“เมื่อมีโรงไฟฟ้าถ่านหิน แล้วนักท่องเที่ยวจะไม่กลับมาอีก” จริงหรือ ??

กระแสโซเชียลที่ค่อนข้างโด่งดังในตอนนี้ คงไม่พ้นเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ภาคใต้ ที่ยังคงวุ่นกับการแก้ไข EIA/EHIA ให้มีความโปร่งใส
ซึ่งในความคิดของเราเนี่ยไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นเรื่องของความมั่นคงของประเทศชาติเลยทีเดียว
ทุกวันนี้เราต้องซื้อก๊าซธรรมชาติจากเพื่อนบ้านมาใช้หมุนเวียนเป็นพลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งราคาก๊าซธรรมชาติที่ว่าเนี่ย มันไม่คงที่ผูกติดกับราคาน้ำมัน ซึ่งผันแปรอยู่ตลอดเวลา ประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนที่สูงมากจนเกิดความเสี่ยงของแหล่งพลังงาน และกำลังสำรองก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยมีปริมาณจำกัด

ทางเลือกถัดมาคือก็คือการใช้ถ่านหิน ซึ่งต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินต่ำกว่าเชื้อเพลิงอื่นๆ เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน และพลังงานหมุนเวียน และในปัจจุบันสามารถใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ซึ่งตามคำจำกัดความ IEA (Inter Nationalnal Energy Agency) หมายถึง โรงไฟฟ้าถ่านหินที่ใช้เทคโนโลยีประสิทธิภาพสูง ปล่อย CO2 ในระดับต่ำ รวมทั้งสามารถกำจัดมลสารต่างๆ อาทิ ฝุ่นละออง ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือ ดักจับไอปรอทได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรงไฟฟ้าถ่านหินใช้เทคโนโลยีแบบ USC (Ultra Super Critical) ที่ใช้กับโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ทันสมัย ประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน และได้มาตรฐานในระดับสากล แต่เนื่องจากประชาชนบางกลุ่มยังยึดติดอยู่กับภาพลักษณ์ที่น่ากลัวของโรงไฟฟ้าในแบบเดิมๆ จึงทำให้บางคนไม่ยอมรับ และก็ไม่ได้รับการเชื่อถือเท่าที่ควร

เรามักจะได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ว่าประเทศนู้นประเทศนี้ทยอยปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น นั่นก็เพราะเป็นโรงเก่าที่หมดอายุไปแล้ว มันก็ต้องปลดระวางเป็นธรรมดา แต่เขาก็มีพลังงานด้านอื่นรองรับ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล ฯลฯ มาดูข้อมูลกันดีกว่า

พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นแหล่งพลังงานธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุด และสามารถใช้เป็นพลังงานได้ไม่มีวันหมด เป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะจากกระบวนการผลิตไฟฟ้า แต่ข้อจำกัดของมันก็คือ ราคาสูง, ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืน (เวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์, แบตเตอรี่ซึ่งเป็นตัวกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้ในเวลากลางคืนมีอายุการใช้งานต่ำ, ความเข้มของแสงแดดไม่คงที่และสม่ำเสมอ เนื่องจากสภาพอากาศและฤดูกาล

พลังงานลม เป็นแหล่งพลังงานที่ได้จากธรรมชาติเช่นกัน แต่ลมในประเทศไทยมีความเร็วค่อนข้างต่ำ, พื้นที่ที่เหมาะสมมีจำกัด ขึ้นอยู่กับสภาวะอากาศ บางฤดูอาจไม่มีลม, ต้องใช้แบตเตอรี่ราคาแพงเป็นแหล่งเก็บพลังงาน สรุปก็คือ พลังงานไม่มีความเสถียร ไม่สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้า

พลังงานชีวมวล ก็คือ สิ่งที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต เช่น ต้นไม้ อ้อย มันสำปะหลัง ถ่าน ฟืน แกลบ วัชพืชต่างๆ หรือแม้กระทั่ง ขยะและมูลสัตว์ ซึ่งภาคใต้ของเรา เป็นแหล่งของน้ำมันปาล์ม เป็นใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จึงเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน พลังงานชีวมวลเป็นการผลิตกระแสไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก ซึ่งพลังงานชีวมวล มีปริมาณสำรองที่ไม่แน่นอน การบริหารจัดการเชื้อเพลิงค่อนข้างทำได้ยาก ราคาชีวมวลก็มีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

คำถามคือทำไมไม่ใช่พลังงานทดแทนจากธรรมชาติล่ะ?
ซึ่งเรารู้กันดีว่าพลังงานทดแทนที่พูดมานั้น ในประเทศของเราค่อนข้างที่จะไม่เสถียรเอาซะเลย เมื่อเทียบกับอัตราการใช้ไฟฟ้าของคนในประเทศเรา ที่ยิ่งมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี ถึงแม้ว่าจะมีบางความคิดที่เชื่อว่าเราสามารถนำพลังงานทดแทนมาใช้เป็นพลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้า จริงๆแล้วคือมันเป็นไปไม่ได้เลย

ประเทศของเราตอนนี้ต้องมีพลังงานหลัก ที่ผลิตไฟฟ้าได้เอง ไม่ต้องไปซื้อจากเพื่อนบ้าน และนำพลังงานทดแทนมาใช้ควบคู่กันไป อมยิ้ม03

555555 เราอาจจะเกริ่นเรื่องยาวไปนิ๊ดเนอะ มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าาาาาา

เมื่อพูดถึงโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทุกคนคงคิดว่ามันสกปรก ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำลายธรรมชาติ แต่นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าพวกคุณยึดติดกับความคิดเก่าๆ ภาพเก่าๆ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีมันก้าวกระโดดไปไกลแล้ว เราสามารถทำให้มันสะอาดได้ ประหลาดใจ

แต่เราไปเจอหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อ สารคดี ” เอาถ่านไหม? “ ซึ่งเขียนแต่ด้านลบของการมีโรงไฟฟ้าถ่านหินแล้วจะทำให้นักท่องเที่ยวไม่กลับมาเที่ยวอีก งงกับตรรกะมาก ว่าใช้ตรรกะอะไรคิด? เพราะประเทศมาเลเซียเพื่อนบ้านเราเนี่ย ก็มีสถานที่ท่องเที่ยว มีโรงแรมหรู รีสอร์ทหรู ซึ่งห่างจากโรงไฟฟ้าจิมาห์ประมาน 4 กิโลเมตรเองนะ แต่ก็ยังมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวกันอย่างต่อเนื่อง ดังภาพนี้
ประเทศญี่ปุ่นก็มีโรงไฟฟ้าถ่านหินตั้งติดประชิดกับชุมชนเลย จำนวนนักท่องเที่ยวของมาเลย์และญี่ปุ่นก็ไม่ลดลงไปนะคะ บ้านเมืองเขาก็พัฒนาไปเร็วกว่าบ้านเราด้วย =_=

อืมม...หนังสือเล่มนี้อ่านแล้วรู้สึกว่าไม่ค่อยโอเคกับตรรกะเท่าไหร่ เอาเป็นว่าบทความนี้ให้ข้อมูลที่ทำให้กระจ่างได้ทีเดียวเชียวแหละ ถ้าใครว่างๆก็ลองเข้าไปอ่านเล่นดูนะ นี่เลยลิ้งค์ตามด้านล่างนี้
http://www.zanzaap.com/2017/04/sarakadee/

สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะทางเลือกไหน อยากให้คนไทยทุกคนใช้ความคิดไตร่ตรองให้ดี เนื่องจากบางทีข้อมูลมันถูกบิดเบือนจากความเป็นจริงเยอะ เราจึงต้องคิด วิเคราห์ แยกแยะ ก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อในข้อมูลนั้นๆ ช่วยกันคิดช่วยกันตัดสินใจ ประเทศไทยของเราจะได้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้ อมยิ้ม07อมยิ้ม13
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่