(เครดิตภาพประกอบ : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย)
ผมอ่านในกระทู้หนึ่งมีผุ้โพสและพูดถึงพระคึกฤทธิ์ แห่งวัดนาป่าพง อ่านไปเพียงเล็กน้อยผมก็เริ่มเข้าใจว่า เพราะเหตุใดหลังที่พุทธองค์ปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนาจึงได้แตกกระสานซ่านไปเป็นสารพันนิกายได้ในเวลาอันรวดเร็ว!
ฝ่ายหนึ่งถือคณะสงฆ์แบบเดิม ทั้งพระเมืองพระป่าที่ยึดเอาพระไตรปิฎกไว้ทั้งหมดรวมเอาอรรถกถาจารย์งานแต่งเพิ่มขึ้นไว้ด้วย โดยเฉพาะอภิธรรมปิฎกที่ถือเป็นไฮไลท์ หรือเน้นรูปแบบของอรัญวาสีว่าดีกว่าคามวาสี
อีกฝ่ายเป็นฝ่ายแบบเงียบๆ ไม่โฉ่งฉ่าง ว่าด้วยวิธีการดำเนินพุทธแบบที่ท่านพุทธทาสภิกขุท่านวางไว้ ว่าด้วยเฟ้นเอาแต่แก่นไปใช้
ฝ่ายล่าสุดคือฝ่ายที่เห็นพ้องกับหลักพุทธวจน ที่พระคึกฤทธิ์ท่านนำมาเปิดเผยให้เห็นด้วยการใช้พุทธวาทะอย่างเคร่งครัด
สองสามฝ่ายเหล่านี้ ...คือปัญหาที่ต้องถกคิดกันว่า แล้วสุดท้ายอะไรเล่าคือ
“พุทธธรรม” ที่แท้ที่เราควรยึดเอา
ภิกษุพุทธทาส ท่านนี้ ต้องถือว่าท่านเป็นผู้บุกเบิกในเปิดธรรมะของพุทธองค์และทำให้เห็นว่าธรรมะของพระองค์นั้นเป็นวิทยาศาสตร์ที่โลกยอมรับได้ มากกว่าหลาย ๆ เรื่องที่บรรจุในพระไตรปิฎกที่ว่าด้วยอิทธิปาฎิหารย์ ซึ่งหลายๆเรื่องที่ว่าด้วยปาฎิหารย์ก็เป็นที่ทราบว่าเป็นเรื่องที่แตงขึ้นใหม่
พุทธทาสท่านเขียนเรื่องราวที่ทำให้พุทธองค์ทรงเป็นบุคคล เป็นมหาปราชญ์ที่เราท่าน ก็สามารถเข้าถึงได้ด้วยการเข้าใจในหลักธรรมอันแท้ มิใช่มองท่านเป็นเทพหรือผู้วิเศษทรงอิทธิปาฎิหารย์เหนือภพแผ่นดิน
พุทธทาสฯ ท่านใช้แนวคิดและหลักในการวิเคราะห์พระไตรปิฎก โดยเฟ้นเอาแต่แก่นที่จะเป็นประโยชน์ และท่านใส่ความเห็น(ส่วนตัว)ของท่านในบางพระสูตรที่ปรากฏว่าเป็นส่วนที่แต่งขึ้นใหม่ในภายหลัง และหลายเรื่องเหล่านั้นเป็นเรื่องพ้นวิสัยเกินไปและไม่มีประโยชน์ที่จะนำมาใช้ปฎิบัติ
ธรรมะจากพระโอษฐ์ จึงเป็นคุณูปการยิ่งใหญ่ ที่ทำให้โลกได้รู้จักจริงๆ ว่าธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น เป็นวิทยาศาสตร์, และหลายสาระที่ปรากฏจากธรรมะจากพระโอษฐ์นั้น ยืนยันที่จะทำให้ศาสนาพุทธในสายตานานาโลก คือศาสนาที่ใกล้ชิดความเป็นมนุษย์ที่สุดทีว่าด้วย “การพึ่งตนเอง” ซึ่งเป็นที่มาของนิยามศาสนาพุทธที่เป็นศาสนาแห่ง
“อเทวนิยม” ที่โลกยอมรับ
ท่านเป็นภิกขุในสยามรูปแรก ๆ ที่นำเอาสาระแก่นธรรมว่าด้วย วงจรปฎิจสมุปบาทโดยเฉพาะ ปฎิจจสมุปบาทที่มากจากพระโอษฐ์ มาเปิดให้พุทธศาสนิกชนได้เห็นสาระแท้ที่ทรงพร่ำสอน มากกว่าเรื่องของ บุญทานงานวัดและการให้แบบจารีตเดิมๆ
ท่านชี้ให้เห็นว่า เนื้อแท้ส่วนสำคัญที่เรียกว่าส่วนอภิธรรมนั้น คือสิ่งที่แต่งขึ้นใหม่ และหลายเรื่องในนั้นล้วนอรรถกถาบรรเจิดเกินกว่าวิสัยมนุษย์จะเข้าถึง
พุทธทาสภิกขุ ท่านปฎิเสธเรื่องนรกสวรรค์วิมานในแบบพรรณนานิรมิต และหลายเรื่องที่ท่านวิจารณ์กลายเป็นประเด็นที่ท่านถูกกล่าวหาในเวลานั้นว่าเป็น เดียรถีย์ (ลัทธิอื่น) บ้าง และถึงขนาดกล่าวหาว่าท่านเป็นคอมมิวนิสต์ แต่สุดท้ายข้อหาสำคัญก็ถูกปัดเป่าลง เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า(เจริญ) เสด็จไปเยี่ยมท่านพุทธทาสถึงสวนโมกข์ พร้อมคำกล่าว “เราไม่อยากกลับไปเลย!” ของท่าน
เหตุผลสำคัญที่ท่านถูกโจมตีในเวลานั้น เพราะจากงานเขียนของท่าน..การปรับเปลี่ยนวิธีการถ่ายทอดธรรมะจากที่เคยนั่งเทศน์เป็นประเพณีมาเป็น ยืนปาฎกถาแทน นั่นก็ไม่ต่างอะไรกับการท้าทายคณะสงฆ์ดั้งเดิมที่มองว่าท่านกล้าฉีกแนวจารีตประเพณีของสังคมสงฆ์ไทยที่มักจะเป็น บุคลาธิษฐานที่มีอำนาจผ่านบุญหรือลดกรรมใดๆ ด้วยการใช้คนกลางที่เรียกว่า
“ภิกษุ” แบบเดิมๆ
กรณี พระคึกฤทธิ์ที่ผมก็เห็นว่านี่เป็นภิกษุอีกรูปที่สร้างความสั่นสะเทือนให้วงการสงฆ์ไทย(อีกครั้ง)พอสมควร โดยเฉพาะประเด็นการนำเอาเรื่องของพุทธวจน มาเปิดหลายเรื่องราวให้คนรุ่นหนุ่มสาวได้เห็นว่า แท้จริงแล้วคำสอนของพระองค์ที่เป็นหลาย ๆ พระสูตรที่ถือเป็นสัจธรรมนั้น มีมากมายและน่าสนใจ และน่ามหัศจรรย์!
พระคึกฤทธิ์ท่านก้าวไปได้ไกลกว่าพุทธทาสภิกขุ เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ท่านสามารถรวบรวมสาระและเนื้อหาในพระไตรปิฎกได้ค่อนข้างครอบคลุม ไม่ต้องเปิดไล่ทีละหน้าแบบที่ท่านพุทธทาสทำ
แนวคิดของพระคึกฤทธิ์ท่าน ใช้การตีความอย่างเคร่งครัด โดยไม่ใช้การพิจารณาหรือความคิดเห็นเข้าไปประกอบแบบที่ท่านพุทธทาสทำ ดังนั้นเมื่อการตีกรอบตามข้อความอย่างเคร่งครัด บางครั้งทำให้เกิดความอึดอัดในการเสวนาธรรมในหลายๆ พระสุตร โดยเฉพาะในบางพระสูตรที่แม้นจะแปลเป็นภาษาไทยแล้ว แต่ศัพท์แสงก็ยังต้องอาศัยการขยายความอยู่ดี ดังนั้นหลาย ๆ ครั้งที่แม้นท่านจะบอกว่า นี่เป็นคำของพุทธเจ้า แต่ท่านก็จำต้องขยายความซึ่งคำขยายเหล่านั้นก็ยังเป็นปัญหาว่าสุดท้ายท่านก็ยังใช้หลักตีความที่แท้และตรงตามพุทธวจนเดิมหรือไม่
สิ่งที่แตกต่างระหว่าง พุทธทาสภิกขุ กับพระคึกฤทธิ์ คือ ภิกษุรูปหลังค่อนไปทางการถือเอาพุทธวจนล้วน ๆ มาเป็นหมวดธรรม โดยท่านตั้งข้อสันนิษฐานการแยกแยะความต่างว่า อะไรคือ พุทธวจน อะไรคือ อรรถกาจารย์ ด้วยการพินิจในถ้อยบทที่ปรากฏ อาทิ ถ้ากล่าวว่า “ครั้งหนึ่งได้ยินมาว่า...” “ข้าพเจ้าเคยฟังมาว่า...” และส่วนที่เป็นพุทธวจนที่แท้ มักจะขึ้นด้วยคำว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย...”, “ดูกรพาหมณ์....”
แต่ที่แตกต่างกันชัดคือ พระคึกฤทธิ์ ท่านไม่ปฎิเสธ,สวรรค์นรก หรือภูมิภพ..หรืออิทธิปาฎิหารย์ของพรหม ฯลฯ
ในขณะที่ท่านพุทธทาสนั้น ท่านปฎิเสธเรื่องเหล่านี้ เพราะไม่ใช่เรื่องที่จะช่วยให้พ้นทุกข์ได้จริง!
อย่างไรก็ตาม ภิกษุทั้งสองรูป ก็ยังถูกฝ่ายอภิธรรมศึกษา โจมตีอย่างหนักหน่วง เพราะอภิธรรมปิฎก ถือเป็นธรรมเชิงลึกที่ต้องศึกษา
กรณีเรื่องนี้..... คงอีกยาว แต่หลักสำคัญ ผมกลับคิดว่า ง่ายที่สุดก็คือ ถ้าพระองค์ทรงต้องทุ่มเทพระวรกายค้นหาสัจจธรรม จนพบ และทรงประกาศสอนให้พวกเราเดินตาม คำถามคือ ท่านสอนอะไรเรา....ให้เรารู้เห็นจริงในชีวิต แล้วเป้าสำคัญคืออะไร
เมื่อเรารู้แล้วว่า ท่านสอนให้เราเดินตามเพื่อหาแนวทางในการพ้นทุกข์ เราก็ทำตาม และทำอย่างมีเหตุมีผลที่ทรงสอน กระชับง่าย ไม่งมงาย เลอเทอะ หรือฟุ้งไปหลงไปอ้อมกับสาระอื่นใดที่ไม่เป็นประโยชน์.... เพราะชีวิตเรามันสั้นจริงๆครับ
จากพุทธทาสภิกขุ..มาถึงพระคึกฤทธิ์ ร่วมกันหาแก่นธรรมอย่างพุทธแท้
ผมอ่านในกระทู้หนึ่งมีผุ้โพสและพูดถึงพระคึกฤทธิ์ แห่งวัดนาป่าพง อ่านไปเพียงเล็กน้อยผมก็เริ่มเข้าใจว่า เพราะเหตุใดหลังที่พุทธองค์ปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนาจึงได้แตกกระสานซ่านไปเป็นสารพันนิกายได้ในเวลาอันรวดเร็ว!
ฝ่ายหนึ่งถือคณะสงฆ์แบบเดิม ทั้งพระเมืองพระป่าที่ยึดเอาพระไตรปิฎกไว้ทั้งหมดรวมเอาอรรถกถาจารย์งานแต่งเพิ่มขึ้นไว้ด้วย โดยเฉพาะอภิธรรมปิฎกที่ถือเป็นไฮไลท์ หรือเน้นรูปแบบของอรัญวาสีว่าดีกว่าคามวาสี
อีกฝ่ายเป็นฝ่ายแบบเงียบๆ ไม่โฉ่งฉ่าง ว่าด้วยวิธีการดำเนินพุทธแบบที่ท่านพุทธทาสภิกขุท่านวางไว้ ว่าด้วยเฟ้นเอาแต่แก่นไปใช้
ฝ่ายล่าสุดคือฝ่ายที่เห็นพ้องกับหลักพุทธวจน ที่พระคึกฤทธิ์ท่านนำมาเปิดเผยให้เห็นด้วยการใช้พุทธวาทะอย่างเคร่งครัด
สองสามฝ่ายเหล่านี้ ...คือปัญหาที่ต้องถกคิดกันว่า แล้วสุดท้ายอะไรเล่าคือ “พุทธธรรม” ที่แท้ที่เราควรยึดเอา
ภิกษุพุทธทาส ท่านนี้ ต้องถือว่าท่านเป็นผู้บุกเบิกในเปิดธรรมะของพุทธองค์และทำให้เห็นว่าธรรมะของพระองค์นั้นเป็นวิทยาศาสตร์ที่โลกยอมรับได้ มากกว่าหลาย ๆ เรื่องที่บรรจุในพระไตรปิฎกที่ว่าด้วยอิทธิปาฎิหารย์ ซึ่งหลายๆเรื่องที่ว่าด้วยปาฎิหารย์ก็เป็นที่ทราบว่าเป็นเรื่องที่แตงขึ้นใหม่
พุทธทาสท่านเขียนเรื่องราวที่ทำให้พุทธองค์ทรงเป็นบุคคล เป็นมหาปราชญ์ที่เราท่าน ก็สามารถเข้าถึงได้ด้วยการเข้าใจในหลักธรรมอันแท้ มิใช่มองท่านเป็นเทพหรือผู้วิเศษทรงอิทธิปาฎิหารย์เหนือภพแผ่นดิน
พุทธทาสฯ ท่านใช้แนวคิดและหลักในการวิเคราะห์พระไตรปิฎก โดยเฟ้นเอาแต่แก่นที่จะเป็นประโยชน์ และท่านใส่ความเห็น(ส่วนตัว)ของท่านในบางพระสูตรที่ปรากฏว่าเป็นส่วนที่แต่งขึ้นใหม่ในภายหลัง และหลายเรื่องเหล่านั้นเป็นเรื่องพ้นวิสัยเกินไปและไม่มีประโยชน์ที่จะนำมาใช้ปฎิบัติ
ธรรมะจากพระโอษฐ์ จึงเป็นคุณูปการยิ่งใหญ่ ที่ทำให้โลกได้รู้จักจริงๆ ว่าธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น เป็นวิทยาศาสตร์, และหลายสาระที่ปรากฏจากธรรมะจากพระโอษฐ์นั้น ยืนยันที่จะทำให้ศาสนาพุทธในสายตานานาโลก คือศาสนาที่ใกล้ชิดความเป็นมนุษย์ที่สุดทีว่าด้วย “การพึ่งตนเอง” ซึ่งเป็นที่มาของนิยามศาสนาพุทธที่เป็นศาสนาแห่ง “อเทวนิยม” ที่โลกยอมรับ
ท่านเป็นภิกขุในสยามรูปแรก ๆ ที่นำเอาสาระแก่นธรรมว่าด้วย วงจรปฎิจสมุปบาทโดยเฉพาะ ปฎิจจสมุปบาทที่มากจากพระโอษฐ์ มาเปิดให้พุทธศาสนิกชนได้เห็นสาระแท้ที่ทรงพร่ำสอน มากกว่าเรื่องของ บุญทานงานวัดและการให้แบบจารีตเดิมๆ
ท่านชี้ให้เห็นว่า เนื้อแท้ส่วนสำคัญที่เรียกว่าส่วนอภิธรรมนั้น คือสิ่งที่แต่งขึ้นใหม่ และหลายเรื่องในนั้นล้วนอรรถกถาบรรเจิดเกินกว่าวิสัยมนุษย์จะเข้าถึง
พุทธทาสภิกขุ ท่านปฎิเสธเรื่องนรกสวรรค์วิมานในแบบพรรณนานิรมิต และหลายเรื่องที่ท่านวิจารณ์กลายเป็นประเด็นที่ท่านถูกกล่าวหาในเวลานั้นว่าเป็น เดียรถีย์ (ลัทธิอื่น) บ้าง และถึงขนาดกล่าวหาว่าท่านเป็นคอมมิวนิสต์ แต่สุดท้ายข้อหาสำคัญก็ถูกปัดเป่าลง เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า(เจริญ) เสด็จไปเยี่ยมท่านพุทธทาสถึงสวนโมกข์ พร้อมคำกล่าว “เราไม่อยากกลับไปเลย!” ของท่าน
เหตุผลสำคัญที่ท่านถูกโจมตีในเวลานั้น เพราะจากงานเขียนของท่าน..การปรับเปลี่ยนวิธีการถ่ายทอดธรรมะจากที่เคยนั่งเทศน์เป็นประเพณีมาเป็น ยืนปาฎกถาแทน นั่นก็ไม่ต่างอะไรกับการท้าทายคณะสงฆ์ดั้งเดิมที่มองว่าท่านกล้าฉีกแนวจารีตประเพณีของสังคมสงฆ์ไทยที่มักจะเป็น บุคลาธิษฐานที่มีอำนาจผ่านบุญหรือลดกรรมใดๆ ด้วยการใช้คนกลางที่เรียกว่า
“ภิกษุ” แบบเดิมๆ
กรณี พระคึกฤทธิ์ที่ผมก็เห็นว่านี่เป็นภิกษุอีกรูปที่สร้างความสั่นสะเทือนให้วงการสงฆ์ไทย(อีกครั้ง)พอสมควร โดยเฉพาะประเด็นการนำเอาเรื่องของพุทธวจน มาเปิดหลายเรื่องราวให้คนรุ่นหนุ่มสาวได้เห็นว่า แท้จริงแล้วคำสอนของพระองค์ที่เป็นหลาย ๆ พระสูตรที่ถือเป็นสัจธรรมนั้น มีมากมายและน่าสนใจ และน่ามหัศจรรย์!
พระคึกฤทธิ์ท่านก้าวไปได้ไกลกว่าพุทธทาสภิกขุ เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ท่านสามารถรวบรวมสาระและเนื้อหาในพระไตรปิฎกได้ค่อนข้างครอบคลุม ไม่ต้องเปิดไล่ทีละหน้าแบบที่ท่านพุทธทาสทำ
แนวคิดของพระคึกฤทธิ์ท่าน ใช้การตีความอย่างเคร่งครัด โดยไม่ใช้การพิจารณาหรือความคิดเห็นเข้าไปประกอบแบบที่ท่านพุทธทาสทำ ดังนั้นเมื่อการตีกรอบตามข้อความอย่างเคร่งครัด บางครั้งทำให้เกิดความอึดอัดในการเสวนาธรรมในหลายๆ พระสุตร โดยเฉพาะในบางพระสูตรที่แม้นจะแปลเป็นภาษาไทยแล้ว แต่ศัพท์แสงก็ยังต้องอาศัยการขยายความอยู่ดี ดังนั้นหลาย ๆ ครั้งที่แม้นท่านจะบอกว่า นี่เป็นคำของพุทธเจ้า แต่ท่านก็จำต้องขยายความซึ่งคำขยายเหล่านั้นก็ยังเป็นปัญหาว่าสุดท้ายท่านก็ยังใช้หลักตีความที่แท้และตรงตามพุทธวจนเดิมหรือไม่
สิ่งที่แตกต่างระหว่าง พุทธทาสภิกขุ กับพระคึกฤทธิ์ คือ ภิกษุรูปหลังค่อนไปทางการถือเอาพุทธวจนล้วน ๆ มาเป็นหมวดธรรม โดยท่านตั้งข้อสันนิษฐานการแยกแยะความต่างว่า อะไรคือ พุทธวจน อะไรคือ อรรถกาจารย์ ด้วยการพินิจในถ้อยบทที่ปรากฏ อาทิ ถ้ากล่าวว่า “ครั้งหนึ่งได้ยินมาว่า...” “ข้าพเจ้าเคยฟังมาว่า...” และส่วนที่เป็นพุทธวจนที่แท้ มักจะขึ้นด้วยคำว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย...”, “ดูกรพาหมณ์....”
แต่ที่แตกต่างกันชัดคือ พระคึกฤทธิ์ ท่านไม่ปฎิเสธ,สวรรค์นรก หรือภูมิภพ..หรืออิทธิปาฎิหารย์ของพรหม ฯลฯ
ในขณะที่ท่านพุทธทาสนั้น ท่านปฎิเสธเรื่องเหล่านี้ เพราะไม่ใช่เรื่องที่จะช่วยให้พ้นทุกข์ได้จริง!
อย่างไรก็ตาม ภิกษุทั้งสองรูป ก็ยังถูกฝ่ายอภิธรรมศึกษา โจมตีอย่างหนักหน่วง เพราะอภิธรรมปิฎก ถือเป็นธรรมเชิงลึกที่ต้องศึกษา
กรณีเรื่องนี้..... คงอีกยาว แต่หลักสำคัญ ผมกลับคิดว่า ง่ายที่สุดก็คือ ถ้าพระองค์ทรงต้องทุ่มเทพระวรกายค้นหาสัจจธรรม จนพบ และทรงประกาศสอนให้พวกเราเดินตาม คำถามคือ ท่านสอนอะไรเรา....ให้เรารู้เห็นจริงในชีวิต แล้วเป้าสำคัญคืออะไร
เมื่อเรารู้แล้วว่า ท่านสอนให้เราเดินตามเพื่อหาแนวทางในการพ้นทุกข์ เราก็ทำตาม และทำอย่างมีเหตุมีผลที่ทรงสอน กระชับง่าย ไม่งมงาย เลอเทอะ หรือฟุ้งไปหลงไปอ้อมกับสาระอื่นใดที่ไม่เป็นประโยชน์.... เพราะชีวิตเรามันสั้นจริงๆครับ