คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
1.หากอนาคตผมต้องการรื้อพื้นที่ชั้นสองซึ่งเป็นไม้ออกทั้งหมด และทำการเชื่อมเหล็กเทพื้นปูนเหมือนอาคารทั่วไป เพื่อจะได้ให้กลายเป็นพื้นปูนแล้วปูกระเบื้องหรือปูไม้ปลอมจะทำได้หรือไม่
ตอบ ทำได้หรือไม่นั้นต้องตรวจสอบโดยการคำนวณว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมานั้น เสาและฐานรากสามารถรับนำหนักบรรทุกที่เพิ่มขึ้นได้หรือไม่
โครงสร้าง คสล.มีน้ำหนักมากกว่าโครงสร้างไม้อยู่หลายเท่าเหมือนกัน ถ้าจะอยากปูกระเบื้องอาจจะพิจารณาเลือกใช้แผ่นซีเมนต์บอร์ดปูพื้นแล้วปูกระเบื้องทับ เนื่องจากน้ำหนักเบา
2.ตัวพื้นชั้น 1.5 และชั้นดาดฟ้าที่ลาดเอียง สามารถเทปูนเสริมด้านที่ลาดเอียงให้สูงเสมอเท่ากับอาคารด้านหน้าได้หรือไม่ และสามารถปูกระเบื้องได้หรือไม่
ตอบ ต้องคำนวณตรวจสอบว่าถ้าเทปูนเพิ่มเพื่อปรับระดับพื้นแล้วนั้น โครงสร้างเดิมจะสามารถรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้หรือไม่
3.จากภาพที่นำมาเสนอ สภาพเหล็กแบบนี้คือเป็นเรื่องปกติของบ้านเก่า แต่ไม่ได้มีอันตรายแบบที่ว่าเสี่ยงต่ออาคารถล่มใช่หรือไม่ เนื่องจากผมไม่ได้เรียนมาทางนี้ยังฝังใจกับความคิดที่ว่า หากสภาพบ้านเก่าอาจจะถล่มแบบว่าถล่มเหมือนตึกโดนระเบิดอาคารถล่มแบบในหนังครับ แต่ย้ำอีกคร้งว่าตัวเสาหลักและอาคารไม่มีรอยร้าวใดๆทั้งสิ้น
ตอบ เป็นอาการของเหล็กเป็นสนิม อาการลักษณะนี้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้อาคารเป็นอย่างมากเพราะถ้าเหล็กเป็นสนิมจนกินเนื้อเหล็กไปมาก ก็จะทำให้พื้นแผ่นนั้นหักลงมาได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตของผู้ใช้อาคารได้
4.หากอนาคตจะรื้อห้องครัวและห้องน้ำทิ้ง แล้วสร้างอาคารต่อเติมเหมือนเช่นสมัยก่อนอีก หากจะป้องกันเหตุในอนาคตสมควรจะลงเสาเข็มแบบเจาะถึงจะถูกต้องใช่หรือไม่โดยการต่อเติมคงจะต่อเติมให้สูงเท่ากับอาคารหลักแต่ไม่ใช้เสาอาคารหลักเหมือนการต่อเติมในสมัยแรกๆแล้ว ทำเสาของตัวเองแยกต่างหากเลย
ตอบ ถ้าเรื่องการรับน้ำหนักท่าน จขกท. สามารถใช้เสาเข็มชนิดใดก็ได้ เพียงแต่ขอให้ทำการเจาะสำรวจดินเพื่อที่จะได้เลือกใช้ความยาวเสาเข็มที่ถูกต้อง ให้ปลายเสาเข็มวางอยู่บนชั้นดินแข็ง (ถ้าต้องการให้การทรุดตัวน้อย)
ถ้าเรื่องการก่อสร้างก็ต้องแล้วแต่พื้นที่ว่าเสาเข็มชนิดใดจะเหมาะสมกว่ากัน ถ้าปั้นจั่นเข้าไปตอกได้ก็สามารถใช้เสาเข็มตอกได้ แต่ถ้าปั้นจั่นเข้าไม่ได้ หรือการตอกอาจจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนก็เลือกใช้เสาเข็มเจาะ
5.ตอนนี้ปัญหาที่พบคือ ตัวประตูผ่านระหว่างห้องของอาคารหลักจะเตี้ยมาก จากที่กล่าวข้างต้นคือชั้น 1 มีการถมพื้นใหม่เพื่อปรับพื้นให้เท่ากันส่งผลให้พื้นสูงกว่าเดิม ประตูผ่านระหว่างห้องปัจจุบันสูงไม่ถึง 180 ซม. รู้สึกได้ว่าเตี้ยมากเวลาเดิมผ่านไปมา จึงอยากทราบว่าในทางปฎิบัติแล้ว ตัวคานที่อยู่ใต้ดินจะอยู่ค่อนข้างลึกมากๆใช่เปล่าครับ หากว่าผมจะแก้ไขโดยการรื้อพื้นที่ถมชั้น 1 ออกใหม่แล้วทำพื้นให้ต่ำกว่าเดิมเพื่อความสูงของประตูระหว่างชั้น 1 นั้นสูงเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม(เนื่องจากขุดพื้นลงลึกกว่าเดิม ) จะไม่เจอคานที่อยู่ใต้ดินใช่หรือไม่ เพราะประมาณการแล้วคงขุดให้ลึกกว่าเดิมไม่ถึง 50 ซม.ครับ
ตอบ ตำแหน่งของหลังคานจะอยู่เท่ากับระดับหลังพื้นโครงสร้าง ส่วนท้องคานก็จะอยู่ต่ำกว่านั้นสัก 40-50cm
ข้อมูลเพิ่มเติม
1. ถ้าต่อเติมแล้วอาคารทรุดลงในลักษณะนี้ เป็นอาการของอาคารเอียง อาคารที่เอียงจะไม่มีรอยร้าว ซึ่งน่าจะเกิดจากการที่ปลายเสาเข็มนั้นไม่ได้วางอยู่ที่ระดับดินแน่น
2. การแก้ไขปัญหาอาคารเอียงควรหลีกเลี่ยงการเทปูนเพื่อปรับระดับ เพราะจะทำให้น้ำหนักของพื้นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกับการรับน้ำหนักของเสาเข็ม หรือพื้นโครงสร้างเดิมอาจจะหักได้ การแก้ปัญหาที่ถูกต้องนั้นต้องทำการยกอาคารด้านที่เอียงนั้นขึ้น
3. การต่อเติมอาคารต้องทำการแยกโครงสร้าง ไม่ยึดกับโครงสร้างเดิม เพื่อหลีกเลี่ยงการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันทำให้อาคารหลักเอียง, ฉีกขาด หรือแตกร้าว
-NN-
ตอบ ทำได้หรือไม่นั้นต้องตรวจสอบโดยการคำนวณว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมานั้น เสาและฐานรากสามารถรับนำหนักบรรทุกที่เพิ่มขึ้นได้หรือไม่
โครงสร้าง คสล.มีน้ำหนักมากกว่าโครงสร้างไม้อยู่หลายเท่าเหมือนกัน ถ้าจะอยากปูกระเบื้องอาจจะพิจารณาเลือกใช้แผ่นซีเมนต์บอร์ดปูพื้นแล้วปูกระเบื้องทับ เนื่องจากน้ำหนักเบา
2.ตัวพื้นชั้น 1.5 และชั้นดาดฟ้าที่ลาดเอียง สามารถเทปูนเสริมด้านที่ลาดเอียงให้สูงเสมอเท่ากับอาคารด้านหน้าได้หรือไม่ และสามารถปูกระเบื้องได้หรือไม่
ตอบ ต้องคำนวณตรวจสอบว่าถ้าเทปูนเพิ่มเพื่อปรับระดับพื้นแล้วนั้น โครงสร้างเดิมจะสามารถรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้หรือไม่
3.จากภาพที่นำมาเสนอ สภาพเหล็กแบบนี้คือเป็นเรื่องปกติของบ้านเก่า แต่ไม่ได้มีอันตรายแบบที่ว่าเสี่ยงต่ออาคารถล่มใช่หรือไม่ เนื่องจากผมไม่ได้เรียนมาทางนี้ยังฝังใจกับความคิดที่ว่า หากสภาพบ้านเก่าอาจจะถล่มแบบว่าถล่มเหมือนตึกโดนระเบิดอาคารถล่มแบบในหนังครับ แต่ย้ำอีกคร้งว่าตัวเสาหลักและอาคารไม่มีรอยร้าวใดๆทั้งสิ้น
ตอบ เป็นอาการของเหล็กเป็นสนิม อาการลักษณะนี้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้อาคารเป็นอย่างมากเพราะถ้าเหล็กเป็นสนิมจนกินเนื้อเหล็กไปมาก ก็จะทำให้พื้นแผ่นนั้นหักลงมาได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตของผู้ใช้อาคารได้
4.หากอนาคตจะรื้อห้องครัวและห้องน้ำทิ้ง แล้วสร้างอาคารต่อเติมเหมือนเช่นสมัยก่อนอีก หากจะป้องกันเหตุในอนาคตสมควรจะลงเสาเข็มแบบเจาะถึงจะถูกต้องใช่หรือไม่โดยการต่อเติมคงจะต่อเติมให้สูงเท่ากับอาคารหลักแต่ไม่ใช้เสาอาคารหลักเหมือนการต่อเติมในสมัยแรกๆแล้ว ทำเสาของตัวเองแยกต่างหากเลย
ตอบ ถ้าเรื่องการรับน้ำหนักท่าน จขกท. สามารถใช้เสาเข็มชนิดใดก็ได้ เพียงแต่ขอให้ทำการเจาะสำรวจดินเพื่อที่จะได้เลือกใช้ความยาวเสาเข็มที่ถูกต้อง ให้ปลายเสาเข็มวางอยู่บนชั้นดินแข็ง (ถ้าต้องการให้การทรุดตัวน้อย)
ถ้าเรื่องการก่อสร้างก็ต้องแล้วแต่พื้นที่ว่าเสาเข็มชนิดใดจะเหมาะสมกว่ากัน ถ้าปั้นจั่นเข้าไปตอกได้ก็สามารถใช้เสาเข็มตอกได้ แต่ถ้าปั้นจั่นเข้าไม่ได้ หรือการตอกอาจจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนก็เลือกใช้เสาเข็มเจาะ
5.ตอนนี้ปัญหาที่พบคือ ตัวประตูผ่านระหว่างห้องของอาคารหลักจะเตี้ยมาก จากที่กล่าวข้างต้นคือชั้น 1 มีการถมพื้นใหม่เพื่อปรับพื้นให้เท่ากันส่งผลให้พื้นสูงกว่าเดิม ประตูผ่านระหว่างห้องปัจจุบันสูงไม่ถึง 180 ซม. รู้สึกได้ว่าเตี้ยมากเวลาเดิมผ่านไปมา จึงอยากทราบว่าในทางปฎิบัติแล้ว ตัวคานที่อยู่ใต้ดินจะอยู่ค่อนข้างลึกมากๆใช่เปล่าครับ หากว่าผมจะแก้ไขโดยการรื้อพื้นที่ถมชั้น 1 ออกใหม่แล้วทำพื้นให้ต่ำกว่าเดิมเพื่อความสูงของประตูระหว่างชั้น 1 นั้นสูงเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม(เนื่องจากขุดพื้นลงลึกกว่าเดิม ) จะไม่เจอคานที่อยู่ใต้ดินใช่หรือไม่ เพราะประมาณการแล้วคงขุดให้ลึกกว่าเดิมไม่ถึง 50 ซม.ครับ
ตอบ ตำแหน่งของหลังคานจะอยู่เท่ากับระดับหลังพื้นโครงสร้าง ส่วนท้องคานก็จะอยู่ต่ำกว่านั้นสัก 40-50cm
ข้อมูลเพิ่มเติม
1. ถ้าต่อเติมแล้วอาคารทรุดลงในลักษณะนี้ เป็นอาการของอาคารเอียง อาคารที่เอียงจะไม่มีรอยร้าว ซึ่งน่าจะเกิดจากการที่ปลายเสาเข็มนั้นไม่ได้วางอยู่ที่ระดับดินแน่น
2. การแก้ไขปัญหาอาคารเอียงควรหลีกเลี่ยงการเทปูนเพื่อปรับระดับ เพราะจะทำให้น้ำหนักของพื้นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกับการรับน้ำหนักของเสาเข็ม หรือพื้นโครงสร้างเดิมอาจจะหักได้ การแก้ปัญหาที่ถูกต้องนั้นต้องทำการยกอาคารด้านที่เอียงนั้นขึ้น
3. การต่อเติมอาคารต้องทำการแยกโครงสร้าง ไม่ยึดกับโครงสร้างเดิม เพื่อหลีกเลี่ยงการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันทำให้อาคารหลักเอียง, ฉีกขาด หรือแตกร้าว
-NN-
แสดงความคิดเห็น
สอบถามท่านที่มีความรู้ด้านโครงสร้างอาคาร ขอสอบถามดังนี้ครับ ค่อนข้างยาวพอสมควรครับ
จากนั้นได้มีการสร้างต่อเติมภายหลังด้านหลังอาคารออกไปอีกเป็นกำแพงทึบ ขนาด 4*4 เมตรโดยยึดกับเสาด้านหลังอาคารอีกประมาณ 2 ชั้น ต่อไปนี้จะเรียกว่าอาคารต่อเติมโดยยังมีพื้นที่ว่างด้านหลังอาคารห่าง 50 ซม.ถูกต้องตามกฎหมาย
ทีนี้เวลาผ่านไปร่วมยี่สิบปี ปรากฎว่าตัวอาคารหลักถูกอาคารต่อเติมดึงให้ทรุดลงไปจึงได้ทุบอาคารต่อเติมทิ้งไป สภาพคือตัวอาคารหลักนั้นความสูงของพื้นจะไม่เท่ากัน ลักษณะคือด้านหน้าอาคารหลักพื้นจะอยู่สูงกว่าด้านหลังอาคารหลัก เรียกว่าเวลาเดินเข้าจากหน้าอาคารจะรู้สึกได้เลยว่าพื้นทางเดินเป็นทางลาดลง เรียกว่าแทบจะไม่ต้องออกแรงตัวเราก็เอนไปข้างหน้าพุ่งตรงไปด้านหลังอาคารแบบรู้สึกได้ หรือถ้าทดสอบโดยการเอาบอลบางกับพื้น บอลก็จะกลิ้งตรงไปยังด้านหลังอาคารทันที
สรุปจากความรู้สึกผมเอง ผมคิดว่าตอนนี้เสาเข็มด้านหลังอาคารหลักจะลงลึกต่ำกว่าเสาด้านหน้าอาคารหลักเพราะถูกอาคารต่อเติมดึงกดลงให้ทรุดเร็วกว่าเสาด้านหน้าอาคารหลักครับ ไม่รู้จะเป็นอย่างที่ผมคิดหรือไม่ประเด็นนี้ ซึ่งส่งผลคือคานที่เชื่อมด้านหน้าและด้านหลังอาคารหลักจะไม่อยู่ในแนวราบระดับน้ำแล้ว แต่จะเป็นคานที่เอียงต่ำลาดไปทางด้านหลังเล็กน้อย
ต่อมาได้ปรับปรุงให้เช่า จึงได้ทำการแก้ไขดังนี้
1.หลังจากทุบอาคารต่อเติมทิ้งไปแล้ว ก็ทำการถมพื้นชั้น 1 ในส่วนอาคารหลักใหม่ให้พื้นเสมอกัน และมีการต่อเติมห้องครัวกับห้องน้ำแทบที่อาคารต่อเติมเดิมโดยยังยึดส่วนที่ต่อเติมกับเสาอาคารหลักเหมือนเดิม
2.ชั้น 1.5 ไม่ได้ทำอะไร ถ้าลองสังเกตดีๆเวลาเดินจะรู้สึกว่ายังเป็นทางลาดไปด้านหลังอาคารอยู่เล็กน้อย
3.ชั้น 2 ทำการรื้อพื้นเดิมออก ซึ่งของเดิมเป็นพื้นไม้แผ่นสีเหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆยาวๆ แล้วทำการยกระดับตัวรองพื้นไม้นี้ที่อยู่ด้านหลังอาคารให้สูงขั้นเท่ากับด้านหน้าอาคาร แล้วใช้ไม้เดิมปูเป็นพื้นเช่นเดิม จากที่สังเกตชั้นสองนี้ไม่ได้มีการเทปูนทำพื้น แต่จะเป็นการวางไม้ซ้อนกับเป็นคานและพื้นทั้งชั้นเพื่อรองรับการวางไม้พื้น
4.ชั้นดาดฟ้า ทำการก่อเสาเหล็กขึ้นโครงเหล็กคลุมทั้งอาคารหลักเพื่อมุงหลังคาเมทัลฃีทเพื่อป้องกันน้ำที่รั่วซึมจากดาดฟ้า ซึ่งพื้นของดาดฟ้าก็ไม่ได้ทำอะไรหากเดินจากจุดด้านหน้าอาคารก็จะรู้สึกว่าพื้นยังคงเทลาดไปทางด้านหลังอาคารอยู่เช่นเดิม แต่รู้สึกลาดน้อยกว่าชั้น 1
กล่าวโดยสรุป สภาพอาคารนี้สร้างมาประมาณ 20 ปี ตัวเสาและคานไม่มีรอยร้าวใดๆทั้งสิ้น แต่เนื่องจากอยู่ใกล้ถนนหลักเวลารถสิบล้อวิ่งผ่านจะรู้สึกได้หากอยู่ชั้นสองหรือดาดฟ้าว่าตัวอาคารสั่นนิดๆ (ประมาณว่าน้ำในแก้วน้ำกระเพื่อมเบาๆแบบสังเกตได้) คนอยู่บนตึกจะรู้สึกได้ว่าอาคารสั่นไหว และเพดานอาคารบางจุดมีสภาพเช่นนี้ตามภาพ
http://upic.me/i/mb/img_1755.jpg
คำถาม
1.หากอนาคตผมต้องการรื้อพื้นที่ชั้นสองซึ่งเป็นไม้ออกทั้งหมด และทำการเชื่อมเหล็กเทพื้นปูนเหมือนอาคารทั่วไป เพื่อจะได้ให้กลายเป็นพื้นปูนแล้วปูกระเบื้องหรือปูไม้ปลอมจะทำได้หรือไม่
2.ตัวพื้นชั้น 1.5 และชั้นดาดฟ้าที่ลาดเอียง สามารถเทปูนเสริมด้านที่ลาดเอียงให้สูงเสมอเท่ากับอาคารด้านหน้าได้หรือไม่ และสามารถปูกระเบื้องได้หรือไม่
3.จากภาพที่นำมาเสนอ สภาพเหล็กแบบนี้คือเป็นเรื่องปกติของบ้านเก่า แต่ไม่ได้มีอันตรายแบบที่ว่าเสี่ยงต่ออาคารถล่มใช่หรือไม่ เนื่องจากผมไม่ได้เรียนมาทางนี้ยังฝังใจกับความคิดที่ว่า หากสภาพบ้านเก่าอาจจะถล่มแบบว่าถล่มเหมือนตึกโดนระเบิดอาคารถล่มแบบในหนังครับ แต่ย้ำอีกคร้งว่าตัวเสาหลักและอาคารไม่มีรอยร้าวใดๆทั้งสิ้น
4.หากอนาคตจะรื้อห้องครัวและห้องน้ำทิ้ง แล้วสร้างอาคารต่อเติมเหมือนเช่นสมัยก่อนอีก หากจะป้องกันเหตุในอนาคตสมควรจะลงเสาเข็มแบบเจาะถึงจะถูกต้องใช่หรือไม่โดยการต่อเติมคงจะต่อเติมให้สูงเท่ากับอาคารหลักแต่ไม่ใช้เสาอาคารหลักเหมือนการต่อเติมในสมัยแรกๆแล้ว ทำเสาของตัวเองแยกต่างหากเลย
5.ตอนนี้ปัญหาที่พบคือ ตัวประตูผ่านระหว่างห้องของอาคารหลักจะเตี้ยมาก จากที่กล่าวข้างต้นคือชั้น 1 มีการถมพื้นใหม่เพื่อปรับพื้นให้เท่ากันส่งผลให้พื้นสูงกว่าเดิม ประตูผ่านระหว่างห้องปัจจุบันสูงไม่ถึง 180 ซม. รู้สึกได้ว่าเตี้ยมากเวลาเดิมผ่านไปมา จึงอยากทราบว่าในทางปฎิบัติแล้ว ตัวคานที่อยู่ใต้ดินจะอยู่ค่อนข้างลึกมากๆใช่เปล่าครับ หากว่าผมจะแก้ไขโดยการรื้อพื้นที่ถมชั้น 1 ออกใหม่แล้วทำพื้นให้ต่ำกว่าเดิมเพื่อความสูงของประตูระหว่างชั้น 1 นั้นสูงเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม(เนื่องจากขุดพื้นลงลึกกว่าเดิม ) จะไม่เจอคานที่อยู่ใต้ดินใช่หรือไม่ เพราะประมาณการแล้วคงขุดให้ลึกกว่าเดิมไม่ถึง 50 ซม.ครับ
เนื่องจากตัวอาคารสร้างสูงกว่าถนนสาธารณะ ซึ่งหากมีการขุดพื้นให้ลึกกว่าเดิมความสูงของพื้นชั้น 1 ก็จะเท่ากับพื้นถนนสาธารณะพอดี ซึ่งถนนบริเวณนี้จะอยู่สูงกว่าบริเวณพื้นที่ใกล้ๆ อย่างตอนน้ำท่วมกรุงเทพปีล่าสุดที่ผ่านมาบริเวณนี้น้ำท่วมไม่ถึงครับ
ขอบคุณทุกท่านสำหรับคำตอบครับ