สำหรับผมต้องถือว่าประเทศอิหร่านเป็นประเทศแปลกประหลาดประเทศหนึ่งในโลก แค่ผู้หญิงโสดต้องออกจากบ้านโดยสวมฮิญาบ สวมเสื้อแขนยาวถึงข้อมือ ชายกระโปรงต้องยาวถึงข้อเท้า ปิดหน้าปิดตาเป็นนินจาฮะโตริกันทั้งประเทศ แถมมีสวนสาธารณะสำหรับผู้หญิง มีแท็กซี่สำหรับผู้หญิง มีข้อปฏิบัติแปลกๆ ที่ถือเป็นการเหยียดเพศ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางศาสนาหรือการเมืองใดๆ ก็ตาม
น่าสงสัยว่าปิดหน้าปิดตาเวลาออกนอกบ้าน พวกสาวๆ ขาวๆ น่ารักๆ จะหาผัวกันยังไง - ฮา
แต่ถึงแม้ประเทศอิหร่านจะเป็นประเทศที่แปลกประหลาดซะขนาดนี้ แต่ภาพยนตร์จากอิหร่านก็กลับกลายเป็นภาพยนตร์ที่ดีงามในสามโลก ก็ประเทศยังแปลกประหลาดขนาดนี้ ภาพยนตร์ที่เป็นผลผลิตจากสังคมแปลกประหลาดจึงเป็นสิ่งน่าสนใจเสมอมา ประเทศอะไรจะมีผู้กำกับภาพยนตร์ที่ทำหนังจนโดนรัฐบาลฟ้องในฐานกระทำความผิดต่อรัฐจนต้องติดตะรางอย่างประเทศอิหร่าน - ฮา
แค่บอกว่าเป็นหนังอิหร่านก็น่าสนใจแล้ว
ล่าสุด The Salesman (Forushande (2016)) ของ อัชการ์ ฟาร์ฮาดิ คว้ารางวัลภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยมจากเวที "ออสการ์คาเฟ่" มาหมาดๆ - จึงต้องรีบหามาดูอย่างไว
หลังจากต้องย้ายบ้านหนีพื้นที่ก่อสร้างที่ทำให้อพาร์ทเมนท์ของพวกเขาสั่นคลอนจนแทบจะพังทลายลง อาจารย์หนุ่มที่รับจ็อบเป็นนักแสดงนำของละครเวทีในช่วงหัวค่ำ จำต้องทิ้งภรรยาให้อยู่บ้านคนเดียวลำพังเป็นประจำทุกคืน จนกระทั่งคืนหนึ่งเกิดมีคนร้ายย่องตอดเข้ามาในห้อง ทำร้ายร่างกายและได้ล่วงละเมิดทางเพศภรรยาของเขา เมื่อถูกหยามเกียรติ (ตามประสาผู้ชายอิหร่าน) ซะขนาดนี้ ตัวเอกของเรื่องจึงออกสืบเสาะว่าใครกันแน่ที่เป็นคนร้ายเข้ามาทำร้ายภรรยาของเขา เพื่อหวังจะหยามเกียรติผู้ชายคนนั้นคืนบ้าง แน่นอนเขาตามหาผู้ชายคนนั้นจนพบซะด้วย
ดูแล้วก็เหมือนหนังเรื่องนี้จะบอกกับคนดูว่า "เฮ้ย ก็จริงอยู่ที่ออกนอกบ้านน่ะแต่งตัวซะมิดชิด แต่อยู่ในบ้านก็มีโอกาสถูกล่วงละเมิด ดังนั้นข้ออ้างเรื่องความปลอดภัยของสาวๆ ฟังไม่ขึ้นหรอกน่า"
เมื่อหาตัวผู้กระทำผิดจนพบแล้วก็ทำตัวเป็นศาลเตี้ยซะเอง ด้วยการนัดคนร้ายไปเจอะกันที่อพาร์ทเมนท์เดิมที่จะพังแหล่ไม่พังแหล่ ซีนนี้เป็นบทสนทนายาวๆ ที่มันส์มาก (ถ้าเล่ามากก็สปอยล์มาก) หลังจากจัดการขังตัวคนร้ายไว้หน่ึงคืน จนคนร้ายกลับเป็นฝ่ายน่าสงสารในสายตาของคนดูซะงั้น อีกวันเขาก็จัดการโทรตามลูกเมียของคนร้ายมาเป็นพยานถึงสิ่งที่คนร้ายได้ทำ จัดการบอกแก่ทุกคนในครอบครัวของคนร้ายถึงสิ่งที่คนร้ายลงมือทำในคืนเกิดเหตุ เพื่อหวังให้คนร้ายไม่ได้รับความนับถือศรัทธาจากคนในครอบครัวของเขาอีกเลย
ผลก็คือในตอนจบ ไอ้คนร้ายก็แทบเป็นแทบตาย หน้าเขียวหน้าเหลืองกันไป ฮา
ดูหนังตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องก็เหมือนจะเป็นการล้างแค้นของผู้ชายที่สมเหตุสมผล แต่จะว่าไป ตัวละครภรรยาในฉากท้ายเรื่องที่ถูกวางให้เป็นหนึ่งในผู้เฝ้าดูการล้างแค้นครั้งนี้ เธอแทบไม่มีบทบาทอะไรเลย แม้แต่บทพูดก็แทบไม่มี แค่จะอ้าปากขึ้น ตัวเอกก็ลากแขนเธอไปน่ังอยู่อีกห้องแล้วปิดประตูขังเธอไว้ในอีกโลกหน่ึง ราวกับการถูกทำร้ายร่างกายและถูกล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่เรื่องที่เธอสมควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมการล้างแค้นของตัวเอกเลย
พูดง่ายๆ การที่ภรรยาถูกล่วงละเมิดทางเพศ กลับเป็นเรื่องของผู้ชายที่รู้สึกว่าตัวเองถูกหยามเกียรติซะมากกว่า
หนำซ้ำในฉากหนึ่ง ตัวเอกยังทะเลาะกับภรรยาที่มีอาการป่วยแบบอยู่ในห้องพักคนเดียวไม่ได้หลังเกิดเหตุอีกด้วย ยังไม่นับอารมณ์เรื่องแบบตัวเอกหวาดระแวงและเคลือบแคลงในตัวภรรยาของเขาเอง ด้วยไม่แน่ใจว่าเรื่องที่เกิดขึ้นในคืนนั้นเป็นอย่างไรกันแน่
มีประเด็นเรื่องการกระทำของเพศชายที่มีต่อเพศหญิงในสังคมอิหร่าน
ละครเวทีสุดแนวที่ตัวเอกไปซักซ้อมและไปร่วมแสดงอยู่ทุกคืนก็คือละครเวทีที่ทำจากบทละครเรื่อง The Death of Salesman (เคยมีคนไทยนำมาทำเป็นละครเวที และละครโทรทัศน์ตามลำดับ) เป็นบทละครชื่อดังของ อาเธอร์ มิลเลอร์ ว่าด้วยเรื่องของเซลส์แมนจอมโป้ปดมดเท็จและเต็มเปี่ยมด้วยเล่ห์กระเท่ ผู้ซึ่งได้สำนึกถึงความผิดบาปของตนในท้ายที่สุด เขาได้เลือกการฆ่าตัวตายเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงการปกป้องเกียรติยศแห่งตน
ดูแล้วจะตีความอย่างไรก็ว่ากันไป ตัวเอกบนเวทีละครนั้นเข้าฉากสุดท้ายโดยการลงไปนอนในโลงศพ แต่ตัวเอกที่ข้างล่างเวทีนั้นดูเหมือนจะยังไม่จบไม่สิ้นซะที ฮา
เช่นเดียวกัน เมื่อตอนดูหนังของ อับบาส เคียรอสตามี เป็นเรื่องแรก ก็แค่หลุดปากสั้นๆ คำเดียวว่า "เก่ง" เท่านั้น
เพจผมเอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.facebook.com/Movie-Drunkster-281084148980029/
The Salesman หนังอิหร่านยังไม่อวสาน (อาจจะสปอยล์นิดๆ)
น่าสงสัยว่าปิดหน้าปิดตาเวลาออกนอกบ้าน พวกสาวๆ ขาวๆ น่ารักๆ จะหาผัวกันยังไง - ฮา
แต่ถึงแม้ประเทศอิหร่านจะเป็นประเทศที่แปลกประหลาดซะขนาดนี้ แต่ภาพยนตร์จากอิหร่านก็กลับกลายเป็นภาพยนตร์ที่ดีงามในสามโลก ก็ประเทศยังแปลกประหลาดขนาดนี้ ภาพยนตร์ที่เป็นผลผลิตจากสังคมแปลกประหลาดจึงเป็นสิ่งน่าสนใจเสมอมา ประเทศอะไรจะมีผู้กำกับภาพยนตร์ที่ทำหนังจนโดนรัฐบาลฟ้องในฐานกระทำความผิดต่อรัฐจนต้องติดตะรางอย่างประเทศอิหร่าน - ฮา
แค่บอกว่าเป็นหนังอิหร่านก็น่าสนใจแล้ว
ล่าสุด The Salesman (Forushande (2016)) ของ อัชการ์ ฟาร์ฮาดิ คว้ารางวัลภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยมจากเวที "ออสการ์คาเฟ่" มาหมาดๆ - จึงต้องรีบหามาดูอย่างไว
หลังจากต้องย้ายบ้านหนีพื้นที่ก่อสร้างที่ทำให้อพาร์ทเมนท์ของพวกเขาสั่นคลอนจนแทบจะพังทลายลง อาจารย์หนุ่มที่รับจ็อบเป็นนักแสดงนำของละครเวทีในช่วงหัวค่ำ จำต้องทิ้งภรรยาให้อยู่บ้านคนเดียวลำพังเป็นประจำทุกคืน จนกระทั่งคืนหนึ่งเกิดมีคนร้ายย่องตอดเข้ามาในห้อง ทำร้ายร่างกายและได้ล่วงละเมิดทางเพศภรรยาของเขา เมื่อถูกหยามเกียรติ (ตามประสาผู้ชายอิหร่าน) ซะขนาดนี้ ตัวเอกของเรื่องจึงออกสืบเสาะว่าใครกันแน่ที่เป็นคนร้ายเข้ามาทำร้ายภรรยาของเขา เพื่อหวังจะหยามเกียรติผู้ชายคนนั้นคืนบ้าง แน่นอนเขาตามหาผู้ชายคนนั้นจนพบซะด้วย
ดูแล้วก็เหมือนหนังเรื่องนี้จะบอกกับคนดูว่า "เฮ้ย ก็จริงอยู่ที่ออกนอกบ้านน่ะแต่งตัวซะมิดชิด แต่อยู่ในบ้านก็มีโอกาสถูกล่วงละเมิด ดังนั้นข้ออ้างเรื่องความปลอดภัยของสาวๆ ฟังไม่ขึ้นหรอกน่า"
เมื่อหาตัวผู้กระทำผิดจนพบแล้วก็ทำตัวเป็นศาลเตี้ยซะเอง ด้วยการนัดคนร้ายไปเจอะกันที่อพาร์ทเมนท์เดิมที่จะพังแหล่ไม่พังแหล่ ซีนนี้เป็นบทสนทนายาวๆ ที่มันส์มาก (ถ้าเล่ามากก็สปอยล์มาก) หลังจากจัดการขังตัวคนร้ายไว้หน่ึงคืน จนคนร้ายกลับเป็นฝ่ายน่าสงสารในสายตาของคนดูซะงั้น อีกวันเขาก็จัดการโทรตามลูกเมียของคนร้ายมาเป็นพยานถึงสิ่งที่คนร้ายได้ทำ จัดการบอกแก่ทุกคนในครอบครัวของคนร้ายถึงสิ่งที่คนร้ายลงมือทำในคืนเกิดเหตุ เพื่อหวังให้คนร้ายไม่ได้รับความนับถือศรัทธาจากคนในครอบครัวของเขาอีกเลย
ผลก็คือในตอนจบ ไอ้คนร้ายก็แทบเป็นแทบตาย หน้าเขียวหน้าเหลืองกันไป ฮา
ดูหนังตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องก็เหมือนจะเป็นการล้างแค้นของผู้ชายที่สมเหตุสมผล แต่จะว่าไป ตัวละครภรรยาในฉากท้ายเรื่องที่ถูกวางให้เป็นหนึ่งในผู้เฝ้าดูการล้างแค้นครั้งนี้ เธอแทบไม่มีบทบาทอะไรเลย แม้แต่บทพูดก็แทบไม่มี แค่จะอ้าปากขึ้น ตัวเอกก็ลากแขนเธอไปน่ังอยู่อีกห้องแล้วปิดประตูขังเธอไว้ในอีกโลกหน่ึง ราวกับการถูกทำร้ายร่างกายและถูกล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่เรื่องที่เธอสมควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมการล้างแค้นของตัวเอกเลย
พูดง่ายๆ การที่ภรรยาถูกล่วงละเมิดทางเพศ กลับเป็นเรื่องของผู้ชายที่รู้สึกว่าตัวเองถูกหยามเกียรติซะมากกว่า
หนำซ้ำในฉากหนึ่ง ตัวเอกยังทะเลาะกับภรรยาที่มีอาการป่วยแบบอยู่ในห้องพักคนเดียวไม่ได้หลังเกิดเหตุอีกด้วย ยังไม่นับอารมณ์เรื่องแบบตัวเอกหวาดระแวงและเคลือบแคลงในตัวภรรยาของเขาเอง ด้วยไม่แน่ใจว่าเรื่องที่เกิดขึ้นในคืนนั้นเป็นอย่างไรกันแน่
มีประเด็นเรื่องการกระทำของเพศชายที่มีต่อเพศหญิงในสังคมอิหร่าน
ละครเวทีสุดแนวที่ตัวเอกไปซักซ้อมและไปร่วมแสดงอยู่ทุกคืนก็คือละครเวทีที่ทำจากบทละครเรื่อง The Death of Salesman (เคยมีคนไทยนำมาทำเป็นละครเวที และละครโทรทัศน์ตามลำดับ) เป็นบทละครชื่อดังของ อาเธอร์ มิลเลอร์ ว่าด้วยเรื่องของเซลส์แมนจอมโป้ปดมดเท็จและเต็มเปี่ยมด้วยเล่ห์กระเท่ ผู้ซึ่งได้สำนึกถึงความผิดบาปของตนในท้ายที่สุด เขาได้เลือกการฆ่าตัวตายเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงการปกป้องเกียรติยศแห่งตน
ดูแล้วจะตีความอย่างไรก็ว่ากันไป ตัวเอกบนเวทีละครนั้นเข้าฉากสุดท้ายโดยการลงไปนอนในโลงศพ แต่ตัวเอกที่ข้างล่างเวทีนั้นดูเหมือนจะยังไม่จบไม่สิ้นซะที ฮา
เช่นเดียวกัน เมื่อตอนดูหนังของ อับบาส เคียรอสตามี เป็นเรื่องแรก ก็แค่หลุดปากสั้นๆ คำเดียวว่า "เก่ง" เท่านั้น
เพจผมเอง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้