“แม้เราจะมีสิ่งที่เรียกว่าอักษรเบรลล์ แต่คนตาบอดส่วนใหญ่ก็อ่านอักษรเบรลล์ไม่ได้ เพราะสิ่งพิมพ์ที่เป็นอักษรเบรลล์ในปัจจุบันมีน้อย หนังสือเสียงจึงเป็นสื่อทางเลือกที่จะทำให้เรารับรู้ข่าวสาร หรือท่องไปในจิตนาการของตัวหนังสือผ่านเสียงได้ และต้องขอบคุณโครงการนี้ที่ไม่ลืมพวกเรา”
ถ้อยคำข้างต้น เป็นเสียงเล็กๆแทนคำขอบคุณตัวแทนผู้พิการทางสายตา คุณต่อพงศ์ เสลานนท์ นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ยังกล่าวได้ว่า ไม่มีใครที่อยากจะตาบอด เพราะการตาบอดก็เหมือนเป็นสิ่งที่ขังพวกเราไว้ไม่ให้ออกไปเห็นโลกกว้าง เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผู้พิการอย่างเราต้องการมากที่สุดคืออิสรภาพ ต้องการรับรู้และเข้าใจเหมือนกับคนปกติทั่วไป ซึ่งไม่ว่าอะไรที่ให้สิ่งนั้นกับเราได้ ก็จะมีคุณค่ามากที่สุดสำหรับคนตาบอดอย่างพวกเรา
สิ่งที่คนปกติทั่วไปไม่ทราบ คือ ปัจจุบันเทคโนโลยียอดฮิตอย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่เราๆ ท่านๆ ใช้กันอยู่ทุกวี่ทุกวันเนี่ย ผู้พิการทางสายตาก็สามารถใช้ได้ และในหลายๆ ด้าน ใช้ได้ดีไม่แพ้คนทั่วไป เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการทางสายตาผ่านทาง application ต่างๆ แล้ว ซึ่งหลักๆ แล้ว การทำงานของ Accessibility สำหรับผู้พิการทางสายตาก็คือ คุณสมบัติที่เรียกว่า Screen reader ซึ่งทำหน้าที่อ่านสิ่งที่อยู่บนหน้าจอของสมาร์ทโฟนออกมาเป็นเสียง
ในอดีตโทรศัพท์รุ่นเก่าจะมีปุ่ม เพื่อเอามือคลำๆ ก็พอรู้ได้ว่าเบอร์ไหนอยู่ตรงไหน จะโทรออกยังไง จะวางสายยังไง แต่ผู้พิการทางสายตาจะ ไม่สามารถเข้าถึงฟังก์ชั่นต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ โทรศัพท์จะมีคุณสมบัติมากน้อยแค่ไหน ส่วนใหญ่ก็เลยได้ใช้แค่โทรออก รับสายเข้า เท่านั้น
แต่ปัจจุบัน สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมี Accessibility ช่วยเหลือ ผู้พิการทางสายตาจึงสามารถใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเหล่านี้ได้มากขึ้น เอาเป็นว่าขนาดที่เล่น Twitter, Facebook, LINE หรือแม้แต่ท่องเว็บก็ได้เลยล่ะ … แอปยอดฮิดของผู้พิการทางสายตาคือ Facebook, LINE, Zello PTT Walkie-Talkie ถ้าสังเกตจะเห็นว่าเป็นแอปเน้นการสื่อสาร เป็นสังคมเหมือนกับคนปกติทั่วไป
ฉันอยากสร้างหนังสือเสียงเพื่อคนตาบอด ฉันต้องทำยังไง ?
1) ดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน Read for the Blind บนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้ที่ Google Play Store หรือ App Store
2) เปิดแอพพลิเคชันและอ่านข้อมูลแนะนำการใช้งานเบื้องต้น จากนั้นคลิ๊ก agree ในหน้า Disclaimer
3) เมื่อต้องการสร้างหนังสือเสียงให้ทำการ Login เข้า Facebook เฉพาะครั้งแรกของการใช้งานแอพพลิเคชันเท่านั้น
การสร้างหนังสือเสียงเล่มใหม่
1) กด + เพื่อสร้างหนังสือเสียงเล่มใหม่ที่ยังไม่มีการสร้างไว้ หรือกด search เพื่อหาชื่อหนังสือที่ต้องการอ่านร่วมกับผู้ที่เคยสร้างไว้ในระบบแล้ว
2) กรณีสร้างหนังสือเล่มใหม่ ให้ใส่ข้อมูล ถ่ายรูปหน้าปกหนังสือ ประเภทหนังสือ ชื่อหนังสือ สำนักพิมพ์ ผู้แต่ง หรือ ผู้แปล และจำนวนบท
3) หนังสือที่เพิ่งสร้างไว้จะปรากฏอยู่ด้านหน้า คลิ๊กเข้าไปเริ่มอ่านบทใหม่ หรือถ้าเป็นหนังสือที่มีการสร้างไว้แล้วให้คลิ๊กเข้าไปหน้าปกหนังสือที่ต้องการอ่านได้เลย
ขั้นตอนการอัดเสียง
1) กดอ่านเพิ่มบทใหม่
2) เริ่มการบันทึกเสียง เมื่อบันทึกเสียงเสร็จสิ้นตามต้องการแล้วให้กดเครื่องหมายถูก
3) ใส่ข้อมูลรายละเอียดข้อมูลของบทที่อ่านและกดปุ่มบันทึกเสียงบนหนังสือ เพื่ออัพโหลดเสียงขึ้นระบบ
4) ในระหว่างการอัดเสียง ถ้าต้องการหยุดให้กดปุ่ม หยุด และกด play เมื่อต้องการฟังซ้ำ สามารถเลื่อนแถบ สีเขียว เพื่อไปยังจุดที่ต้องการอัดทับและกดอัดเสียงอีกครั้ง เพื่ออัดทับในจุดที่อ่านผิด
5) ในกรณีที่ออกจากแอพพลิเคชั่ ไฟล์เสียงล่าสุดที่เคยอัดไว้ จะถูกเซฟไว้ในแอพพลิเคชัน สามารถกลับมาอ่านหนังสือ หรือบทความต่อจากเดิมได้ แต่ถ้าต้องการอ่านเล่มใหม่ ต้องอ่านหนังสือหรือบทความเดิม ให้เสร็จก่อน
การสร้างบทความใหม่
1) กดเลือกบทความ จากเมนูเลือกประเภทหนังสือ
2) เลือกประเภทหรือหัวข้อของบทความที่ต้องการสร้างใหม่ มีทั้งหมด 12 หัวข้อ
3) กดอ่านเพิ่มบทใหม่ เพื่อเริ่มอัดเสียง กดเครื่องหมายถูกเมื่ออัดเสร็จสิ้น
4) ใส่ข้อมูลของบทความที่อ่าน ชื่อบทความ แหล่งที่มา วันเผยแพร่บทความ กดปุ่มบันทึกข้อมูลเสียงบนหนังสือเพื่ออัพโหลดขึ้นระบบ
**ด้านล่างนี้คือลิงค์สำหรับดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน Read for Blind ค่ะ **
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้Android: https://play.google.com/store/apps/details?id=com.samsung.blind
iOS: https://itunes.apple.com/th/app/read-for-blind/id705499163?mt=8
นอกจากนี้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำโดยพลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการ ได้จัดงานเพื่อมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่องค์กรและบุคคลที่ดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนตาบอด ซึ่งรวมถึงเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดย คุณอภัยชนม์ วัชรสินธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ ด้านประสานกิจการสัมพันธ์ และทรู คอร์ปอเรชั่น โดย คุณวิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) ด้านการพาณิชย์ เป็นตัวแทนรับมอบ ในงานสัมมนา 50 ปี สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยกับนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน และสมัชชาคนตาบอดแห่งชาติ ครั้งที่ 20
โดยทางเครือเจริญโภคภัณฑ์และทรู คอร์ปอเรชั่น ได้นำศักยภาพด้านเทคโนโลยีสื่อสาร นวัตกรรม และองค์ความรู้ต่างๆ ริเริ่มพัฒนา “Blind SIM” ซิมที่ตอบโจทย์ผู้พิการทางสายตา ให้เข้าไปฟังหนังสือเสียง ใช้แอพพลิเคชั่นสื่อสารได้ไม่จำกัดดาต้าในราคาพิเศษ และโทรเข้าศูนย์ข่าวสารทางเสียง 1414 ได้ฟรี พร้อมร่วมประชาสัมพันธ์โครงการต่างๆผ่านสื่อในเครือ รวมทั้งสนับสนุนการสร้างงาน สร้างอาชีพคนพิการอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ร่วมเปิด “ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน” แห่งแรกของประเทศไทย ที่ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมขับเคลื่อนโครงการ “Smile Voice เสียงสร้างสุข” ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ริเริ่มขึ้นเพื่อสร้างประโยชน์ให้ผู้พิการทางสายตา สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและความบันเทิงผ่านหนังสือเสียง ตลอดจนสนับสนุนโครงการพัฒนาศักยภาพนักร้องและนักดนตรีตาบอดในทีสาธารณะ “จากถนนสู่ดวงดาวของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯและสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยด้วย
โดยสรุปแล้ว ผู้พิการทางสายตาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ ขอแค่ผู้พัฒนาใส่ใจ ยิ่งได้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมมือ ร่วมใจกัน ให้โอกาสและคำนึงถึงผู้พิการ เราเชื่อว่าผู้พิการทางสายตาทุกคนมีศักยภาพใทุกคน เพราะแม้ว่าจะมองไม่เห็น แต่พวกเขาก็สามารถใช้ประสาทสัมผัสอื่นๆ มาชดเชยได้อย่างดีเยี่ยม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=135878&t=news
หนังสือเสียง ความสุขเล็กๆในโลกมืด
ถ้อยคำข้างต้น เป็นเสียงเล็กๆแทนคำขอบคุณตัวแทนผู้พิการทางสายตา คุณต่อพงศ์ เสลานนท์ นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ยังกล่าวได้ว่า ไม่มีใครที่อยากจะตาบอด เพราะการตาบอดก็เหมือนเป็นสิ่งที่ขังพวกเราไว้ไม่ให้ออกไปเห็นโลกกว้าง เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผู้พิการอย่างเราต้องการมากที่สุดคืออิสรภาพ ต้องการรับรู้และเข้าใจเหมือนกับคนปกติทั่วไป ซึ่งไม่ว่าอะไรที่ให้สิ่งนั้นกับเราได้ ก็จะมีคุณค่ามากที่สุดสำหรับคนตาบอดอย่างพวกเรา
สิ่งที่คนปกติทั่วไปไม่ทราบ คือ ปัจจุบันเทคโนโลยียอดฮิตอย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่เราๆ ท่านๆ ใช้กันอยู่ทุกวี่ทุกวันเนี่ย ผู้พิการทางสายตาก็สามารถใช้ได้ และในหลายๆ ด้าน ใช้ได้ดีไม่แพ้คนทั่วไป เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการทางสายตาผ่านทาง application ต่างๆ แล้ว ซึ่งหลักๆ แล้ว การทำงานของ Accessibility สำหรับผู้พิการทางสายตาก็คือ คุณสมบัติที่เรียกว่า Screen reader ซึ่งทำหน้าที่อ่านสิ่งที่อยู่บนหน้าจอของสมาร์ทโฟนออกมาเป็นเสียง
ในอดีตโทรศัพท์รุ่นเก่าจะมีปุ่ม เพื่อเอามือคลำๆ ก็พอรู้ได้ว่าเบอร์ไหนอยู่ตรงไหน จะโทรออกยังไง จะวางสายยังไง แต่ผู้พิการทางสายตาจะ ไม่สามารถเข้าถึงฟังก์ชั่นต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ โทรศัพท์จะมีคุณสมบัติมากน้อยแค่ไหน ส่วนใหญ่ก็เลยได้ใช้แค่โทรออก รับสายเข้า เท่านั้น
แต่ปัจจุบัน สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมี Accessibility ช่วยเหลือ ผู้พิการทางสายตาจึงสามารถใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเหล่านี้ได้มากขึ้น เอาเป็นว่าขนาดที่เล่น Twitter, Facebook, LINE หรือแม้แต่ท่องเว็บก็ได้เลยล่ะ … แอปยอดฮิดของผู้พิการทางสายตาคือ Facebook, LINE, Zello PTT Walkie-Talkie ถ้าสังเกตจะเห็นว่าเป็นแอปเน้นการสื่อสาร เป็นสังคมเหมือนกับคนปกติทั่วไป
ฉันอยากสร้างหนังสือเสียงเพื่อคนตาบอด ฉันต้องทำยังไง ?
1) ดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน Read for the Blind บนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้ที่ Google Play Store หรือ App Store
2) เปิดแอพพลิเคชันและอ่านข้อมูลแนะนำการใช้งานเบื้องต้น จากนั้นคลิ๊ก agree ในหน้า Disclaimer
3) เมื่อต้องการสร้างหนังสือเสียงให้ทำการ Login เข้า Facebook เฉพาะครั้งแรกของการใช้งานแอพพลิเคชันเท่านั้น
การสร้างหนังสือเสียงเล่มใหม่
1) กด + เพื่อสร้างหนังสือเสียงเล่มใหม่ที่ยังไม่มีการสร้างไว้ หรือกด search เพื่อหาชื่อหนังสือที่ต้องการอ่านร่วมกับผู้ที่เคยสร้างไว้ในระบบแล้ว
2) กรณีสร้างหนังสือเล่มใหม่ ให้ใส่ข้อมูล ถ่ายรูปหน้าปกหนังสือ ประเภทหนังสือ ชื่อหนังสือ สำนักพิมพ์ ผู้แต่ง หรือ ผู้แปล และจำนวนบท
3) หนังสือที่เพิ่งสร้างไว้จะปรากฏอยู่ด้านหน้า คลิ๊กเข้าไปเริ่มอ่านบทใหม่ หรือถ้าเป็นหนังสือที่มีการสร้างไว้แล้วให้คลิ๊กเข้าไปหน้าปกหนังสือที่ต้องการอ่านได้เลย
ขั้นตอนการอัดเสียง
1) กดอ่านเพิ่มบทใหม่
2) เริ่มการบันทึกเสียง เมื่อบันทึกเสียงเสร็จสิ้นตามต้องการแล้วให้กดเครื่องหมายถูก
3) ใส่ข้อมูลรายละเอียดข้อมูลของบทที่อ่านและกดปุ่มบันทึกเสียงบนหนังสือ เพื่ออัพโหลดเสียงขึ้นระบบ
4) ในระหว่างการอัดเสียง ถ้าต้องการหยุดให้กดปุ่ม หยุด และกด play เมื่อต้องการฟังซ้ำ สามารถเลื่อนแถบ สีเขียว เพื่อไปยังจุดที่ต้องการอัดทับและกดอัดเสียงอีกครั้ง เพื่ออัดทับในจุดที่อ่านผิด
5) ในกรณีที่ออกจากแอพพลิเคชั่ ไฟล์เสียงล่าสุดที่เคยอัดไว้ จะถูกเซฟไว้ในแอพพลิเคชัน สามารถกลับมาอ่านหนังสือ หรือบทความต่อจากเดิมได้ แต่ถ้าต้องการอ่านเล่มใหม่ ต้องอ่านหนังสือหรือบทความเดิม ให้เสร็จก่อน
การสร้างบทความใหม่
1) กดเลือกบทความ จากเมนูเลือกประเภทหนังสือ
2) เลือกประเภทหรือหัวข้อของบทความที่ต้องการสร้างใหม่ มีทั้งหมด 12 หัวข้อ
3) กดอ่านเพิ่มบทใหม่ เพื่อเริ่มอัดเสียง กดเครื่องหมายถูกเมื่ออัดเสร็จสิ้น
4) ใส่ข้อมูลของบทความที่อ่าน ชื่อบทความ แหล่งที่มา วันเผยแพร่บทความ กดปุ่มบันทึกข้อมูลเสียงบนหนังสือเพื่ออัพโหลดขึ้นระบบ
**ด้านล่างนี้คือลิงค์สำหรับดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน Read for Blind ค่ะ **
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
นอกจากนี้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำโดยพลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการ ได้จัดงานเพื่อมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่องค์กรและบุคคลที่ดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนตาบอด ซึ่งรวมถึงเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดย คุณอภัยชนม์ วัชรสินธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ ด้านประสานกิจการสัมพันธ์ และทรู คอร์ปอเรชั่น โดย คุณวิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) ด้านการพาณิชย์ เป็นตัวแทนรับมอบ ในงานสัมมนา 50 ปี สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยกับนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน และสมัชชาคนตาบอดแห่งชาติ ครั้งที่ 20
โดยทางเครือเจริญโภคภัณฑ์และทรู คอร์ปอเรชั่น ได้นำศักยภาพด้านเทคโนโลยีสื่อสาร นวัตกรรม และองค์ความรู้ต่างๆ ริเริ่มพัฒนา “Blind SIM” ซิมที่ตอบโจทย์ผู้พิการทางสายตา ให้เข้าไปฟังหนังสือเสียง ใช้แอพพลิเคชั่นสื่อสารได้ไม่จำกัดดาต้าในราคาพิเศษ และโทรเข้าศูนย์ข่าวสารทางเสียง 1414 ได้ฟรี พร้อมร่วมประชาสัมพันธ์โครงการต่างๆผ่านสื่อในเครือ รวมทั้งสนับสนุนการสร้างงาน สร้างอาชีพคนพิการอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ร่วมเปิด “ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน” แห่งแรกของประเทศไทย ที่ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมขับเคลื่อนโครงการ “Smile Voice เสียงสร้างสุข” ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ริเริ่มขึ้นเพื่อสร้างประโยชน์ให้ผู้พิการทางสายตา สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและความบันเทิงผ่านหนังสือเสียง ตลอดจนสนับสนุนโครงการพัฒนาศักยภาพนักร้องและนักดนตรีตาบอดในทีสาธารณะ “จากถนนสู่ดวงดาวของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯและสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยด้วย
โดยสรุปแล้ว ผู้พิการทางสายตาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ ขอแค่ผู้พัฒนาใส่ใจ ยิ่งได้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมมือ ร่วมใจกัน ให้โอกาสและคำนึงถึงผู้พิการ เราเชื่อว่าผู้พิการทางสายตาทุกคนมีศักยภาพใทุกคน เพราะแม้ว่าจะมองไม่เห็น แต่พวกเขาก็สามารถใช้ประสาทสัมผัสอื่นๆ มาชดเชยได้อย่างดีเยี่ยม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้