กระทู้นี้ เป็นมุมพักผ่อน มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม....แต่มีเสียง.........
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกัน
แล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
เธออย่าหยุดความฝัน
ห้องเพลง 2 ปี (เนื้อร้อง ทำนอง ดนตรี ขับร้อง โดย MC มาริโอ้)
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป
ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพส
สิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลง
จึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
สุขสันต์เย็นศุกร์นะคะ .... สวัสดีเพื่อนๆ ห้องเพลง
พี่สาวเหลือน้อยรับหน้าที่ MC ค่ะ
31 มีนาคม 2505 หลวงวิจิตรวาทการ นักการทูต นักประวัติศาสตร์ คนสำคัญของไทย ถึงแก่อนิจกรรม
ท่านเป็นเจ้าของเพลง ต้นตระกูลไทย เพลงที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ
หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิจิตร วิจิตรวาทการ
พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ, ชื่อเดิม กิมเหลียง วัฒนปฤดา จีน: 金良 แต่มิได้มีเชื้อจีนแต่ประการใด[1])
เป็นนักคิด นักพูด นักเขียนคนสำคัญของไทย บุตรนายอิน และนางคล้าย เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2441 ที่จังหวัดอุทัยธานี
บิดามารดามีอาชีพค้าขาย อายุ 8 ขวบเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดขวิด ตำบลสะแกกรัง เมื่อจบประถมศึกษา บิดาได้นำไปฝากให้
บวชสามเณรอยู่กับพระมหาชุ้ย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
ขณะเป็นสามเณร
เมื่อท่านอายุ 13 ปี ในปี พ.ศ. 2453 ท่านได้ศึกษานักธรรมและบาลีจนจบนักธรรมเอกและเปรียญ 5 ประโยค โดยสอบได้
เปรียญ 5 ประโยคเมื่ออายุ 19 ปีใน พ.ศ. 2459 สอบได้เป็นที่ 1ในประเทศได้รับประกาศนียบัตรหมายเลข 1 จากพระหัตถ์ของ
รัชกาลที่ 6 และได้รับความไว้วางใจจากพระศรีวิสุทธิวงศ์ (เฮง เขมจารี) ให้เป็นครูสอนภาษาบาลีอีกด้วย
ท่านเป็นคนใฝ่รู้อย่างยิ่ง นอกจากเรียนนักธรรมและบาลีแล้วยังแอบเรียนภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส ที่ต้องแอบเรียน
เพราะเขาไม่ให้เรียนวิชาอื่น แต่ด้วยความอยากรู้ท่านจึงแอบเรียนจนมีความรู้ในภาษาทั้ง 2 ดี ได้แปลพงศาวดาร
เยอรมันเป็นไทยโดยใช้นามปากกาว่า "แสงธรรม"
เมื่ออายุ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นภิกษุ อยู่ในภิกขุภาวะได้เพียงเดือนเดียวก็ลาสิกขาออกมารับราชการที่กองการกงสุล
กระทรวงการต่างประเทศ ทำงานอยู่เป็นเวลา 2 ปี 3 เดือน ท่านก็ได้มีโอกาสไปรับตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการ ประจำ
สถานอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รับราชการที่สถานทูตแห่งนั้นได้ 6 ปีเต็ม แล้วได้ย้ายไปประจำการ
ในสถานอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
ในชีวิตราชการ ท่านได้ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่ง เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตไทย
ในหลายประเทศ อธิบดีกรมศิลปากร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ที่น่าสังเกตคือ
ท่านได้เป็น "ปลัดบัญชาการ" สำนักนายกรัฐมนตรี (เทียบเท่าปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในปัจจุบันนี้) เป็นคนแรก และคนเดียว
ในประวัติศาสตร์ไทย ก่อนหน้าที่ท่านจะได้รับตำแหน่งนี้และหลังจากที่ท่านพ้นตำแหน่งไปแล้ว ไม่มีตำแหน่งปลัดบัญชาการ
ในสำนักนายกรัฐมนตรี มีแต่เพียงตำแหน่งที่เทียบเท่ากันในชื่ออื่น อีกทั้งยังเป็นการรับตำแหน่งในสมัยที่มี จอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ดำรงตำแหน่งนายกฯได้มาจากการที่กระทำการรัฐประหาร
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทั้งที่ท่านมีภาพลักษณ์ว่าเป็นผู้ที่สนิทสนมและรับใช้จอมพล ป. มาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง
สงครามโลกครั้งที่สอง
ได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์พร้อมคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 โดยใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลได้ว่า วิจิตร วิจิตรวาทการ เมื่อ พ.ศ. 2484
หลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบ ท่านถูกจับกุมและถูกไต่สวนในข้อหาอาชญากรรมสงครามอยู่ระยะหนึ่ง ร่วมกับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
แต่ภายหลัง ศาลไทยตัดสินว่ากฎหมาย (ในกรณีนี้คือ พระราชบัญญัติอาชญากรรมสงคราม ซึ่งยกร่างขึ้นหลังจากสงครามสงบแล้ว)
ย่อมไม่มีผลย้อนหลัง ท่านจึงได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ
ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2505
หลวงวิจิตรวาทการ เป็นผู้แต่งหนังสือ ประวัติศาสตร์สากล ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 เล่ม โดยใช้นามปากกาว่า "วิเทศกรณีย์" เป็นผู้ประพันธ์
คำร้องและทำนองเพลงปลุกใจ ตื่นเถิดชาวไทย และต้นตระกูลไทย เป็นต้น นอกจากนั้นท่านยังแต่งบทละครอิงประวัติศาสตร์ และ
เพลงประกอบละครเหล่านั้น ไว้หลายเรื่องและหลายเพลง ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการปลุกเร้าความรู้สึกชาตินิยมในสมัย
จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ กรมศิลปากรได้รวบรวมศิลปิน โขน ละคร และนักดนตรี เข้ามารวมกัน
ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ตั้งเป็นกองขึ้นในกรมศิลปากร ทั้งได้ตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ขึ้นฝึกฝนนักเรียนด้วย เพื่อรักษาศิลปของ
ชาติไว้มิให้เสื่อมสูญ ในระยะนี้หลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา) ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ท่านเป็นทั้งนักการทูต
และนักประวัติศาสตร์ ท่านจึงมองเห็นคุณค่าทางการละครที่จะใช้เป็นสื่อปลุกใจให้ประชาชนเกิดความรักชาติ เนื้อหาจะนำมาจาก
ประวัติศาสตร์ตอนใดตอนหนึ่ง บทละครของท่านจะมีทั้งรัก รบ สะเทือนอารมณ์ ความรักที่มีต่อคู่รัก ถึงแม้จะมากมายเพียงไร
ก็ไม่เท่ากับความรักชาติ ตัวเอกของเรื่องสละชีวิต พลีชีพเพื่อชาติ ด้วยเหตุที่ละครของท่านไม่เหมือนการแสดงละครที่มีอยู่ก่อน
คนทั้งหลายจึงเรียกละครของท่านว่า "ละครหลวงวิจิตรวาทการ" ผู้แสดง มักใช้ผู้แสดงทั้งผู้ชาย และผู้หญิง แสดงตามบทบาทใน
เรื่องที่กำหนด
ละครอานุภาพพ่อขุนรามคำแหง
การแต่งกาย
จะมีลักษณะคล้ายละครพันทาง คือจะแต่งกายตามเนื้อเรื่อง และให้ถูกต้องตามประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ
เรื่องที่แสดง
มักเป็นบทประพันธ์ของท่านที่แต่งขึ้นมีอยู่หลายเรื่องด้วยกันดังนี้ ราชมนู พระเจ้ากรุงธน ศึกถลาง เจ้าหญิงแสนหวี พระมหาเทวี
เบญจเพส น่านเจ้า อนุสาวรีย์ไทย พ่อขุนผาเมือง ดาบแสนเมือง ชนะมาร เจ้าหญิงกรรณิการ์ สีหราชเดโช ตายดาบหน้า
ลานเลือดลานรัก เพชรรัตน์ - พัชรา ลูกพระคเณศ ครุฑดำ โชคชีวิต อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง อานุภาพแห่งความเสียสละ
อานุภาพแห่งความรัก อานุภาพแห่งศีลสัตย์ และเลือดสุพรรณ
อานุภาพแห่งความเสียสละ.วันศุกร์ที่ 21พฤศจิกายน 2557
การแสดง
มักมีการแสดงต่างๆแทรกอยู่เป็นระยะๆ เช่น การรำอาวุธ การประลองอาวุธ การฟ้อนรำ และระบำต่างๆประกอบเพลง ตลอดจนมี
การแสดง และร้องเพลงสลับฉาก นอกจากนี้การแสดงของท่านจะมีทั้งรำร้องเพลงไทยเดิม เพลงไทยสากล บางเรื่องผู้แสดงร้องเอง
นอกจากนี้ละครหลวงวิจิตรวาทการยังมีลักษณะแปลก คือจะชวนเชิญให้ผู้ชมร้องเพลงในละครเรื่องนั้น ซึ่งเนื้อเพลงมีคติสอนใจ ปลุกใจ
ให้รักชาติ จึงเป็นละครที่มีผู้นิยมมาก และจะได้รับแจกเนื้อเพลง สามารถนำมาร้องให้ลูกหลานฟังได้ ในสมัยต่อมาการแสดงฉากสุดท้าย
ตัวละครทุกตัวจะต้องออกแสดงหมด
ละครอิงประวัติศาสตร์เรื่อง เลือดสุพรรณ โดยวิทยาลัยนาฏศิปลพบุรี
ดนตรี
บรรเลงด้วยวงดนตรีไทย และวงดนตรีสากลประกอบกัน
เพลงร้อง
มีทั้งเพลงไทยเดิม และเพลงไทยสากล โดยมี ๓ ลักษณะ คือ เพลงไทยสากลที่ให้ตัวละครร้องโต้ตอบกัน มักเป็นเพลงรัก เพลงที่ให้
ตัวละครร้องประกอบการแสดง และเพลงปลุกใจ
[
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้url]https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB
%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E
0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3_
(%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3_
%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E
0%B8%97%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3)
http://www.thaidances.com/data/10.asp
ต้นตระกูลไทย
https://www.youtube.com/watch?v=su4mwLquBu8
ต้นตระกูลไทย เป็นการแสดงรีวิว ประกอบละคร "อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง" ผู้ร้อง คุณนภา หวังในธรรม
ระหว่างเธอร้อง ก็จะแนะนำชื่อ นักรบในเพลงแต่ละท่าน ซึ่งยืนปรากฎอยู่เบื้องหลัง .... ความหลัง เมื่อ 60 กว่าปี
ที่แล้ว โรงเรียนพาไปดู ที่หอประชุมเสือป่า ตรงข้ามวัดเบญจมบพิตร
นี่คือกลยุทธ ปลูกฝังชาตินิยม ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม .....ละครหลวงวิจิตรวาทการ โตทันได้ดูการแสดงสด แค่ 3 เรื่อง
คือ อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง อานุภาพแห่งความเสียสละ และ อานุภาพแห่งความรัก มาได้ดูเรื่อง "เจ้าหญิงแสนหวี"
ทางโทรทัศน์ในภายหลัง ส่วนที่นำมาแสดงซ้ำในภายหลัง ไม่ได้ติดตามไปดูค่ะ ...
จำได้วันไปนั่งดูละครในหอประชุม เหลียวกลับมามองด้านหลัง จอมพลป.พิบูลสงคราม ท่านนั่งเก้าอีดูอยู่ด้านหลัง
กลางทางเดิน ...
ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมเสียงเพลง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม....มีแต่เสียง....31/3/2017...หลวงวิจิตรวาทการ
กระทู้นี้ เป็นมุมพักผ่อน มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม....แต่มีเสียง.........
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกัน
แล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
เธออย่าหยุดความฝัน
ห้องเพลง 2 ปี (เนื้อร้อง ทำนอง ดนตรี ขับร้อง โดย MC มาริโอ้)
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป
ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพส
สิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลง
จึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
สุขสันต์เย็นศุกร์นะคะ .... สวัสดีเพื่อนๆ ห้องเพลง
พี่สาวเหลือน้อยรับหน้าที่ MC ค่ะ
31 มีนาคม 2505 หลวงวิจิตรวาทการ นักการทูต นักประวัติศาสตร์ คนสำคัญของไทย ถึงแก่อนิจกรรม
ท่านเป็นเจ้าของเพลง ต้นตระกูลไทย เพลงที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ
หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิจิตร วิจิตรวาทการ
พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ, ชื่อเดิม กิมเหลียง วัฒนปฤดา จีน: 金良 แต่มิได้มีเชื้อจีนแต่ประการใด[1])
เป็นนักคิด นักพูด นักเขียนคนสำคัญของไทย บุตรนายอิน และนางคล้าย เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2441 ที่จังหวัดอุทัยธานี
บิดามารดามีอาชีพค้าขาย อายุ 8 ขวบเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดขวิด ตำบลสะแกกรัง เมื่อจบประถมศึกษา บิดาได้นำไปฝากให้
บวชสามเณรอยู่กับพระมหาชุ้ย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
ขณะเป็นสามเณร
เมื่อท่านอายุ 13 ปี ในปี พ.ศ. 2453 ท่านได้ศึกษานักธรรมและบาลีจนจบนักธรรมเอกและเปรียญ 5 ประโยค โดยสอบได้
เปรียญ 5 ประโยคเมื่ออายุ 19 ปีใน พ.ศ. 2459 สอบได้เป็นที่ 1ในประเทศได้รับประกาศนียบัตรหมายเลข 1 จากพระหัตถ์ของ
รัชกาลที่ 6 และได้รับความไว้วางใจจากพระศรีวิสุทธิวงศ์ (เฮง เขมจารี) ให้เป็นครูสอนภาษาบาลีอีกด้วย
ท่านเป็นคนใฝ่รู้อย่างยิ่ง นอกจากเรียนนักธรรมและบาลีแล้วยังแอบเรียนภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส ที่ต้องแอบเรียน
เพราะเขาไม่ให้เรียนวิชาอื่น แต่ด้วยความอยากรู้ท่านจึงแอบเรียนจนมีความรู้ในภาษาทั้ง 2 ดี ได้แปลพงศาวดาร
เยอรมันเป็นไทยโดยใช้นามปากกาว่า "แสงธรรม"
เมื่ออายุ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นภิกษุ อยู่ในภิกขุภาวะได้เพียงเดือนเดียวก็ลาสิกขาออกมารับราชการที่กองการกงสุล
กระทรวงการต่างประเทศ ทำงานอยู่เป็นเวลา 2 ปี 3 เดือน ท่านก็ได้มีโอกาสไปรับตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการ ประจำ
สถานอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รับราชการที่สถานทูตแห่งนั้นได้ 6 ปีเต็ม แล้วได้ย้ายไปประจำการ
ในสถานอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
ในชีวิตราชการ ท่านได้ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่ง เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตไทย
ในหลายประเทศ อธิบดีกรมศิลปากร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ที่น่าสังเกตคือ
ท่านได้เป็น "ปลัดบัญชาการ" สำนักนายกรัฐมนตรี (เทียบเท่าปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในปัจจุบันนี้) เป็นคนแรก และคนเดียว
ในประวัติศาสตร์ไทย ก่อนหน้าที่ท่านจะได้รับตำแหน่งนี้และหลังจากที่ท่านพ้นตำแหน่งไปแล้ว ไม่มีตำแหน่งปลัดบัญชาการ
ในสำนักนายกรัฐมนตรี มีแต่เพียงตำแหน่งที่เทียบเท่ากันในชื่ออื่น อีกทั้งยังเป็นการรับตำแหน่งในสมัยที่มี จอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ดำรงตำแหน่งนายกฯได้มาจากการที่กระทำการรัฐประหาร
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทั้งที่ท่านมีภาพลักษณ์ว่าเป็นผู้ที่สนิทสนมและรับใช้จอมพล ป. มาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง
สงครามโลกครั้งที่สอง
ได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์พร้อมคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 โดยใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลได้ว่า วิจิตร วิจิตรวาทการ เมื่อ พ.ศ. 2484
หลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบ ท่านถูกจับกุมและถูกไต่สวนในข้อหาอาชญากรรมสงครามอยู่ระยะหนึ่ง ร่วมกับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
แต่ภายหลัง ศาลไทยตัดสินว่ากฎหมาย (ในกรณีนี้คือ พระราชบัญญัติอาชญากรรมสงคราม ซึ่งยกร่างขึ้นหลังจากสงครามสงบแล้ว)
ย่อมไม่มีผลย้อนหลัง ท่านจึงได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ
ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2505
หลวงวิจิตรวาทการ เป็นผู้แต่งหนังสือ ประวัติศาสตร์สากล ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 เล่ม โดยใช้นามปากกาว่า "วิเทศกรณีย์" เป็นผู้ประพันธ์
คำร้องและทำนองเพลงปลุกใจ ตื่นเถิดชาวไทย และต้นตระกูลไทย เป็นต้น นอกจากนั้นท่านยังแต่งบทละครอิงประวัติศาสตร์ และ
เพลงประกอบละครเหล่านั้น ไว้หลายเรื่องและหลายเพลง ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการปลุกเร้าความรู้สึกชาตินิยมในสมัย
จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ กรมศิลปากรได้รวบรวมศิลปิน โขน ละคร และนักดนตรี เข้ามารวมกัน
ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ตั้งเป็นกองขึ้นในกรมศิลปากร ทั้งได้ตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ขึ้นฝึกฝนนักเรียนด้วย เพื่อรักษาศิลปของ
ชาติไว้มิให้เสื่อมสูญ ในระยะนี้หลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา) ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ท่านเป็นทั้งนักการทูต
และนักประวัติศาสตร์ ท่านจึงมองเห็นคุณค่าทางการละครที่จะใช้เป็นสื่อปลุกใจให้ประชาชนเกิดความรักชาติ เนื้อหาจะนำมาจาก
ประวัติศาสตร์ตอนใดตอนหนึ่ง บทละครของท่านจะมีทั้งรัก รบ สะเทือนอารมณ์ ความรักที่มีต่อคู่รัก ถึงแม้จะมากมายเพียงไร
ก็ไม่เท่ากับความรักชาติ ตัวเอกของเรื่องสละชีวิต พลีชีพเพื่อชาติ ด้วยเหตุที่ละครของท่านไม่เหมือนการแสดงละครที่มีอยู่ก่อน
คนทั้งหลายจึงเรียกละครของท่านว่า "ละครหลวงวิจิตรวาทการ" ผู้แสดง มักใช้ผู้แสดงทั้งผู้ชาย และผู้หญิง แสดงตามบทบาทใน
เรื่องที่กำหนด
ละครอานุภาพพ่อขุนรามคำแหง
การแต่งกาย
จะมีลักษณะคล้ายละครพันทาง คือจะแต่งกายตามเนื้อเรื่อง และให้ถูกต้องตามประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ
เรื่องที่แสดง
มักเป็นบทประพันธ์ของท่านที่แต่งขึ้นมีอยู่หลายเรื่องด้วยกันดังนี้ ราชมนู พระเจ้ากรุงธน ศึกถลาง เจ้าหญิงแสนหวี พระมหาเทวี
เบญจเพส น่านเจ้า อนุสาวรีย์ไทย พ่อขุนผาเมือง ดาบแสนเมือง ชนะมาร เจ้าหญิงกรรณิการ์ สีหราชเดโช ตายดาบหน้า
ลานเลือดลานรัก เพชรรัตน์ - พัชรา ลูกพระคเณศ ครุฑดำ โชคชีวิต อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง อานุภาพแห่งความเสียสละ
อานุภาพแห่งความรัก อานุภาพแห่งศีลสัตย์ และเลือดสุพรรณ
อานุภาพแห่งความเสียสละ.วันศุกร์ที่ 21พฤศจิกายน 2557
การแสดง
มักมีการแสดงต่างๆแทรกอยู่เป็นระยะๆ เช่น การรำอาวุธ การประลองอาวุธ การฟ้อนรำ และระบำต่างๆประกอบเพลง ตลอดจนมี
การแสดง และร้องเพลงสลับฉาก นอกจากนี้การแสดงของท่านจะมีทั้งรำร้องเพลงไทยเดิม เพลงไทยสากล บางเรื่องผู้แสดงร้องเอง
นอกจากนี้ละครหลวงวิจิตรวาทการยังมีลักษณะแปลก คือจะชวนเชิญให้ผู้ชมร้องเพลงในละครเรื่องนั้น ซึ่งเนื้อเพลงมีคติสอนใจ ปลุกใจ
ให้รักชาติ จึงเป็นละครที่มีผู้นิยมมาก และจะได้รับแจกเนื้อเพลง สามารถนำมาร้องให้ลูกหลานฟังได้ ในสมัยต่อมาการแสดงฉากสุดท้าย
ตัวละครทุกตัวจะต้องออกแสดงหมด
ละครอิงประวัติศาสตร์เรื่อง เลือดสุพรรณ โดยวิทยาลัยนาฏศิปลพบุรี
ดนตรี
บรรเลงด้วยวงดนตรีไทย และวงดนตรีสากลประกอบกัน
เพลงร้อง
มีทั้งเพลงไทยเดิม และเพลงไทยสากล โดยมี ๓ ลักษณะ คือ เพลงไทยสากลที่ให้ตัวละครร้องโต้ตอบกัน มักเป็นเพลงรัก เพลงที่ให้
ตัวละครร้องประกอบการแสดง และเพลงปลุกใจ
[[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ต้นตระกูลไทย
https://www.youtube.com/watch?v=su4mwLquBu8
ต้นตระกูลไทย เป็นการแสดงรีวิว ประกอบละคร "อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง" ผู้ร้อง คุณนภา หวังในธรรม
ระหว่างเธอร้อง ก็จะแนะนำชื่อ นักรบในเพลงแต่ละท่าน ซึ่งยืนปรากฎอยู่เบื้องหลัง .... ความหลัง เมื่อ 60 กว่าปี
ที่แล้ว โรงเรียนพาไปดู ที่หอประชุมเสือป่า ตรงข้ามวัดเบญจมบพิตร
นี่คือกลยุทธ ปลูกฝังชาตินิยม ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม .....ละครหลวงวิจิตรวาทการ โตทันได้ดูการแสดงสด แค่ 3 เรื่อง
คือ อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง อานุภาพแห่งความเสียสละ และ อานุภาพแห่งความรัก มาได้ดูเรื่อง "เจ้าหญิงแสนหวี"
ทางโทรทัศน์ในภายหลัง ส่วนที่นำมาแสดงซ้ำในภายหลัง ไม่ได้ติดตามไปดูค่ะ ...
จำได้วันไปนั่งดูละครในหอประชุม เหลียวกลับมามองด้านหลัง จอมพลป.พิบูลสงคราม ท่านนั่งเก้าอีดูอยู่ด้านหลัง
กลางทางเดิน ...