แบบไหนถึงจะเข้าห้องฉุกเฉินได้ครับ

กระทู้คำถาม
ณ บางแสน ... พอดีแฟนผมไข้ขึ้น ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 22 ก็คิดว่าเป็นไข้ปกติ เลยให้กินยาพาราลดไข้ เช็ดตัวตามปก แต่ไข้ก็ขึ้นๆลงๆ กินยาทุก 4 ชม. จนถึงตีสาม ไข้สูงนานหลาย ชม. กินยาแล้วก็ไม่ลด มีอาการปวดหัวร่วมด้วย ตอนนั้นเวลา ตีสาม แต่คิดว่ารอจนเช้าคงไม่ไหวแน่ เลยตัดสินใจพาไป รพ. แห่งหนึ่งย่านบางแสน นั่นล่ะค้าบ เข้าไป จนท ก้ให้ทำบัตรก่อน แล้วก็ไปยื่นที่ห้องฉุกเฉิน แต่ได้คำตอบกลับมาว่า ที่นี่ไม่ตรวจไข้ตอนดึก กลับไปกินยาพารานะแล้วค่อยมาใหม่ตอน 8.30 น. ไม่หยิบปรอทหวัดไข้หน่อยหรอค้าบ ผมกับแฟนเลยเดินออกมาด้วยอาการตึงพอสมควร คือถ้าคิดว่ากินยาพาราแล้วหาย ก็คงไม่ขี่มอไซส์ พามา รพ. แน่นอน คืออยากรู้ว่าเดี๋ยวนี้ รพ. ไม่รับตรวจไข้ตอนดึกหรอค้าบ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 31
ถ้าถามว่าฉุกเฉินจริงเป็นแบบไหน จะลองยกตัวอย่างให้ดูนะคะ ของตัวเองเจอมากับตัว
เริ่มตอนประมาณสามทุ่ม ปวดท้องมาก จนถึงเที่ยงคืน มีท้องเสียสองรอบ อาเจียนอีกสองรอบ สถานะสุดท้ายคือกองอยู่กับโถส้วม เวียนหัว ขาหมดแรงลุกไม่ไหว แฟนอุ้มพามา ร.พ.พระมงกุฏ หน้าทางเข้าห้องฉุกเฉิน นายพยาบาลมาเปิดประตู ตอนนั้นจำได้สติ 50% เขาให้ลุกมานั่งรถเข็น โงหัวลากสังขารออกมาจากรถได้ก้าวเดียวแล้วล้มพับ ขาสั่นยืนไม่ไหว เค้าเลยวิ่งไปเอาเตียงเข็นมาแทน
พอขึ้นเตียงได้ ก็โดนเข็นไป ผ่านคัดกรองฉุกเฉิน นึกว่าจะได้เข้าห้องฉุกเฉินไปรักษาเลย ไม่ ไม่ได้รักษาค่ะ พยาบาลถามแล้วยังตอบได้ มองนับนิ้วถูกต้อง สติยังอยู่ครบ เลยให้นอนรอคิวไป
รอไปประมาณ 2 ชม. จำได้ว่าแฟนมากระซิบว่าจะตีสองแล้ว ยังไหวไหม ไปเอกชนไหม ก็ไม่รู้จะตอบยังไง ท้องมันก็ปวดมากอยู่อย่างนั้นแหละ แล้วไปเอกชนคือโดนเป็นหมื่นแน่ๆ ก็เลยยืนยันที่จะรอ ก็เค้ายังไม่รักษาให้ก็ต้องทนรอต่อไป ตอนนั้นคือนอนกอดขวดอ๊วก(เหมือนขวดนมแกลลอนตัดขวาง)ที่ขอเมื่อชม.ที่แล้ว เพราะคลื่นไส้ตลอดแล้วก็อ๊วกลมออกมาหลายรอบ

สุดท้าย เกือบตีสามมั้งกว่าจะได้รักษา ตอนพยาบาลเข็นเข้าไปนี่คือคิดในใจเลยนะ ดีนะที่ตูไม่นอนตายหน้าห้องฉุกเฉินไปแล้ว แต่พอเข้าไปในห้อง ขอกลับคำพูดเลย รู้สึกผิดมาก อยู่หน้าห้องฉุกเฉิน ดูเงียบสงบ แต่ข้างในนี่วุ่นวายยิ่งกว่าตลาดสด ดูแต่ละคนที่นอนในห้องนั้นนี่คือ อาการร่อแร่กันเยอะมาก ไม่เลือดสาดก็ใส่ท่อช่วยหายใจ วินาทีนั้นรู้เลยว่า จริงๆแล้วความหมายของฉุกเฉินเป็นยังไง ตอนเที่ยงคืนเราปวดมากรู้สึกจะตาย แต่รอมาสามชม.ก็ไม่ตายนิ แต่บางคนในนี้ ถ้ารอชม.เดียว น่าจะตายแน่ๆ สุดท้ายเราก็โดนแอดมิทนะคะ อาหารเป็นพิษ ติดเชื่อในกระแสเลือด เม็ดเลือดขาวสูง ก็ได้ยาฆ่าเชื้อมา แค่นั้นเอง วิธีรักษา
ปล. ต้องแอดมิทสามวัน รวมค่าใช้จ่าย ประมาณ 5500 บาทค่ะ ถ้าไปร.พ.เอกชนคงอ่วมกว่านี้เยอะ
ความคิดเห็นที่ 1
รพ ไม่ควรจะรับตรวจไข้ ตอนดึก แต่ไหนแต่ไรแล้วครับ
ที่เห็นเขาตรวจ นั่นคือเขาหยวนให้ สงสาร เห็นใจ ยอมทำเกินหน้าที่ กันมาแต่ช้านานครับ

หลังๆ มานี้ สังคมเรียกร้อง "มาตรฐาน" จากการให้บริการทางการแพทย์ มากขึ้น
การทำเกินหน้าที่ ซึ่งเสี่ยงต่อการทำหน้าที่ได้ไม่มีประสิทธิภาพ จึงค่อยๆ ถูกปฏิบัติลดลงไปเรื่อยๆ ครับ


ขอให้หายไวๆ ครับ
ความคิดเห็นที่ 21
แฟนเป็นไข้ พ่อแม่เป็นไข้ ลูกเป็นไข้
.
อาการทั้งหมดนี้ ถือว่าหนักหนา รุนแรงมาก ฉุกเฉินสุดๆ
มากเกินไปสำหรับผู้อยู่ในสถานการณ์
.
ในทางกลับกัน ถ้าเปลี่ยนเป็น คนไม่รู้จักเป็นไข้
คุณจะรู้สึกเฉยๆ ไม่ได้รู้สึกฉุกเฉิน เร่งด่วนอย่างที่คิด
.
เมืองไทยพบแพทย์ ง่ายเกินไปจนคนไข้เคยตัว
คิดว่าเป็นหน้าที่หมอ พยาบาล ต้องรักษา 24 ชั่วโมง
ซึ่งผิดแล้วครับ
.
หมอ พยาบาล โรงพยาบาลรัฐ ก็เหมือนข้าราชการทั่วไปนั่นแหละครับ
เวลางานที่เค้าต้องรักษาน่ะ 8 โมง - 4 โมง นั่นคืองานของเค้า
ส่วนนอกเหนือจากเวลานั้น หน้าที่ของ เค้าจะดูแลเฉพาะคนที่ต้องดูแลเท่านั้น
ฉุกเฉินจริงๆ กู้ชีพจริงๆ หรือดูแลต่อเนื่องจริงๆ
แปลว่า นอกเวลาราชการน่ะ เค้าเตรียมหมอไว้ช่วยคนใกล้ตาย
ไม่ใช่ขยายเวลาราชการ ให้ตรวจคนไข้ต่อนะครับ
.
อาการฉุกเฉินจริงๆเช่น
- หมดสติ
- เด็กเล็ก
- มีโรคประจำตัวกำเริบ
- บาดแผลรุนแรง
ถ้ายังเดินได้ ยังไม่ฉุกเฉินครับ
พูดง่ายๆว่า ไม่อยู่ในระยะใกล้ตาย อย่าไปโรงพยาบาลนอกเวลาเลยครับ
เสียเวลานอนของหมอเวร เพราะตอนเช้า ออกเวรแล้วเค้าก็ต้องไปตรวจคนอื่นตามหน้าที่ต่อ
.
คิดกลับกันง่ายๆ ถ้าคุณอยากต่อทะเบียนรถยนต์ ตอนห้าทุ่มครึ่ง
เพราะจำเป็นเร่งด่วนจริงๆ คุณคิดว่าเจ้าหน้าที่ขนส่ง จะต่อทะเบียนให้มั๊ย
ความคิดเห็นที่ 39


หากมีข้อโต้แย้งกรณีที่มีปัญหาการตัดสินการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต แพทย์ประจำศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) ร่วมกับวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย จะประเมินภาวะฉุกเฉินของผู้ป่วยภายใน 15 นาที โดยคำวินิจฉัยของศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติให้ถือเป็นที่สุด
เบอร์โทร 02-872-1669 สามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง

คู่มือแนวทางการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เกณฑ์ และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน
http://www.niems.go.th/th/Upload/File/255803301523288185_74OCtOGV0971iG5k.pdf

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.)
http://www.niems.go.th
ความคิดเห็นที่ 3
เป็นไข้แบบนี้ ถ้าอยู่ต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว
คุณจะต้องไปนัดพบหมอก่อน.  ซึ่งต้องรอคิวนาน. กว่าจะได้พบหมอจริงๆคงอีกสัก 2-3 สัปดาห์

แล้วคุณจะอยากกลับมาเจอหมอเมืองไทยแน่นอน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่