เคยบ้าบอลเหมือนกัน แต่เดี๋ยวนี้ไม่แล้ว..... วันนี้ต้องจำใจนั่งดูบอลกับเพื่อนบ้าน(เขาทะเลาะกับแฟน เลยนั่งเชียร์บอลเป็นเพื่อนไปและปลอบใจเพื่อนไปด้วย) ระหว่างดูบอล...บางช่วงก็อดไม่ได้ที่จะระลึกถึงวัยเด็กที่เคยบ้าบอลของตัวเอง......แต่ก่อนเคยวิ่งไล่ลูกบอลแทบทุกวัน เห็นอะไรที่มันรูปทรงกลมๆ ขวางหน้าเป็นไม่ได้...วิ่งเข้าชาร์ตทันที เคยลงทุนเก็บหอมรอมริบเป็นเดือนกว่าจะซื้อลูกบอลพลาสติกเล็กๆ ตามกำลังทรัพย์ได้(ลูกละ 2.50 บาท)มาฝึกชู๊ตโกลโดยใช้กะลังเล็กๆ เป็นเป้า เห็นรูป
เควิน คีแกน, ซิโก้, เปเล่ ที่ไหนก็แทบจะคุกเข่าลงกราบราวกับว่าสาวกกราบศาสดาก็ไม่ปาน ยิ่งเวลามีการแข่งขันฟุตบอลระดับชาติทีไร ต้องลงทุนเดินจากหมู่บ้านเข้าไปในในเมืองเพื่อไปนั่งอ้าปากหว๋อกับเพื่อนๆ ที่ริมฟุตบาทชมการแข่งขันผ่านประตูกระจกหน้าร้านขายเครื่องทีวี ดารานักเตะรุ่นก่อนๆ (ก่อนปิยะพงษ์) ก็จะจดจำและเลียนแบบชื่อมาอ้างเป็นตัวเองเวลาลงสนามตามประสาเด็ก และผมตั้งสมญานามตัวเองตามฮีโร่ในใจคือ "
เจษฏาภรณ์ ณ พัทลุง" เพื่อนบางคนก็ติ๊งต่างตัวเองเป็น "
มนัส รัตนติสร้อย" ส่วนคนที่เป็นโกลก็เป็นใครไม่ได้นอกจา "
นาวี สุขยิ่ง"....ใช่! รุ่นเก่าขนาดนั้นเลยล่ะ ฮ่า ฮ่า ฮ่า
ขนาดไปเลี้ยงควายกลางทุ่งนา ก็ใช้ทุ่งนานั่นแหละเป็นสนาม ไล่เตะบอลกับเพื่อนกันฝุ่นคลุ้งแทบทั้งวัน ลูกฟุตบอลก็มาจากการสละเสื้อเชิ้ตหรือไม่ก้อใช้ถุงพลาสติกห่อยัดฟางทำเป็นรูปทรงกลมที่สุดเท่าที่จะทำได้แทน เมื่อก่อนเคยยืมลูกฟุตบอลที่โรงเรียนมาเล่นแล้วเตะไปชนลวดหนามรั่ว ครูเลยไม่ให้ยืมอีก อีกอย่าง...ทั้งโรงเรียนมีลูกฟุตบอลอยู่ลูกเดียว มันโดนเตะบ่อยชนิดกลายเป็น “ลูกฟุตบอลหนังกลับ” ไปเลย สีดั้งเดิมและยี่ห้อโดนเตะจนถลอกหลุดลุ่ย อ้อ...ลืมบอกไป ที่เตะๆ กันนี่ ใช้ “เท้าเปล่า” หรือภาษาอีสานเรียกว่า “ตีนเปิ่ม” ลงเตะกันทุกคน หากโชคร้ายเตะทิ่มตอทิ่มเสี้ยนทีไร เป็นต้องเลือดไหลเขย่งเท้าเดินออกสนามทันที แพทย์สนามมีซะทีไหน ส่วนใหญ่ก็จะหาชาย “ผ้าซิ่น” เก่าๆ ที่ถูกทิ้งแล้วมาฉีกเป็นเส้นยาว(คล้ายผ้าก๊อต)พันบาดแผล แล้ววิ่งลงสนามลุยต่อ เพื่อนนักเตะประเภทนี้เราเรียกว่า “รถถัง"
ทุกๆ ปีจะมีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างโรงเรียนต่างๆ ของหมู่บ้านในตำบล ความฝันอันสูงสุดของเด็กชายที่บ้าบอลก็คือได้ติดทีมโรงเรียนประจำหมู่บ้านนี่แหละครับ ส่วนใหญ่ครูจะคัดเอาเฉพาะนักเรียนชั้นประถมหก เว้นเสียแต่ว่าบางคนฉายแววตั้งอยู่ป.๕ สำหรับตัวผมเอง...ฝีมือก็พอใช้ได้ทีเดียว สังเกตุเวลาเตะบอลกันทีไร เพื่อนๆ ก็อยากจะให้ไปอยู่ฝ่ายเขา กระนั้น ผมก็ต้องสะสมประสบการณ์จนได้ขึ้นชั้นประถมหก การคัดเลือกนักฟุตบอลประจำโรงเรียนนั้นไม่ยากสำหรับผมเลย คือ:-
๑. วิ่งรอบสนามฟุตบอลสิบรอบโดยไม่หยุด
๒. วิดพื้นสิบครั้ง
๓. เตะบอลให้ไกลเลยสิบเมตรเป็นอย่างต่ำ และเตะสูงกว่าหลังคาอาคารเรียนชั้นเดียว
๔. เดาะบอลให้ได้ถึงสิบครั้งหรือมากกว่านั้น (มีโอกาสสามครั้ง)
ผมสอบผ่านหมดรวมทั้งเพื่อนๆ อีกหลายคน....แนวโน้มที่จะติดทีมโรงเรียนเริ่มฉายแวว ต่อมา...ครูจัดการแข่งขันเพื่อคัดเลือกกับรุ่นพี่ที่จบไปแล้ว ครูคนนี้พึ่งย้ายมาจากโรงเรียนอื่นยังไม่ถึงปี ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลทีม วันนั้นผมรับตำแหน่งแบ๊คหลัง เราเป็นรองรุ่นพี่อยู่พอสมควร อาจจะด้วยเกรงศักดิ์ศรีและด้อยประสบการณ์ หนึ่งในรุ่นพี่นั้นก็มีพี่ชายผมคนหนึ่งที่เขาเป็นกองหน้า(Striker) ผมรับหน้าที่ให้ประกบพี่ชาย พี่ชายผมเก่งทั้งฟุตบอลทั้งตะกร้อซึ่งเป็นที่รู้กันในหมู่บ้าน แต่ผมไม่กลัว...เวลาแกจับบอลได้ทีไรผมวิ่งสวนโครมๆ มีอยู่คราวหนึ่ง....บอลหลุดโด่งมาเกือบจรดเส้นหลังเร็วมาก เพื่อนๆ ที่รุกหน้าไปแล้ววิ่งกลับตามแทบไม่ทัน ตอนนั้นมีผมกับโกลแค่สองคน ส่วนอีกฝ่ายมีพี่ชายผมและกองหน้าอีกสองคนวิ่งไล่บอลมา ผมอยู่ใกล้ลูกบอลที่สุด สถานการณ์ตอนนั้นคือ 3 ต่อ 1....ตอนนั้นผมตั้งสติดีมากเลย(ไม่ได้พูดเข้าข้างตัวเองนะครับ) มองหาและคาดหวังให้เพื่อนที่พยายามจะวิ่งลงมาช่วยให้ทัน แต่ไม่ทันการณ์....ผมเลยตัดสินใจวินาทีนั้นเตะลูกออกข้างหลังเส้นไปเพื่อแก้สถานการณ์ คือยอมเสียลูกเตะคอร์นเนอร์ดีกว่าโดนรุมจากอีกฝ่ายตั้งสามคนที่ตอนนี้แค่ยกขาก็ถึงบอลที่ผมครองอยู่แล้ว และคิดว่าคงจะได้รับคำชมจากครูตรงนี้.....ที่ไหนได้!! ผมโดนครูตะโกนด่าย่อยยับเลย!! และคำด่านั้นยังดังก้องหูผมอยู่ทุกวันนี้เลยแม้จะผ่านมาเป็นสิบๆๆ ปีแล้ว “...เมริงหันหน้าไปทางไหนก็เตะไปทางนั้นเลยนะเมริง!” ผมโดนครูด่าว่าเตะลูกสะเปะสะปะคือแทนที่จะเตะลูกบอลไปทิศทางตรงข้ามกลับหันหน้าเตะเข้าหาทิศทางของตัวเองอะไรประมาณนี้
นอกจากโดนด่าแล้ว ผมโดน “เปลี่ยนตัว” ทันที.....
รู้สึกเสียใจมาก....เสียใจจริงๆ เพราะคิดว่าตัวเองคิดดีแล้วที่ยอมเสียลูกคอร์นเนอร์ดีกว่าเสี่ยงเสียประตู อย่างน้อยๆ ก็ประวิงเวลาให้เพื่อนๆ มาช่วยได้อีกทาง เดินออกสนามมา ครูไม่ถามสักคำว่าทำไมทำเช่นนั้น และที่ทำร้ายจิตใจผมอย่างสาหัสเมื่อครูบอกตะโกนบอกว่า “เตะอย่างนี้...ตัวสำรองเมริงก็ไม่ได้เป็น” ต้องแอบไปร้องไห้หลังโรงเรียนเลย จากนั้นก็ค่อยๆ ทำตัวห่างเหินจากฟุตบอลทีละน้อยๆ ทุกวันนี้ เวลาดูบอลแล้วเห็นกองหลังมืออาชีพเตะบอลออกเส้นหลังฝั่งตัวเองเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานเหมือนที่ผมเคยทำสี่สิบกว่าที่แล้วทีไรมันตอกย้ำความรู้สึกเก่าๆ แทบทุกทีล่ะน่า??
ผมมีโอกาสได้ดูแลทีมฟุตบอลเด็กชาวเขาตอนไปเป็นครูดอยอาสา.........ผมเฝ้าเพียรบอกตัวเองว่าอย่างแรกเลยว่าจะไม่สร้างรอยแผลในใจให้เด็กๆ ถ้าเขารักและสนุกกับการเตะบอล นั่นแหละใช่เลย... สำหรับผมเขาคือ
นักฟุตบอล การมองเช่นนั้น อาจจะทำให้ผมถูกมองว่าไม่ใช่ผู้ดูแลนักฟุตบอลที่ดีนัก....ก็สุดแล้วแต่ใครจะมองมุมไหน??
เครดิตภาพ
http://www.naewna.com/business/43968
......เมื่อผมเกือบติดนักฟุตบอลทีมโรงเรียน.....
ขนาดไปเลี้ยงควายกลางทุ่งนา ก็ใช้ทุ่งนานั่นแหละเป็นสนาม ไล่เตะบอลกับเพื่อนกันฝุ่นคลุ้งแทบทั้งวัน ลูกฟุตบอลก็มาจากการสละเสื้อเชิ้ตหรือไม่ก้อใช้ถุงพลาสติกห่อยัดฟางทำเป็นรูปทรงกลมที่สุดเท่าที่จะทำได้แทน เมื่อก่อนเคยยืมลูกฟุตบอลที่โรงเรียนมาเล่นแล้วเตะไปชนลวดหนามรั่ว ครูเลยไม่ให้ยืมอีก อีกอย่าง...ทั้งโรงเรียนมีลูกฟุตบอลอยู่ลูกเดียว มันโดนเตะบ่อยชนิดกลายเป็น “ลูกฟุตบอลหนังกลับ” ไปเลย สีดั้งเดิมและยี่ห้อโดนเตะจนถลอกหลุดลุ่ย อ้อ...ลืมบอกไป ที่เตะๆ กันนี่ ใช้ “เท้าเปล่า” หรือภาษาอีสานเรียกว่า “ตีนเปิ่ม” ลงเตะกันทุกคน หากโชคร้ายเตะทิ่มตอทิ่มเสี้ยนทีไร เป็นต้องเลือดไหลเขย่งเท้าเดินออกสนามทันที แพทย์สนามมีซะทีไหน ส่วนใหญ่ก็จะหาชาย “ผ้าซิ่น” เก่าๆ ที่ถูกทิ้งแล้วมาฉีกเป็นเส้นยาว(คล้ายผ้าก๊อต)พันบาดแผล แล้ววิ่งลงสนามลุยต่อ เพื่อนนักเตะประเภทนี้เราเรียกว่า “รถถัง"
ทุกๆ ปีจะมีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างโรงเรียนต่างๆ ของหมู่บ้านในตำบล ความฝันอันสูงสุดของเด็กชายที่บ้าบอลก็คือได้ติดทีมโรงเรียนประจำหมู่บ้านนี่แหละครับ ส่วนใหญ่ครูจะคัดเอาเฉพาะนักเรียนชั้นประถมหก เว้นเสียแต่ว่าบางคนฉายแววตั้งอยู่ป.๕ สำหรับตัวผมเอง...ฝีมือก็พอใช้ได้ทีเดียว สังเกตุเวลาเตะบอลกันทีไร เพื่อนๆ ก็อยากจะให้ไปอยู่ฝ่ายเขา กระนั้น ผมก็ต้องสะสมประสบการณ์จนได้ขึ้นชั้นประถมหก การคัดเลือกนักฟุตบอลประจำโรงเรียนนั้นไม่ยากสำหรับผมเลย คือ:-
๑. วิ่งรอบสนามฟุตบอลสิบรอบโดยไม่หยุด
๒. วิดพื้นสิบครั้ง
๓. เตะบอลให้ไกลเลยสิบเมตรเป็นอย่างต่ำ และเตะสูงกว่าหลังคาอาคารเรียนชั้นเดียว
๔. เดาะบอลให้ได้ถึงสิบครั้งหรือมากกว่านั้น (มีโอกาสสามครั้ง)
ผมสอบผ่านหมดรวมทั้งเพื่อนๆ อีกหลายคน....แนวโน้มที่จะติดทีมโรงเรียนเริ่มฉายแวว ต่อมา...ครูจัดการแข่งขันเพื่อคัดเลือกกับรุ่นพี่ที่จบไปแล้ว ครูคนนี้พึ่งย้ายมาจากโรงเรียนอื่นยังไม่ถึงปี ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลทีม วันนั้นผมรับตำแหน่งแบ๊คหลัง เราเป็นรองรุ่นพี่อยู่พอสมควร อาจจะด้วยเกรงศักดิ์ศรีและด้อยประสบการณ์ หนึ่งในรุ่นพี่นั้นก็มีพี่ชายผมคนหนึ่งที่เขาเป็นกองหน้า(Striker) ผมรับหน้าที่ให้ประกบพี่ชาย พี่ชายผมเก่งทั้งฟุตบอลทั้งตะกร้อซึ่งเป็นที่รู้กันในหมู่บ้าน แต่ผมไม่กลัว...เวลาแกจับบอลได้ทีไรผมวิ่งสวนโครมๆ มีอยู่คราวหนึ่ง....บอลหลุดโด่งมาเกือบจรดเส้นหลังเร็วมาก เพื่อนๆ ที่รุกหน้าไปแล้ววิ่งกลับตามแทบไม่ทัน ตอนนั้นมีผมกับโกลแค่สองคน ส่วนอีกฝ่ายมีพี่ชายผมและกองหน้าอีกสองคนวิ่งไล่บอลมา ผมอยู่ใกล้ลูกบอลที่สุด สถานการณ์ตอนนั้นคือ 3 ต่อ 1....ตอนนั้นผมตั้งสติดีมากเลย(ไม่ได้พูดเข้าข้างตัวเองนะครับ) มองหาและคาดหวังให้เพื่อนที่พยายามจะวิ่งลงมาช่วยให้ทัน แต่ไม่ทันการณ์....ผมเลยตัดสินใจวินาทีนั้นเตะลูกออกข้างหลังเส้นไปเพื่อแก้สถานการณ์ คือยอมเสียลูกเตะคอร์นเนอร์ดีกว่าโดนรุมจากอีกฝ่ายตั้งสามคนที่ตอนนี้แค่ยกขาก็ถึงบอลที่ผมครองอยู่แล้ว และคิดว่าคงจะได้รับคำชมจากครูตรงนี้.....ที่ไหนได้!! ผมโดนครูตะโกนด่าย่อยยับเลย!! และคำด่านั้นยังดังก้องหูผมอยู่ทุกวันนี้เลยแม้จะผ่านมาเป็นสิบๆๆ ปีแล้ว “...เมริงหันหน้าไปทางไหนก็เตะไปทางนั้นเลยนะเมริง!” ผมโดนครูด่าว่าเตะลูกสะเปะสะปะคือแทนที่จะเตะลูกบอลไปทิศทางตรงข้ามกลับหันหน้าเตะเข้าหาทิศทางของตัวเองอะไรประมาณนี้
นอกจากโดนด่าแล้ว ผมโดน “เปลี่ยนตัว” ทันที.....รู้สึกเสียใจมาก....เสียใจจริงๆ เพราะคิดว่าตัวเองคิดดีแล้วที่ยอมเสียลูกคอร์นเนอร์ดีกว่าเสี่ยงเสียประตู อย่างน้อยๆ ก็ประวิงเวลาให้เพื่อนๆ มาช่วยได้อีกทาง เดินออกสนามมา ครูไม่ถามสักคำว่าทำไมทำเช่นนั้น และที่ทำร้ายจิตใจผมอย่างสาหัสเมื่อครูบอกตะโกนบอกว่า “เตะอย่างนี้...ตัวสำรองเมริงก็ไม่ได้เป็น” ต้องแอบไปร้องไห้หลังโรงเรียนเลย จากนั้นก็ค่อยๆ ทำตัวห่างเหินจากฟุตบอลทีละน้อยๆ ทุกวันนี้ เวลาดูบอลแล้วเห็นกองหลังมืออาชีพเตะบอลออกเส้นหลังฝั่งตัวเองเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานเหมือนที่ผมเคยทำสี่สิบกว่าที่แล้วทีไรมันตอกย้ำความรู้สึกเก่าๆ แทบทุกทีล่ะน่า??
ผมมีโอกาสได้ดูแลทีมฟุตบอลเด็กชาวเขาตอนไปเป็นครูดอยอาสา.........ผมเฝ้าเพียรบอกตัวเองว่าอย่างแรกเลยว่าจะไม่สร้างรอยแผลในใจให้เด็กๆ ถ้าเขารักและสนุกกับการเตะบอล นั่นแหละใช่เลย... สำหรับผมเขาคือนักฟุตบอล การมองเช่นนั้น อาจจะทำให้ผมถูกมองว่าไม่ใช่ผู้ดูแลนักฟุตบอลที่ดีนัก....ก็สุดแล้วแต่ใครจะมองมุมไหน??
เครดิตภาพ http://www.naewna.com/business/43968