นิทานชาดกสอนใจ_กระต่ายตื่นตูม
กาลครั้งหนึ่ง กระต่ายตัวหนึ่งนอนหลับอยู่ใต้ต้นตาล
ขณะที่นอนหลับอยู่นั้น เกิดพายุใหญ่
ทำให้ลูกตาลหล่นลงที่พื้นดิน เกือบถูกกระต่าย
กระต่ายตกใจตื่นขึ้น คิดว่าฟ้าถล่ม ไม่ทันได้ไตร่ตรอง
ลุกขึ้นได้ก็วิ่งไปอย่างสุดกำลัง เพราะกลัวความตาย
สัตว์อื่น ๆ เห็นกระต่ายวิ่งมาจนเต็มกำลังดังนั้น
จึงถามกระต่ายว่า “นี่ท่านวิ่งหนีอะไรมา”
กระต่ายวิ่งพลางบอกพลางว่า “ฟ้าถล่ม”
นิทานสอนใจเรื่องกระต่ายตื่นตูม สัตว์เหล่านั้นได้ฟังกระต่ายบอก ไม่ทันคิด
สำคัญว่าฟ้าถล่มจริง ก็พากันวิ่งตามกระต่ายไป
หกล้ม ขาหัก แข้งหัก โดนต้นไม้ ตกเหวตายบ้างก็มี
ส่วนที่ยังเหลือก็พากันวิ่งหนีต่อไปอีก
จนกระทั่ง มาพบพญาราชสีห์ตัวหนึ่ง เป็นสัตว์มีปัญญา
เห็นสัตว์ทั้งหลายพากันวิ่งมาไม่หยุดไม่หย่อน จึงร้องถามว่า…
“พวกท่านวิ่งหนีอะไรมา”
กระต่ายจึงเล่าเรื่องให้ราชสีห์ฟัง ราชสีห์ก็เข้าใจทันที
จึงถามต่อไปว่า “ฟ้าถล่มที่ตรงไหน จงพาเราไปดูสักที”
พอไปถึงใต้ต้นตาลที่กระต่ายนอน
พญาราชสีห์พิเคราะห์ดู เห็นลูกตาลตกอยู่ที่โคนต้น
ก็เข้าใจว่าที่แท้เป็นลูกมะตูมตกลงบนใบตาลแห้ง…จึงเกิดเสียงดัง
จนเจ้ากระต่ายคิดว่าแผ่นดินถล่ม
สัตว์ทั้งหลายเกือยต้องเสียชีวิต
เพราะเชื่อตามเสียงผู้อื่นโดยไม่คิดไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน
เมื่อรู้สาเหตุแล้ว…จึงประกาศให้สัตว์ทั้งหลายทราบตามคามเป็นจริง…
ด้วยความสุขุมรอบคอบรู้จักใช้สติปัญญาไตร่ตรอง…
พญาราชสีห์จึงสามารถรักษาชีวิตสัตว์ทั้งหลายไว้ได้
และนำความสงบสุขมาสู่ป่าใหญ่อีกครั้งหนึ่ง
นิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
1).อย่าผลีผลามด่วนตัดสินใจ…เพราะอาจเกิดผลเสียได้”
2). “อย่าตื่นตกใจโวยวายเชื่อข่าวลือจากผู้อื่น…โดยไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน”
3). “ผู้ที่รู้จักใช้สติปัญญาคิดพิจารณาอย่างรอบคอบจะสามารถค้นพบ…สาเหตุของปัญหาได้”
จากนิทานเรื่องนี้ จึงทำให้เกิดเป็นสำนวนสุภาษิตไทยขึ้นว่า “กระต่ายตื่นตืม” ที่หมายถึง “ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่าย…โดยไม่ทันคิดพิจารณาให้ถ่องแท้รอบคอบเสียก่อนว่าเป็นจริงหรือไม่…ถ้าเชื่อโดยไม่ได้พิจารณาให้ถ่องแท้…อาจทำให้เกิดความเสียหายได้”
..............................................................................................................................................................................................
คัดลอกนิทานมาจากในเน็ตอีกทีครับ...........................................
http://bkkseek.com/the-false-alarm/
นิทานกระต่ายตื่นตูม...ยังใช้ได้เสมอ
กาลครั้งหนึ่ง กระต่ายตัวหนึ่งนอนหลับอยู่ใต้ต้นตาล
ขณะที่นอนหลับอยู่นั้น เกิดพายุใหญ่
ทำให้ลูกตาลหล่นลงที่พื้นดิน เกือบถูกกระต่าย
กระต่ายตกใจตื่นขึ้น คิดว่าฟ้าถล่ม ไม่ทันได้ไตร่ตรอง
ลุกขึ้นได้ก็วิ่งไปอย่างสุดกำลัง เพราะกลัวความตาย
สัตว์อื่น ๆ เห็นกระต่ายวิ่งมาจนเต็มกำลังดังนั้น
จึงถามกระต่ายว่า “นี่ท่านวิ่งหนีอะไรมา”
กระต่ายวิ่งพลางบอกพลางว่า “ฟ้าถล่ม”
นิทานสอนใจเรื่องกระต่ายตื่นตูม สัตว์เหล่านั้นได้ฟังกระต่ายบอก ไม่ทันคิด
สำคัญว่าฟ้าถล่มจริง ก็พากันวิ่งตามกระต่ายไป
หกล้ม ขาหัก แข้งหัก โดนต้นไม้ ตกเหวตายบ้างก็มี
ส่วนที่ยังเหลือก็พากันวิ่งหนีต่อไปอีก
จนกระทั่ง มาพบพญาราชสีห์ตัวหนึ่ง เป็นสัตว์มีปัญญา
เห็นสัตว์ทั้งหลายพากันวิ่งมาไม่หยุดไม่หย่อน จึงร้องถามว่า…
“พวกท่านวิ่งหนีอะไรมา”
กระต่ายจึงเล่าเรื่องให้ราชสีห์ฟัง ราชสีห์ก็เข้าใจทันที
จึงถามต่อไปว่า “ฟ้าถล่มที่ตรงไหน จงพาเราไปดูสักที”
พอไปถึงใต้ต้นตาลที่กระต่ายนอน
พญาราชสีห์พิเคราะห์ดู เห็นลูกตาลตกอยู่ที่โคนต้น
ก็เข้าใจว่าที่แท้เป็นลูกมะตูมตกลงบนใบตาลแห้ง…จึงเกิดเสียงดัง
จนเจ้ากระต่ายคิดว่าแผ่นดินถล่ม
สัตว์ทั้งหลายเกือยต้องเสียชีวิต
เพราะเชื่อตามเสียงผู้อื่นโดยไม่คิดไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน
เมื่อรู้สาเหตุแล้ว…จึงประกาศให้สัตว์ทั้งหลายทราบตามคามเป็นจริง…
ด้วยความสุขุมรอบคอบรู้จักใช้สติปัญญาไตร่ตรอง…
พญาราชสีห์จึงสามารถรักษาชีวิตสัตว์ทั้งหลายไว้ได้
และนำความสงบสุขมาสู่ป่าใหญ่อีกครั้งหนึ่ง
นิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
1).อย่าผลีผลามด่วนตัดสินใจ…เพราะอาจเกิดผลเสียได้”
2). “อย่าตื่นตกใจโวยวายเชื่อข่าวลือจากผู้อื่น…โดยไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน”
3). “ผู้ที่รู้จักใช้สติปัญญาคิดพิจารณาอย่างรอบคอบจะสามารถค้นพบ…สาเหตุของปัญหาได้”
จากนิทานเรื่องนี้ จึงทำให้เกิดเป็นสำนวนสุภาษิตไทยขึ้นว่า “กระต่ายตื่นตืม” ที่หมายถึง “ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่าย…โดยไม่ทันคิดพิจารณาให้ถ่องแท้รอบคอบเสียก่อนว่าเป็นจริงหรือไม่…ถ้าเชื่อโดยไม่ได้พิจารณาให้ถ่องแท้…อาจทำให้เกิดความเสียหายได้”
..............................................................................................................................................................................................
คัดลอกนิทานมาจากในเน็ตอีกทีครับ...........................................
http://bkkseek.com/the-false-alarm/