รับบริจาค นอกจากจะใช้ในรูปของส่วนประกอบโลหิตที่นำไปช่วยชีวิตผู้ป่วยเฉพาะโรคแล้ว ยังนำไปผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์โลหิต เช่น แอลบูมิน (Albumin) แฟคเตอร์ 8 เข้มข้น แฟคเตอร์ 9 เข้มข้น อิมมูโนโกลบูลิน ชนิดฉีดเข้าเส้นป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี หรือ ป้องกันพิษสุนัขบ้า "
อ้างอิง https://goo.gl/ExpbBJ
ทุกครั้งที่มาบริจาคผมจะนั่งรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีศาลาแดง และเดินข้างตึกธนิยะมา ข้ามแยกก็ถึงสภากาชาดไทยครับ ใช้เวลาไม่นาน หรือใครอยากนั่งวินก็ได้เช่นกันครับ จะได้ไม่เหนื่อยด้วย
เมื่อมาถึงมองหาอาคารเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชินีนาถ สีน้ำเงิน ก็เดินเข้ามาได้เลยครับ
บริเวณทางเข้าจะมีวัน และเวลาทำการแจ้งไว้ หรือสามารถมาตามบัตรนัดหลังบริจาคโลหิตก็ได้เช่นกัน
เมื่อเข้ามาภายในอาคารให้เดินตรงเข้ามาเลยครับ(รูปนี้ถ่ายจากชั้นสอง) ข้างๆ บันไดเลื่อนจะเจอจุดกรอกแบบฟอร์ม และจุดวัดความดันอยู่ ก็ให้กรอกเอกสารตามความเป็นจริง วัดความดัน และชั่งนำหนักให้เรียบร้อยครับ
จุดวัดความดัน ทำเองได้เลยนะครับ จะมีวิธีบอกชัดเจนที่เครื่อง ง่าย ๆ เพียงสอดมือขวากเข้าไปให้ได้ระดับที่กำหนด นั่งให้ถูกต้อง และก็กดปุ่มเริ่ม วัดได้เลยครับ แค่แป๊ปเดียวเครื่องก็จะปริ้นผลแผ่นเล็ก ๆ มาให้ครับ หากใครยังไม่เคยทำมาก่อน สามารถขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ได้ ไม่ต้องเขิลอาย ….แต่…ถ้าใครเพิ่งเดินมาเหนื่อย ๆ อาจจะต้องนั่งรอสักพักนึง ก่อนค่อยทำการวัดความดันนะครับ
พอวัดความดันเสร็จก็แวะดื่มน้ำให้มากๆครับ เพิ่มพลังกันสักหน่อย
พอดื่มน้ำเสร็จแล้วก็ถือเอกสารมาที่ช่องที่ 2 ลงทะเบียนผู้บริจาคโลหิต และช่องที่ 3 ส่วนของการคัดกรองผู้บริจาคโลหิต ครับ
เมื่อเสร็จผ่านการซักประวัติ และสอบถามข้อมูลของผู้บริจาคแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะให้วิตามินบํารุงโลหิตมาด้วย หลังจากนั้นก็ให้เดินขึ้นมาชั้นสองครับ มองหาห้องหมายเลข 5 ก็เดินเข้าไปรอคิวได้เล้ยยยยย
ตอนที่ผมมาถึงคนยังไม่เยอะครับ มีคนกำลังบริจาคอยู่แค่คนเดียวทางขวามือ
เราตัดมาที่ระหว่างกำลังบริจาคเลยดีกว่า จากขั้นตอนในตอนต้นที่อธิบายไปแล้ว ด้านล่างจะเห็นว่ามีถุงรองรับห้อยอยู่ และมีน้ำเหลืองที่ถูกปั่นแยกออกมาอยู่บ้างแล้ว
จอเล็กๆนี้จะบอกว่าได้พลาสมามาแล้ว 61 ซีซี จากที่ต้องการทั้งหมด 500 ซีซี เครื่องก็จะทำงาน ดูด ปั่นแยก และคืน แบบนี้วนไปจนกว่าจะครบ 505 ซีซี….จะว่าไปจริง ๆ ผมชอบเครื่องรุ่นนี้นะครับ เราเห็นเป้าหมายว่าได้พลาสมาไปเท่าไหร่แล้ว ถ้าเป็นเครื่องอีกรุ่น เหมือนนอนไปแบบไม่เห็นเป้าหมาย ฮ่าๆๆ
อันนี้เป็นเครื่องอีกรุ่นนึง หน้าจอการทำงานจะอยู่ที่ฝา ลักษณะเครื่องคล้าย ๆ กระเป๋าสบายข้าง ถึงหน้าตาจะต่างกัน แต่มีขั้นตอนการทำงานที่เหมือนกัน
เอาล่ะ เวลาผ่านไป 40 นาที ไวเหมือนโกหก เราได้ปริมาณพลาสมาครบตามที่ต้องการคือ 505 ซีซี แล้ว ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการบริจาค จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะทำการถอดเข็มออก แล้วให้เรานอนพักสักแปปนึง สุดท้ายจะได้ถุงน้ำเหลืองสีขุ่นๆ 1 ถุงเพื่อเอาไปเข้าสู่กระบวนการ และช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป
จากนั้นได้เวลาไปกินของว่าง ที่เลื่องลื่อขึ้นชื่อถึงความอร่อยของโอวัลติน(หรืออาจไมโล ก็ไม่แน่ใจ) ให้มาที่ห้องหมายเลข 6 เป็นห้องพักหลังการบริจาคได้เลยครับ เพื่อมารับของว่าง
เมื่อเดินเข้ามาแล้วจะเจอรถเข็นอาหารรออยู่แล้ว ใครชอบเย็นชอบร้อนก็เลือกได้เลย
ชุดอาหารว่างวันนี้มีโอวันตินเย็น 1 แก้ว ซาลาเปาไส้ถั่วดำ และไข่ต้ม 1 ฟอง รสชาติอร่อยสมคำร่ำลือ
ถ้าใครมีโอกาส หรือสนใจ มาบริจาคโลหิตกันเถอะ หรือสามารถมาขอคำปรึกษาได้จากเจ้าหน้าที่ในการบริจาคพลาสมา หรือเกล็ดเลือดก็ได้เช่นกันครับ
ขอบคุณครับ
***แก้ไขคำผิด