ทุกวันนี้ผมนั่งบีทีเอสจากสยามหลังจากทำงาน ไปลงบีทีเอสหมอชิตเพื่อจะกลับบ้านแถวเกษตรฯทุกวัน ผมก็เห็นคนใช้บัตรส้ม (บัตรปกติ) บัตรชมพู (บัตรผู้สูงอายุ) และบัตรสีเขียว (บัตรนักเรียนนักศึกษา) กันเป็นปกติ
แต่ที่ไม่ปกติและผมเห็นค่อนข้างชินตาไปแล้วนั่นก็คือ หลายคนใช้บัตรแรบบิทสีเขียว แต่ภายนอกแล้วไม่ใช่นักเรียนนักศึกษา
แล้วผมรู้ได้อย่างไร มั่นใจมากไปหรือเปล่า ว่าเขาเหล่านั้นไม่ใช่นักเรียนนักศึกษา อย่าตัดสินคนที่ภายนอกสิ
บอกตรงๆว่าผมก็ไม่ได้มั่นใจว่า ทุกคนใช้ที่บัตรแรบบิทสีเขียวจะเป็นคนที่ลักลอบใช้หรอกครับ เพียงแต่เท่าที่สังเกตุก็คือ การแต่งตัวของบางคนมันบ่งบอกได้นะครับว่าคุณไม่ใช่นักศึกษาแล้ว เช่น ถ้าเป็นผู้ชาย หลายคนที่ลงบีทีเอสหมอชิต ใส่สูท ผูกไทด์ ใส่ชุดออฟฟิศ กางเกงแสล็ก เข็มขัดแบรนด์คนทำงาน รองเท้าหนังขัดมัน ถ้าเป็นผู้หญิง ก็คล้ายๆกับผู้ชาย ชุดออฟฟิศผู้หญิง ใส่กระโปรง คัทชู และที่เห็นชัดมากก็คือ หลายท่านห้อยป้ายแตะบัตรของบริษัท ซึ่งผมเคยแอบสังเกตุและพบว่ามันก็ไม่ใช่ป้ายแสดงตัวว่าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยไหน เพราะลายสกรีนบนสายห้อยป้าย รวมไปถึงหน้าบัตรที่ใช้แตะ มันเป็นลายของบริษัทเอกชนทั้งนั้น และอาจรวมไปถึงเอกลักษณ์ภายนอกบางอย่างนอกจากการแต่งตัวที่ใช้ตัดสินประกอบ เช่น ใบหน้า ทรงผม อุปกรณ์เสริมสวย ฯลฯ
ไม่อายบ้างเหรอครับ คนอื่นทั่วไปเค้าก็ใช้บัตรตามถูกประเภท ซึ่งคนที่ทำงานแล้วหรือยังไม่ทำงานก็ตามแต่พ้นจากเงื่อนไขของบัตรแรบบิทสีเขียว ก็ควรกลับไปใช้บัตรแรบบิตแบบสีส้ม จะเติมเงินเติมเที่ยวก็ว่าไป แต่ผมว่าคุณไม่ควรเอาบัตรแรบบิทสีเขียวมาใช้อีกแล้วละ
ในออฟฟิศก็มีคนรู้จักเหมือนกันครับ โดยเฉพาะเด็กจบใหม่ที่เพิ่งทำงานได้ปีหรือสองปี น้องบางคนก็บอกว่า จะไปโง่ใช้บัตรสีส้มทำไมให้เปลือง ใช้บัตรเขียวสิพี่ ประหยัดตั้งครึ่งๆ และส่วนใหญ่ก็หยิบยืมมาจากพี่น้องในครอบครัว กลายเป็นว่าไอ้คนอย่างผมที่ใช้บัตรถูกประเภทคือคนโง่ไปซะอย่างนั้น
ตรงนี้ผมไม่แน่ใจว่า ทาง BTS จะเข้มงวดกว่านี้ได้อีกหรือเปล่า ผมเห็นป้ายการ์ตูนคำเตือนครับว่า ใครใช้บัตรผิดประเภทแล้วถูกจับได้จะถูกปรับยี่สิบเท่า
แต่ทุกวันนี้ ผมก็ไม่เห็นว่าใครจะถูกปรับเลย เผลอๆคนที่แอบใช้บัตรเขียวที่ไม่ใช่นักเรียนนักศึกษา กลับแต๊ะบัตรผ่านไปได้อย่างง่ายดาย "ต่อหน้าพนักงาน"
ผมมีข้อเสนออย่างนี้ครับ
1. บัตรแรบบิทสีเขียวสำหรับนักเรียนนักศึกษา เมื่อออกบัตร ควรมีการประทับ ชื่อ นามสกุล สถาบัน หรือ ใบหน้าของเจ้าของบัตรใบนั้น เพื่อง่ายในการแสดงตัวเป็นเจ้าของ และ ง่ายต่อการยืนยันตัวกับทางพนักงานครับ ถ้าคุณถูกสงสัยโดยพนักงานประจำสถานี คุณก็แค่โชว์บัตรประชาชน พร้อมกับบัตรแรบบิทสีเขียว เพื่อยืนยันว่า ฉันยังสามารถใช้บัตรสีนี้ได้จริงๆตามกฎของบีทีเอส และเป็นเจ้าของตัวจริง ไม่ใช่คนอื่นที่ลักลอบมาใช้การ์ดใบนี้
2. จุดแตะบัตรเข้าในทุกๆฝั่งสถานี ควรมีช่องพิเศษสำหรับใช้แตะบัตรพิเศษ อย่างบัตรสีเขียวและบัตรสีชมพูเท่านั้นครับ เพื่อง่ายในการตรวจสอบ
3. จากข้อข้างบน ให้เจ้าพนักงานประจำสถานี ยืนประจำช่องแตะบัตรเข้าออกดังกล่าว หากพบพิรุธ ทางพนักงานก็จะสามารถขอเชิญมาตรวจสอบได้เลยทันที
4. นอกจากปรับแล้ว ผมไม่แน่ใจว่ามีกฎการยึดบัตรหรือเปล่าหากพบเห็นหรือจับคนที่ลักลอบใช้บัตรได้ แต่ผมอยากให้มีนะ อยากให้ยึดบัตรแรบบิทสีเขียวจากผู้ที่แอบลักลอบใช้ และตัดสิทธิ์การใช้บัตรแรบบิทสีเขียวกับเจ้าของตัวจริงไปเลยแบบถาวร แต่ถ้าเป็นกรณีเจ้าของบัตรทำหาย เพื่อป้องกันการโดนตัดสิทธิ์จากการที่มีคนเก็บบัตรโดยสารได้แล้วนำไปใช้ต่อแล้วอาจถูกจับได้ในภายหลัง ก็ให้เจ้าของบัตรที่ทำบัตรหายแจ้งกับทางบีทีเอส แล้วให้บีทีเอสทำการยกเลิกสิทธิ์บัตรใบนั้น คนที่เก็บได้ก็จะได้เอาไปใช้ต่อไม่ได้ เจ้าของตัวจริงที่ยังคงสภาพนักศึกษาอยู่ก็จะได้ใช้สิทธิ์ตามที่ตัวเองควรจะได้ต่อไป
แต่ถึงจะมีกฎมากมายแค่ไหน มันก็ไร้ค่านะครับ ถ้าทางบีทีเอสเป็นฝั่งที่ไม่เข้มงวดเสียเอง ไม่ส่งคนคอยตรวจตราผู้ที่ใช้บัตรพิเศษเหล่านี้ประจำจุดแตะบัตรเข้าออกตลอดเวลา มันก็ยังมีคนลักลอบแอบใช้อยู่จนกลายเป็นนอร์มสำหรับบางคน ส่งเสริมการแหกกฎและการเอาเปรียบทั้งตัวบีทีเอสเองและผู้ที่เติมบัตรแรบบิทชนิดปกติ
ขอฝากไว้ด้วยนะครับ
* ปล. ผมรอดูการ์ดแก้ตัวของพวกคุณอยู่นะครับ โดยเฉพาะ การ์ด"เพราะชั้นจน" การ์ด"คนไทยหรือเปล่า" การ์ด"อย่าเผือก" ผมว่ามันต้องมาแน่ๆ
** เพิ่มเติม มีการ์ดคอลเลคชั่นใหม่ออกมาเรื่อยๆครับ การ์ด"ถือหุ้นBTSอยู่หรือเปล่า" การ์ด"ปล่อยวางซะบ้าง" การ์ด"เอกชนไปยุ่งอะไรของเขา" การ์ด"รู้ไม่จริง"
เบื่อจังเลยครับกับคนที่ใช้บัตรแรบบิทสีเขียว แต่จริงๆไม่ใช่นักเรียนนักศึกษา
แต่ที่ไม่ปกติและผมเห็นค่อนข้างชินตาไปแล้วนั่นก็คือ หลายคนใช้บัตรแรบบิทสีเขียว แต่ภายนอกแล้วไม่ใช่นักเรียนนักศึกษา
แล้วผมรู้ได้อย่างไร มั่นใจมากไปหรือเปล่า ว่าเขาเหล่านั้นไม่ใช่นักเรียนนักศึกษา อย่าตัดสินคนที่ภายนอกสิ
บอกตรงๆว่าผมก็ไม่ได้มั่นใจว่า ทุกคนใช้ที่บัตรแรบบิทสีเขียวจะเป็นคนที่ลักลอบใช้หรอกครับ เพียงแต่เท่าที่สังเกตุก็คือ การแต่งตัวของบางคนมันบ่งบอกได้นะครับว่าคุณไม่ใช่นักศึกษาแล้ว เช่น ถ้าเป็นผู้ชาย หลายคนที่ลงบีทีเอสหมอชิต ใส่สูท ผูกไทด์ ใส่ชุดออฟฟิศ กางเกงแสล็ก เข็มขัดแบรนด์คนทำงาน รองเท้าหนังขัดมัน ถ้าเป็นผู้หญิง ก็คล้ายๆกับผู้ชาย ชุดออฟฟิศผู้หญิง ใส่กระโปรง คัทชู และที่เห็นชัดมากก็คือ หลายท่านห้อยป้ายแตะบัตรของบริษัท ซึ่งผมเคยแอบสังเกตุและพบว่ามันก็ไม่ใช่ป้ายแสดงตัวว่าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยไหน เพราะลายสกรีนบนสายห้อยป้าย รวมไปถึงหน้าบัตรที่ใช้แตะ มันเป็นลายของบริษัทเอกชนทั้งนั้น และอาจรวมไปถึงเอกลักษณ์ภายนอกบางอย่างนอกจากการแต่งตัวที่ใช้ตัดสินประกอบ เช่น ใบหน้า ทรงผม อุปกรณ์เสริมสวย ฯลฯ
ไม่อายบ้างเหรอครับ คนอื่นทั่วไปเค้าก็ใช้บัตรตามถูกประเภท ซึ่งคนที่ทำงานแล้วหรือยังไม่ทำงานก็ตามแต่พ้นจากเงื่อนไขของบัตรแรบบิทสีเขียว ก็ควรกลับไปใช้บัตรแรบบิตแบบสีส้ม จะเติมเงินเติมเที่ยวก็ว่าไป แต่ผมว่าคุณไม่ควรเอาบัตรแรบบิทสีเขียวมาใช้อีกแล้วละ
ในออฟฟิศก็มีคนรู้จักเหมือนกันครับ โดยเฉพาะเด็กจบใหม่ที่เพิ่งทำงานได้ปีหรือสองปี น้องบางคนก็บอกว่า จะไปโง่ใช้บัตรสีส้มทำไมให้เปลือง ใช้บัตรเขียวสิพี่ ประหยัดตั้งครึ่งๆ และส่วนใหญ่ก็หยิบยืมมาจากพี่น้องในครอบครัว กลายเป็นว่าไอ้คนอย่างผมที่ใช้บัตรถูกประเภทคือคนโง่ไปซะอย่างนั้น
ตรงนี้ผมไม่แน่ใจว่า ทาง BTS จะเข้มงวดกว่านี้ได้อีกหรือเปล่า ผมเห็นป้ายการ์ตูนคำเตือนครับว่า ใครใช้บัตรผิดประเภทแล้วถูกจับได้จะถูกปรับยี่สิบเท่า
แต่ทุกวันนี้ ผมก็ไม่เห็นว่าใครจะถูกปรับเลย เผลอๆคนที่แอบใช้บัตรเขียวที่ไม่ใช่นักเรียนนักศึกษา กลับแต๊ะบัตรผ่านไปได้อย่างง่ายดาย "ต่อหน้าพนักงาน"
ผมมีข้อเสนออย่างนี้ครับ
1. บัตรแรบบิทสีเขียวสำหรับนักเรียนนักศึกษา เมื่อออกบัตร ควรมีการประทับ ชื่อ นามสกุล สถาบัน หรือ ใบหน้าของเจ้าของบัตรใบนั้น เพื่อง่ายในการแสดงตัวเป็นเจ้าของ และ ง่ายต่อการยืนยันตัวกับทางพนักงานครับ ถ้าคุณถูกสงสัยโดยพนักงานประจำสถานี คุณก็แค่โชว์บัตรประชาชน พร้อมกับบัตรแรบบิทสีเขียว เพื่อยืนยันว่า ฉันยังสามารถใช้บัตรสีนี้ได้จริงๆตามกฎของบีทีเอส และเป็นเจ้าของตัวจริง ไม่ใช่คนอื่นที่ลักลอบมาใช้การ์ดใบนี้
2. จุดแตะบัตรเข้าในทุกๆฝั่งสถานี ควรมีช่องพิเศษสำหรับใช้แตะบัตรพิเศษ อย่างบัตรสีเขียวและบัตรสีชมพูเท่านั้นครับ เพื่อง่ายในการตรวจสอบ
3. จากข้อข้างบน ให้เจ้าพนักงานประจำสถานี ยืนประจำช่องแตะบัตรเข้าออกดังกล่าว หากพบพิรุธ ทางพนักงานก็จะสามารถขอเชิญมาตรวจสอบได้เลยทันที
4. นอกจากปรับแล้ว ผมไม่แน่ใจว่ามีกฎการยึดบัตรหรือเปล่าหากพบเห็นหรือจับคนที่ลักลอบใช้บัตรได้ แต่ผมอยากให้มีนะ อยากให้ยึดบัตรแรบบิทสีเขียวจากผู้ที่แอบลักลอบใช้ และตัดสิทธิ์การใช้บัตรแรบบิทสีเขียวกับเจ้าของตัวจริงไปเลยแบบถาวร แต่ถ้าเป็นกรณีเจ้าของบัตรทำหาย เพื่อป้องกันการโดนตัดสิทธิ์จากการที่มีคนเก็บบัตรโดยสารได้แล้วนำไปใช้ต่อแล้วอาจถูกจับได้ในภายหลัง ก็ให้เจ้าของบัตรที่ทำบัตรหายแจ้งกับทางบีทีเอส แล้วให้บีทีเอสทำการยกเลิกสิทธิ์บัตรใบนั้น คนที่เก็บได้ก็จะได้เอาไปใช้ต่อไม่ได้ เจ้าของตัวจริงที่ยังคงสภาพนักศึกษาอยู่ก็จะได้ใช้สิทธิ์ตามที่ตัวเองควรจะได้ต่อไป
แต่ถึงจะมีกฎมากมายแค่ไหน มันก็ไร้ค่านะครับ ถ้าทางบีทีเอสเป็นฝั่งที่ไม่เข้มงวดเสียเอง ไม่ส่งคนคอยตรวจตราผู้ที่ใช้บัตรพิเศษเหล่านี้ประจำจุดแตะบัตรเข้าออกตลอดเวลา มันก็ยังมีคนลักลอบแอบใช้อยู่จนกลายเป็นนอร์มสำหรับบางคน ส่งเสริมการแหกกฎและการเอาเปรียบทั้งตัวบีทีเอสเองและผู้ที่เติมบัตรแรบบิทชนิดปกติ
ขอฝากไว้ด้วยนะครับ
* ปล. ผมรอดูการ์ดแก้ตัวของพวกคุณอยู่นะครับ โดยเฉพาะ การ์ด"เพราะชั้นจน" การ์ด"คนไทยหรือเปล่า" การ์ด"อย่าเผือก" ผมว่ามันต้องมาแน่ๆ
** เพิ่มเติม มีการ์ดคอลเลคชั่นใหม่ออกมาเรื่อยๆครับ การ์ด"ถือหุ้นBTSอยู่หรือเปล่า" การ์ด"ปล่อยวางซะบ้าง" การ์ด"เอกชนไปยุ่งอะไรของเขา" การ์ด"รู้ไม่จริง"