[CR] Review ผลิตภัณฑ์ skin/haircare ออร์แกนิค & ธรรมชาติทั้งหลาย (Organic and natural products review)

#สินค้าทุกชิ้นที่รีวิวเราซื้อมาเองทั้งหมดค่ะ ดีแย่ปะปนกันไป แม้แต่ในแบรนด์เดียวกัน ค่อยๆอ่านกันไปนะคะ
.
สมัยก่อนเราเป็นคนผิวด้านหน้าด้านมากค่ะ ใช้อะไรก็ไม่มีปัญหา
จนกระทั่งไม่กี่ปีที่ผ่านมา  อาจจะเป็นเพราะอายุเยอะขึ้นด้วยมั้ง (เลขสามกลางๆแล้ว) ผิวเลยแพ้ง่าย สะเทือนง่ายมาก ใช้อะไรๆก็แดง ก็แพ้ไปหมด  อย่างพวกสบู่ที่ขายตามห้างทั่วไปนี่ อาบแล้วแห้งกราก บางครั้งก็ลอกเลย  แล้วก็ด้วยความเป็นคนไม่ชอบทาโลชั่นหรือครีมที่ตัวเลย ก็จะรอจนผิวแห้งผากแบบเป็นเกล็ดๆลอกๆจริงจัง ถึงจะยอมทา เพราะไม่ชอบความเหนียวๆตัวและไม่ค่อยใช้เวลาในห้องน้ำนานที่จะรอจนพวกครีมหรือโลชั่นพวกนี้แห้ง
ดังนั้นสบู่จึงสำคัญมากสำหรับการอาบน้ำของเรา
.
จนวันนึงก็มีโอกาสได้อ่านบทสัมภาษณ์คนก่อตั้งแบรนด์ Bumble and Bumble ที่ดังเรื่องการทำให้ผมดูเหมือน second-day hair คือ ดูมี  texture กำลังดี  ขายดีมาก ดังมาก และวันนึงเขาก็ขายแบรนด์ตัวเองไป มาสร้างแบรนด์ใหม่ ที่บอกว่า ‘สิ่งสำคัญของผลิตภัณฑ์คือ สิ่งที่เราไม่ได้ใส่ลงไป มากกว่าสิ่งที่เราใส่ลงไป’   เราก็เลย อืม...  หลักในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับร่างกายเริ่มเปลี่ยนไปนิดๆละ  เริ่มจาก
.
1. ไม่ใส่สารที่อาจเป็นพิษต่อร่างกายหรือสิ่งแวดล้อมในระยะยาว เช่น ในสารชะล้างอย่างพวกสบู่ แชมพู ก็ไม่ควรมี Sodium Lureth Sulphate พวกแชมพูหรือครีมนวด และครีมต่างๆ ไม่พวกมีพวกซิลิโคน (พวกที่ลงท้ายด้วย –cone ทั้งหลาย) น้ำหอมสังคราะห์ที่ใส่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ หรือแอลกอฮอล์ในเครื่องสำอาง (อันนี้เฉพาะบุคคลมาก แต่ส่วนตัวเราใช้พวกนี้แล้วผิวจะระคายเคืองค่ะ)
2. ส่วนผสมมีแค่เหมาะสม คือ  ไม่มากไป ไม่โหมใส่หลายๆอย่างเพียงเพื่อเอามาโฆษณาโดยแต่ละอย่างไม่ได้ถึงปริมาณที่จะมีคุณค่า active อย่างแท้จริง
3. ส่วนผสมได้มาอย่างปราศจากสารพิษหรือสารปรุงแต่งมากที่สุด  ซึ่งหมายถึง ส่วนผสมที่มาจากพืช พืชก็ควรปลูกโดยไม่ใช่ปุ๋ยเคมี กระบวนการสกัดก็เช่นกัน  อย่างนี้จะทำให้เราได้ของแถมที่เป็นสารเคมีอันเราไม่ต้องการมาน้อยค่ะ ซึ่งจะให้ดี มีอะไรรับรองคุณภาพแทนคำเคลมของแค่บริษัทเอง ก็ควรจะมีพะมาว่า USDA organics หรือ EcoCert เราจะสบายใจมากค่ะ
4. ใช้แล้วรู้สึกดี
5. มี carbon footprint น้อยเท่าที่จะไหว  คือ เลือกสินค้าที่ผลิตในเมืองไทยเป็นหลักค่ะ
.
ซึ่งเพราะข้อ 3  ทำให้เรามองหาสินค้า organic ก่อนสินค้า natural ค่ะ
หลายคนอาจจะรู้สึกว่ามันครือๆกัน  แต่ที่จริงมันไม่เหมือนกันนะคะ
.
ขอยกตัวอย่างอาหาร และผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัตถุดิบของเครื่องสำอางและ skincare ทั้งหลายนะคะ
การเคลมว่าสินค้าเป็น natural นั้น เคลมได้โดยที่ไม่มีองค์กรใดมารับรองหรือควบคุมเลย  แม้โดยทั่วไปมักจะหมายถึง ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ผ่านการ process น้อยที่สุด ไม่มี hormones, ยาปฏิชีวนะ, การปรุงแต่รสหรือสี  แต่ที่จริงแล้วไม่มีการรับรองจากองค์กรใดว่าสิ่งที่เขาเคลมนั้นเป็นจริง   ส่วน organic นั้นจะเคลมได้ ก็ต้องเมื่อ ต้องได้รับการรับรองว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้น ปราศจากสารฆ่าแมลงและวัชพืชสังเคราะห์ที่เป็นพิษ, ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีใสกระบวนการ, ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวินะ หรือฮอร์โมนเร่งโต  นอกจากนี้องค์กรที่ออกใบเคลมให้เหล่านี้ เขาก็เข้าไปดูแลถึงระดับการผลิตสินค้านั้นๆก่อนจะมาเป็น package วางขายด้วยค่ะ ซึ่งกระบวนการ process เหล่านี้ก็ต้อง ไม่ใส่สีหรือกลิ่นสังเคราะห์, ไม่ใส่สารกันเสีย, ไม่ใส่ส่วนผสมที่ฉายรังสี และไม่ใช้วัตถุดิบที่เป็น GMO  
กว่าจะได้ตรา organic มาใช้จึงยากมาก  
.
ซึ่งการรับรองสินค้า organic ที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป คือ USDA เป็นของอเมริกา และ EcoCERT เป็นของยุโรป
อื่นๆก็เช่น Cosmos
.
ขอยกตัวอย่างการใช้ USDA organic label ที่มีหลายแบบค่ะ
-    ถ้าเคลมว่า ‘100% organic’ ก็คือ สินค้านั้นทั้ง 100% ผลิตจาก certified organic ingredients ทั้งหมด
-    ถ้าเคลมว่า ‘organic’ คือส่วนประกอบของสินค้านั้นมาจาก certified organic ยกเว้นส่วนประกอบบางอย่างที่อธิบายไว้ใน National List of Allowed and Prohibited Substances  โดยส่วนประกอบที่ยกเว้นที่ว่านั้น (non-organic ingredients) จะต้องมีสัดส่วนไม่เกิน 5%  
-    ถ้าเคลมว่า ‘made with (organic ingredients)’ คือสินค้านั้นจะต้องมีส่วนประกอบที่เป็น certified organic ingredients อย่างน้อย 70%  โดยในกลุ่มนี้ จะไม่สามารถใช้ organic seal แปะไว้บนสินค้าได้ ในคำอธิบายสินค้า จะสามารถเคลมว่ามีส่วนประกอบของ organic ingredients ได้ไม่เกิน 3 ชนิด   ส่วนประกอบอื่นๆของสินค้านั้นที่ไม่ใช่ organic ingredients จะต้องผลิตโดยมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ต้องไม่ใช่ GMO
-    ส่วนกลุ่มที่เป็นสินค้าที่มี certified organic ingredient น้อยกว่า 70% จะใช้ได้แค่คำว่า ‘specific organic ingredients’ เท่านั้นค่ะ  ซึ่งกลุ่มนี้ การบวนการผลิตของสินค้านั้น ไม่ต้องได้รับการรับรองโดย USDA  ดังนั้นก็แน่นอนว่า กลุ่มนี้ห้ามใช้ตรา USDA organic ค่ะ

.
ยุ่งยากเนอะ
.
เอาหละ  เราก็ได้ตัดสินใจแล้วว่า เราจะลองใช้สินค้า organic ดู  เผื่อผิวเราจะดีขึ้น อะไรๆจะดีขึ้น
เริ่มที่สบู่ก่อน แล้วต่อมาก็ขยับขยายไปยังสินค้าอื่นๆค่ะ
ปรากฏว่า..
.
ยี่ห้อที่ดูจะเข้า criteria ทั้งหลายที่เรามโนขึ้นมานี้ มีไม่กี่ยี่ห้อค่ะ
เราจะค่อยๆไล่ไปนะคะ  และบอกในรายละเอียด ว่าแต่ละยี่ห้อ ความ organic หรือ natural มันอยู่ระดับไหน
ปล. การ organic หรือ natural ไม่ได้หมายความว่าจะไม่แพ้นะคะ  เรื่องการแพ้เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่เจาะจงกับสารประกอบแต่ละอย่างเองนะ ซึ่งคาดเดาไม่ได้ค่ะ  ต่างจากการระคายเคืองนะคะ
.
เริ่มจาก
.
ชื่อสินค้า:   ZNYA, pumi, coolliving, siam botanicals, nature mix, skinplants, trilogy, Bangkok soap opera, kiss my face, aubrey, 100% pure, เขาค้อทะเลภู, สินค้าโครงการหลวง, verigins, ID rejuvenator
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่