ศิษย์เอก เปี๊ยก โปสเตอร์
ตำนานนักเขียนในปิดหนัง
‘บรรณหาร ไทธนบูรณ์’
ศิลปะการวาดภาพใหญ่ๆ หน้าโรงหนังในอดีต หรือใบปิดหนังไทยหนังเทศ ฝีมือระดับโลกต้องยกให้ เปี๊ยก โปสเตอร์ (สมบูรณ์สุข นิยมศิริ) ศิลปินแห่งชาติ ครูเปี๊ยก โปสเตอร์ สร้างและกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิต โทน นำโดย ไชยา สุริยัน, อรัญญา นามวงศ์ ฉายครั้งแรกปี ๒๕๑๓ ที่เฉลิมไทยทำเงินมหาศาล ใบปิดหนังเรื่องนี้ ครูเปี๊ยกมอบให้ศิษย์เอก บรรณหาร ไทธนบูรณ์ วาดแทน วาดได้สวยงามคลาสสิกมาก หนังขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์แห่งชาติปี ๒๕๕๔
ผู้เขียนนัดพบ อ.บรรณหาร ไทธนบูรณ์ ครั้งแรกที่โรงแรมเอเชีย ราชเทวี วัย ๗๐ ในปี ๒๕๖๐ ดูหนุ่มกว่าอายุมาก แววตามุ่งมั่นมีบุคลิกศิลปินชัดเจน มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการสูงมาก คุยสนุก ท่านเล่าให้ฟังว่า พระเจ้าสร้างท่านมาให้เป็นศิลปินวาดภาพโดยแท้
“ผมเกิดที่หาดใหญ่ ตอนเรียนอนุบาล พอจับดินสอเป็น ก็วาดรูปเลย วาดทุกอย่าง ต้นไม้ นก การ์ตูน พอขึ้น ป.๑ เริ่มระบายสีให้สวยๆ กลับบ้านให้แม่ดู แม่เป็นคนละเอียดมาก ผมได้ความละเอียดมา แม่คือครูคนแรกที่สอน ‘ลูกต้องเขียนให้สวยให้ดีที่สุด เขียนภาพต้องใจเย็นๆ ต้องทำให้ภาพเนียนที่สุด พยายามนะลูก แม่จะได้เอาภาพของลูกโชว์ได้’ คำพูดแม่คือแรงบันดาลใจให้ผมประสบความสำเร็จในอาชีพนี้ แม่มีอารมณ์ศิลปิน ก่อนนอนแม่จะขับเสภาอันไพเราะกล่อมจนเราหลับ ตอนอยู่ ม.๔ ผมชอบไปดูเขาเขียนรูปที่โรงหนังคิงส์ หาดใหญ่ทุกวัน ฝันตามประสาเด็กๆ อยากเป็นช่างเขียนโปสเตอร์หนัง น่าภูมิใจและเท่มาก ใจผมรักงานด้านนี้”
“ครูบุญธรรม บุญเทพ ครูเขียนโปสเตอร์โรงหนังเห็นแวว ให้มาฝึกที่โรงหนัง ล้างพู่กัน เก็บเครื่องมือ หัดวาดเส้น แรกๆ วาดรถแห่ก่อนจนชํานาญ ได้เป็นผู้ช่วยครู มีเงินเดือน เขียนภาพคัทเอาท์ใหญ่ๆ หน้าโรง ผมโชคดีได้ครูดีสอนถึง ๒ ท่าน มี ครูเปี๊ยก, ครูบุญธรรม เป็นสุดยอดของประเทศไทย ทำให้ชีวิตผมเปี่ยมไปด้วยสีสัน เข้าไปในจิตวิญญาณศิลป์”
“วันหนึ่งผมอ่านไทยรัฐพบข่าว เปี๊ยก โปสเตอร์ เปิดโรงเรียนสอนวาดภาพ ชื่อ ‘เพาะศิลป์’ จึงขอแม่มาเรียนกับครูเปี๊ยก เราสองแม่ลูกหิ้วกระเป๋าขึ้นบันไดรถด่วน ตอนนั้นปลายปี ๒๕๑๐ ไปพักที่วัดเจ้ามูล ท่าพระ โชคดีที่รู้จักกับหลวงพ่อเจ้าอาวาส ครูเปี๊ยกรับแค่ ๔๐ คนเท่านั้น เปิดสอนเวลา ๑๗.๐๐ – ๒๐.๐๐ น.ทุกวัน ครูเปี๊ยกสอนเอง เน้นปฏิบัติ มีครูเพาะช่างมาช่วยสอน วันไหนครูเปี๊ยกไม่มา นักเรียนหายไปครึ่งห้อง กว่าจะจบ
หลักสูตรประมาณ ๑ ปี ครูเปี๊ยกเปิดบริษัทรับเขียนใบปิดหนังด้วย มีพี่ วิชิต, สมเดช, ประหยัด, สมชาย และ ทองดี ภาณุมาศ คนหลังสุด ยอดฝีมือของบริษัท ต่อมาพวกพี่ๆ ลาออก เหลือแต่ทองดี ครูเปี๊ยกจึงหาลูกศิษย์ไปช่วยงานบริษัท ครูให้ทดลองเขียนรูปตามหลักวิชา ยากครับ ผมผ่านการพิจารณา ครูดูแนวเขียน รู้ได้ทันที ครูพูดว่า ‘บรรณหารเธอเคยเขียนโรงหนังมาก่อนแน่ๆ ดูจากลายเส้นและสี’ ผมตอบ ใช่ครับ จึงได้ไปทำงานกับครูเปี๊ยกตั้งแต่บัดนั้น
”
“ครูเปี๊ยกขอให้ผมเรียนให้จบและทํางานไปด้วย ช่วยดูน้องๆ ครูมีตำราต่างประเทศหลายเล่ม นักเรียนขอยืมไปแล้วแอบฉีกภาพสวยๆ ไป ครูบ่นกับผม หนังสือเสียหายหมด ผมจึงอาสาดูแลหนังสือทุกเล่มให้ครู จนจบหลักสูตร บรรณหารและทองดี เป็นมือทำงาน ครูบอก ๒ คนเก่งเขียนดี มีคุณภาพ ครูเปี๊ยกสอนเทคนิคต่างๆ ให้มาก ให้ผมเขียนใบปิดหนังไทย ให้ ทองดี เขียนใบปิดหนังฝรั่ง แนวเขียนของผมทำเหมือนครูทุกอย่าง สังเกตดูว่า ครูเปี๊ยก ท่านรักและได้รับอิทธิพลจากงานของศิลปินชาวดัทซ์ ที่ชื่อว่า เรมบรันดต์ (Rembrandt van Rijn) ภาพที่ครูเปี๊ยกเขียนจึงมักใช้สีน้ำตาลอมเหลืองและดำ”
“ตอนเปิดกล้องหนังเรื่อง โทน กับห้องภาพสุวรรณฟิล์ม ปี ๒๕๑๒ ครูบอกว่า ไม่มีเวลาดูแลบริษัท ต้องไปถ่ายหนังแต่เช้ากลับดึกทุกวัน ให้ผมดูแลทุกอย่าง ตั้งแต่จ่ายเงินเดือนพนักงาน รายจ่ายต่างๆ สารพัด ซื้อสีซื้ออุปกรณ์ของใช้”
“วันหนึ่ง ครูเปี๊ยกเอ่ยว่า ‘นี่บรรณหารครูจะให้เธอเขียนใบปิดหนังเรื่องโทน ทำให้ดีที่สุดนะนี่เป็นเรื่องแรก’ ผมขนลุก ประทับใจที่สุด ไม่นึกว่าครูจะไว้ใจ ปกติงานคุณภาพครูจะเขียนเอง ฝีมือครูเปี๊ยกระดับขั้นเทพหาใครเทียบไม่ได้ เราโชคดีมาก ต้องทุ่มเทตั้งใจสุดฝีมือให้ออกมาดีที่สุด ผมทุ่มเทบรรจงเขียนอย่างเต็มความสามารถ คิดถึงคำพูดของแม่เสมอว่า ‘ลูกตั้งใจเขียนให้ละเอียดให้สวยให้เนียน’ ผมเขียนภาพนี้ทั้งวันทั้งคืน ใช้เวลาร่วมเดือนจึงเสร็จ”
“ตีสอง ครูเปี๊ยกกลับมาเห็นผมเขียนอยู่ ‘อ้าวบรรณหารเธอไม่นอนพักก่อน เดี๋ยวไม่สบาย’ แล้วครูเข้านอน ตื่น ๖ โมงเช้า ยังเห็นผมนั่งเขียน ‘เธอยังไม่นอนอีก’ ผมบอกครูว่า พอครูหลับผมนอน พอครูตื่นผมตื่นด้วย ผมนอนแล้วครับ ครูบอกตั้งใจทำให้เสร็จนะ เขียนตามสบาย จนเรียบร้อยส่งเข้าโรงพิมพ์ โฆษณาหนังได้ทัน เรื่องที่ ๒ เรื่อง ดวง มีไพโรจน์ ใจสิงห์ แสดง ครูให้บรรณหารเขียน ส่วนเรื่องที่ ๓ เรื่อง ชู้ ครูให้เขียนทั้ง ๒ คนมี ทองดี และ บรรณหาร เขียนคนละใบ ผมเขียนใบที่มี ๓ หน้าเป็นรูป มานพ อัศวเทพ, วันดี ศรีตรัง, กรุง ศรีวิไล”
“ทำงานกับครูเปี๊ยกได้ประมาณ ๓ ปี เริ่มเก่ง จึงขอไปเปิดบริษัทรับงานเอง ไปบอกครู ท่านสนับสนุนเต็มที่ ครูบอกว่า จะทำหนังอย่างเดียวแล้ว ยกเครื่องมือให้บรรณหารกับทองดีหมดเลย ผมไปเปิดสำนักงานใหม่ประมาณปี ๒๕๑๕ ที่สะพานควาย”
ผู้เขียนถามว่า เป็นไงบ้างไปทำเองรับผิดชอบเอง
“โอ้..งานล้นมือจนถูกด่า ส่งงานไม่ทัน ต้องจัดคิวให้ชัดเจนและลงตัว ปัญหาคือ หาช่างเขียนฝีมือดีๆ ยากมาก ผมตัดสินใจไปที่ไทยวิจิตรศิลป์ อาจารย์ให้ผมเลือก ผมเลือก ‘อังเคิล’ มาทำงานด้วยหลายปี ปัจจุบันเป็นผู้กำกับดัง ชื่อจริง ‘อดิเรก วัฎลีลา
’ กำกับหนังหลายเรื่อง เช่น เรื่อง ปลื้ม และ ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย ผมก็เคยสร้างหนัง กำกับและเขียนบทเอง คือ รู้แล้วน่าว่ารักเสมอตัวส่วนเรื่องที่ 2ชื่อสบายบรื๋อ ในกรุงเทพฯ
ได้ ๓ ล้าน ขายสายได้หลายล้าน มีกำไรพอสมควร คนสนับสนุนทุนเขาจะช่วยอีก เรามันอารมณ์ศิลปินรักเขียนภาพมากกว่า เลยเลิกทำหนัง โทรไปหาครูเปี๊ยก ท่านให้งานเขียนใบปิดมาอีก เรื่อง ไข่ลูกเขย ครูส่งมาอีกหลายเรื่อง เช่น คุณปู่ซู่ซ่า คุณย่าเซ็กซี่ ฯลฯ”
ผู้เขียนเอ่ยว่า อยากขอความเห็น ใบปิดเรื่อง “โทน” ปี ๒๕๖๐ เห็น “ยา โปสเตอร์” (Ya Poster) วาดใหม่ลอกจากต้นฉบับ
อ.บรรณหาร
“ผมเห็นว่า ‘ยา’ วาดได้สวยมาก เหมือนทุกอย่าง จนคนดูไม่รู้ว่าใบไหนต้นฉบับ ‘ยา’ เป็นลูกศิษย์ ตอนวาดเขาก็มาปรึกษา ขออนุญาต ผมก็แนะนำไป ยอมรับว่า เขามีความพยายาม ตั้งใจ อดทน มีมานะมาก ผมเขียนแบบปล่อยทีพู่กัน (รอยพู่กันหยาบๆ ไม่เกลี่ยมาก) ‘ยา’มาเขียนเป็นเส้นยุ่งยากกว่า แต่ออกมาดีมาก สมัยที่ผมเขียนภาพนี้เมื่อ ๔๕ ปีก่อน ผมตั้งใจเขียนมากวันๆ นอนแค่ 3 ชั่วโมงเท่านั้น ทุ่มสุดหัวใจ”
ช่วงท้ายนี้ อยากให้ อ.บรรณหาร แนะนำศิลปินนักเขียนภาพรุ่นใหม่ๆ บ้าง
“ผมอยากให้น้องๆ ศิลปินใหม่ๆ มุ่งมั่นกับงานที่เราเขียน พยายามทำให้ดีที่สุด ต้องให้สวยเท่าอาจารย์หรือสวยกว่า และหมั่นสังเกต จับรายละเอียดให้ลึก และเมื่อสเก็ตช์ภาพลงดินสอแล้ว ใช้เวลาสัก ๑๐ นาทีทบทวนอีกครั้งให้เกิดสมาธิ พิจารณาแล้วค่อยลงสี น้องๆ และลูกศิษย์ อ.บรรณหารรักงานเขียนรูปมาก ปกติทำงานเต็ม ๑๐๐ แต่ผมทำเต็ม ๑๐๐๐”
“ตั้งแต่เด็กถึงทุกวันนี้ผมยังเขียนภาพอยู่ ด้วยหัวใจรักจากจิตวิญาณศิลปะ ชีวิตคนต้องตาย แต่ศิลปะไม่ตาย”
บทความเขียนโดย วิวัย จิตต์แจ้ง
โคราชคนอีสานเสนอเปี๊ยก โปสเตอร์ บรรณหาร ไทธนบุรณ์ โดย พิษณุ ธีระกนก วิวัย จิตต์แจ้งเขียน
ตำนานนักเขียนในปิดหนัง
‘บรรณหาร ไทธนบูรณ์’
ศิลปะการวาดภาพใหญ่ๆ หน้าโรงหนังในอดีต หรือใบปิดหนังไทยหนังเทศ ฝีมือระดับโลกต้องยกให้ เปี๊ยก โปสเตอร์ (สมบูรณ์สุข นิยมศิริ) ศิลปินแห่งชาติ ครูเปี๊ยก โปสเตอร์ สร้างและกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิต โทน นำโดย ไชยา สุริยัน, อรัญญา นามวงศ์ ฉายครั้งแรกปี ๒๕๑๓ ที่เฉลิมไทยทำเงินมหาศาล ใบปิดหนังเรื่องนี้ ครูเปี๊ยกมอบให้ศิษย์เอก บรรณหาร ไทธนบูรณ์ วาดแทน วาดได้สวยงามคลาสสิกมาก หนังขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์แห่งชาติปี ๒๕๕๔
ผู้เขียนนัดพบ อ.บรรณหาร ไทธนบูรณ์ ครั้งแรกที่โรงแรมเอเชีย ราชเทวี วัย ๗๐ ในปี ๒๕๖๐ ดูหนุ่มกว่าอายุมาก แววตามุ่งมั่นมีบุคลิกศิลปินชัดเจน มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการสูงมาก คุยสนุก ท่านเล่าให้ฟังว่า พระเจ้าสร้างท่านมาให้เป็นศิลปินวาดภาพโดยแท้
“ผมเกิดที่หาดใหญ่ ตอนเรียนอนุบาล พอจับดินสอเป็น ก็วาดรูปเลย วาดทุกอย่าง ต้นไม้ นก การ์ตูน พอขึ้น ป.๑ เริ่มระบายสีให้สวยๆ กลับบ้านให้แม่ดู แม่เป็นคนละเอียดมาก ผมได้ความละเอียดมา แม่คือครูคนแรกที่สอน ‘ลูกต้องเขียนให้สวยให้ดีที่สุด เขียนภาพต้องใจเย็นๆ ต้องทำให้ภาพเนียนที่สุด พยายามนะลูก แม่จะได้เอาภาพของลูกโชว์ได้’ คำพูดแม่คือแรงบันดาลใจให้ผมประสบความสำเร็จในอาชีพนี้ แม่มีอารมณ์ศิลปิน ก่อนนอนแม่จะขับเสภาอันไพเราะกล่อมจนเราหลับ ตอนอยู่ ม.๔ ผมชอบไปดูเขาเขียนรูปที่โรงหนังคิงส์ หาดใหญ่ทุกวัน ฝันตามประสาเด็กๆ อยากเป็นช่างเขียนโปสเตอร์หนัง น่าภูมิใจและเท่มาก ใจผมรักงานด้านนี้”
“ครูบุญธรรม บุญเทพ ครูเขียนโปสเตอร์โรงหนังเห็นแวว ให้มาฝึกที่โรงหนัง ล้างพู่กัน เก็บเครื่องมือ หัดวาดเส้น แรกๆ วาดรถแห่ก่อนจนชํานาญ ได้เป็นผู้ช่วยครู มีเงินเดือน เขียนภาพคัทเอาท์ใหญ่ๆ หน้าโรง ผมโชคดีได้ครูดีสอนถึง ๒ ท่าน มี ครูเปี๊ยก, ครูบุญธรรม เป็นสุดยอดของประเทศไทย ทำให้ชีวิตผมเปี่ยมไปด้วยสีสัน เข้าไปในจิตวิญญาณศิลป์”
“วันหนึ่งผมอ่านไทยรัฐพบข่าว เปี๊ยก โปสเตอร์ เปิดโรงเรียนสอนวาดภาพ ชื่อ ‘เพาะศิลป์’ จึงขอแม่มาเรียนกับครูเปี๊ยก เราสองแม่ลูกหิ้วกระเป๋าขึ้นบันไดรถด่วน ตอนนั้นปลายปี ๒๕๑๐ ไปพักที่วัดเจ้ามูล ท่าพระ โชคดีที่รู้จักกับหลวงพ่อเจ้าอาวาส ครูเปี๊ยกรับแค่ ๔๐ คนเท่านั้น เปิดสอนเวลา ๑๗.๐๐ – ๒๐.๐๐ น.ทุกวัน ครูเปี๊ยกสอนเอง เน้นปฏิบัติ มีครูเพาะช่างมาช่วยสอน วันไหนครูเปี๊ยกไม่มา นักเรียนหายไปครึ่งห้อง กว่าจะจบ
หลักสูตรประมาณ ๑ ปี ครูเปี๊ยกเปิดบริษัทรับเขียนใบปิดหนังด้วย มีพี่ วิชิต, สมเดช, ประหยัด, สมชาย และ ทองดี ภาณุมาศ คนหลังสุด ยอดฝีมือของบริษัท ต่อมาพวกพี่ๆ ลาออก เหลือแต่ทองดี ครูเปี๊ยกจึงหาลูกศิษย์ไปช่วยงานบริษัท ครูให้ทดลองเขียนรูปตามหลักวิชา ยากครับ ผมผ่านการพิจารณา ครูดูแนวเขียน รู้ได้ทันที ครูพูดว่า ‘บรรณหารเธอเคยเขียนโรงหนังมาก่อนแน่ๆ ดูจากลายเส้นและสี’ ผมตอบ ใช่ครับ จึงได้ไปทำงานกับครูเปี๊ยกตั้งแต่บัดนั้น
”
“ครูเปี๊ยกขอให้ผมเรียนให้จบและทํางานไปด้วย ช่วยดูน้องๆ ครูมีตำราต่างประเทศหลายเล่ม นักเรียนขอยืมไปแล้วแอบฉีกภาพสวยๆ ไป ครูบ่นกับผม หนังสือเสียหายหมด ผมจึงอาสาดูแลหนังสือทุกเล่มให้ครู จนจบหลักสูตร บรรณหารและทองดี เป็นมือทำงาน ครูบอก ๒ คนเก่งเขียนดี มีคุณภาพ ครูเปี๊ยกสอนเทคนิคต่างๆ ให้มาก ให้ผมเขียนใบปิดหนังไทย ให้ ทองดี เขียนใบปิดหนังฝรั่ง แนวเขียนของผมทำเหมือนครูทุกอย่าง สังเกตดูว่า ครูเปี๊ยก ท่านรักและได้รับอิทธิพลจากงานของศิลปินชาวดัทซ์ ที่ชื่อว่า เรมบรันดต์ (Rembrandt van Rijn) ภาพที่ครูเปี๊ยกเขียนจึงมักใช้สีน้ำตาลอมเหลืองและดำ”
“ตอนเปิดกล้องหนังเรื่อง โทน กับห้องภาพสุวรรณฟิล์ม ปี ๒๕๑๒ ครูบอกว่า ไม่มีเวลาดูแลบริษัท ต้องไปถ่ายหนังแต่เช้ากลับดึกทุกวัน ให้ผมดูแลทุกอย่าง ตั้งแต่จ่ายเงินเดือนพนักงาน รายจ่ายต่างๆ สารพัด ซื้อสีซื้ออุปกรณ์ของใช้”
“วันหนึ่ง ครูเปี๊ยกเอ่ยว่า ‘นี่บรรณหารครูจะให้เธอเขียนใบปิดหนังเรื่องโทน ทำให้ดีที่สุดนะนี่เป็นเรื่องแรก’ ผมขนลุก ประทับใจที่สุด ไม่นึกว่าครูจะไว้ใจ ปกติงานคุณภาพครูจะเขียนเอง ฝีมือครูเปี๊ยกระดับขั้นเทพหาใครเทียบไม่ได้ เราโชคดีมาก ต้องทุ่มเทตั้งใจสุดฝีมือให้ออกมาดีที่สุด ผมทุ่มเทบรรจงเขียนอย่างเต็มความสามารถ คิดถึงคำพูดของแม่เสมอว่า ‘ลูกตั้งใจเขียนให้ละเอียดให้สวยให้เนียน’ ผมเขียนภาพนี้ทั้งวันทั้งคืน ใช้เวลาร่วมเดือนจึงเสร็จ”
“ตีสอง ครูเปี๊ยกกลับมาเห็นผมเขียนอยู่ ‘อ้าวบรรณหารเธอไม่นอนพักก่อน เดี๋ยวไม่สบาย’ แล้วครูเข้านอน ตื่น ๖ โมงเช้า ยังเห็นผมนั่งเขียน ‘เธอยังไม่นอนอีก’ ผมบอกครูว่า พอครูหลับผมนอน พอครูตื่นผมตื่นด้วย ผมนอนแล้วครับ ครูบอกตั้งใจทำให้เสร็จนะ เขียนตามสบาย จนเรียบร้อยส่งเข้าโรงพิมพ์ โฆษณาหนังได้ทัน เรื่องที่ ๒ เรื่อง ดวง มีไพโรจน์ ใจสิงห์ แสดง ครูให้บรรณหารเขียน ส่วนเรื่องที่ ๓ เรื่อง ชู้ ครูให้เขียนทั้ง ๒ คนมี ทองดี และ บรรณหาร เขียนคนละใบ ผมเขียนใบที่มี ๓ หน้าเป็นรูป มานพ อัศวเทพ, วันดี ศรีตรัง, กรุง ศรีวิไล”
“ทำงานกับครูเปี๊ยกได้ประมาณ ๓ ปี เริ่มเก่ง จึงขอไปเปิดบริษัทรับงานเอง ไปบอกครู ท่านสนับสนุนเต็มที่ ครูบอกว่า จะทำหนังอย่างเดียวแล้ว ยกเครื่องมือให้บรรณหารกับทองดีหมดเลย ผมไปเปิดสำนักงานใหม่ประมาณปี ๒๕๑๕ ที่สะพานควาย”
ผู้เขียนถามว่า เป็นไงบ้างไปทำเองรับผิดชอบเอง
“โอ้..งานล้นมือจนถูกด่า ส่งงานไม่ทัน ต้องจัดคิวให้ชัดเจนและลงตัว ปัญหาคือ หาช่างเขียนฝีมือดีๆ ยากมาก ผมตัดสินใจไปที่ไทยวิจิตรศิลป์ อาจารย์ให้ผมเลือก ผมเลือก ‘อังเคิล’ มาทำงานด้วยหลายปี ปัจจุบันเป็นผู้กำกับดัง ชื่อจริง ‘อดิเรก วัฎลีลา
’ กำกับหนังหลายเรื่อง เช่น เรื่อง ปลื้ม และ ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย ผมก็เคยสร้างหนัง กำกับและเขียนบทเอง คือ รู้แล้วน่าว่ารักเสมอตัวส่วนเรื่องที่ 2ชื่อสบายบรื๋อ ในกรุงเทพฯ
ได้ ๓ ล้าน ขายสายได้หลายล้าน มีกำไรพอสมควร คนสนับสนุนทุนเขาจะช่วยอีก เรามันอารมณ์ศิลปินรักเขียนภาพมากกว่า เลยเลิกทำหนัง โทรไปหาครูเปี๊ยก ท่านให้งานเขียนใบปิดมาอีก เรื่อง ไข่ลูกเขย ครูส่งมาอีกหลายเรื่อง เช่น คุณปู่ซู่ซ่า คุณย่าเซ็กซี่ ฯลฯ”
ผู้เขียนเอ่ยว่า อยากขอความเห็น ใบปิดเรื่อง “โทน” ปี ๒๕๖๐ เห็น “ยา โปสเตอร์” (Ya Poster) วาดใหม่ลอกจากต้นฉบับ
อ.บรรณหาร
“ผมเห็นว่า ‘ยา’ วาดได้สวยมาก เหมือนทุกอย่าง จนคนดูไม่รู้ว่าใบไหนต้นฉบับ ‘ยา’ เป็นลูกศิษย์ ตอนวาดเขาก็มาปรึกษา ขออนุญาต ผมก็แนะนำไป ยอมรับว่า เขามีความพยายาม ตั้งใจ อดทน มีมานะมาก ผมเขียนแบบปล่อยทีพู่กัน (รอยพู่กันหยาบๆ ไม่เกลี่ยมาก) ‘ยา’มาเขียนเป็นเส้นยุ่งยากกว่า แต่ออกมาดีมาก สมัยที่ผมเขียนภาพนี้เมื่อ ๔๕ ปีก่อน ผมตั้งใจเขียนมากวันๆ นอนแค่ 3 ชั่วโมงเท่านั้น ทุ่มสุดหัวใจ”
ช่วงท้ายนี้ อยากให้ อ.บรรณหาร แนะนำศิลปินนักเขียนภาพรุ่นใหม่ๆ บ้าง
“ผมอยากให้น้องๆ ศิลปินใหม่ๆ มุ่งมั่นกับงานที่เราเขียน พยายามทำให้ดีที่สุด ต้องให้สวยเท่าอาจารย์หรือสวยกว่า และหมั่นสังเกต จับรายละเอียดให้ลึก และเมื่อสเก็ตช์ภาพลงดินสอแล้ว ใช้เวลาสัก ๑๐ นาทีทบทวนอีกครั้งให้เกิดสมาธิ พิจารณาแล้วค่อยลงสี น้องๆ และลูกศิษย์ อ.บรรณหารรักงานเขียนรูปมาก ปกติทำงานเต็ม ๑๐๐ แต่ผมทำเต็ม ๑๐๐๐”
“ตั้งแต่เด็กถึงทุกวันนี้ผมยังเขียนภาพอยู่ ด้วยหัวใจรักจากจิตวิญาณศิลปะ ชีวิตคนต้องตาย แต่ศิลปะไม่ตาย”
บทความเขียนโดย วิวัย จิตต์แจ้ง