Review notebook gaming สุดร้อนแรงกับ MSI Series GP62 cpu i7-7700hq By DarkWorld
ก่อนอื่นก็ต้องขอสวัสดีกับผู้อ่านทุกท่านครับ ผม DarkWorld ก็หายหน้าหายตาไปจากการ review เกือบ 2 ปีกันเลยทีเดียว หลังจากที่เริ่ม review notebook asus transformer
book t200 เมื่อประมาณเมษา 2015 ก็ถือว่านานพอควร เพราะผมไม่ค่อยมีงบจัดอะไรใหญ่ๆมาเล่นกัน ซึ่งก็ครบ 2 ปีพอดีเมษา 2017 ได้ฤกษ์ความอยากได้ อยากเป็นเจ้าของ
notebook gaming แรงๆสักตัว ผมก็เลยลองหยั่งเชิงคุณแม่ผู้เมตตาของผมดูว่าท่านจะสะดวกให้ผมยืมบัตรเคดิตผ่อน 0% 10 เดือนได้หรือไม่ ปรากฏว่าท่านไม่ขัดข้องเลยที่จะให้ผมยืมบัตรของท่านผ่อน
notebook (ผมเคยเป็นลูกหนี้ที่ดีของท่านมาแล้ว) อย่างนี้ก็เข้าทางผมสิครับ ผมพอมีกำลังที่จะผ่อน 10 เดือนสบายๆ ต่อให้ยอดจะห้าหกหมื่นก็ยังไหว รีบจัดแจงหาข้อมูลเลยครับก่อนที่คุณแม่จะเปลี่ยนใจ
ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงผมก็ได้ชวนคุณแม่ไปร้านไอทีใหญ่ๆหลายร้าน ตอนแรกผมมีความตั้งใจที่อยากจะได้ notebook หน้าจอ 17.3 นิ้ว แต่พอสอบถามราคาก็เกือบครึ่งแสนกันเลยทีเดียว
ซึ่งเสปคก็ไม่ได้หนีไปจากตัวสามสี่หมื่นมากนัก “มันแพงตรงไหนกันหว่า” ส่วนรุ่นที่ราคาสามหมื่นกว่าหน้าจอ 17.3 นิ้วทางร้านก็ไม่มีของ ผมเลยต้องเปลี่ยนแผนกะทันหัน
สุดท้ายก็มาจบที่หน้าจอ 15.6 นิ้ว ซึ่งในราคาสามสี่หมื่นก็มีให้เลือกกันหลายยี่ห้อหลายรุ่น ทั้ง dell acer asus hp lenovo msi สุดท้ายผมก็ชั่งใจแน่วแน่ว่าอยากได้
msi มาลองเป็นเจ้าของสักครั้ง ซึ่งก็มีตัวเลือก 3-4 รุ่น ไต่ราคาตั้งแต่สามหมื่นต้นๆไปจนถึงห้าหมื่น เกินนั้นผมว่าผมคงไม่ไหว เนื่องจากไม่ได้จะนำมาเล่นอะไรหนักหน่วงมากนัก
ที่ผมซื้อผมก็กะจะใช้งาน cpu i7รุ่นล่าสุดดูเท่านั้นว่าประสิทธิภาพจะเร็วกว่ารุ่นที่ 4 ที่ผมใช้อยู่มากน้อยเพียงใด ส่วนตัวผมไม่ได้เล่นเกมศ์อยู่แล้ว แต่ก็อยากได้
notebook gaming มาไว้ครอบครองเป็นเจ้าของสักครั้ง เพราะความเป็น gaming ก็คงจะต้องมีอะไรที่เหนือกว่า notebook อื่นๆตามท้องตลาดเป็นแน่
ซึ่งในปี 2017 นี้ cpu ต้องเป็น i7-7700hq พวก u ที่ประหยัดพลังงานผมไม่ขอเลือกอย่างแน่นอน ถึงแม้จะเป็น i7 ก็ตาม เพราะความแรงเทียบไม่ได้เลยกับแบบ hq ส่วน
ram อย่างน้อยต้อง ddr4 เริ่มต้นกันที่ bus 2133 และแรงขึ้นมาอีกก็ bus 2400 ซึ่ง notebook บางรุ่นบางยี่ห้อก็จะเลือกติดตั้งมาให้ ความจุอย่างน้อยต้อง 8GB 1
แถว ซึ่งเอื้อต่อการอัพเกรตในอนาคตอีกแถวหนึ่ง
ตามต่อกันด้วย Graphic Card ในยุกต์นี้คงหนีไม่พ้น NVIDIA GeForce GTX 1000 Series และลองลงมาก็เป็น 900 Series
อย่างน้อยควรเป็น 960 970 หรือ 980 ซึ่งราคาของ Series 1000 กับ Series 900 ก็แพงกว่ากัน 4-6 พันเลยทีเดียว ฉะนั้นควรตัดสินใจกันให้ดี ในส่วน hdd อย่างน้อยต้อง
7200 rpm ความจุจะ 500GB หรือ 1TB ก็ไม่เกี่ยง อีกสิ่งหนึ่งสำหรับที่เก็บข้อมูลที่ขาดไม่ได้ในยุกต์นี้ต้อง ssd รูปแบบ m.2 จะเป็น SSD M.2 PCI-e Gen3 x4 NVMe
หรือ ssd M.2 SATA ก็ไม่ควรขาด ซึ่งผมขอแนะนำ M.2 PCI-e Gen3 x4 NVMe เพราะได้ความเร็วแบบสุดคั่วสูงสุดกันที่ 32Gb/s ส่วน ssd M.2 SATA ธรรมดาจะได้ความเร็วสูงสุด
sata iii กันที่ 6.0GB/s แต่ราคาของเหล่า M.2 PCI-e Gen3 x4 NVMe ก็จัดว่ามหาโหดถ้าเทียบกับ ssd แบบ m.2 sata หรือ sata 2.5 ปกติที่คุ้นเคยในความจุที่เท่ากัน
แต่ถ้ามองถึงความเร็วของการใช้งานแล้วล่ะก็เร็วกว่า sata iii เกือบ 5-6 เท่ากันเลยทีเดียว
ต่อมาก็เป็นหน้าจอควรมีความละเอียดอย่างน้อย full hd 1900x1080 จะเป็นจอแบบ
tn หรือ ips ก็เลือกตามการใช้งาน ส่วนการเชื่อมต่อด้าน network Wi-Fi อย่างน้อยต้องมาตรฐาน 802.11 ac พ่วงด้วย Bluetooth v4.2 ส่วน lan อย่างน้อยควรเป็นแบบ
1Gbps notebook บางรุ่นยังให้แบบ 100Mbps มากันอยู่ แต่สำหรับ notebook gaming คงไม่มีบริษัทใดกล้าให้แบบ 100Mbps มาเป็นแน่อย่างน้อยต้องเป็น 1Gbps กันหมดแล้ว
สำหรับสื่อบันทึกข้อมูลแบบแผ่น DVD หรือ Blue-ray notebook บางรุ่นก็มีเครื่องอ่านมาให้ DVD/Blue-ray Writable แต่สำหรับใน notebook บางุ่นก็จะตัดเครื่องอ่านแผ่นเหล่านี้ออกไป
เพื่อการประหยัดพื้นที่ หรือเพิ่มเติมฟังชันอะไรบางอย่างทดแทน ส่วนการเชื่อมต่อ port ที่ใช้ถ่ายโอนข้อมูลก็ควรเป็น USB3.0, USB2.0 และ port USB3.1 Type-C ซึ่งเป็นมาตรฐาน
USB รูปแบบใหม่มาตรฐานแห่งอนาคต สำหรับการเชื่อมต่อสัญญาณออกจอภาพนั้นก็มี D-Sub/VGA เป็นการเชื่อมต่อแบบเก่าที่มักพบเห็นกันทั่วไป, HDMI และ miniDisplayPort
ส่วนเสียงก็เป็นช่องเชื่อมต่อไมค์ + หูฟังขนาด 3.5 mm แบบมาตรฐานที่พบเห็นปกติ ตามด้วย Web Camera ความละเอียดแบบ HD type (30fps@720p) ซึ่งจะพบเห็นความสามารถนี้ใน
notebook ไม่กี่ยี่ห้อไม่กี่รุ่นกันครับ รวมไปถึง Card Reader ตัวอ่าน Card ต่างๆ
เกือบลืมไปครับว่ายังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นหัวใจหลักที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้นั่นก็คือ
ระบบระบายความร้อนอันทรงประสิทธิภาพ ซึ่ง notebook gaming ควรที่จะมีพัดลมอย่างน้อย 2 ตัว โดยปกติมักจะพบพัดลมเพียงตัวเดียว ซึ่งก็ขอเชียร์ เอ้ยขอพูดถึงเทคโนโลยีจาก
MSI กันหน่อยครับ นั่นคือ เทคโนโลยี Cooler Boost เทคโนโลยีการระบายความร้อน ที่ทำให้สามารถเล่นเกม และทำงานได้อย่างยาวนานต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ก้าวมาถึง
version 4 กันแล้ว โดยเทคโนโลยี Cooler Boost 1-2 จะมีพัดลมช่วยระบายความร้อนเพียงตัวเดียว แต่เทคโนโลยี Cooler Boost 3-4 จะมีการระบายความร้อน ที่แยกการทำงานของพัดลมแยกซ้าย
– ขวา ระหว่าง CPU และ GPU เสริมด้วยท่อนำความร้อนจากปกติ Cooler Boost 3 จะมี 4 ท่อเป็น 6 ท่อใน Cooler Boost 4 ซึ่งจะช่วยให้การส่งผ่านความร้อนมายังพัดลมทำได้เร็วขึ้น
ซึ่งพัดลมทั้ง 2 อันทรงประสิทธิภาพรวมถึงเสียงรบกวนที่เงียบก็จะพัดพาเอาความร้อนที่เกิดขึ้นออกจาก notebook ได้อย่างรวดเร็ว โดยเทคโนโลยี CoolerBoost ก็ยังพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง
โดย notebook ประสิทธิภาพสูงจาก MSI ก็ได้เลือกใช้ CoolerBoost Trinity ซึ่งจะมีพัดลมมากถึง 3 ตัว คงไม่ต้องสงสัยเลยล่ะครับว่าการระบายความร้อนจะทำได้ดีเพียงใด
สำหรับการใช้งานเทคโนโลยี Cooler Boost ก็ง่ายแสนง่ายเพียงกดปุ่ม Cooler Boost ระบบก็พร้อมทำงาน
โอ้! ต้องขออภัยผู้อ่านทุกท่านกันด้วยครับ ผม DarkWorld ก็เกลิ่นถึงเสปค notebook สำหรับปี 2017 ว่าควรมีอะไรเป็นพื้นฐานกันซะยาวต่อไปเราจะไปเข้าเรื่องการ review
notebook gaming จาก MSI Series GP62 cpu i7-7700hq ในรูปแบบของ DarkWorld กันครับ
สำหรับการ review กันต่อนั้นผมขอ review รูปแบบตัวหนังสือโดยไม่มีภาพประกอบ หากท่านใดต้องการรับชมภาพ notebook MSI Series GP62 กันก็สามารถติดตามจากลิ้งท้ายบทความกันได้ครับ
ซึ่งในรุ่นที่ผมไปสอยมานั้นเป็นรุ่น MSI GP62 7QF-1813XTH Leopard จาก jib ราคาขายอยู่ที่ 31,900 บาท ซึ่งในราคานี้ก็มีให้ผมเลือกถึง 3 รุ่น จริงๆในเว็บ jib
มีแบบหน้าจอ 17.3 นิ้ว ราคาสามหมื่นกว่า แต่หน้าร้านไม่มีของผมเลยชวดกันไป
ตัวเลือกทั้ง 3 รุ่น
Notebook MSI GP62 7QF-1813XTH (Black) 31,900 บาท
CPU : Intel Core i7-7700HQ RAM : 8GB DDR4 HDD : 1TB Display : 15.6 inch
Graphics : NVIDIA Geforce GTX960M, GDDR5 2GB
Notebook MSI GP62 7RD-060XTH Leopard (Black) 35,900 บาท
CPU : Intel Core i7-7700HQ 2.80 GHz RAM : 8GB DDR4 HDD : 1 TB Display : 15.6 inch
Graphics : NVIDIA GeForce GTX1050 GDDR5 2GB OS : DOS
Notebook MSI GP62 7RD-495XTH Leopard (Black) ราคา 37,900 บาท
CPU : Intel Core i7-7700HQ 2.8GHz RAM : 8GB DDR4 HDD : 1TB Display : 15.6 inch
Graphics : NVIDIA GeForce GTX 1050 GDDR5 4GB OS : DOS
ซึ่งโดยรวมแล้วเสปคทั้งหมดแทบไม่แตกต่างกันเลย จะต่างกันตรงที่ Graphics เท่านั้น ทีแรกผมก็ช่างใจอยู่นานว่าจะเลือกรุ่นใดดี ประกอบกับผมก็ไม่ค่อยได้ใช้ประสิทธิภาพของ
Graphics เท่าใดเพราะไม่ได้จะเอาไปเน้นเล่นเกมส์กันอยู่แล้ว โดยการใช้งานหลักๆของผมจะเน้น cpu มากกว่า เพราะใช้บีบไฟล์ .rar .zip .7zip ใช้แปลงไฟล์ video และเปิด
24/7 โดยไม่หยุดพักกันเลยทีเดียว ไม่อยากเอ่ยเลยว่าเปิดไว้ทำไมกัน ผมก็เป็นขาโหลดคนหนึ่ง โหลดมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว ปกติใช้ notebook เปิดโหลดเป็นหลัก หลายคนให้ความเห็นว่าไม่ควร
แต่จากประสบการณ์ผมเปิดมา 6-7 ปี notebook ผมลาจากไป 2 เครื่อง ซึ่งจริงๆการที่ notebook เสียนั้นส่วนหนึ่งก็เป็นที่ความเสื่อมของอุปกรณ์ หรือ Series นั้นๆที่จะมีปัญหาอยู่แล้ว
ถึงจะไม่เปิดนักหน่วงอย่างผมแต่ยังไงพอถึงเวลาก็ลาไปเอง ส่วน series ที่ทนถึกผมก็พบเจอหลายคนใช้มามากกว่า 7-8 ปีก็ไม่พังสักที สุดท้ายผมเลยตัดสินใจมาจบที่ Notebook
MSI GP62 7QF-1813XTH (Black) 31,900 บาท หากถามว่าทำไมผมถึงเลือกรุ่นนี้ เพราะเป็นรุ่นที่ผมคิดว่าพอแก่การใช้งาน รวมถึง Graphics :NVIDIA Geforce GTX960M,
GDDR5 2GB ก็แรงเหลือๆไม่ได้น่าเกลียดแต่อย่างใด
ตามมาดูเสปคเต็มๆของ MSI GP62 7QF-1813XTH (Black) กันครับ
• CPU : Intel Core i7-7700HQ (2.80 GHz, 6 MB L3 Cache, up to 3.80 GHz) แบบ 4 หัวแท้ 4 หัวเทียม การทำงานรวมเป็น 8 หัว ประสิทธิภาพแรงแบบสุดๆ + Chipset HM175
Express Chipset
• RAM : 8GB DDR4 BUS 2133 ของ SK Hynix 1 แผงใส่เพิ่มได้อีก 1 แผง ความจุรวม 16GB ซึ่ง bus ram รองรับ 2400 ถ้าใส่ bus นี้ได้ความแรงเพิ่มอีกพอสมควร
• VGA : NVIDIA GeForce GTX 960M GDDR5 2GB
• Monitor : 15.6″ ความละเอียด Full HD 1920×1080 Pixel eDP Vivid Color 94%
• HDD : 1TB 7200 RPM ของ Hitachi HGST HTS721010A9E630 (JR100YD326HASM) มีช่องสำหรับ SSD M.2 PCI-e Gen3 x4 NVMe หรือ ssd M.2 SATA ติดมาให้พร้อม ต้องเลือกใส่อย่างใดอย่างหนึ่ง
• DVD : Super Multi 9.5 mm รุ่น HL-DT-ST DVDRAM GUD0N
• Network : Killer E2500 Gigabit + Intel(R) Dual Band Wireless-AC 3168 / Blurtooth V4.2
• Camera : FHD (30FPS@720P)
• Battery : 6 Cell
- Designed Capacity 42379 mWh
- Fully Charged Capacity 41861 mWh
- Current Capacity 41861 mWh (98 %)
• Weight : 2.40 Kg
• Warranty : 2 Year [ 1Year International ]
• Port & Interface
- USB3.0 2 port
- USB2.0 1 port
- USB3.1 Type-C 1 port
- HDMI 1 port
- miniDisplay 1 port
- Card Reader : SD (XC/HC)
- Keyboard Type : Backlight Keyboard (Single-Color, White) คีย์บอร์ดพร้อมไฟสีขาวส่องสว่างในที่มืด มักพบเห็นในรุ่นใหญ่ๆเท่านั้น
• Operating System : OS Bundle DOS Operating System
• Price : 31,990 บาท
ซึ่งเสปคโดยรวมถือว่าจัดเต็มมาเช่นกันสำหรับรุ่น MSI GP62 7QF-1813XTH ถึงแม้ VGA จะเป็นเพียง NVIDIA GeForce GTX 960M GDDR5 2GB ซึ่งแรงจัดในปี 2016 แต่กับปัจจุบันปี
2017 อย่างน้อยก็ต้อง NVIDIA GeForce GTX1050 GDDR5 2GB ขึ้นไป แต่สำหรับผมที่ไม่เน้นเล่นเกมส์อยู่แล้วหากจะต้องเพิ่มงบอีก 4,000-6,000 เพื่อได้ Graphics รุ่นใหม่อาจเกินความจำเป็น
ซึ่งผมมองว่าผมนำงบไปจัด ram หรือ ssd เพิ่มเพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นจะดีกว่า แต่หากท่านผู้อ่านเน้นเล่นเกมส์แล้วล่ะก็อย่ารังเรที่จะจัด Graphics GTX 1000
Series เพราะประสิทธิภาพแรงกว่า GTX 900 Series 25-40%+ น่าเสียดายที่ MSI GP62 7QF-1813XTH ไม่มี D-Sub/VGA ติดมาให้ หากจำเป็นจะต้องใช้งานก็อาจซื้อตัวแปลงจาก
HDMI to D-Sub/VGA มาต่อใช้งาน
โดยการ review ในช่วงต่อไปก็จะขอแบ่งเป็น 3 ช่วง
- ช่วงแรก เป็นการวัดประสิทธิภาพการบีบอัดไฟล์ด้วยโปรแกรม WinRAR และ 7zip
- ช่วงที่ 2 เป็นการ Bern cpu และ gpu แบบทำงานเต็มประสิทธิภาพ 100% ด้วยโปรแกรม AIDA64 Extreme และ FurMark เพื่อวัดประสิทธิภาพของ gpu และทดสอบระบบระบายความร้อน
- ช่วงสุดท้าย เป็นช่วงเบ็ดเตล็ดที่จะกล่าวถึงเรื่องราวโดยรวมของการใช้งาน MSI GP62 7QF-1813XTH จากการใช้งานมาเกือบหนึ่งอาทิตย์เต็มๆว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง
หากพร้อมกันแล้วก็มารับชมกันต่อในช่วงแรกกันเลยครับ
[CR] Review notebook gaming สุดร้อนแรงกับ MSI Series GP62 cpu i7-7700hq By DarkWorld
ก่อนอื่นก็ต้องขอสวัสดีกับผู้อ่านทุกท่านครับ ผม DarkWorld ก็หายหน้าหายตาไปจากการ review เกือบ 2 ปีกันเลยทีเดียว หลังจากที่เริ่ม review notebook asus transformer
book t200 เมื่อประมาณเมษา 2015 ก็ถือว่านานพอควร เพราะผมไม่ค่อยมีงบจัดอะไรใหญ่ๆมาเล่นกัน ซึ่งก็ครบ 2 ปีพอดีเมษา 2017 ได้ฤกษ์ความอยากได้ อยากเป็นเจ้าของ
notebook gaming แรงๆสักตัว ผมก็เลยลองหยั่งเชิงคุณแม่ผู้เมตตาของผมดูว่าท่านจะสะดวกให้ผมยืมบัตรเคดิตผ่อน 0% 10 เดือนได้หรือไม่ ปรากฏว่าท่านไม่ขัดข้องเลยที่จะให้ผมยืมบัตรของท่านผ่อน
notebook (ผมเคยเป็นลูกหนี้ที่ดีของท่านมาแล้ว) อย่างนี้ก็เข้าทางผมสิครับ ผมพอมีกำลังที่จะผ่อน 10 เดือนสบายๆ ต่อให้ยอดจะห้าหกหมื่นก็ยังไหว รีบจัดแจงหาข้อมูลเลยครับก่อนที่คุณแม่จะเปลี่ยนใจ
ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงผมก็ได้ชวนคุณแม่ไปร้านไอทีใหญ่ๆหลายร้าน ตอนแรกผมมีความตั้งใจที่อยากจะได้ notebook หน้าจอ 17.3 นิ้ว แต่พอสอบถามราคาก็เกือบครึ่งแสนกันเลยทีเดียว
ซึ่งเสปคก็ไม่ได้หนีไปจากตัวสามสี่หมื่นมากนัก “มันแพงตรงไหนกันหว่า” ส่วนรุ่นที่ราคาสามหมื่นกว่าหน้าจอ 17.3 นิ้วทางร้านก็ไม่มีของ ผมเลยต้องเปลี่ยนแผนกะทันหัน
สุดท้ายก็มาจบที่หน้าจอ 15.6 นิ้ว ซึ่งในราคาสามสี่หมื่นก็มีให้เลือกกันหลายยี่ห้อหลายรุ่น ทั้ง dell acer asus hp lenovo msi สุดท้ายผมก็ชั่งใจแน่วแน่ว่าอยากได้
msi มาลองเป็นเจ้าของสักครั้ง ซึ่งก็มีตัวเลือก 3-4 รุ่น ไต่ราคาตั้งแต่สามหมื่นต้นๆไปจนถึงห้าหมื่น เกินนั้นผมว่าผมคงไม่ไหว เนื่องจากไม่ได้จะนำมาเล่นอะไรหนักหน่วงมากนัก
ที่ผมซื้อผมก็กะจะใช้งาน cpu i7รุ่นล่าสุดดูเท่านั้นว่าประสิทธิภาพจะเร็วกว่ารุ่นที่ 4 ที่ผมใช้อยู่มากน้อยเพียงใด ส่วนตัวผมไม่ได้เล่นเกมศ์อยู่แล้ว แต่ก็อยากได้
notebook gaming มาไว้ครอบครองเป็นเจ้าของสักครั้ง เพราะความเป็น gaming ก็คงจะต้องมีอะไรที่เหนือกว่า notebook อื่นๆตามท้องตลาดเป็นแน่
ซึ่งในปี 2017 นี้ cpu ต้องเป็น i7-7700hq พวก u ที่ประหยัดพลังงานผมไม่ขอเลือกอย่างแน่นอน ถึงแม้จะเป็น i7 ก็ตาม เพราะความแรงเทียบไม่ได้เลยกับแบบ hq ส่วน
ram อย่างน้อยต้อง ddr4 เริ่มต้นกันที่ bus 2133 และแรงขึ้นมาอีกก็ bus 2400 ซึ่ง notebook บางรุ่นบางยี่ห้อก็จะเลือกติดตั้งมาให้ ความจุอย่างน้อยต้อง 8GB 1
แถว ซึ่งเอื้อต่อการอัพเกรตในอนาคตอีกแถวหนึ่ง
ตามต่อกันด้วย Graphic Card ในยุกต์นี้คงหนีไม่พ้น NVIDIA GeForce GTX 1000 Series และลองลงมาก็เป็น 900 Series
อย่างน้อยควรเป็น 960 970 หรือ 980 ซึ่งราคาของ Series 1000 กับ Series 900 ก็แพงกว่ากัน 4-6 พันเลยทีเดียว ฉะนั้นควรตัดสินใจกันให้ดี ในส่วน hdd อย่างน้อยต้อง
7200 rpm ความจุจะ 500GB หรือ 1TB ก็ไม่เกี่ยง อีกสิ่งหนึ่งสำหรับที่เก็บข้อมูลที่ขาดไม่ได้ในยุกต์นี้ต้อง ssd รูปแบบ m.2 จะเป็น SSD M.2 PCI-e Gen3 x4 NVMe
หรือ ssd M.2 SATA ก็ไม่ควรขาด ซึ่งผมขอแนะนำ M.2 PCI-e Gen3 x4 NVMe เพราะได้ความเร็วแบบสุดคั่วสูงสุดกันที่ 32Gb/s ส่วน ssd M.2 SATA ธรรมดาจะได้ความเร็วสูงสุด
sata iii กันที่ 6.0GB/s แต่ราคาของเหล่า M.2 PCI-e Gen3 x4 NVMe ก็จัดว่ามหาโหดถ้าเทียบกับ ssd แบบ m.2 sata หรือ sata 2.5 ปกติที่คุ้นเคยในความจุที่เท่ากัน
แต่ถ้ามองถึงความเร็วของการใช้งานแล้วล่ะก็เร็วกว่า sata iii เกือบ 5-6 เท่ากันเลยทีเดียว
ต่อมาก็เป็นหน้าจอควรมีความละเอียดอย่างน้อย full hd 1900x1080 จะเป็นจอแบบ
tn หรือ ips ก็เลือกตามการใช้งาน ส่วนการเชื่อมต่อด้าน network Wi-Fi อย่างน้อยต้องมาตรฐาน 802.11 ac พ่วงด้วย Bluetooth v4.2 ส่วน lan อย่างน้อยควรเป็นแบบ
1Gbps notebook บางรุ่นยังให้แบบ 100Mbps มากันอยู่ แต่สำหรับ notebook gaming คงไม่มีบริษัทใดกล้าให้แบบ 100Mbps มาเป็นแน่อย่างน้อยต้องเป็น 1Gbps กันหมดแล้ว
สำหรับสื่อบันทึกข้อมูลแบบแผ่น DVD หรือ Blue-ray notebook บางรุ่นก็มีเครื่องอ่านมาให้ DVD/Blue-ray Writable แต่สำหรับใน notebook บางุ่นก็จะตัดเครื่องอ่านแผ่นเหล่านี้ออกไป
เพื่อการประหยัดพื้นที่ หรือเพิ่มเติมฟังชันอะไรบางอย่างทดแทน ส่วนการเชื่อมต่อ port ที่ใช้ถ่ายโอนข้อมูลก็ควรเป็น USB3.0, USB2.0 และ port USB3.1 Type-C ซึ่งเป็นมาตรฐาน
USB รูปแบบใหม่มาตรฐานแห่งอนาคต สำหรับการเชื่อมต่อสัญญาณออกจอภาพนั้นก็มี D-Sub/VGA เป็นการเชื่อมต่อแบบเก่าที่มักพบเห็นกันทั่วไป, HDMI และ miniDisplayPort
ส่วนเสียงก็เป็นช่องเชื่อมต่อไมค์ + หูฟังขนาด 3.5 mm แบบมาตรฐานที่พบเห็นปกติ ตามด้วย Web Camera ความละเอียดแบบ HD type (30fps@720p) ซึ่งจะพบเห็นความสามารถนี้ใน
notebook ไม่กี่ยี่ห้อไม่กี่รุ่นกันครับ รวมไปถึง Card Reader ตัวอ่าน Card ต่างๆ
เกือบลืมไปครับว่ายังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นหัวใจหลักที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้นั่นก็คือ
ระบบระบายความร้อนอันทรงประสิทธิภาพ ซึ่ง notebook gaming ควรที่จะมีพัดลมอย่างน้อย 2 ตัว โดยปกติมักจะพบพัดลมเพียงตัวเดียว ซึ่งก็ขอเชียร์ เอ้ยขอพูดถึงเทคโนโลยีจาก
MSI กันหน่อยครับ นั่นคือ เทคโนโลยี Cooler Boost เทคโนโลยีการระบายความร้อน ที่ทำให้สามารถเล่นเกม และทำงานได้อย่างยาวนานต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ก้าวมาถึง
version 4 กันแล้ว โดยเทคโนโลยี Cooler Boost 1-2 จะมีพัดลมช่วยระบายความร้อนเพียงตัวเดียว แต่เทคโนโลยี Cooler Boost 3-4 จะมีการระบายความร้อน ที่แยกการทำงานของพัดลมแยกซ้าย
– ขวา ระหว่าง CPU และ GPU เสริมด้วยท่อนำความร้อนจากปกติ Cooler Boost 3 จะมี 4 ท่อเป็น 6 ท่อใน Cooler Boost 4 ซึ่งจะช่วยให้การส่งผ่านความร้อนมายังพัดลมทำได้เร็วขึ้น
ซึ่งพัดลมทั้ง 2 อันทรงประสิทธิภาพรวมถึงเสียงรบกวนที่เงียบก็จะพัดพาเอาความร้อนที่เกิดขึ้นออกจาก notebook ได้อย่างรวดเร็ว โดยเทคโนโลยี CoolerBoost ก็ยังพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง
โดย notebook ประสิทธิภาพสูงจาก MSI ก็ได้เลือกใช้ CoolerBoost Trinity ซึ่งจะมีพัดลมมากถึง 3 ตัว คงไม่ต้องสงสัยเลยล่ะครับว่าการระบายความร้อนจะทำได้ดีเพียงใด
สำหรับการใช้งานเทคโนโลยี Cooler Boost ก็ง่ายแสนง่ายเพียงกดปุ่ม Cooler Boost ระบบก็พร้อมทำงาน
โอ้! ต้องขออภัยผู้อ่านทุกท่านกันด้วยครับ ผม DarkWorld ก็เกลิ่นถึงเสปค notebook สำหรับปี 2017 ว่าควรมีอะไรเป็นพื้นฐานกันซะยาวต่อไปเราจะไปเข้าเรื่องการ review
notebook gaming จาก MSI Series GP62 cpu i7-7700hq ในรูปแบบของ DarkWorld กันครับ
สำหรับการ review กันต่อนั้นผมขอ review รูปแบบตัวหนังสือโดยไม่มีภาพประกอบ หากท่านใดต้องการรับชมภาพ notebook MSI Series GP62 กันก็สามารถติดตามจากลิ้งท้ายบทความกันได้ครับ
ซึ่งในรุ่นที่ผมไปสอยมานั้นเป็นรุ่น MSI GP62 7QF-1813XTH Leopard จาก jib ราคาขายอยู่ที่ 31,900 บาท ซึ่งในราคานี้ก็มีให้ผมเลือกถึง 3 รุ่น จริงๆในเว็บ jib
มีแบบหน้าจอ 17.3 นิ้ว ราคาสามหมื่นกว่า แต่หน้าร้านไม่มีของผมเลยชวดกันไป
ตัวเลือกทั้ง 3 รุ่น
Notebook MSI GP62 7QF-1813XTH (Black) 31,900 บาท
CPU : Intel Core i7-7700HQ RAM : 8GB DDR4 HDD : 1TB Display : 15.6 inch
Graphics : NVIDIA Geforce GTX960M, GDDR5 2GB
Notebook MSI GP62 7RD-060XTH Leopard (Black) 35,900 บาท
CPU : Intel Core i7-7700HQ 2.80 GHz RAM : 8GB DDR4 HDD : 1 TB Display : 15.6 inch
Graphics : NVIDIA GeForce GTX1050 GDDR5 2GB OS : DOS
Notebook MSI GP62 7RD-495XTH Leopard (Black) ราคา 37,900 บาท
CPU : Intel Core i7-7700HQ 2.8GHz RAM : 8GB DDR4 HDD : 1TB Display : 15.6 inch
Graphics : NVIDIA GeForce GTX 1050 GDDR5 4GB OS : DOS
ซึ่งโดยรวมแล้วเสปคทั้งหมดแทบไม่แตกต่างกันเลย จะต่างกันตรงที่ Graphics เท่านั้น ทีแรกผมก็ช่างใจอยู่นานว่าจะเลือกรุ่นใดดี ประกอบกับผมก็ไม่ค่อยได้ใช้ประสิทธิภาพของ
Graphics เท่าใดเพราะไม่ได้จะเอาไปเน้นเล่นเกมส์กันอยู่แล้ว โดยการใช้งานหลักๆของผมจะเน้น cpu มากกว่า เพราะใช้บีบไฟล์ .rar .zip .7zip ใช้แปลงไฟล์ video และเปิด
24/7 โดยไม่หยุดพักกันเลยทีเดียว ไม่อยากเอ่ยเลยว่าเปิดไว้ทำไมกัน ผมก็เป็นขาโหลดคนหนึ่ง โหลดมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว ปกติใช้ notebook เปิดโหลดเป็นหลัก หลายคนให้ความเห็นว่าไม่ควร
แต่จากประสบการณ์ผมเปิดมา 6-7 ปี notebook ผมลาจากไป 2 เครื่อง ซึ่งจริงๆการที่ notebook เสียนั้นส่วนหนึ่งก็เป็นที่ความเสื่อมของอุปกรณ์ หรือ Series นั้นๆที่จะมีปัญหาอยู่แล้ว
ถึงจะไม่เปิดนักหน่วงอย่างผมแต่ยังไงพอถึงเวลาก็ลาไปเอง ส่วน series ที่ทนถึกผมก็พบเจอหลายคนใช้มามากกว่า 7-8 ปีก็ไม่พังสักที สุดท้ายผมเลยตัดสินใจมาจบที่ Notebook
MSI GP62 7QF-1813XTH (Black) 31,900 บาท หากถามว่าทำไมผมถึงเลือกรุ่นนี้ เพราะเป็นรุ่นที่ผมคิดว่าพอแก่การใช้งาน รวมถึง Graphics :NVIDIA Geforce GTX960M,
GDDR5 2GB ก็แรงเหลือๆไม่ได้น่าเกลียดแต่อย่างใด
ตามมาดูเสปคเต็มๆของ MSI GP62 7QF-1813XTH (Black) กันครับ
• CPU : Intel Core i7-7700HQ (2.80 GHz, 6 MB L3 Cache, up to 3.80 GHz) แบบ 4 หัวแท้ 4 หัวเทียม การทำงานรวมเป็น 8 หัว ประสิทธิภาพแรงแบบสุดๆ + Chipset HM175
Express Chipset
• RAM : 8GB DDR4 BUS 2133 ของ SK Hynix 1 แผงใส่เพิ่มได้อีก 1 แผง ความจุรวม 16GB ซึ่ง bus ram รองรับ 2400 ถ้าใส่ bus นี้ได้ความแรงเพิ่มอีกพอสมควร
• VGA : NVIDIA GeForce GTX 960M GDDR5 2GB
• Monitor : 15.6″ ความละเอียด Full HD 1920×1080 Pixel eDP Vivid Color 94%
• HDD : 1TB 7200 RPM ของ Hitachi HGST HTS721010A9E630 (JR100YD326HASM) มีช่องสำหรับ SSD M.2 PCI-e Gen3 x4 NVMe หรือ ssd M.2 SATA ติดมาให้พร้อม ต้องเลือกใส่อย่างใดอย่างหนึ่ง
• DVD : Super Multi 9.5 mm รุ่น HL-DT-ST DVDRAM GUD0N
• Network : Killer E2500 Gigabit + Intel(R) Dual Band Wireless-AC 3168 / Blurtooth V4.2
• Camera : FHD (30FPS@720P)
• Battery : 6 Cell
- Designed Capacity 42379 mWh
- Fully Charged Capacity 41861 mWh
- Current Capacity 41861 mWh (98 %)
• Weight : 2.40 Kg
• Warranty : 2 Year [ 1Year International ]
• Port & Interface
- USB3.0 2 port
- USB2.0 1 port
- USB3.1 Type-C 1 port
- HDMI 1 port
- miniDisplay 1 port
- Card Reader : SD (XC/HC)
- Keyboard Type : Backlight Keyboard (Single-Color, White) คีย์บอร์ดพร้อมไฟสีขาวส่องสว่างในที่มืด มักพบเห็นในรุ่นใหญ่ๆเท่านั้น
• Operating System : OS Bundle DOS Operating System
• Price : 31,990 บาท
ซึ่งเสปคโดยรวมถือว่าจัดเต็มมาเช่นกันสำหรับรุ่น MSI GP62 7QF-1813XTH ถึงแม้ VGA จะเป็นเพียง NVIDIA GeForce GTX 960M GDDR5 2GB ซึ่งแรงจัดในปี 2016 แต่กับปัจจุบันปี
2017 อย่างน้อยก็ต้อง NVIDIA GeForce GTX1050 GDDR5 2GB ขึ้นไป แต่สำหรับผมที่ไม่เน้นเล่นเกมส์อยู่แล้วหากจะต้องเพิ่มงบอีก 4,000-6,000 เพื่อได้ Graphics รุ่นใหม่อาจเกินความจำเป็น
ซึ่งผมมองว่าผมนำงบไปจัด ram หรือ ssd เพิ่มเพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นจะดีกว่า แต่หากท่านผู้อ่านเน้นเล่นเกมส์แล้วล่ะก็อย่ารังเรที่จะจัด Graphics GTX 1000
Series เพราะประสิทธิภาพแรงกว่า GTX 900 Series 25-40%+ น่าเสียดายที่ MSI GP62 7QF-1813XTH ไม่มี D-Sub/VGA ติดมาให้ หากจำเป็นจะต้องใช้งานก็อาจซื้อตัวแปลงจาก
HDMI to D-Sub/VGA มาต่อใช้งาน
โดยการ review ในช่วงต่อไปก็จะขอแบ่งเป็น 3 ช่วง
- ช่วงแรก เป็นการวัดประสิทธิภาพการบีบอัดไฟล์ด้วยโปรแกรม WinRAR และ 7zip
- ช่วงที่ 2 เป็นการ Bern cpu และ gpu แบบทำงานเต็มประสิทธิภาพ 100% ด้วยโปรแกรม AIDA64 Extreme และ FurMark เพื่อวัดประสิทธิภาพของ gpu และทดสอบระบบระบายความร้อน
- ช่วงสุดท้าย เป็นช่วงเบ็ดเตล็ดที่จะกล่าวถึงเรื่องราวโดยรวมของการใช้งาน MSI GP62 7QF-1813XTH จากการใช้งานมาเกือบหนึ่งอาทิตย์เต็มๆว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง
หากพร้อมกันแล้วก็มารับชมกันต่อในช่วงแรกกันเลยครับ