โครงการบรรพชาสามเณร เป็นหนึ่งในหลายโครงการของวัดพระธรรมกายในการสร้างเยาวชนไทย ให้เติบโตขึ้นมาเป็นทั้งคนเก่งและดีของพ่อแม่
สถาบันครอบครัว นอกจากเป็นหน่วยย่อยที่สุดในสังคมที่คอยอบรม และเลี้ยงดูเด็กๆให้เป็นคนดีแล้ว
สถาบันโรงเรียน ก็เป็นอีกหนึ่งสถาบันในการอบรม และให้ความรู้แก่เด็กๆ เพื่อนำไปใช้ประกอบวิชาชีพต่อไปในภายภาคหน้า
"วัด" เป็นอีกหนึ่งสถาบันที่เคยมีบทบาทในการอบรมสั่งสอน และให้ความรู้แก่เยาวชน ควบคู่ไปกับการปลูกฝังคุณธรรม ศีลธรรม เพื่อให้เยาวชนตัวเล็กๆ ได้เติบโตขึ้นมาเป็นเด็กที่มีพร้อมทั้งความรู้ความสามารถ และศีลธรรม นำความรู้ไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม ซึ่งหากสังคมไหนมีเยาวชนที่
"เก่ง และดี" อย่างเพียงพอ ก็ย่อมสามารถสร้างความมั่นคงแก่ประเทศชาติได้ โดยผู้ที่ทำหน้าที่เป็น "ครู" ในการหล่อหลอมเยาวชนมาตั้งแต่ครั้งอดีต ก็คือ พระภิกษุสงฆ์
ดังนั้น สังคมไทยจึงมีความสัมพันธ์ในชุมชนแบบ
"บ้าน วัด โรงเรียน" ที่คอยเกื้อกูลกันอยู่ตลอดมา จนกระทั่งถึงยุคปัจจุบันที่ความสัมพันธ์ระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน ค่อยๆเลือนหายไปจนเหลือไว้แค่เพียง "บ้าน - โรงเรียน" โดยลืมไปว่าผู้ที่จะทำหน้าที่ ครู ในการสอนศีลธรรมได้ดีที่สุด ก็คือพระภิกษุสงฆ์ที่ปฏิบัติตนเองตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และดำรงตนอยู่ในพระธรรมวินัยได้อย่างเป็นปกติ
คำให้สัมภาษณ์ของพระอาจารย์หนึ่งในหัวหน้าศูนย์อบรมสามเณร จ.ชลบุรี
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการมีมากมายหลายประการ เริ่มจากตัวสามเณรจะได้เรียนรู้พระพุทธศาสนา และจะได้เข้าใจอย่างถูกต้องว่า พระพุทธศาสนามีประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมอย่างไร สมัยนี้คนไทยส่วนมากที่นับถือพระพุทธศาสนาไม่เข้าใจว่า การเป็นชาวพุทธที่แท้จริงต้องรู้จักทำทาน รักษาศีลและทำสมาธิเจริญภาวนา พอได้มาอบรมในโครงการ สามเณรจึงได้รู้จักวัด รู้จักพระ รู้จักพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง และเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนา
ที่ผ่าน ๆ มา สามเณรอาจจะเห็นว่า วัดเป็นที่จัดตลาดนัดบ้าง เป็นที่อบรม อบต. บ้าง เป็นที่ไปยืมโต๊ะเก้าอี้บ้าง ไม่รู้ว่าวัดเป็นสถานที่แนะนำสั่งสอน ฝึกฝนอบรมผู้คน พระในวัดมีหน้าที่แนะนำสั่งสอน ฝึกฝนอบรม สร้างคน พระไม่ได้แค่ออกบิณฑบาต แล้วรับกิจนิมนต์เท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่สั่งสอนญาติโยมที่ยังไม่เข้าใจพระพุทธศาสนาด้วย
พอสามเณรรู้จักพระพุทธศาสนา รู้จักวัด รู้จักพระแล้ว ก็จะรู้ว่า ศาสนามีคุณค่า และธรรมะไม่ได้น่าเบื่อ เพราะในโครงการเรานำธรรมะลงไปสู่การปฏิบัติ เช่น ให้สามเณรปฏิบัติความดีสากลผ่าน
๕ ห้องชีวิตเนรมิตนิสัย ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน
เริ่มจาก
ห้องนอนหรือห้องมหาสิริมงคล เราฝึกสามเณรให้มีความเคารพในพระรัตนตรัย ให้นั่งสมาธิก่อนนอน ให้ทบทวนบัญชีบุญ-บาป กลับบ้านไปก็ให้กราบพ่อแม่ก่อนนอน เป็นการปลูกฝังความกตัญญูกตเวที
ห้องน้ำหรือห้องมหาพิจารณา เราฝึกให้สามเณรรู้จักทำความสะอาดห้องน้ำจนคุ้นเคยเป็นนิสัยติดตัวไปถึงบ้าน เมื่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง เห็นความเปลี่ยนแปลงของเด็ก ก็จะเกิดความรักและศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น
ห้องอาหารหรือห้องมหาประมาณ ฝึกให้สามเณรรู้ประมาณในการขบฉันภัตตาหารที่ญาติโยมนำมาถวายด้วยความยากลำบาก เป็นการฝึกให้เป็นคนมีน้ำใจ รู้จักเห็นใจผู้อื่น และให้ระลึกอยู่เสมอว่า เราฉันภัตตาหารเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ จะได้นำเรี่ยวแรงไปทำความดี
ห้องแต่งตัวหรือห้องมหาสติ สอนวิธีรักษาความสะอาดและการนุ่งห่มสบงจีวรให้สุภาพเรียบร้อย
ห้องทำงานหรือห้องมหาสมบัติ สอนให้รู้จักทำความสะอาดห้องทำงาน จัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นต้น
นอกจากนี้ สามเณรยังได้ฝึกการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นคณะ
รู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักการเสียสละ มีจิตอาสา มีน้ำใจ เช่น ช่วยกันล้างจาน ช่วยกันทำความสะอาดที่พัก ช่วยกันห่มจีวร ซึ่งในการฝึกนั้น เราฝึกผ่านระบบหมู่ โดยสามเณรทุกรูปในแต่ละหมู่ มีตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบ และมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่กัน เพื่อให้แต่ละรูปได้เรียนรู้หน้าที่ของแต่ละตำแหน่งว่าทำอะไรบ้าง ซึ่งถือเป็นการฝึกความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีด้วย เพราะในอนาคตสามเณรเหล่านี้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ จะต้องไปอยู่ในสังคม จะต้องพบเจอการกระทบกระทั่งกับผู้คน หากเราฝึกให้เขารู้จักการอยู่ร่วมกับคนหมู่มาก เขาก็จะสามารถปรับตัวได้ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น และไม่ก่อปัญหาให้ผู้อื่น เหล่านี้คือส่วนหนึ่งที่สามเณรได้รับจากการอบรมที่ผ่านมา
สำหรับพ่อแม่และผู้ปกครองนั้น ส่วนมากเมื่อมาเห็นพิธีกรรมที่เราจัดขึ้นก็รู้สึกปลื้มใจมาก พวกเขาปลื้มพิธีกรรมเป็นอันดับแรกเลย เวลาเขามาเยี่ยมสามเณรที่ศูนย์ เขาก็มีศรัทธานำไทยธรรมมาถวาย เราก็ให้เขารับศีล ก่อนที่จะรับพรก็ให้เขานั่งหลับตาระลึกนึกถึงบุญที่ได้มาถวายภัตตาหาร และให้น้อมนำภัตตาหารไปอยู่ที่กลางท้องตามหลักวิชา รู้สึกว่าเขาปลื้ม อยากมาทำบุญอีก และเมื่อเขามาทำบุญ เขาจะได้ทำครบทั้ง ทาน ศีล ภาวนา ซึ่งคุณภาพของบุญจะมากกว่าแค่ทำทานอย่างเดียว แล้วเขาจะเห็นคุณค่าของศาสนามากขึ้น ที่สำคัญ เมื่อลูกเขากลับบ้านไป และเขาได้เห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นของลูก ๆ เขาจะอยากให้ลูกของเขามาบวชอีก และจะแนะนำให้คนอื่นส่งลูกมาบวชด้วย
บวชสามเณรแล้วได้อะไร ?
สถาบันครอบครัว นอกจากเป็นหน่วยย่อยที่สุดในสังคมที่คอยอบรม และเลี้ยงดูเด็กๆให้เป็นคนดีแล้ว สถาบันโรงเรียน ก็เป็นอีกหนึ่งสถาบันในการอบรม และให้ความรู้แก่เด็กๆ เพื่อนำไปใช้ประกอบวิชาชีพต่อไปในภายภาคหน้า
"วัด" เป็นอีกหนึ่งสถาบันที่เคยมีบทบาทในการอบรมสั่งสอน และให้ความรู้แก่เยาวชน ควบคู่ไปกับการปลูกฝังคุณธรรม ศีลธรรม เพื่อให้เยาวชนตัวเล็กๆ ได้เติบโตขึ้นมาเป็นเด็กที่มีพร้อมทั้งความรู้ความสามารถ และศีลธรรม นำความรู้ไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม ซึ่งหากสังคมไหนมีเยาวชนที่ "เก่ง และดี" อย่างเพียงพอ ก็ย่อมสามารถสร้างความมั่นคงแก่ประเทศชาติได้ โดยผู้ที่ทำหน้าที่เป็น "ครู" ในการหล่อหลอมเยาวชนมาตั้งแต่ครั้งอดีต ก็คือ พระภิกษุสงฆ์
ดังนั้น สังคมไทยจึงมีความสัมพันธ์ในชุมชนแบบ "บ้าน วัด โรงเรียน" ที่คอยเกื้อกูลกันอยู่ตลอดมา จนกระทั่งถึงยุคปัจจุบันที่ความสัมพันธ์ระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน ค่อยๆเลือนหายไปจนเหลือไว้แค่เพียง "บ้าน - โรงเรียน" โดยลืมไปว่าผู้ที่จะทำหน้าที่ ครู ในการสอนศีลธรรมได้ดีที่สุด ก็คือพระภิกษุสงฆ์ที่ปฏิบัติตนเองตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และดำรงตนอยู่ในพระธรรมวินัยได้อย่างเป็นปกติ
คำให้สัมภาษณ์ของพระอาจารย์หนึ่งในหัวหน้าศูนย์อบรมสามเณร จ.ชลบุรี
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการมีมากมายหลายประการ เริ่มจากตัวสามเณรจะได้เรียนรู้พระพุทธศาสนา และจะได้เข้าใจอย่างถูกต้องว่า พระพุทธศาสนามีประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมอย่างไร สมัยนี้คนไทยส่วนมากที่นับถือพระพุทธศาสนาไม่เข้าใจว่า การเป็นชาวพุทธที่แท้จริงต้องรู้จักทำทาน รักษาศีลและทำสมาธิเจริญภาวนา พอได้มาอบรมในโครงการ สามเณรจึงได้รู้จักวัด รู้จักพระ รู้จักพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง และเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนา
ที่ผ่าน ๆ มา สามเณรอาจจะเห็นว่า วัดเป็นที่จัดตลาดนัดบ้าง เป็นที่อบรม อบต. บ้าง เป็นที่ไปยืมโต๊ะเก้าอี้บ้าง ไม่รู้ว่าวัดเป็นสถานที่แนะนำสั่งสอน ฝึกฝนอบรมผู้คน พระในวัดมีหน้าที่แนะนำสั่งสอน ฝึกฝนอบรม สร้างคน พระไม่ได้แค่ออกบิณฑบาต แล้วรับกิจนิมนต์เท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่สั่งสอนญาติโยมที่ยังไม่เข้าใจพระพุทธศาสนาด้วย
พอสามเณรรู้จักพระพุทธศาสนา รู้จักวัด รู้จักพระแล้ว ก็จะรู้ว่า ศาสนามีคุณค่า และธรรมะไม่ได้น่าเบื่อ เพราะในโครงการเรานำธรรมะลงไปสู่การปฏิบัติ เช่น ให้สามเณรปฏิบัติความดีสากลผ่าน ๕ ห้องชีวิตเนรมิตนิสัย ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน
เริ่มจาก ห้องนอนหรือห้องมหาสิริมงคล เราฝึกสามเณรให้มีความเคารพในพระรัตนตรัย ให้นั่งสมาธิก่อนนอน ให้ทบทวนบัญชีบุญ-บาป กลับบ้านไปก็ให้กราบพ่อแม่ก่อนนอน เป็นการปลูกฝังความกตัญญูกตเวที
ห้องน้ำหรือห้องมหาพิจารณา เราฝึกให้สามเณรรู้จักทำความสะอาดห้องน้ำจนคุ้นเคยเป็นนิสัยติดตัวไปถึงบ้าน เมื่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง เห็นความเปลี่ยนแปลงของเด็ก ก็จะเกิดความรักและศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น
ห้องอาหารหรือห้องมหาประมาณ ฝึกให้สามเณรรู้ประมาณในการขบฉันภัตตาหารที่ญาติโยมนำมาถวายด้วยความยากลำบาก เป็นการฝึกให้เป็นคนมีน้ำใจ รู้จักเห็นใจผู้อื่น และให้ระลึกอยู่เสมอว่า เราฉันภัตตาหารเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ จะได้นำเรี่ยวแรงไปทำความดี
ห้องแต่งตัวหรือห้องมหาสติ สอนวิธีรักษาความสะอาดและการนุ่งห่มสบงจีวรให้สุภาพเรียบร้อย
ห้องทำงานหรือห้องมหาสมบัติ สอนให้รู้จักทำความสะอาดห้องทำงาน จัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นต้น
นอกจากนี้ สามเณรยังได้ฝึกการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นคณะ รู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักการเสียสละ มีจิตอาสา มีน้ำใจ เช่น ช่วยกันล้างจาน ช่วยกันทำความสะอาดที่พัก ช่วยกันห่มจีวร ซึ่งในการฝึกนั้น เราฝึกผ่านระบบหมู่ โดยสามเณรทุกรูปในแต่ละหมู่ มีตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบ และมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่กัน เพื่อให้แต่ละรูปได้เรียนรู้หน้าที่ของแต่ละตำแหน่งว่าทำอะไรบ้าง ซึ่งถือเป็นการฝึกความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีด้วย เพราะในอนาคตสามเณรเหล่านี้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ จะต้องไปอยู่ในสังคม จะต้องพบเจอการกระทบกระทั่งกับผู้คน หากเราฝึกให้เขารู้จักการอยู่ร่วมกับคนหมู่มาก เขาก็จะสามารถปรับตัวได้ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น และไม่ก่อปัญหาให้ผู้อื่น เหล่านี้คือส่วนหนึ่งที่สามเณรได้รับจากการอบรมที่ผ่านมา
สำหรับพ่อแม่และผู้ปกครองนั้น ส่วนมากเมื่อมาเห็นพิธีกรรมที่เราจัดขึ้นก็รู้สึกปลื้มใจมาก พวกเขาปลื้มพิธีกรรมเป็นอันดับแรกเลย เวลาเขามาเยี่ยมสามเณรที่ศูนย์ เขาก็มีศรัทธานำไทยธรรมมาถวาย เราก็ให้เขารับศีล ก่อนที่จะรับพรก็ให้เขานั่งหลับตาระลึกนึกถึงบุญที่ได้มาถวายภัตตาหาร และให้น้อมนำภัตตาหารไปอยู่ที่กลางท้องตามหลักวิชา รู้สึกว่าเขาปลื้ม อยากมาทำบุญอีก และเมื่อเขามาทำบุญ เขาจะได้ทำครบทั้ง ทาน ศีล ภาวนา ซึ่งคุณภาพของบุญจะมากกว่าแค่ทำทานอย่างเดียว แล้วเขาจะเห็นคุณค่าของศาสนามากขึ้น ที่สำคัญ เมื่อลูกเขากลับบ้านไป และเขาได้เห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นของลูก ๆ เขาจะอยากให้ลูกของเขามาบวชอีก และจะแนะนำให้คนอื่นส่งลูกมาบวชด้วย