เราคงเคยได้ยินเกี่ยวกับทางเดินสายกลางและหลายคนก็ได้นำวิธีปฎิบัติของการเดินทางสายกลางมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน แต่เราก็ยังไม่สามารถเข้าถึงแก่นของทางการเดินทางสายกลางได้สักทีเรายังคงรู้สึกว่าวิธีปฎิบัติที่เราได้รับการบอกเล่ามาว่า ทางสายกลางคือ การขึงเชื่อกที่ไม่ตึงและไม่หย่อนจนเกินไป นั่นก็คือการจะทำอะไรต้องรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวไม่อย่างนั้นเชือกที่เชื่อมระหว่างเรากับผู้อื่นเอาไว้ก็จะตึงจนขาดออกจากกันได้ ความเสียหายดังกล่าวอาจนำมาซึ่งเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้หรืออาจทำให้เราสูญเสียผู้เป็นที่รักไปตลอดกาลก็ได้ แต่เราเคยสงสัยกันไหมว่าเพราะอะไรเราถึงยังรู้สึกว่าการขึงเชือกที่ไม่ตึงและไม่หย่อนจนเกินไปยังไม่สามารถตอบโจทย์ของเราได้ทั้งหมดเรายังคงรู้สึกเหมือนมีบางอย่างที่ยังไม่ได้รับการเติมเต็ม นั่นก็เป็นเพราะว่าเราปฎิบัติเฉพาะภายนอกแต่เราลืมปฎิบัติส่วนที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือการปฎิบัติภายในที่สามารถทำให้โลกทั้งใบของเรากลายเป็นโลกที่สวยงาม ไร้ซึ่งคำถามที่ต้องคอยหาคำตอบกันอีกต่อไป.
วิธีปฎิบัติทางสายกลางมี 2 ทางคือ
1. ปฎิบัติภายใน คือ การไม่ยึดติอกับความทุกข์หรือความสุข ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเราทุกคนจะต้องออกบวชหรือเข้าวัดปฎิบัติธรรมเพียงอย่างเดียว แต่เราสามารถทำให้การใช้ชีวิตในฐานะมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งที่ยังมีทั้งรัก โลภ โกรธ หลง กลายเป็นโลกที่สมบูรณ์แบบได้ โลกที่มีความสงบจากภายในและสามารถมีความรู้สึกร่วมไปกับการใช้ชีวิตประจำวันของเราได้ตามปกติโดยไม่ต้องเลือกทางใดทางหนึ่งโดยการไม่ยึดติดกับทั้งทุกข์และสุขภายในจิตของเราเอง
2. ปฎิบัติภายนอก คือ การขึงเชือกที่ไม่ตึงและไม่หย่อนจนเกินไปหรือการรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวที่ไม่ทำให้ตัวเองรู้สึกอึดอัดและไม่ทำร้ายผู้อื่นในเวลาเดียวกัน อย่าลืมว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเลือกที่จะทำและเลือกที่จะไม่ทำย่อมส่งผลต่ออีกสิ่งหนึ่งเสมอ.
การไม่ยึดติด = การปล่อยวาง เราสามารถปล่อยวางได้โดยอัตโนมัติจากการถามคำถามกับตัวเองในสิ่งที่เราอยากรู้เกี่ยวกับตัวเองและคำถามที่เราต้องการรู้เกี่ยวกับผู้อื่น ลองนึกว่าถ้าเป็นเราอยู่ในสถานะการณ์อย่างนั้นเราจะทำอย่างไร การทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงที่มาที่ไปของคำถามและคำตอบจะทำให้เรามีความรู้สึกสงสารและเห็นใจผู้อื่นมากขึ้นและง่ายขึ้นและทำให้เราสามารถปล่อยวางได้โดยไม่ต้องพยายาม.
น้ำใจไม่ใช่สิ่งที่เราเรียกร้องหรือถามหาจากผู้อื่น แต่คือสิ่งที่เรานำเสนอให้ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
ความรักไม่ใช่การให้ แต่คือความปราถนาดีที่มีให้แก่กัน บางครั้งการให้อาจนำมาซึ่งหายนะของผู้รับ.
ทางสายกลาง
วิธีปฎิบัติทางสายกลางมี 2 ทางคือ
1. ปฎิบัติภายใน คือ การไม่ยึดติอกับความทุกข์หรือความสุข ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเราทุกคนจะต้องออกบวชหรือเข้าวัดปฎิบัติธรรมเพียงอย่างเดียว แต่เราสามารถทำให้การใช้ชีวิตในฐานะมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งที่ยังมีทั้งรัก โลภ โกรธ หลง กลายเป็นโลกที่สมบูรณ์แบบได้ โลกที่มีความสงบจากภายในและสามารถมีความรู้สึกร่วมไปกับการใช้ชีวิตประจำวันของเราได้ตามปกติโดยไม่ต้องเลือกทางใดทางหนึ่งโดยการไม่ยึดติดกับทั้งทุกข์และสุขภายในจิตของเราเอง
2. ปฎิบัติภายนอก คือ การขึงเชือกที่ไม่ตึงและไม่หย่อนจนเกินไปหรือการรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวที่ไม่ทำให้ตัวเองรู้สึกอึดอัดและไม่ทำร้ายผู้อื่นในเวลาเดียวกัน อย่าลืมว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเลือกที่จะทำและเลือกที่จะไม่ทำย่อมส่งผลต่ออีกสิ่งหนึ่งเสมอ.
การไม่ยึดติด = การปล่อยวาง เราสามารถปล่อยวางได้โดยอัตโนมัติจากการถามคำถามกับตัวเองในสิ่งที่เราอยากรู้เกี่ยวกับตัวเองและคำถามที่เราต้องการรู้เกี่ยวกับผู้อื่น ลองนึกว่าถ้าเป็นเราอยู่ในสถานะการณ์อย่างนั้นเราจะทำอย่างไร การทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงที่มาที่ไปของคำถามและคำตอบจะทำให้เรามีความรู้สึกสงสารและเห็นใจผู้อื่นมากขึ้นและง่ายขึ้นและทำให้เราสามารถปล่อยวางได้โดยไม่ต้องพยายาม.
น้ำใจไม่ใช่สิ่งที่เราเรียกร้องหรือถามหาจากผู้อื่น แต่คือสิ่งที่เรานำเสนอให้ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
ความรักไม่ใช่การให้ แต่คือความปราถนาดีที่มีให้แก่กัน บางครั้งการให้อาจนำมาซึ่งหายนะของผู้รับ.