สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
มันมาจากหลักการที่ว่า (สาร หรือ วัสดุ) สีดำ คือสิ่งที่ดูดกลืน (Absorb) แสงในทุกย่านความถี่ครับ
โดยมันจะดูดกลืนแสงในทุกย่านเท่า ๆ กัน รวมถึงแสงย่าน Infrared ด้วย (Infrared เนี่ย ตัวแผ่ความร้อนเลย)
ดังนั้น วัตถุสีดำจึงดูดกลืนความร้อนใว้กับตัวเองได้มากที่สุด เพราะแสงทุกย่านล้วนแต่มีพลังงานครับ แต่หากเป็น
วัตถุสีอื่น ๆ โดยเฉพาะสีที่ดูฉูดฉาดสะท้อนแสงได้มาก มันก็จะดูดกลืนเฉพาะบางย่านแสงเท่านั้น โดยสะท้อนแสง
ออกมาเป็นส่วนมาก มันจึงอมความร้อนใว้กับตัวน้อยกว่าวัตถุที่มีสีเข้ม
ขอเพิ่งเติมความรู้เรื่อง สี ของวัตถุต่าง ๆ ให้ด้วยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ส่วน " สีของวัตถุธรรมชาติ " นั้น มาจากคุณสมบัติ 3 อย่างของวัตถุธรรมชาติครับ คือ
- Reflect or scatter light (การสะท้อน + กระเจิง)
- Absorb light (การดูดกลืน)
- Refract light (การหักเห)
ทั้ง 3 อย่างนี้ แล้วแต่ว่าวัตถุนั้นจะมีคุณสมบัติอะไรมากกว่ากัน
และมีอิทธิพลต่อแสงในย่านความถี่ใดมากกว่า นั่นคือ มันจะแสดงสีนั้น ๆ ออกมา ครับ
ตัวอย่างที่ 1
มะเขือเทศมีสีแดงเพราะอะไร ?
เพราะว่ามะเขือเทศมีสาร Lycopene จำนวนมาก ซึ่ง Lycopene นี้มีคุณสมบัติ absorb แสงในเกือบทุกย่าน ยกเว้นย่านสีแดง
และ reflect ย่านสีแดงออกมา ดังนั้นตามนุษย์จึงมองเห็นมะเขือเทศเป็นสีแดงครับ โดยหากเราวางมะเขือเทศใว้กลางแดด
แสงแดดที่มีแสงสีครบทุกย่านจะตกกระทบมะเขือเทศ และมันก็จะ "แสดง" เฉพาะสีแดงออกมาตามที่อธิบายไปครับ
ตัวอย่างที่ 2
แครอทมีสีออกเหลือง ๆ แดง ๆ เพราะว่า carotene ที่มีอยู่ในแครอท นั้น มีคุณสมบัติดูดกลืนแสงย่านสีม่วง-น้ำเงิน
และช่วงแสงสีเขียว (450 - 550 นาโนเมตร) ทำให้แสงอาทิตย์ซึ่งมีครบทุก spectrum นั้น ถูกดูดกลินไปในช่วงดังกล่าวครับ
จึงเหลือเพียงแสงย่านสีเหลือง-แดง ที่ reflect ออกมาสู่ตาเราได้ครับ
ตัวอย่างที่ 3
พืชทั่ว ๆ ไปมีสีเขียว เพราะในพืชจะมี chlorophyll เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่ง chlorophyll นั้นมีการ absorb แสงย่าน
สีม่วง-น้ำเงิน และ แดง แต่เว้นย่านสีเขียวที่ไม่ absorb ดังนั้น chlorophyll จึงปล่อยเฉพาะแสงย่านสีเขียวให้ reflect เข้าตาเราได้ครับ
โดยมันจะดูดกลืนแสงในทุกย่านเท่า ๆ กัน รวมถึงแสงย่าน Infrared ด้วย (Infrared เนี่ย ตัวแผ่ความร้อนเลย)
ดังนั้น วัตถุสีดำจึงดูดกลืนความร้อนใว้กับตัวเองได้มากที่สุด เพราะแสงทุกย่านล้วนแต่มีพลังงานครับ แต่หากเป็น
วัตถุสีอื่น ๆ โดยเฉพาะสีที่ดูฉูดฉาดสะท้อนแสงได้มาก มันก็จะดูดกลืนเฉพาะบางย่านแสงเท่านั้น โดยสะท้อนแสง
ออกมาเป็นส่วนมาก มันจึงอมความร้อนใว้กับตัวน้อยกว่าวัตถุที่มีสีเข้ม
ขอเพิ่งเติมความรู้เรื่อง สี ของวัตถุต่าง ๆ ให้ด้วยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ส่วน " สีของวัตถุธรรมชาติ " นั้น มาจากคุณสมบัติ 3 อย่างของวัตถุธรรมชาติครับ คือ
- Reflect or scatter light (การสะท้อน + กระเจิง)
- Absorb light (การดูดกลืน)
- Refract light (การหักเห)
ทั้ง 3 อย่างนี้ แล้วแต่ว่าวัตถุนั้นจะมีคุณสมบัติอะไรมากกว่ากัน
และมีอิทธิพลต่อแสงในย่านความถี่ใดมากกว่า นั่นคือ มันจะแสดงสีนั้น ๆ ออกมา ครับ
ตัวอย่างที่ 1
มะเขือเทศมีสีแดงเพราะอะไร ?
เพราะว่ามะเขือเทศมีสาร Lycopene จำนวนมาก ซึ่ง Lycopene นี้มีคุณสมบัติ absorb แสงในเกือบทุกย่าน ยกเว้นย่านสีแดง
และ reflect ย่านสีแดงออกมา ดังนั้นตามนุษย์จึงมองเห็นมะเขือเทศเป็นสีแดงครับ โดยหากเราวางมะเขือเทศใว้กลางแดด
แสงแดดที่มีแสงสีครบทุกย่านจะตกกระทบมะเขือเทศ และมันก็จะ "แสดง" เฉพาะสีแดงออกมาตามที่อธิบายไปครับ
ตัวอย่างที่ 2
แครอทมีสีออกเหลือง ๆ แดง ๆ เพราะว่า carotene ที่มีอยู่ในแครอท นั้น มีคุณสมบัติดูดกลืนแสงย่านสีม่วง-น้ำเงิน
และช่วงแสงสีเขียว (450 - 550 นาโนเมตร) ทำให้แสงอาทิตย์ซึ่งมีครบทุก spectrum นั้น ถูกดูดกลินไปในช่วงดังกล่าวครับ
จึงเหลือเพียงแสงย่านสีเหลือง-แดง ที่ reflect ออกมาสู่ตาเราได้ครับ
ตัวอย่างที่ 3
พืชทั่ว ๆ ไปมีสีเขียว เพราะในพืชจะมี chlorophyll เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่ง chlorophyll นั้นมีการ absorb แสงย่าน
สีม่วง-น้ำเงิน และ แดง แต่เว้นย่านสีเขียวที่ไม่ absorb ดังนั้น chlorophyll จึงปล่อยเฉพาะแสงย่านสีเขียวให้ reflect เข้าตาเราได้ครับ
สมาชิกหมายเลข 6850816 ทึ่ง, Silence Speaks ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 2965262 ถูกใจ, alt of ctrl ถูกใจ, humming in my sleep ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 3084064 ถูกใจ, silentkung ถูกใจ, Hydralisk ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 1551145 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 849867 ถูกใจรวมถึงอีก 6 คน ร่วมแสดงความรู้สึก
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
ทำไมถึงบอกว่าสีดำดูดความร้อน ทั้งๆที่มันดูดแสงครับ?