คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
...พ.ศ. ๒๕๐๔ ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม.../วัชรานนท์
https://ppantip.com/topic/35527144
หากใครที่มาจากชนบทก็คงจะนึกภาพวันนั้นที่ลานหน้าบ้าน "ผู้ใหญ่ลี" ที่คราครั่งไปด้วยบรรดาลูกบ้านมานั่งสลอนรอฟังผู้ใหญ่ลีเปิดการประชุมออก นั่นตาสี นี่ยายมา นู้นก็ป้าตัน ฯลฯ รวมทั้งบรรดาลูกเล็กเด็กแดงวิ่งเล่นกันคลุ่นฟุ้งที่หน้าบ้านผู้ใหญ่ลีอันเป็นเสมือนหนึ่ง “รัฐสภา” ประจำหมู่บ้าน ลักษณะและรูปแบบการประชุมก็คงไม่แตกต่างอะไรที่รัฐสภากลางใจกรุงเทพมหานคร คือมีเห็นด้วย มีคัดค้าน มีถกเถียงกันหน้าดำหน้าแดง...แต่ที่แตกต่างเห็นจะเป็นบรรยากาศ “ลานหน้าบ้าน” ผู้ใหญ่บ้านนั้นไม่มีที่นั่งเบาะนุ่มๆ ให้นั่ง บ้างก็นั่งยองๆ บนลาน บ้างก็นั่งบนเสื่อที่นำมาจากบ้าน บ้างก็นั่งบนขอนไม้ ไม่มีแอร์คอนดิชั่น ไม่มีนาฬิกาแขวนที่แพงระดับปรับปรุงและซ่อมแซมถนนในหมู่บ้านได้ทั้งหมู่บ้าน ไม่มีไมค์โครโฟนที่แพงระดับขุดบ่อเลี้ยงปลาให้ชาวบ้านได้หลายสิบบ่อ แถมเวลามีลมพัดฮือมาทีไร...หอบเอากลิ่นโคลนสาปควายของผู้ใหญ่บ้านที่ล้อมเอาไว้ใต้ถุนบ้านกระจายฟุ้งทั่วลานบ้านอีกต่างหาก
สมัยเป็นเด็ก หมู่บ้านที่ผมอยู่ยังไม่มีไฟฟ้าลง เวลาผู้ใหญ่บ้านตีเกราะประชุมทีไร บรรดาลูกๆ หลานๆ ผู้ใหญ่บ้านรวมทั้งลูกผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านอย่างผมก็ต้องลำบากตระเตรียมหาเชื้อไฟมาเตรียมจุดเป็นไต้ส่องสว่างในลานที่ประชุม รวมทั้งสุมไฟไล่ยุงและไล่ความหนาวให้กับบรรดา “ลูกบ้าน” ที่เข้าร่วมประชุม นี่คือกิจกรรมเล็กๆ ในระบอบประชาธิปไตยของกลุ่มคนที่อยู่ห่างไกลปืนเที่ยง ที่บางคนโดยเฉพาะคนในเมืองไม่เคยเห็นหรือได้สัมผัส หรือบางคนปรามาสพวกเขาว่าไม่เข้าใจระบบประชาธิปไตย ในที่ประชุมมีเพียงผู้ใหญ่บ้านคนเดียวที่ได้กินเงินเดือน(ถ้าผมจำไม่ผิดในสมัยผมเป็นเด็กรู้สึกว่าจะได้500บาทต่อเดือนประมาณนี้) ส่วนคนที่มาร่วมประชุมไม่มีเงินเดือน ไม่มีเบี้ยเลี้ยงการประชุมอะไร การประชุมในบางครั้งกว่าจะตกลงกันได้กินเวลาเกือบค่อนคืนก็มี มติในที่ประชุมของหมู่บ้านก็จะถูกนำไปเป็นวาระในที่ประชุมสูงๆ ขึ้นไป จากหมู่บ้าน สู่อำเภอ จากอำเภอสู่จังหวัด จากสังหวัดสู่ส่วนกลาง.....นั่นก็ถือว่าเป็นระยะทางที่ไกลพอสมควรที่มติเล็กๆ ของหมู่บ้านจะสามารถขึ้นสู่ส่วนกลางระดับประเทศได้ ถ้าไม่ใหญ่หรือมีเส้นสายจริง มติในที่ประชุมของหมู่บ้านส่วนใหญ่ก็มักจะตกหล่นหายๆ เกินๆ แถวตำบลหรือไม่ก็อำเภอ อย่างไรก็แล้วแต่....นั่นก็ถือว่าเป็นองคาพยพของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ชาวบ้านได้มีสวนสัมผัสและเรียนรู้โดยไม่จำเป็นต้องอ้างวุฒิหรือปริญญาใดๆ ในขณะที่ชนชั้นที่สูงกว่าบางกลุ่มบางคนเรียนรู้ระบบการปกครองระบอบนี้ผ่านเพียงแค่ตัวอักษรและตำรา แล้วเพียงแค่กรีดนิ้วคลี่ผ้าม่านบนหอคอยชั้นสูงลงมา แล้วมองพวกเขาด้วยสายดูแคลนพร้อมกับรำพึงว่าพวกเขาไม่เข้าใจประชาธิปไตย!!
ย้อนกลับมาที่เรื่องราวปี ๒๕๐๔ ที่ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุมตามเนื้อเพลง เพลงนี้เป็นเพลงที่แฝงไปด้วยความขบขันและน่ารักของทั้งผู้ใหญ่ลีและลูกบ้านที่ชื่อ “ตาสี” โดยเฉพาะในสายตาของคนในเมือง แต่ถ้ามองลึกลงไปอีกชั้นหนึ่ง เพลงนี้ได้พยายามที่จะสะท้อนให้”คนเมือง” ได้เห็นอะไรหลายๆ อย่างจากเนื้อเพลง อย่างน้อยๆ...ปีพุทธศักราช ๒๕๐๔ ซึ่งเป็นปีที่ท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ครองเมืองและถืออาญาสิทธิ์ ม.17, ม.21ไว้ในมือ(บางคนเรียกว่ายุคเผด็จการ) ในขณะที่ชาวชนบทยังคงศรัทธาในระบบประชาธิปไตยอย่างมั่นคงอยู่ ซึ่งหาก“ผู้ใหญ่ลี” อยากจะใช้อำนาจเผด็จการบ้าง โดยตีหน้ายักษ์ทำตาเขียวปั๊ดตวาดกลับใส่ “ตาสี” หรือขู่ทุ่มโพเดียมใส่ ที่ซักไซร้ถามเรื่องสุกร(ที่ตัวเองก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร)เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะตอบเสียก็คงไม่มีใครกล้าหือ?? แต่ “ผู้นำ” อย่างผู้ใหญ่ลีก็เคารพในสิทธิ์ลูกบ้านอย่างตาสี ที่แม้คำตอบจะทำให้ผู้ใหญ่ลีเงิบในภายหลัง แต่บรรยากาศและการเคารพสิทธิ์ในระบอบและกติกาของประชาธิปไตยยังอยู่ ตรงนี้ก็ต้องขอถอดหมวกค้อมหัวโค้งคำนับผู้นำอย่าง "ผู้ใหญ่ลี" และลูกบ้านที่กล้าถามอย่าง “ตาสี” ครับ
การที่ “ตาสี” กล้าลุกขึ้นถาม "ผู้นำ" ตรงๆ ว่าไอ้เจ้า ”สุกร” นั่นน่ะมันคืออะไร? ตรงนี้สะท้อนให้เห็นอะไร?? ตรงนี้สะท้อนได้หลายมุมมองทีเดียว สะท้อนให้เห็นบรรยากาศของการประชุมระดับหมู่บ้านว่าไม่ใช่จะเป็นไปลักษณะที่ลูกบ้านต้องนั่งฟังแล้วผงกหัวตาม “ผู้นำ” แต่อย่างเดียว อันไหนไม่เข้าใจ อันไหนไม่เห็นด้วยก็สามารถลุกขึ้นแย้งได้ อย่างกรณี “ตาสี” ที่ลุกขึ้นถามผู้ใหญ่บ้านให้ “ตีความ” ของคำว่าสุกร? (ซึ่งดูเหมือนว่าผู้ใหญ่ลีเองก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าไอ้เจ้าสุกรนี้คืออะไร? ตรงนี้ถ้าผู้ใหญ่ลีหัวหมอสักหน่อย ก็สามารถส่งให้ตุลาการรัฐธรรมนูญเปิดพจนานุกรมตีความให้ก็ได้นะ ฮ่า ฮ่า ฮ่า) นั่นก็นับว่าเป็นความกล้าแสดงออกของ “ตาสี” ลูกบ้านธรรมดาๆ คนหนึ่ง ถึงแม้ “ตาสี” ไม่ถาม....ก็ไม่แน่ว่า ”ตาสา” ที่นั่งตบยุงอยู่ข้างๆ ก็อาจจะยกมือถามก็ได้ ใครจะรู้?? การถามเรื่องสุกรของตาสี และการตอบของผู้ใหญ่ลีก็ชี้ให้เห็นว่าผู้ใหญ่ลีเองก็ไม่ใช่ผู้นำที่ละเอียดนัก ในเมื่อ “ทางการเขาสั่งมาว่า ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร” ผู้ใหญ่ลีเองก็ไม่ได้แสดงความกล้าที่จะถาม “ทางการ” เสียแต่ตรงนั้นก่อนที่จะมาเรียกประชุมลูกบ้านว่าสุกรนั้นคืออะไร? ตรงนี้ก็ควรจะยกไว้เป็นบทเรียนสำหรับผู้นำหลายๆ ท่านด้วย
ประการสุดท้าย การไม่เข้าใจคำว่า “สุกร” ของชาวบ้านชนบทอย่าง “ตาสี” และ “ผู้ใหญ่ลี” นั้นไม่ใช่เรื่องตลกอะไร หรือถ้าจะเป็นเรื่องตลกก็คงเป็นตลกปนเศร้านะ อันนี้ถือเป็นความบกพร่องของ “ทางการ” ที่ได้แต่สั่งๆๆๆๆๆๆๆ สั่งในภาษาราชการของตัวเอง โดยไม่คำนึงว่าแต่ละท้องถิ่นแต่ละภาคต่างก็มีภาษาพูดของเขาเอง ยุคโน้น..มันไม่มีเฟสบุ๊ค ไม่มีสื่ออนไลน์ ที่คนไกลปืนเที่ยงพอจะเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของภาษา การพัฒนาและใช้ภาษาไทยบางทีก็ฟุ่มเฟือยไป นอกจากจะมีคำราชาศัพท์ต่างๆ แล้ว สุดท้ายยังมีการเพิ่มกลุ่มคำใหม่ขึ้นมาหรือที่เรียกว่า “คำสุภาพ” โดยนำคำที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ไปวางทาบคำเก่าๆ เช่นคำว่า สุกรนี่แหละ เรียกหมูโดยทั่วๆ ไปก็เข้าใจกันได้ จะเรียก “ปลาใบไม้” ว่าปลาสลิดอย่างหลังก็จะเข้าใจกว้างกว่า ให้เรียกควายว่ากระบือ เรียกเมียว่าภรรยาหรือจะให้สุภาพขึ้นไปอีกก็เรียกว่าคู่สมรส......งงพะย่ะค่ะ งงสิครับ คนไกลปืนเที่ยงตามไม่ทันหรอก และกว่าคำใหม่ๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจะอยู่ในสมอง คนในเมืองก็ประดิษฐ์คำใหม่ขึ้นมาให้งงอีกแล้ว เฮ้อ....ไม่รู้ว่าการเรียกสุกรว่าหมู ปลาสลิดว่าปลาใบไม้ สุนัขว่าหะมา วานรว่าลิง โคว่างัว สามีว่าผัว ภรรยาว่าเมีย ฯลฯ นั้นมันไม่สุภาพตรงไหน?? เราใช้คำฟุ่มเฟือยโดยเกินเหตุไปหรือเปล่าเนี๊ยะ
ก้อเป็นเพลงเขียนขึ้นเพื่อความหรรษาละนะ แต่มันก็สะท้อนให้เห็นอะไรที่เป็นความจริงในสังคมได้หลายอย่างทีเดียวแระ
https://ppantip.com/topic/35527144
หากใครที่มาจากชนบทก็คงจะนึกภาพวันนั้นที่ลานหน้าบ้าน "ผู้ใหญ่ลี" ที่คราครั่งไปด้วยบรรดาลูกบ้านมานั่งสลอนรอฟังผู้ใหญ่ลีเปิดการประชุมออก นั่นตาสี นี่ยายมา นู้นก็ป้าตัน ฯลฯ รวมทั้งบรรดาลูกเล็กเด็กแดงวิ่งเล่นกันคลุ่นฟุ้งที่หน้าบ้านผู้ใหญ่ลีอันเป็นเสมือนหนึ่ง “รัฐสภา” ประจำหมู่บ้าน ลักษณะและรูปแบบการประชุมก็คงไม่แตกต่างอะไรที่รัฐสภากลางใจกรุงเทพมหานคร คือมีเห็นด้วย มีคัดค้าน มีถกเถียงกันหน้าดำหน้าแดง...แต่ที่แตกต่างเห็นจะเป็นบรรยากาศ “ลานหน้าบ้าน” ผู้ใหญ่บ้านนั้นไม่มีที่นั่งเบาะนุ่มๆ ให้นั่ง บ้างก็นั่งยองๆ บนลาน บ้างก็นั่งบนเสื่อที่นำมาจากบ้าน บ้างก็นั่งบนขอนไม้ ไม่มีแอร์คอนดิชั่น ไม่มีนาฬิกาแขวนที่แพงระดับปรับปรุงและซ่อมแซมถนนในหมู่บ้านได้ทั้งหมู่บ้าน ไม่มีไมค์โครโฟนที่แพงระดับขุดบ่อเลี้ยงปลาให้ชาวบ้านได้หลายสิบบ่อ แถมเวลามีลมพัดฮือมาทีไร...หอบเอากลิ่นโคลนสาปควายของผู้ใหญ่บ้านที่ล้อมเอาไว้ใต้ถุนบ้านกระจายฟุ้งทั่วลานบ้านอีกต่างหาก
สมัยเป็นเด็ก หมู่บ้านที่ผมอยู่ยังไม่มีไฟฟ้าลง เวลาผู้ใหญ่บ้านตีเกราะประชุมทีไร บรรดาลูกๆ หลานๆ ผู้ใหญ่บ้านรวมทั้งลูกผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านอย่างผมก็ต้องลำบากตระเตรียมหาเชื้อไฟมาเตรียมจุดเป็นไต้ส่องสว่างในลานที่ประชุม รวมทั้งสุมไฟไล่ยุงและไล่ความหนาวให้กับบรรดา “ลูกบ้าน” ที่เข้าร่วมประชุม นี่คือกิจกรรมเล็กๆ ในระบอบประชาธิปไตยของกลุ่มคนที่อยู่ห่างไกลปืนเที่ยง ที่บางคนโดยเฉพาะคนในเมืองไม่เคยเห็นหรือได้สัมผัส หรือบางคนปรามาสพวกเขาว่าไม่เข้าใจระบบประชาธิปไตย ในที่ประชุมมีเพียงผู้ใหญ่บ้านคนเดียวที่ได้กินเงินเดือน(ถ้าผมจำไม่ผิดในสมัยผมเป็นเด็กรู้สึกว่าจะได้500บาทต่อเดือนประมาณนี้) ส่วนคนที่มาร่วมประชุมไม่มีเงินเดือน ไม่มีเบี้ยเลี้ยงการประชุมอะไร การประชุมในบางครั้งกว่าจะตกลงกันได้กินเวลาเกือบค่อนคืนก็มี มติในที่ประชุมของหมู่บ้านก็จะถูกนำไปเป็นวาระในที่ประชุมสูงๆ ขึ้นไป จากหมู่บ้าน สู่อำเภอ จากอำเภอสู่จังหวัด จากสังหวัดสู่ส่วนกลาง.....นั่นก็ถือว่าเป็นระยะทางที่ไกลพอสมควรที่มติเล็กๆ ของหมู่บ้านจะสามารถขึ้นสู่ส่วนกลางระดับประเทศได้ ถ้าไม่ใหญ่หรือมีเส้นสายจริง มติในที่ประชุมของหมู่บ้านส่วนใหญ่ก็มักจะตกหล่นหายๆ เกินๆ แถวตำบลหรือไม่ก็อำเภอ อย่างไรก็แล้วแต่....นั่นก็ถือว่าเป็นองคาพยพของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ชาวบ้านได้มีสวนสัมผัสและเรียนรู้โดยไม่จำเป็นต้องอ้างวุฒิหรือปริญญาใดๆ ในขณะที่ชนชั้นที่สูงกว่าบางกลุ่มบางคนเรียนรู้ระบบการปกครองระบอบนี้ผ่านเพียงแค่ตัวอักษรและตำรา แล้วเพียงแค่กรีดนิ้วคลี่ผ้าม่านบนหอคอยชั้นสูงลงมา แล้วมองพวกเขาด้วยสายดูแคลนพร้อมกับรำพึงว่าพวกเขาไม่เข้าใจประชาธิปไตย!!
ย้อนกลับมาที่เรื่องราวปี ๒๕๐๔ ที่ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุมตามเนื้อเพลง เพลงนี้เป็นเพลงที่แฝงไปด้วยความขบขันและน่ารักของทั้งผู้ใหญ่ลีและลูกบ้านที่ชื่อ “ตาสี” โดยเฉพาะในสายตาของคนในเมือง แต่ถ้ามองลึกลงไปอีกชั้นหนึ่ง เพลงนี้ได้พยายามที่จะสะท้อนให้”คนเมือง” ได้เห็นอะไรหลายๆ อย่างจากเนื้อเพลง อย่างน้อยๆ...ปีพุทธศักราช ๒๕๐๔ ซึ่งเป็นปีที่ท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ครองเมืองและถืออาญาสิทธิ์ ม.17, ม.21ไว้ในมือ(บางคนเรียกว่ายุคเผด็จการ) ในขณะที่ชาวชนบทยังคงศรัทธาในระบบประชาธิปไตยอย่างมั่นคงอยู่ ซึ่งหาก“ผู้ใหญ่ลี” อยากจะใช้อำนาจเผด็จการบ้าง โดยตีหน้ายักษ์ทำตาเขียวปั๊ดตวาดกลับใส่ “ตาสี” หรือขู่ทุ่มโพเดียมใส่ ที่ซักไซร้ถามเรื่องสุกร(ที่ตัวเองก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร)เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะตอบเสียก็คงไม่มีใครกล้าหือ?? แต่ “ผู้นำ” อย่างผู้ใหญ่ลีก็เคารพในสิทธิ์ลูกบ้านอย่างตาสี ที่แม้คำตอบจะทำให้ผู้ใหญ่ลีเงิบในภายหลัง แต่บรรยากาศและการเคารพสิทธิ์ในระบอบและกติกาของประชาธิปไตยยังอยู่ ตรงนี้ก็ต้องขอถอดหมวกค้อมหัวโค้งคำนับผู้นำอย่าง "ผู้ใหญ่ลี" และลูกบ้านที่กล้าถามอย่าง “ตาสี” ครับ
การที่ “ตาสี” กล้าลุกขึ้นถาม "ผู้นำ" ตรงๆ ว่าไอ้เจ้า ”สุกร” นั่นน่ะมันคืออะไร? ตรงนี้สะท้อนให้เห็นอะไร?? ตรงนี้สะท้อนได้หลายมุมมองทีเดียว สะท้อนให้เห็นบรรยากาศของการประชุมระดับหมู่บ้านว่าไม่ใช่จะเป็นไปลักษณะที่ลูกบ้านต้องนั่งฟังแล้วผงกหัวตาม “ผู้นำ” แต่อย่างเดียว อันไหนไม่เข้าใจ อันไหนไม่เห็นด้วยก็สามารถลุกขึ้นแย้งได้ อย่างกรณี “ตาสี” ที่ลุกขึ้นถามผู้ใหญ่บ้านให้ “ตีความ” ของคำว่าสุกร? (ซึ่งดูเหมือนว่าผู้ใหญ่ลีเองก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าไอ้เจ้าสุกรนี้คืออะไร? ตรงนี้ถ้าผู้ใหญ่ลีหัวหมอสักหน่อย ก็สามารถส่งให้ตุลาการรัฐธรรมนูญเปิดพจนานุกรมตีความให้ก็ได้นะ ฮ่า ฮ่า ฮ่า) นั่นก็นับว่าเป็นความกล้าแสดงออกของ “ตาสี” ลูกบ้านธรรมดาๆ คนหนึ่ง ถึงแม้ “ตาสี” ไม่ถาม....ก็ไม่แน่ว่า ”ตาสา” ที่นั่งตบยุงอยู่ข้างๆ ก็อาจจะยกมือถามก็ได้ ใครจะรู้?? การถามเรื่องสุกรของตาสี และการตอบของผู้ใหญ่ลีก็ชี้ให้เห็นว่าผู้ใหญ่ลีเองก็ไม่ใช่ผู้นำที่ละเอียดนัก ในเมื่อ “ทางการเขาสั่งมาว่า ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร” ผู้ใหญ่ลีเองก็ไม่ได้แสดงความกล้าที่จะถาม “ทางการ” เสียแต่ตรงนั้นก่อนที่จะมาเรียกประชุมลูกบ้านว่าสุกรนั้นคืออะไร? ตรงนี้ก็ควรจะยกไว้เป็นบทเรียนสำหรับผู้นำหลายๆ ท่านด้วย
ประการสุดท้าย การไม่เข้าใจคำว่า “สุกร” ของชาวบ้านชนบทอย่าง “ตาสี” และ “ผู้ใหญ่ลี” นั้นไม่ใช่เรื่องตลกอะไร หรือถ้าจะเป็นเรื่องตลกก็คงเป็นตลกปนเศร้านะ อันนี้ถือเป็นความบกพร่องของ “ทางการ” ที่ได้แต่สั่งๆๆๆๆๆๆๆ สั่งในภาษาราชการของตัวเอง โดยไม่คำนึงว่าแต่ละท้องถิ่นแต่ละภาคต่างก็มีภาษาพูดของเขาเอง ยุคโน้น..มันไม่มีเฟสบุ๊ค ไม่มีสื่ออนไลน์ ที่คนไกลปืนเที่ยงพอจะเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของภาษา การพัฒนาและใช้ภาษาไทยบางทีก็ฟุ่มเฟือยไป นอกจากจะมีคำราชาศัพท์ต่างๆ แล้ว สุดท้ายยังมีการเพิ่มกลุ่มคำใหม่ขึ้นมาหรือที่เรียกว่า “คำสุภาพ” โดยนำคำที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ไปวางทาบคำเก่าๆ เช่นคำว่า สุกรนี่แหละ เรียกหมูโดยทั่วๆ ไปก็เข้าใจกันได้ จะเรียก “ปลาใบไม้” ว่าปลาสลิดอย่างหลังก็จะเข้าใจกว้างกว่า ให้เรียกควายว่ากระบือ เรียกเมียว่าภรรยาหรือจะให้สุภาพขึ้นไปอีกก็เรียกว่าคู่สมรส......งงพะย่ะค่ะ งงสิครับ คนไกลปืนเที่ยงตามไม่ทันหรอก และกว่าคำใหม่ๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจะอยู่ในสมอง คนในเมืองก็ประดิษฐ์คำใหม่ขึ้นมาให้งงอีกแล้ว เฮ้อ....ไม่รู้ว่าการเรียกสุกรว่าหมู ปลาสลิดว่าปลาใบไม้ สุนัขว่าหะมา วานรว่าลิง โคว่างัว สามีว่าผัว ภรรยาว่าเมีย ฯลฯ นั้นมันไม่สุภาพตรงไหน?? เราใช้คำฟุ่มเฟือยโดยเกินเหตุไปหรือเปล่าเนี๊ยะ
ก้อเป็นเพลงเขียนขึ้นเพื่อความหรรษาละนะ แต่มันก็สะท้อนให้เห็นอะไรที่เป็นความจริงในสังคมได้หลายอย่างทีเดียวแระ
แสดงความคิดเห็น
Thailand 4.0 คืออะไร กับเพลงผู้ใหญ่ลี
ฝ่ายตาสีหัวคลอน ถามว่าสุกรนั้นคืออะไร ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด สุกรนั้นไซร้ คือหมาน้อยธรรมดา หมาน้อยหมาน้อยธรรมดา
หมาน้อยหมาน้อยธรรมดา เพราะผมเป็นชาวบ้านเลยไม่รู้ว่า Thailand 4.0 คืออะไร