การให้ คือการโอนทรัพย์สินของตนให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หา(บ้างก็ให้โดยตัณหา ข้อระวังอาจมานั่งเสียดายภายหลัง) และผู้รับตกลงจะรับทรัพย์นั้น การให้กฏหมายไม่มีแบบให้ต้องทำเป็นหนังสือ เพียงแต่ส่งมอบทรัพย์สินที่ตกลงให้แก่กันก็มีผลผูกพันทางกฏหมายแล้ว
.
แต่ทั้งนี้การให้ทรัพย์สินที่เมื่อซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การให้จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น ที่ดิน เรือระวาง ๕ ตัน และสัตว์พาหนะ
.
แต่การให้ที่ดินมือเปล่า(ไม่มีโฉนด)แม้ไม่จดทะเบียนการให้ แต่ถ้าผู้ให้ส่งมอบการครอบครอง ถือว่าสละเจตนายึดถือแล้ว การให้ก็สมบูรณ์เพราะการส่งมอบ ฎ.๘๕๓/๒๕๐๘
.
เมื่อให้แล้วจะเอาคืนได้ไหม?
คำตอบคือได้ แต่ไม่ใช่จะเอาคืนได้ทุกกรณีไป ซึ่งการจะถอนคืนการให้จะต้องมีเหตุ ซึ่งเหตุถอนคืนการให้มีดังนี้
๑)ผู้รับประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรง
๒)ผู้รับทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรงแต่ทั้งนี้ข้อที่หมิ่นก็ไม่ต้องถึงขนาดว่าเป็นข้อหมิ่นตามความผิดอาญา เพียงแต่พูดในทำนองไม่ให้ความเคารพยำเกรงก็เป็นเหตุถอนคืนการให้ได้เเล้ว
๓)ผู้รับบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งอันจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถให้ได้โดยไม่เดือดร้อนเกินควร
๔)สามีหรือภรรยานำสินสมรสไปให้ผู้อื่น โดยคู่สมรสอีกฝ่ายไม่ยินยอม สามารถเพิกถอนการให้ได้ ม.๑๔๗๖(๕)
.
ซึ่งตามข้อ ๑) - ๓) นั้นเป็นเหตุการเพิกถอนการให้อันเกิดจากผู้รับประพฤติเนรคุณผู้ให้ จะต้องถอนคืนการให้ภายใน ๖ เดือนนับแต่เกิดเหตุนั้น มิฉะนั้นจะสิ้นสิทธิไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้จะมีเหตุแห่งการเพิกถอนแล้ว หากผู้ให้ได้ให้อภัยในเหตุนั้น สิทธิแห่งถอนคืนการให้ก็สิ้นไปเช่นกัน
.
ดังที่กล่าวมา การให้ก็คือการให้โดยเสน่หา จะเรียกคืนก็ต้องมีเหตุใช่จะขอคืนได้ตลอดไป เมื่อให้แล้วจะเกิดเสียดายที่หลัง ก็จะเรียกคืนไม่ได้หากไม่มีเหตุ ดังนั้นก่อนจะให้อะไรใครควรไตร่ตรองรอบคอบเสียก่อน อย่าให้อะไรใครโดยเสน่หาเพราะตัณหานะครับ(๕๕๕๕)
สวัดดี
โย สามสหาย
ให้ และ การถอนคืนการให้
.
แต่ทั้งนี้การให้ทรัพย์สินที่เมื่อซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การให้จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น ที่ดิน เรือระวาง ๕ ตัน และสัตว์พาหนะ
.
แต่การให้ที่ดินมือเปล่า(ไม่มีโฉนด)แม้ไม่จดทะเบียนการให้ แต่ถ้าผู้ให้ส่งมอบการครอบครอง ถือว่าสละเจตนายึดถือแล้ว การให้ก็สมบูรณ์เพราะการส่งมอบ ฎ.๘๕๓/๒๕๐๘
.
เมื่อให้แล้วจะเอาคืนได้ไหม?
คำตอบคือได้ แต่ไม่ใช่จะเอาคืนได้ทุกกรณีไป ซึ่งการจะถอนคืนการให้จะต้องมีเหตุ ซึ่งเหตุถอนคืนการให้มีดังนี้
๑)ผู้รับประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรง
๒)ผู้รับทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรงแต่ทั้งนี้ข้อที่หมิ่นก็ไม่ต้องถึงขนาดว่าเป็นข้อหมิ่นตามความผิดอาญา เพียงแต่พูดในทำนองไม่ให้ความเคารพยำเกรงก็เป็นเหตุถอนคืนการให้ได้เเล้ว
๓)ผู้รับบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งอันจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถให้ได้โดยไม่เดือดร้อนเกินควร
๔)สามีหรือภรรยานำสินสมรสไปให้ผู้อื่น โดยคู่สมรสอีกฝ่ายไม่ยินยอม สามารถเพิกถอนการให้ได้ ม.๑๔๗๖(๕)
.
ซึ่งตามข้อ ๑) - ๓) นั้นเป็นเหตุการเพิกถอนการให้อันเกิดจากผู้รับประพฤติเนรคุณผู้ให้ จะต้องถอนคืนการให้ภายใน ๖ เดือนนับแต่เกิดเหตุนั้น มิฉะนั้นจะสิ้นสิทธิไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้จะมีเหตุแห่งการเพิกถอนแล้ว หากผู้ให้ได้ให้อภัยในเหตุนั้น สิทธิแห่งถอนคืนการให้ก็สิ้นไปเช่นกัน
.
ดังที่กล่าวมา การให้ก็คือการให้โดยเสน่หา จะเรียกคืนก็ต้องมีเหตุใช่จะขอคืนได้ตลอดไป เมื่อให้แล้วจะเกิดเสียดายที่หลัง ก็จะเรียกคืนไม่ได้หากไม่มีเหตุ ดังนั้นก่อนจะให้อะไรใครควรไตร่ตรองรอบคอบเสียก่อน อย่าให้อะไรใครโดยเสน่หาเพราะตัณหานะครับ(๕๕๕๕)
สวัดดี
โย สามสหาย