คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
1.ก้ำกึ่งว่าเป็นสาขาแห่งอนาคตครับ
จริง ๆ คือเป็นสาขาแห่งปัจจุบัน เพราะเราอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ การติดต่อซื้อขาย กระจายสินค้า นำเข้าส่งออก มันง่ายและทั่วถึงกันหมดแล้วครับ
โลจิสติกส์จึงมีบทบาทมากในปัจจุบัน ประกอบการการเป็น NICS และการค้นพบน้ำมันในอ่าวไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เราจึงมีนิคมอุตสาหกรรม และ ท่าเรือใหญ๋ ๆ เกิดขึ้น (ท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด) บางจังหวัดชายทะเลของเราจึงยุติบทบาทการเป็นเมืองผลไม้ กลายเป็นเมืองท่าแทน ลองไปพิจารณาดูว่าคำขวัญจังหวัดชลบุรี และ ระยองทุกวันนี้มันเชยแล้วไหม
และที่บอกว่ามันก้ำกึ่งว่าจะเป็นสาขาแห่งอนาคตนั้น ก็เฉพาะในส่วนเทคโนโลยีทางลอจิสติกส์ครับ การนำวิศวกรรมและคอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบโลจิสติกส์มากขึ้น ตั้งแต่เทคโนโลยีสื่อสาร ไปจนถึงระบบอัตโนมัติที่ใช้แทนแรงงานคน อันนี้ครับจะเป็นแขนงแห่งอนาคตที่อีก 100 ปีข้างหน้าก็เติบโต
สำหรับน้อง ๆ หรือ ผู้ที่สนใจศึกษาต่อควรจะดูแนวทางแบบนี้ไว้ประกอบครับ เพราะจะเห็นความต้องการตลาดแรงงานชัดเจน
2.บอกว่าเมืองไทยไม่แพร่หลายมากนี่ก็ไม่เชิงครับ เมืองไทยแพร่หลายและมากมานานแล้วครับ สถาบันชั้นนำเปิดสอนทั้งนั้นนะครับ
จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ มีหลักสูตรด้านนี่หมดทั้งเชิงวิชาชีพ(ป.ตรี) และ เชิงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ(ป.โท) รวมถึงสถาบันชายทะเล และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีก็เปิดสอนด้านนี้ทั้งนั้นครับ
ซึ่งในประเทศไทยก็สอนเต็มรูปแบบมากครับ มีสอนทั้งด้านวิศวกรรมโลจิสติกส์(เชิงเทคนิค) และ สอนด้านบริหารจัดการโซ่อุปทาน(เชิงการบริหารต้นทุนและประสิทธิภาพ)
3.สำหรับการนำไปใช้ธุรกิจก็ต้องบอกว่ามาโขเลยครับ ชื่อก็บอกแล้วห่วงโซ่อุปทาน Supply Chain คือมันล่อมาตั้งแต่จัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ จัดการคลังสินค้า กระจายสินค้า ยันลำเลียงสินค้าเลยครับ มันมีความสำคัญและจำเป็นมาก ๆ สำหรับธุรกิจจำหน่ายสินค้า ธุรกิจเดินทาง และธุรกิจอุปโภคบริโภคที่ต้องมีการกระจายสินค้าจำนวนมากครับ ซึ่งเนื้อหาของโลจิสติกส์ในทางทฤษฎีจะจัดเป็นเนื้อหาหลักอยู่ในหมวดของ Operations Management
ถ้าหากเรียนได้วุฒิ BA(Business Administration) นี่คือถูกบังคับเรียนหมดครับ เพียงแต่การเรียนเน้นสาขาโลจิสติกส์เลยนั้น คือการสร้างความชำนาญเฉพาะด้านลึกลงไปครับ
จริง ๆ คือเป็นสาขาแห่งปัจจุบัน เพราะเราอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ การติดต่อซื้อขาย กระจายสินค้า นำเข้าส่งออก มันง่ายและทั่วถึงกันหมดแล้วครับ
โลจิสติกส์จึงมีบทบาทมากในปัจจุบัน ประกอบการการเป็น NICS และการค้นพบน้ำมันในอ่าวไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เราจึงมีนิคมอุตสาหกรรม และ ท่าเรือใหญ๋ ๆ เกิดขึ้น (ท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด) บางจังหวัดชายทะเลของเราจึงยุติบทบาทการเป็นเมืองผลไม้ กลายเป็นเมืองท่าแทน ลองไปพิจารณาดูว่าคำขวัญจังหวัดชลบุรี และ ระยองทุกวันนี้มันเชยแล้วไหม
และที่บอกว่ามันก้ำกึ่งว่าจะเป็นสาขาแห่งอนาคตนั้น ก็เฉพาะในส่วนเทคโนโลยีทางลอจิสติกส์ครับ การนำวิศวกรรมและคอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบโลจิสติกส์มากขึ้น ตั้งแต่เทคโนโลยีสื่อสาร ไปจนถึงระบบอัตโนมัติที่ใช้แทนแรงงานคน อันนี้ครับจะเป็นแขนงแห่งอนาคตที่อีก 100 ปีข้างหน้าก็เติบโต
สำหรับน้อง ๆ หรือ ผู้ที่สนใจศึกษาต่อควรจะดูแนวทางแบบนี้ไว้ประกอบครับ เพราะจะเห็นความต้องการตลาดแรงงานชัดเจน
2.บอกว่าเมืองไทยไม่แพร่หลายมากนี่ก็ไม่เชิงครับ เมืองไทยแพร่หลายและมากมานานแล้วครับ สถาบันชั้นนำเปิดสอนทั้งนั้นนะครับ
จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ มีหลักสูตรด้านนี่หมดทั้งเชิงวิชาชีพ(ป.ตรี) และ เชิงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ(ป.โท) รวมถึงสถาบันชายทะเล และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีก็เปิดสอนด้านนี้ทั้งนั้นครับ
ซึ่งในประเทศไทยก็สอนเต็มรูปแบบมากครับ มีสอนทั้งด้านวิศวกรรมโลจิสติกส์(เชิงเทคนิค) และ สอนด้านบริหารจัดการโซ่อุปทาน(เชิงการบริหารต้นทุนและประสิทธิภาพ)
3.สำหรับการนำไปใช้ธุรกิจก็ต้องบอกว่ามาโขเลยครับ ชื่อก็บอกแล้วห่วงโซ่อุปทาน Supply Chain คือมันล่อมาตั้งแต่จัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ จัดการคลังสินค้า กระจายสินค้า ยันลำเลียงสินค้าเลยครับ มันมีความสำคัญและจำเป็นมาก ๆ สำหรับธุรกิจจำหน่ายสินค้า ธุรกิจเดินทาง และธุรกิจอุปโภคบริโภคที่ต้องมีการกระจายสินค้าจำนวนมากครับ ซึ่งเนื้อหาของโลจิสติกส์ในทางทฤษฎีจะจัดเป็นเนื้อหาหลักอยู่ในหมวดของ Operations Management
ถ้าหากเรียนได้วุฒิ BA(Business Administration) นี่คือถูกบังคับเรียนหมดครับ เพียงแต่การเรียนเน้นสาขาโลจิสติกส์เลยนั้น คือการสร้างความชำนาญเฉพาะด้านลึกลงไปครับ
แสดงความคิดเห็น
สาขาโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน เป็นสาขาแห่งอนาคตจริงหรือ?