สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาพูดถึงเลนส์มือหมุนสัญชาติญี่ปุ่นตัวนึงซึ่งเป็นเลนส์ที่ดีมากอีกตัวนึง แต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงกันสักเท่าไหร่ นั่นก็คือ Konica Hexanon AR 50mm 1.4 นั่นเอง เป็นแบรนที่มีประวัติยาวนานพอสมควร เคยทำเลนส์ให้ Leica ด้วย [ว่ากันว่าเลนส์ที่ทำให้ Leica มีคุณภาพเบียด Minolta Mount Leica แบบนิ่มๆกันเลยทีเดียว]
ออกตัวก่อนว่าผมเองไม่ใช่คนที่รู้เรื่องประวัติของเลนส์แต่ละตัวที่นำมารีวิวดีมากเท่าไหร่นัก ข้อมูลส่วนนึงได้จากการค้นหา และรวบรวมมา ผมเพียงพยายามรู้จักเลนส์ที่ผ่านมือมาให้ดีที่สุด หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
Konica คืออีกหนึ่งในหลายๆ บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่เก่าแก่และมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน ที่น่าประหลาดใจก็คือ จุดเริ่มต้นของตำนานนี้เป็นบริษัทขายยาเล็กๆ ที่ชื่อว่า Konishi-ya Rokubei Ten ซึ่งมีเจ้าของคือ ซูกิอูระ โรกุเอมอน ที่ 5 ในเวลาต่อมาที่ลูกชายของเขาคือ ซูกิอูระ โรกุซาบุโร่ ได้เติบโตขึ้นและเข้ามาร่วมบริหารงาน ก็ได้ทำการขยายกิจการไปจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพโดยเริ่ม ต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1873 เป็นต้นมา
ชื่อ “Konica” ในยุคเริ่มต้นนั้น ก็มีที่มาจากอักษรตัวแรกแล้วเติม CA ซึ่งหมายถึง CAmera ลงไปต่อท้าย เช่นเดียวกับที่กล้องยี่ห้ออื่นๆ (Leica, Yachica ฯลฯ) ทำกันจนเป็นธรรมเนียมนั่นเอง
ในปี ค.ศ. 1879 บริษัทได้ทำการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Honten Konishi Rokuemon และเริ่มต้นพัฒนากล้องถ่ายภาพของตัวเองขึ้นโดยช่างฝีมือที่ชื่อว่า ฮาเซกาว่า โทชิโนสุเกะ และ โทโจ คาเมจิโร่ ซึ่งกล้องตัวแรกที่ประสบความสำเร็จในการผลิตก็คือกล้อง Cherry ในปี ค.ศ. 1903 ซึ่งเป็นกล้องถ่ายภาพสัญชาติญี่ปุ่นตัวแรกที่มีชื่อยี่ห้อเป็นของตัวเอง
ต่อมาในปี ค.ศ. 1921 บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น G.K. Konishiroku Honten ซึ่งพยางค์ roku (โรกุ) นั้นได้อ้างอิงถึงชื่อ ซูกิอูระ โรกุเอม่อน ที่ 6 (หมายถึงลูกชายเจ้าของบริษัทยาที่ชื่อ ซูกิอูระ โรกุซาบุโร่ ซึ่งเป็นทายาทลำดับที่ 6 ในตระกูล) ซึ่งคำว่าโรกุ (?) นั้นจะแปลว่า “6? ด้วยเช่นกัน ซึ่งโลโก้ของบริษัทก็ได้ออกแบบโดยใช้ตัวอักษรโรกุนี้อยู่ภายในดอกเชอรี่ ซึ่งเกิดจากการเล่นคำนั่นเอง
บริษัทฯ ได้ทำการก่อตั้งวิทยาลัยเพื่อทำการเรียนการสอนเรื่องเกี่ยวกับการถ่ายภาพใน ชื่อ Konishi college ขึ้นที่เมืองโตเกียวในปี ค.ศ. 1923 และผลิตกล้อง Pearlette ในปี ค.ศ. 1925 ซึ่งกล้องรุ่นนี้เป็นกล้องที่ดำเนินการผลิตออกจำหน่ายแบบเป็นจำนวนมากตัวแรก ของญี่ปุ่นด้วย
หลังจากนั้นอีกหกปี บริษัทก็ได้วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์อีกตัวหนึ่ง นั่นก็คือม้วนฟิล์มถ่ายภาพที่ใช้ชื่อว่า “Sakura” ในปี ค.ศ. 1929 ซึ่งเป็นฟิล์มถ่ายภาพชนิดม้วนยี่ห้อที่สองที่มีการผลิตขึ้นจำหน่ายในประเทศ ญี่ปุ่น และในปีถัดมานั้นเอง ก็ได้ปล่อยเลนส์ถ่ายภาพเชิงพาณิชย์ของญี่ปุ่นออกมาเป็นตัวแรกโดยใช้ชื่อว่า Hexar ซึ่งก็มีความหมายว่า “6? เช่นกัน
บริษัททำการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งในปี ค.ศ. 1936 มาเป็น K.K. Konishiroku ก่อนที่จะยุติการขายในปี ค.ศ. 1943 แล้วปรุบปรุงองค์กรมาเป็น Konishiroku Shashin Kogyo K.K. และเปลี่ยนเป็น Konishiroku Photo Industry Co., Ltd. อย่างเป็นทางการอีกครั้งหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง
Konica ผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับกล้องและการถ่ายภาพมากมาย ซึ่งรวมไปถึงเลนส์และอุปกรณ์เสริมหลากหลายชนิดด้วย กล้องถ่ายภาพและเลนส์กว่าสองร้อยรุ่นถูกนำออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง มีตั้งแต่กล้อง Rangefinder, Folding Camera, ฯลฯ แน่นอนว่าต้องมี SLR ด้วยเช่นกัน โดยเริ่มจาก SLR ที่ใช้ชื่อรุ่นว่า Konica F Konica Bayonet Mount I) ในเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 1960
ในส่วนของกล้องดิจิตอลนั้น Konica เริ่มตั้งแต่ปี 2002 แต่เพียงอีกปีเดียวต่อมาก็ควบรวมกิจการเข้ากับ Minolta
โคนิกามินอลต้าประกาศถอนตัวจากตลาดกล้องถ่ายภาพและฟิลม์สีทั้งหมด จบบทบาทการเป็นแบรนด์ดังที่ตากล้องทั่วโลกรู้จักดี โคนิกามินอลต้าโฮลดิ้งส์ (Konica Minolta Holdings Inc.) ประกาศหยุดการผลิตกล้องดิจิตอลแบบคอมแพ็คทั้งหมด และจะขายสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์กล้องดิจิตอลแบบ SLR หรือ single lens reflex ประสิทธิภาพสูงบางส่วนให้กับบริษัทโซนี่ (Sony Corp.) โดยไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดตัวเงินการซื้อขาย
นอกจากกล้องดิจิตอลแบบคอมแพ็ค โคนิกามินอลต้ายังประกาศหยุดการผลิตฟิลม์และกระดาษอัดภาพสีแบรนด์โคนิกามินอลต้าภายในเดือนมีนาคม ปี 2007 โดยการยุติการผลิตฟิลม์และกระดาษอัดภาพ โคนิกาฯให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการเติบโตของตลาดกล้องดิจิตอล ที่ทำให้การใช้ฟิลม์และกระดาษอัดภาพกลายเป็นสิ่งไร้ค่า ส่วนการถอนตัวจากตลาดกล้องดิจิตอล โคนิกาให้เหตุผลว่าเป็นเพราะทนการแข่งขันในตลาดไม่ไหว
ด้านผู้ผลิตกล้องดิจิตอลรายใหญ่อันดับสามและสี่ของโลกอย่างโกดัก (Eastman Kodak) และฟูจิ (Fuji Photo Film Co.) ต่างเคยออกมาประกาศลดการลงทุนในผลิตภัณฑ์กล้องและฟิลม์ถ่ายภาพที่มีผลประกอบการติดลบอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่เคยมีใครออกมาประกาศว่าจะยุติการผลิตเช่นนี้มาก่อน
ก่อนหน้านี้ โคนิกามินอลต้าเคยออกมาประกาศคาดการณ์ตัวเลขขาดทุนสุทธิประจำไตรมาส 1 ของปี 2006 (มกราคมถึงมีนาคม 2006) ไว้ที่ 47,000 ล้านเยน ราว 16,061.8 ล้านบาท ตัวเลขดังกล่าวโคนิกามินอลต้าประกาศไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยระบุว่าได้ใช้เงินมูลค่า 90,000 ล้านเยน หรือประมาณ 30,756.8 ล้านบาทไปกับกระบวนการจัดการผลิตภัณฑ์ การจัดการสินทรัพย์ และการตัดแรงงานคนในธุรกิจกล้องและฟิลม์ถ่ายภาพ กระทั่งตัดสินใจถอดปลั๊ก ถอนตัวจากธุรกิจดังกล่าวในที่สุด ท่ามกลางความตกตะลึงของนักวิเคราะห์และบริษัทคู่แข่งในตลาด
โคนิกามินอลต้าก่อตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม 2003 โดยการร่วมทุนระหว่างโคนิกา (Konica Corp.) และมินอลต้า (Minolta Co.) ทั้งสองมีประวัติศาสตร์ในตลาดกล้องดิจิตอลและฟิลม์ถ่ายภาพมาช้านาน โดยเริ่มจำหน่ายกระดาษอัดภาพในประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1903 ก่อนจะส่งม้วนฟิลม์สีลงตลาดญี่ปุ่นในปี 1940
หลังจากการประกาศช็อคโลกของโคนิกามินอลต้า คู่แข่งในตลาดอย่างฟูจิให้คำมั่นว่า จะยังคงผลิตฟิลม์ถ่ายภาพสีต่อไป ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโซนี่และโคนิกานั้น ก่อนหน้านี้ทั้งสองเคยร่วมมือกันพัฒนากล้องดิจิตอล SLR เมื่อเดือนกรกฎาคมของปีที่แล้ว โดยโคนิกาเปิดเผยว่าจะผลิตตัวบอดี้และเลนส์สำหรับกล้องดิจิตอล SLR เพื่อส่งให้โซนี่ต่อไป แต่จะไม่มีการใช้ชื่อแบรนด์โคนิกามินอลต้าอีกต่อไป
ถือเป็นการจบชื่อโคนิกาที่สร้างสมมาตั้งแต่ปี 1903
อ่านประวัติกันมาพอสมควรแล้ว เรามาเข้าเรื่องกันครับมาดูหน้าตาของเลนส์ตัวนี้กันครับ
มีบอกระยะ Filter หรือฝาปิดหน้าเลนส์มาด้วยครับ 55mm
บอดี้ ระยะเข้าใกล้แบบ ใกล้สุดอยู่ที่ 0.45 ฟุต Ft หรือ 1.5 เมตร M
ด้านท้ายเลนส์เป็น Mount แบบ AR เป็น Mount เฉพาะของ Konica
รูรับแสงกว้างสุดที่ 1.4 หรี่มาจะเป็นหกเหลี่ยมมนๆ
หรี่แคบสุดที่ 16
รูปแบบ Optic เลนส์ ส่วนตัวไม่มีความรู้ด้านนี้ เราไม่พูดถึงครับ 555 แปะมาให้ดูเฉยๆ
Konica Hexanon AR 50mm 1.4 จะมีออกมาทั้งหมด3รุ่น
1.รูรับแสงแคบสุดอยู่ที่ F16 และมีตัวหนังสือสีเขียนอยู่ที่กระบอกเลนส์ว่า EE [ตัวนี้]
2.รูรับแสงแคบสุดอยู่ที่ F16 และมีตัวหนังสือสีเขียนอยู่ที่กระบอกเลนส์ว่า AE *เฉพาะเวอร์ชั่น 2 นี้จะมีการเคลือบสารกัมมตรังสีที่ชิ้นเลนส์เพื่อลดอาการขอบเขียวขอบม่วง*
3.รูรับแสงแคบสุดอยู่ที่ F22 และมีตัวหนังสือสีเขียนอยู่ที่กระบอกเลนส์ว่า AE
Version2
Version3
หน้าตาของเลนส์มองผ่านๆจะมีความคล้ายๆกับเลนส์ Contax Carl Zeiss
ภาพตัวอย่างจากเลนส์ตัวนี้ครับ
*ผมถ่ายด้วยกล้อง Olympus OMD EM1 และ Panasonic GX7 ซึ่งเป็นเซนเซอร์ m4/3
ภาพจากเลนส์ตัวเดียวกันนี้หากถ่ายด้วยกล้องที่เซนเซอร์ต่างขนาดกันไปเช่น APSC หรือ FullFrame
อาจจะได้ลักษณะโบเก้ที่ไม่เหมือนกันซะทีเดียวครับ เรียกว่าต่างเซนเซอร์โบเก้ไม่เหมือนกัน
แต่โทนของภาพจะเคียงกันครับ*
โบเก้ ที่ 1.4
หรี่มาที่ 2.8
หรี่มาที่ 4
ชมดอกไม้กันบ้าง
มาลองดูภาพบุคคลกันบ้าง
ถ่ายขาวดำได้สวยงามพอสมควร
ข้อความเต็ม ไปต่อที่ความเห็นที่ 1 นะครับ
**แก้ไขคำผิด
เลนส์เก่า เล่าใหม่ #4 Konica Hexanon AR 50mm 1.4 เลนส์ดีๆที่โลกลืม
ออกตัวก่อนว่าผมเองไม่ใช่คนที่รู้เรื่องประวัติของเลนส์แต่ละตัวที่นำมารีวิวดีมากเท่าไหร่นัก ข้อมูลส่วนนึงได้จากการค้นหา และรวบรวมมา ผมเพียงพยายามรู้จักเลนส์ที่ผ่านมือมาให้ดีที่สุด หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
Konica คืออีกหนึ่งในหลายๆ บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่เก่าแก่และมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน ที่น่าประหลาดใจก็คือ จุดเริ่มต้นของตำนานนี้เป็นบริษัทขายยาเล็กๆ ที่ชื่อว่า Konishi-ya Rokubei Ten ซึ่งมีเจ้าของคือ ซูกิอูระ โรกุเอมอน ที่ 5 ในเวลาต่อมาที่ลูกชายของเขาคือ ซูกิอูระ โรกุซาบุโร่ ได้เติบโตขึ้นและเข้ามาร่วมบริหารงาน ก็ได้ทำการขยายกิจการไปจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพโดยเริ่ม ต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1873 เป็นต้นมา
ชื่อ “Konica” ในยุคเริ่มต้นนั้น ก็มีที่มาจากอักษรตัวแรกแล้วเติม CA ซึ่งหมายถึง CAmera ลงไปต่อท้าย เช่นเดียวกับที่กล้องยี่ห้ออื่นๆ (Leica, Yachica ฯลฯ) ทำกันจนเป็นธรรมเนียมนั่นเอง
ในปี ค.ศ. 1879 บริษัทได้ทำการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Honten Konishi Rokuemon และเริ่มต้นพัฒนากล้องถ่ายภาพของตัวเองขึ้นโดยช่างฝีมือที่ชื่อว่า ฮาเซกาว่า โทชิโนสุเกะ และ โทโจ คาเมจิโร่ ซึ่งกล้องตัวแรกที่ประสบความสำเร็จในการผลิตก็คือกล้อง Cherry ในปี ค.ศ. 1903 ซึ่งเป็นกล้องถ่ายภาพสัญชาติญี่ปุ่นตัวแรกที่มีชื่อยี่ห้อเป็นของตัวเอง
ต่อมาในปี ค.ศ. 1921 บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น G.K. Konishiroku Honten ซึ่งพยางค์ roku (โรกุ) นั้นได้อ้างอิงถึงชื่อ ซูกิอูระ โรกุเอม่อน ที่ 6 (หมายถึงลูกชายเจ้าของบริษัทยาที่ชื่อ ซูกิอูระ โรกุซาบุโร่ ซึ่งเป็นทายาทลำดับที่ 6 ในตระกูล) ซึ่งคำว่าโรกุ (?) นั้นจะแปลว่า “6? ด้วยเช่นกัน ซึ่งโลโก้ของบริษัทก็ได้ออกแบบโดยใช้ตัวอักษรโรกุนี้อยู่ภายในดอกเชอรี่ ซึ่งเกิดจากการเล่นคำนั่นเอง
บริษัทฯ ได้ทำการก่อตั้งวิทยาลัยเพื่อทำการเรียนการสอนเรื่องเกี่ยวกับการถ่ายภาพใน ชื่อ Konishi college ขึ้นที่เมืองโตเกียวในปี ค.ศ. 1923 และผลิตกล้อง Pearlette ในปี ค.ศ. 1925 ซึ่งกล้องรุ่นนี้เป็นกล้องที่ดำเนินการผลิตออกจำหน่ายแบบเป็นจำนวนมากตัวแรก ของญี่ปุ่นด้วย
หลังจากนั้นอีกหกปี บริษัทก็ได้วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์อีกตัวหนึ่ง นั่นก็คือม้วนฟิล์มถ่ายภาพที่ใช้ชื่อว่า “Sakura” ในปี ค.ศ. 1929 ซึ่งเป็นฟิล์มถ่ายภาพชนิดม้วนยี่ห้อที่สองที่มีการผลิตขึ้นจำหน่ายในประเทศ ญี่ปุ่น และในปีถัดมานั้นเอง ก็ได้ปล่อยเลนส์ถ่ายภาพเชิงพาณิชย์ของญี่ปุ่นออกมาเป็นตัวแรกโดยใช้ชื่อว่า Hexar ซึ่งก็มีความหมายว่า “6? เช่นกัน
บริษัททำการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งในปี ค.ศ. 1936 มาเป็น K.K. Konishiroku ก่อนที่จะยุติการขายในปี ค.ศ. 1943 แล้วปรุบปรุงองค์กรมาเป็น Konishiroku Shashin Kogyo K.K. และเปลี่ยนเป็น Konishiroku Photo Industry Co., Ltd. อย่างเป็นทางการอีกครั้งหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง
Konica ผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับกล้องและการถ่ายภาพมากมาย ซึ่งรวมไปถึงเลนส์และอุปกรณ์เสริมหลากหลายชนิดด้วย กล้องถ่ายภาพและเลนส์กว่าสองร้อยรุ่นถูกนำออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง มีตั้งแต่กล้อง Rangefinder, Folding Camera, ฯลฯ แน่นอนว่าต้องมี SLR ด้วยเช่นกัน โดยเริ่มจาก SLR ที่ใช้ชื่อรุ่นว่า Konica F Konica Bayonet Mount I) ในเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 1960
ในส่วนของกล้องดิจิตอลนั้น Konica เริ่มตั้งแต่ปี 2002 แต่เพียงอีกปีเดียวต่อมาก็ควบรวมกิจการเข้ากับ Minolta
โคนิกามินอลต้าประกาศถอนตัวจากตลาดกล้องถ่ายภาพและฟิลม์สีทั้งหมด จบบทบาทการเป็นแบรนด์ดังที่ตากล้องทั่วโลกรู้จักดี โคนิกามินอลต้าโฮลดิ้งส์ (Konica Minolta Holdings Inc.) ประกาศหยุดการผลิตกล้องดิจิตอลแบบคอมแพ็คทั้งหมด และจะขายสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์กล้องดิจิตอลแบบ SLR หรือ single lens reflex ประสิทธิภาพสูงบางส่วนให้กับบริษัทโซนี่ (Sony Corp.) โดยไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดตัวเงินการซื้อขาย
นอกจากกล้องดิจิตอลแบบคอมแพ็ค โคนิกามินอลต้ายังประกาศหยุดการผลิตฟิลม์และกระดาษอัดภาพสีแบรนด์โคนิกามินอลต้าภายในเดือนมีนาคม ปี 2007 โดยการยุติการผลิตฟิลม์และกระดาษอัดภาพ โคนิกาฯให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการเติบโตของตลาดกล้องดิจิตอล ที่ทำให้การใช้ฟิลม์และกระดาษอัดภาพกลายเป็นสิ่งไร้ค่า ส่วนการถอนตัวจากตลาดกล้องดิจิตอล โคนิกาให้เหตุผลว่าเป็นเพราะทนการแข่งขันในตลาดไม่ไหว
ด้านผู้ผลิตกล้องดิจิตอลรายใหญ่อันดับสามและสี่ของโลกอย่างโกดัก (Eastman Kodak) และฟูจิ (Fuji Photo Film Co.) ต่างเคยออกมาประกาศลดการลงทุนในผลิตภัณฑ์กล้องและฟิลม์ถ่ายภาพที่มีผลประกอบการติดลบอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่เคยมีใครออกมาประกาศว่าจะยุติการผลิตเช่นนี้มาก่อน
ก่อนหน้านี้ โคนิกามินอลต้าเคยออกมาประกาศคาดการณ์ตัวเลขขาดทุนสุทธิประจำไตรมาส 1 ของปี 2006 (มกราคมถึงมีนาคม 2006) ไว้ที่ 47,000 ล้านเยน ราว 16,061.8 ล้านบาท ตัวเลขดังกล่าวโคนิกามินอลต้าประกาศไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยระบุว่าได้ใช้เงินมูลค่า 90,000 ล้านเยน หรือประมาณ 30,756.8 ล้านบาทไปกับกระบวนการจัดการผลิตภัณฑ์ การจัดการสินทรัพย์ และการตัดแรงงานคนในธุรกิจกล้องและฟิลม์ถ่ายภาพ กระทั่งตัดสินใจถอดปลั๊ก ถอนตัวจากธุรกิจดังกล่าวในที่สุด ท่ามกลางความตกตะลึงของนักวิเคราะห์และบริษัทคู่แข่งในตลาด
โคนิกามินอลต้าก่อตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม 2003 โดยการร่วมทุนระหว่างโคนิกา (Konica Corp.) และมินอลต้า (Minolta Co.) ทั้งสองมีประวัติศาสตร์ในตลาดกล้องดิจิตอลและฟิลม์ถ่ายภาพมาช้านาน โดยเริ่มจำหน่ายกระดาษอัดภาพในประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1903 ก่อนจะส่งม้วนฟิลม์สีลงตลาดญี่ปุ่นในปี 1940
หลังจากการประกาศช็อคโลกของโคนิกามินอลต้า คู่แข่งในตลาดอย่างฟูจิให้คำมั่นว่า จะยังคงผลิตฟิลม์ถ่ายภาพสีต่อไป ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโซนี่และโคนิกานั้น ก่อนหน้านี้ทั้งสองเคยร่วมมือกันพัฒนากล้องดิจิตอล SLR เมื่อเดือนกรกฎาคมของปีที่แล้ว โดยโคนิกาเปิดเผยว่าจะผลิตตัวบอดี้และเลนส์สำหรับกล้องดิจิตอล SLR เพื่อส่งให้โซนี่ต่อไป แต่จะไม่มีการใช้ชื่อแบรนด์โคนิกามินอลต้าอีกต่อไป
ถือเป็นการจบชื่อโคนิกาที่สร้างสมมาตั้งแต่ปี 1903
อ่านประวัติกันมาพอสมควรแล้ว เรามาเข้าเรื่องกันครับมาดูหน้าตาของเลนส์ตัวนี้กันครับ
มีบอกระยะ Filter หรือฝาปิดหน้าเลนส์มาด้วยครับ 55mm
บอดี้ ระยะเข้าใกล้แบบ ใกล้สุดอยู่ที่ 0.45 ฟุต Ft หรือ 1.5 เมตร M
ด้านท้ายเลนส์เป็น Mount แบบ AR เป็น Mount เฉพาะของ Konica
รูรับแสงกว้างสุดที่ 1.4 หรี่มาจะเป็นหกเหลี่ยมมนๆ
หรี่แคบสุดที่ 16
รูปแบบ Optic เลนส์ ส่วนตัวไม่มีความรู้ด้านนี้ เราไม่พูดถึงครับ 555 แปะมาให้ดูเฉยๆ
Konica Hexanon AR 50mm 1.4 จะมีออกมาทั้งหมด3รุ่น
1.รูรับแสงแคบสุดอยู่ที่ F16 และมีตัวหนังสือสีเขียนอยู่ที่กระบอกเลนส์ว่า EE [ตัวนี้]
2.รูรับแสงแคบสุดอยู่ที่ F16 และมีตัวหนังสือสีเขียนอยู่ที่กระบอกเลนส์ว่า AE *เฉพาะเวอร์ชั่น 2 นี้จะมีการเคลือบสารกัมมตรังสีที่ชิ้นเลนส์เพื่อลดอาการขอบเขียวขอบม่วง*
3.รูรับแสงแคบสุดอยู่ที่ F22 และมีตัวหนังสือสีเขียนอยู่ที่กระบอกเลนส์ว่า AE
Version2
Version3
หน้าตาของเลนส์มองผ่านๆจะมีความคล้ายๆกับเลนส์ Contax Carl Zeiss
ภาพตัวอย่างจากเลนส์ตัวนี้ครับ
*ผมถ่ายด้วยกล้อง Olympus OMD EM1 และ Panasonic GX7 ซึ่งเป็นเซนเซอร์ m4/3
ภาพจากเลนส์ตัวเดียวกันนี้หากถ่ายด้วยกล้องที่เซนเซอร์ต่างขนาดกันไปเช่น APSC หรือ FullFrame
อาจจะได้ลักษณะโบเก้ที่ไม่เหมือนกันซะทีเดียวครับ เรียกว่าต่างเซนเซอร์โบเก้ไม่เหมือนกัน
แต่โทนของภาพจะเคียงกันครับ*
โบเก้ ที่ 1.4
หรี่มาที่ 2.8
หรี่มาที่ 4
ชมดอกไม้กันบ้าง
มาลองดูภาพบุคคลกันบ้าง
ถ่ายขาวดำได้สวยงามพอสมควร
ข้อความเต็ม ไปต่อที่ความเห็นที่ 1 นะครับ
**แก้ไขคำผิด