ช่วงนี้เป็นช่วงที่นักเรียนมัธยมปลายส่วนใหญ่จบการศึกษาและคงกำลังหาหรือตัดสินใจเรื่องเรียนต่อกันอยู่แน่ๆ กระทู้นี้เป็นกระทู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ จขกท. จะมาแชร์ประสบการณ์จากที่เจอมากับตัวและที่แลกเปลี่ยนกับเพื่อนทั้งในและต่างมหาวิทยาลัย อาจจะยาวไปซักหน่อย แต่หวังว่าจะได้แลกเปลี่ยนไอเดียกันนะครับ
กระทู้นี้จะแบ่งเหตุผลดีๆที่เราควรเรียนมหาวิทยาลัยชั้นนำออกเป็น 2 ส่วนคือประเด็นดีๆที่เราได้ตอนเรียน กับได้ตอนเราเรียนไปจบแล้วอย่างหลังนั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากอย่างแรก และปิดท้ายด้วยข้อจำกัดบางประการเกี่ยวกับข้อเสนอของผมครับ
1.ขณะเรียน
1.1 ได้เข้าถึงปัจจัยสนับสนุนการศึกษาดีๆ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางกายภาพ เช่น อาคาร อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะสายวิทยาศาสตร์ ที่ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่ครบครัน และ(ควรจะ)ทันสมัย
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ เช่น การมีห้องสมุดที่ดีกว่า หนังสือเยอะกว่า มีหนังสือหายาก พร้อมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โครงสร้างพื้นฐานทาง digital media การเข้าใช้ ฐานข้อมูลที่มหาลัยเองซื้อไว้เอง หรือของมหาลัยในเครือข่ายที่มหาวิทยาลัยชั้นนำมักมีเครือข่ายกว้างขวางมากกว่าทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้เข้าถึง ทุนมนุษย์ดีๆ อย่างอาจารย์ นักวิจัย รุ่นพี่ที่มีความสามารถ ทั้งที่ลงเรียนด้วย เรียนด้วยกัน และที่เป็น Advisor
1.2 ได้เจอสังคมกระตุ้นให้เราได้ถีบตัวเอง คือถ้าคุณเป็นตัวลำดับต้นๆของที่ที่คุณจบมา คุณจำเป็นต้องได้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตของคุณด้วย ในที่ที่มีการแข่งขันกันสูง ผู้คนมีความพร้อม มันวัดศักยภาพของคุณได้ดีกว่า น่าจะเป็นเช่นนั้น และด้วยเหตุนี้มันทำคุณต้องเผชิญกับระบบการวัดผลที่มีความเข้มงวด ทั้งความเข้มงวดเชิงเกณฑ์ และแรงกดดันอันมาจากแนวโน้มผลสัมฤทธิ์กลุ่ม
1.3 หากคุณเป็นคนแปลกๆ คือมีบุคลิกเฉพาะตัว การเรียนในสถานบันตามข้อ1.2 มีโอกาสที่คุณจะได้เจอคนพวกเดียวกัน พูดภาษาเดียวกันเข้าใจ และลดความรู้สึกแปลกแยกของคุณลงได้บ้าง จากจุดนี้ทำให้คุณสามารถรวมกลุ่มกัน สถาบันชั้นนำยังเอื้อต่อการทำกิจกรรมที่มีความแปลกใหม่ และมี impact ต่อสังคมได้มากกว่าด้วย (ส่วนนี้คือเปิดงบกิจกรรมนักศึกษามาวัดสหสัมพันธ์กับการรับรู้ของสังคมได้เลย) นอกจากนี้เวลาคุณทำกิจกรรมที่ต้องเชิญแขกรับเชิญ การที่คุรเรียนมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทำให้คุณมีอาสที่จะเชิญแขกรับเชิญที่มีชื่อเสียงมาได้มากขึ้น ไม่ว่าจะผ่านสถานะความเป็นศิษย์เก่า หรือเพราะสามารถแบ่งปันประโยชน์ร่วมกันได้ในแง่ของการ PR
1.4 คุณมีแนวโน้มที่จะได้เจอคนที่พิเศษๆ สถาบันชั้นนำมักเป็นที่รวมของสิ่งมีชีวิตที่น่ารัก(หรือหล่อเหลา) แน่นอนว่าอาจรวมไปถึงคนที่มีความสามารถเฉพาะด้าน คนชั้นนำทางสังคม คนรวย และการกระจุกตัวของความรุ่มรวยของคุณสมบัติที่น่าปรารถนาอันเป็นผลมาจากลูกหลานของความเหลื่อมล้ำอันเด่นชัด (ประเด็นนี้จะพูดถึงต่อในส่วนท้ายสุด)
1.5 คุณมีแนวโน้มที่จะได้รับการถ่ายทอดระบบวิธีคิดที่เป็นเอกลักษณ์อันเกิดจากการประกอบสร้างของสภาพแวดล้อมของสถาบันนั้นๆ ที่พิสูจน์ความอยู่รอดของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา เพราะ public reputation ถือเป็นส่วนที่สำคัญของการสร้างการรับรู้ว่าสถาบันใดเป็นชั้นนำหรือชั้นรอง
เวลาที่มีใครซักคนกล่าวว่า คนที่จบมาจากสถาบันนี้ ดีไม่ดีอย่างโน่นอย่างนี้ มันไม่ได้พิสูจน์อะไรมากไปกว่า "ความเหมาะสมระหว่างบุคคลต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานนั้นๆ" เหมือนเวลาที่มีคนมักอ้างว่า เอาปลาไปแข่งปีนต้นไม้มันจะสู้ลิงได้อย่างไร เอาลิงมาแข่งว่ายน้ำก็เช่นกันครับ
2.หลังจากที่จบการศึกษา
เนื่องจาก จขกท ยังเรียนอยู่ ข้อนี้จึงได้มาจากรุ่นพี่ที่รู้จักกันเป็นการส่วนตัว หรือมาแนะแนว อบรม รวมไปถึงบางส่วนก็ยังมาจากเอกสารการสอนของอาจารย์ในวิชาที่เกี่ยวข้องกับงาน HR มีข้อแนะนำหรือสงสัยตรงไหนก็ทักท้วงได้เลยครับ
2.1 โอกาสในการเข้าทำงานสูงกว่าโดยทั่วไป ทั้งที่เป็นผลมาจากการมีศิษย์เก่าทำงานในสถานที่นั้นๆ หรือ ประสบการณ์การรับเข้าบอกว่า สถาบันที่นี้สามารถตอบโจทย์เรา(ที่ทำงาน)ได้มากกว่า
หลายกระทู้ที่ผมพบในพันทิปมักจะมองข้ามประเด็นเหล่านี้ไป แล้วมองที่ social awareness เป็นหลัก จริงๆ Social Awareness นั้นเป็นผลมาจากประสบการณ์ของสังคมที่มีต่อบัณฑิตมหาวิทยาลัยนั้นๆอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นมันจึงเป็นมูลฐานของที่มาของชื่อเสียงมหาวิทยาลัยต่อปรากฏต่อสังคม ไม่ใช่ว่า HR รับเข้าเพราะมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง แต่เพราะ เคยมีประสบการณ์ดีๆกับเด็กมหาลัยนี้ แล้วมีหลายๆที่เห็นตรงกัน กลายเป็นชื่อเสียงมหาลัยอีกที
นอกจากนี้ยังมีเรื่องความน่าเชื่อถือ ถ้าใครทำ HR Recruitment ในบรรษัทระหว่างประเทศจะทราบข้อนี้ดีว่า บัณฑิตจากมหาวิทยาลัย Tier 1 นั้นมีทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในสำนักงานมากกว่าอย่างสัมผัสได้ (หรือถ้าจะพูดอย่างวิชาการก็คือ มีผลทดสอบ Cognitive ability ที่สูงสัมพันธ์กับ KSAO: Knowledge, Skill, Ability and other working characters ในการทำงาน)
2.2 เงินเดือนที่สูงกว่า หากใช้ ROI: Return on investment เป็นเกณณ์ในการจ่ายเงินเดือน ที่ทำงานย่อมคาดหวังว่า คนที่มีประสบการณ์ในการเรียนภายใต้แรงกดดันตามข้อ 1.3 และมีโอกาสได้เครื่องมือ(หมายรวมทั้งอุปกรณ์ที่เป็นอุปกรณ์จริงๆ และอุปกรณ์ที่ใช้กับสิ่งที่เป็นนามธรรม) ที่ทันสมัยกว่า ย่อมมีแนวโน้มที่จะสร้างผลตอบแทนได้มากว่า มันเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงจ้างบัณฑิตบางสถาบันสูงในอัตราที่สูงกว่าบางสถาบัน และหากทำไม่ได้ตามที่คาดหวัง สถาบันดังก็มีโอกาสที่จะถูกไล่ออกได้ง่ายกว่าเช่นกัน
2.3 ความก้าวหน้าเร็วกว่า อันเป็นผลมาจากข้อ 2.1 + 2.2 ถ้าทำงานในที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะแก่การเติบโต บัณฑิตที่จบมาจากสถาบันชั้นนำ จะมีแนวโน้มก้าวหน้าในการทำงานเร็วกว่าแม้จะมีอายุงานน้อยกว่า
2.4 การเรียนต่อ จากข้อ 1.1 การมี Human capital ที่ดี คือมีอาจารย์ หรืออาจารย์ที่ปรึกษาที่มีชื่อเสียงทำให้เราได้ SOAP: Statement of academic purpose หรือ Recommend letter จากผู้ที่มีชื่อเสียงมากกว่า แน่นอนว่า นอกจากความสามารถส่วนตัวแล้ว การแนะนำยังมีผลต่อการรับเข้าศึกษาในสถาบันที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ
3.ข้อสังเกต (บ่นล้วนๆ)
3.1 ความต้องการแรงงาน
ประเทศเราอาศัยแรงงานไร้ฝีมือเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมหลักของประเทศ อุตสาหกรรมเหล่านี้เน้นการผลิตราคาถูก จึงไม่ต้องการใช้แรงงานที่มีราคาแพง มันจึงไม่แปลกที่จะมีข่าวว่า ตลาดแรงงานของเราต้องการ ม.6-ปวส.มาก มันแสดงถึงว่าระบบการผลิตของเรานั้นยังไม่ได้เข้าสู่การผลิตฐานความรู้ กล่าวคือ ภาคบริการที่ใช้ความรู้ในการสร้างผลกำไร เช่น บริการทางการเงิน บริการทางการแพทย์ แม้ว่าจะมีโครงการและ Roadmap ของรัฐบาลจำนวนมากที่ตั้งใจว่าจะทำ แต่ในทางปฏิบัติก็พบว่ามีความหนืดอยู่มาก
3.2 คุณภาพในการผลิตบัณฑิตที่ขาดมาตรฐานอันเป็นผลมาจากค่านิยมการมีวุฒิการศึกษาสูง แต่การวัดผลให้ได้มาซึ่งวุฒิการศึกษานั้นไม่สะท้อนถึงความสามารถของผู้จบการศึกษาเท่าที่ควร
3.3 ความเหลื่อมล้ำ
จากที่กล่าวเกริ่นๆไว้ในข้อ 1.5 มหาวิทยาลัยชั้นนำนั้น แม้หากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐของอาจมีค่าเทอมไม่สูงมากนัก แต่เนื่องจากมันตั้งอยู่ในเมืองใหย่ ไม่ว่าจะเป็ในหรือนอกกรุงเทพ ทำให้ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่น ค่าครองชีพ สูงกว่าค่าเล่าเรียนเป็นอย่างมาก นี่ยังไม่รวมถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต้องการสอบเข้าเรียนต่อ (เช่น การเรียนพิเศษ ) ที่มีผลทำให้เกิดความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของนักเรียนที่มีฐานะทางเศรษฐสังคมต่างกัน ดังที่เห็นในข่าวว่า ผลสอบโอเน็ตของนักเรียนกลุ่มที่ยากจนต่ำกว่ากลุ่มที่ครอบครัวมีรายได้สูงอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิตและ
ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้คนมีความสามารถและได้ควรได้รับการส่งเสริมทางวิชาการนั้นไม่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพดีเท่าที่ควร กล่าวอย่างง่ายคือ ทำให้คนที่ควรได้เข้ามหาลัยดีๆ ไม่ได้เข้าน่ะครับ
เรียนที่ไหนใครว่าเหมือนกัน แชร์เหตุผลที่เราควรเลือกเรียนมหาวิทยาลัยชั้นนำ
กระทู้นี้จะแบ่งเหตุผลดีๆที่เราควรเรียนมหาวิทยาลัยชั้นนำออกเป็น 2 ส่วนคือประเด็นดีๆที่เราได้ตอนเรียน กับได้ตอนเราเรียนไปจบแล้วอย่างหลังนั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากอย่างแรก และปิดท้ายด้วยข้อจำกัดบางประการเกี่ยวกับข้อเสนอของผมครับ
1.ขณะเรียน
1.1 ได้เข้าถึงปัจจัยสนับสนุนการศึกษาดีๆ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางกายภาพ เช่น อาคาร อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะสายวิทยาศาสตร์ ที่ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่ครบครัน และ(ควรจะ)ทันสมัย
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ เช่น การมีห้องสมุดที่ดีกว่า หนังสือเยอะกว่า มีหนังสือหายาก พร้อมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โครงสร้างพื้นฐานทาง digital media การเข้าใช้ ฐานข้อมูลที่มหาลัยเองซื้อไว้เอง หรือของมหาลัยในเครือข่ายที่มหาวิทยาลัยชั้นนำมักมีเครือข่ายกว้างขวางมากกว่าทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้เข้าถึง ทุนมนุษย์ดีๆ อย่างอาจารย์ นักวิจัย รุ่นพี่ที่มีความสามารถ ทั้งที่ลงเรียนด้วย เรียนด้วยกัน และที่เป็น Advisor
1.2 ได้เจอสังคมกระตุ้นให้เราได้ถีบตัวเอง คือถ้าคุณเป็นตัวลำดับต้นๆของที่ที่คุณจบมา คุณจำเป็นต้องได้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตของคุณด้วย ในที่ที่มีการแข่งขันกันสูง ผู้คนมีความพร้อม มันวัดศักยภาพของคุณได้ดีกว่า น่าจะเป็นเช่นนั้น และด้วยเหตุนี้มันทำคุณต้องเผชิญกับระบบการวัดผลที่มีความเข้มงวด ทั้งความเข้มงวดเชิงเกณฑ์ และแรงกดดันอันมาจากแนวโน้มผลสัมฤทธิ์กลุ่ม
1.3 หากคุณเป็นคนแปลกๆ คือมีบุคลิกเฉพาะตัว การเรียนในสถานบันตามข้อ1.2 มีโอกาสที่คุณจะได้เจอคนพวกเดียวกัน พูดภาษาเดียวกันเข้าใจ และลดความรู้สึกแปลกแยกของคุณลงได้บ้าง จากจุดนี้ทำให้คุณสามารถรวมกลุ่มกัน สถาบันชั้นนำยังเอื้อต่อการทำกิจกรรมที่มีความแปลกใหม่ และมี impact ต่อสังคมได้มากกว่าด้วย (ส่วนนี้คือเปิดงบกิจกรรมนักศึกษามาวัดสหสัมพันธ์กับการรับรู้ของสังคมได้เลย) นอกจากนี้เวลาคุณทำกิจกรรมที่ต้องเชิญแขกรับเชิญ การที่คุรเรียนมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทำให้คุณมีอาสที่จะเชิญแขกรับเชิญที่มีชื่อเสียงมาได้มากขึ้น ไม่ว่าจะผ่านสถานะความเป็นศิษย์เก่า หรือเพราะสามารถแบ่งปันประโยชน์ร่วมกันได้ในแง่ของการ PR
1.4 คุณมีแนวโน้มที่จะได้เจอคนที่พิเศษๆ สถาบันชั้นนำมักเป็นที่รวมของสิ่งมีชีวิตที่น่ารัก(หรือหล่อเหลา) แน่นอนว่าอาจรวมไปถึงคนที่มีความสามารถเฉพาะด้าน คนชั้นนำทางสังคม คนรวย และการกระจุกตัวของความรุ่มรวยของคุณสมบัติที่น่าปรารถนาอันเป็นผลมาจากลูกหลานของความเหลื่อมล้ำอันเด่นชัด (ประเด็นนี้จะพูดถึงต่อในส่วนท้ายสุด)
1.5 คุณมีแนวโน้มที่จะได้รับการถ่ายทอดระบบวิธีคิดที่เป็นเอกลักษณ์อันเกิดจากการประกอบสร้างของสภาพแวดล้อมของสถาบันนั้นๆ ที่พิสูจน์ความอยู่รอดของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา เพราะ public reputation ถือเป็นส่วนที่สำคัญของการสร้างการรับรู้ว่าสถาบันใดเป็นชั้นนำหรือชั้นรอง
2.หลังจากที่จบการศึกษา
เนื่องจาก จขกท ยังเรียนอยู่ ข้อนี้จึงได้มาจากรุ่นพี่ที่รู้จักกันเป็นการส่วนตัว หรือมาแนะแนว อบรม รวมไปถึงบางส่วนก็ยังมาจากเอกสารการสอนของอาจารย์ในวิชาที่เกี่ยวข้องกับงาน HR มีข้อแนะนำหรือสงสัยตรงไหนก็ทักท้วงได้เลยครับ
2.1 โอกาสในการเข้าทำงานสูงกว่าโดยทั่วไป ทั้งที่เป็นผลมาจากการมีศิษย์เก่าทำงานในสถานที่นั้นๆ หรือ ประสบการณ์การรับเข้าบอกว่า สถาบันที่นี้สามารถตอบโจทย์เรา(ที่ทำงาน)ได้มากกว่า
หลายกระทู้ที่ผมพบในพันทิปมักจะมองข้ามประเด็นเหล่านี้ไป แล้วมองที่ social awareness เป็นหลัก จริงๆ Social Awareness นั้นเป็นผลมาจากประสบการณ์ของสังคมที่มีต่อบัณฑิตมหาวิทยาลัยนั้นๆอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นมันจึงเป็นมูลฐานของที่มาของชื่อเสียงมหาวิทยาลัยต่อปรากฏต่อสังคม ไม่ใช่ว่า HR รับเข้าเพราะมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง แต่เพราะ เคยมีประสบการณ์ดีๆกับเด็กมหาลัยนี้ แล้วมีหลายๆที่เห็นตรงกัน กลายเป็นชื่อเสียงมหาลัยอีกที
นอกจากนี้ยังมีเรื่องความน่าเชื่อถือ ถ้าใครทำ HR Recruitment ในบรรษัทระหว่างประเทศจะทราบข้อนี้ดีว่า บัณฑิตจากมหาวิทยาลัย Tier 1 นั้นมีทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในสำนักงานมากกว่าอย่างสัมผัสได้ (หรือถ้าจะพูดอย่างวิชาการก็คือ มีผลทดสอบ Cognitive ability ที่สูงสัมพันธ์กับ KSAO: Knowledge, Skill, Ability and other working characters ในการทำงาน)
2.2 เงินเดือนที่สูงกว่า หากใช้ ROI: Return on investment เป็นเกณณ์ในการจ่ายเงินเดือน ที่ทำงานย่อมคาดหวังว่า คนที่มีประสบการณ์ในการเรียนภายใต้แรงกดดันตามข้อ 1.3 และมีโอกาสได้เครื่องมือ(หมายรวมทั้งอุปกรณ์ที่เป็นอุปกรณ์จริงๆ และอุปกรณ์ที่ใช้กับสิ่งที่เป็นนามธรรม) ที่ทันสมัยกว่า ย่อมมีแนวโน้มที่จะสร้างผลตอบแทนได้มากว่า มันเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงจ้างบัณฑิตบางสถาบันสูงในอัตราที่สูงกว่าบางสถาบัน และหากทำไม่ได้ตามที่คาดหวัง สถาบันดังก็มีโอกาสที่จะถูกไล่ออกได้ง่ายกว่าเช่นกัน
2.3 ความก้าวหน้าเร็วกว่า อันเป็นผลมาจากข้อ 2.1 + 2.2 ถ้าทำงานในที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะแก่การเติบโต บัณฑิตที่จบมาจากสถาบันชั้นนำ จะมีแนวโน้มก้าวหน้าในการทำงานเร็วกว่าแม้จะมีอายุงานน้อยกว่า
2.4 การเรียนต่อ จากข้อ 1.1 การมี Human capital ที่ดี คือมีอาจารย์ หรืออาจารย์ที่ปรึกษาที่มีชื่อเสียงทำให้เราได้ SOAP: Statement of academic purpose หรือ Recommend letter จากผู้ที่มีชื่อเสียงมากกว่า แน่นอนว่า นอกจากความสามารถส่วนตัวแล้ว การแนะนำยังมีผลต่อการรับเข้าศึกษาในสถาบันที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ
3.ข้อสังเกต (บ่นล้วนๆ)
3.1 ความต้องการแรงงาน
ประเทศเราอาศัยแรงงานไร้ฝีมือเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมหลักของประเทศ อุตสาหกรรมเหล่านี้เน้นการผลิตราคาถูก จึงไม่ต้องการใช้แรงงานที่มีราคาแพง มันจึงไม่แปลกที่จะมีข่าวว่า ตลาดแรงงานของเราต้องการ ม.6-ปวส.มาก มันแสดงถึงว่าระบบการผลิตของเรานั้นยังไม่ได้เข้าสู่การผลิตฐานความรู้ กล่าวคือ ภาคบริการที่ใช้ความรู้ในการสร้างผลกำไร เช่น บริการทางการเงิน บริการทางการแพทย์ แม้ว่าจะมีโครงการและ Roadmap ของรัฐบาลจำนวนมากที่ตั้งใจว่าจะทำ แต่ในทางปฏิบัติก็พบว่ามีความหนืดอยู่มาก
3.2 คุณภาพในการผลิตบัณฑิตที่ขาดมาตรฐานอันเป็นผลมาจากค่านิยมการมีวุฒิการศึกษาสูง แต่การวัดผลให้ได้มาซึ่งวุฒิการศึกษานั้นไม่สะท้อนถึงความสามารถของผู้จบการศึกษาเท่าที่ควร
3.3 ความเหลื่อมล้ำ
จากที่กล่าวเกริ่นๆไว้ในข้อ 1.5 มหาวิทยาลัยชั้นนำนั้น แม้หากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐของอาจมีค่าเทอมไม่สูงมากนัก แต่เนื่องจากมันตั้งอยู่ในเมืองใหย่ ไม่ว่าจะเป็ในหรือนอกกรุงเทพ ทำให้ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่น ค่าครองชีพ สูงกว่าค่าเล่าเรียนเป็นอย่างมาก นี่ยังไม่รวมถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต้องการสอบเข้าเรียนต่อ (เช่น การเรียนพิเศษ ) ที่มีผลทำให้เกิดความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของนักเรียนที่มีฐานะทางเศรษฐสังคมต่างกัน ดังที่เห็นในข่าวว่า ผลสอบโอเน็ตของนักเรียนกลุ่มที่ยากจนต่ำกว่ากลุ่มที่ครอบครัวมีรายได้สูงอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิตและ
ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้คนมีความสามารถและได้ควรได้รับการส่งเสริมทางวิชาการนั้นไม่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพดีเท่าที่ควร กล่าวอย่างง่ายคือ ทำให้คนที่ควรได้เข้ามหาลัยดีๆ ไม่ได้เข้าน่ะครับ