สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
การแก้ปัญหาความร้อนของภายในห้องนั้น มีการส่งผ่านความร้อนมาได้หลายทาง ทั้งส่งผ่านมาทางหลังคา-เพดาน, ช่องเปิดต่างๆของอาคาร (ประตู-หน้าต่าง, บล๊อกแก้ว) และผนัง / กำแพง ดังนั้นทาง จขกท.ควรดูพิจารณาวิเคราะห์ว่าปัญหาความร้อนภายในห้องเรามาจากสาเหตุอะไรบ้าง แล้วจึงค่อยๆมาพิจารณาว่าเราจะป้องกันหรือแก้ไขปัญหานั้นๆได้มากน้อยแค่ไหน
การแก้ปัญหาของบ้าน หรือภายในห้องพักที่มีความร้อนอบอ้าวนั้น มีหลากหลายวิธี อาทิ
:- กรณีเป็นบ้านที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง แนะนำให้ติดตั้งฝ้าชายคาเป็นฝ้าชนิดที่มีช่อง / รูระบายอากาศได้ เพื่อระบายความร้อนที่สะสมอยู่ใต้หลังคา & ติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนประเภท Aliminium Foil ระหว่างแปกับกระเบื้องหลังคา >> ส่วนบ้านที่ก่อสร้างไปแล้ว ก็ควรติดตั้งฝ้าเพดานชั้นบนเป็นแผ่นยิบซั่มที่มีฉนวนประเภท PU หรือ EP Hi-Dense ในตัว อาทิ แผ่น Gyproc รุ่น ThermaTile หรือใช้แผ่นปูฉนวน Stay Cool ของ SCG เป็นต้น
หรือกรณีบ้านเก่า ก็สามารถเลือกทาสีหลังคาให้ใหม่สดใส แล้วยังมีประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีความร้อน ก็มีส่วนบรรเทาความร้อนได้ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
:- ตกแต่งบ้านภายนอก สร้างร่มเงาให้กับผนังบ้าน อาทิ ติดตั้งแผ่นไม้เทียม (Fiber Cement) อาทิ Shera, Smart Wood เป็นต้น พร้อมทั้งเสริมด้านในด้วยฉนวนอีกชั้น หรือเสริมผนังภายในอีกชั้น (โดยเฉพาะด้านทิศตะวันตก & ทิศใต้) ด้วยแผ่นยิบซั่มที่มีฉนวนในตัว PU หรือ EPS อาทิ แผ่นยิบซั่ม Gtproc รุ่น ThermaLine ที่มีฉนวน EP Hi-Dense ในตัว โดยใช้ปูนกาวติดตั้งกับผนังเดิม (ไม่ต้องขึ้นโครงเคร่า)
:- ให้ร่มเงากับผนังด้วยวิธีธรรมชาติ ด้วยการปลูกต้นไม้ให้ร่มเงากับผนัง แม้จะใช้เวลานานสำหรับการเจริญเติบโตของต้นไม้ แต่ก็จะได้ความสบายตา ร่มเย็นธรรมชาติร่วมด้วย โดยเฉพาะด้านทิศตะวันตก & ทิศใต้ > แนะนำดู 15 ชนิดต้นไม้ให้ร่มเงา ปลูกไว้ให้บ้านร่มรื่น >> http://home.kapook.com/view93150.html
:- นอกจากความร้อนที่ส่งผ่านมาทางผนังแล้ว ยังมีความร้อนที่ผ่านเข้ามาโดยตรงทางช่องเปิดของบ้าน (ประตู- หน้าต่าง) จึงควรทำส่วนบังแดดให้ร่มเงากับส่วนนี้ร่วมด้วย (รวมทั้งหากติดฟิล์มกรองแสงที่กระจก ก็จะช่วยได้อีกทางหนึ่ง)
:- การเลือกทาสีภายนอกที่นอกจากต้องทนแดด ทนฝน ไม่ซีดจางได้ง่าย (อย่างน้อยมาตรฐาน มอก.2321-2549 "สีอิมัลชั่น ทนสภาวะอากาศ") แล้ว ด้วยปัจจุบันมีสีบางยี่ห้อที่มีประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีความร้อนจากแสงอาทิตย์ ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 2514-2553 : สีอิมัลชั่น ลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ ที่กำหนดประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีได้ไม่น้อยกว่า 80% ร่วมอยู่ด้วย ซึ่งราคาก็แทบไม่ได้แตกต่างกันเลยกับสีในเกรดเดียวกัน ที่ไม่ได้การรับรอง มอก. ก็จะเป็นทางเลือกที่มาช่วยบรรเทาปัญหาความร้อนอบอ้าวได้อีกทางหนึ่ง (โดยมีทั้งชนิดทาผนังปูน & ทาหลังคาหรือดาดฟ้าให้เลือกใช้)
โดยมีทั้ง Jotun, TOA, Captain, Nippon Paint & Beger ที่ทำการตลาดผลิตภัณฑ์ในด้านนี้ โดยควรเลือกที่มีประสิทธิภาพที่สูงกว่า 95% (สีที่มีประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีความร้อนจากแสงอาทิตย์สูงที่สุดใกล้เคียงกัน ในตลาดสีทาอาคาร คือ 96.7% และ 96.2%) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หมายเหตุ : หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอีก ให้พิจารณาเลือกใช้สีรองพื้นปูนที่มีประสิทธิภาพในความเป็น "ฉนวน" ร่วมด้วย [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อนึ่งการที่จะให้ได้ผลในการป้องกันความร้อนที่ผนังจากแสงแดด ก็ควรใช้หลายๆวิธีร่วมกันเท่าที่พอจะกระทำได้ เพราะก็จะได้ร่วมช่วยกันการป้องกันทวีคูณไปด้วย แต่ละแบบก็แล้วแต่ความสะดวก / ความชอบ / ความคำนึงถึงรูปแบบความสวยงาม / งบประมาณที่จะใช้
การแก้ปัญหาของบ้าน หรือภายในห้องพักที่มีความร้อนอบอ้าวนั้น มีหลากหลายวิธี อาทิ
:- กรณีเป็นบ้านที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง แนะนำให้ติดตั้งฝ้าชายคาเป็นฝ้าชนิดที่มีช่อง / รูระบายอากาศได้ เพื่อระบายความร้อนที่สะสมอยู่ใต้หลังคา & ติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนประเภท Aliminium Foil ระหว่างแปกับกระเบื้องหลังคา >> ส่วนบ้านที่ก่อสร้างไปแล้ว ก็ควรติดตั้งฝ้าเพดานชั้นบนเป็นแผ่นยิบซั่มที่มีฉนวนประเภท PU หรือ EP Hi-Dense ในตัว อาทิ แผ่น Gyproc รุ่น ThermaTile หรือใช้แผ่นปูฉนวน Stay Cool ของ SCG เป็นต้น
หรือกรณีบ้านเก่า ก็สามารถเลือกทาสีหลังคาให้ใหม่สดใส แล้วยังมีประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีความร้อน ก็มีส่วนบรรเทาความร้อนได้ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
:- ตกแต่งบ้านภายนอก สร้างร่มเงาให้กับผนังบ้าน อาทิ ติดตั้งแผ่นไม้เทียม (Fiber Cement) อาทิ Shera, Smart Wood เป็นต้น พร้อมทั้งเสริมด้านในด้วยฉนวนอีกชั้น หรือเสริมผนังภายในอีกชั้น (โดยเฉพาะด้านทิศตะวันตก & ทิศใต้) ด้วยแผ่นยิบซั่มที่มีฉนวนในตัว PU หรือ EPS อาทิ แผ่นยิบซั่ม Gtproc รุ่น ThermaLine ที่มีฉนวน EP Hi-Dense ในตัว โดยใช้ปูนกาวติดตั้งกับผนังเดิม (ไม่ต้องขึ้นโครงเคร่า)
:- ให้ร่มเงากับผนังด้วยวิธีธรรมชาติ ด้วยการปลูกต้นไม้ให้ร่มเงากับผนัง แม้จะใช้เวลานานสำหรับการเจริญเติบโตของต้นไม้ แต่ก็จะได้ความสบายตา ร่มเย็นธรรมชาติร่วมด้วย โดยเฉพาะด้านทิศตะวันตก & ทิศใต้ > แนะนำดู 15 ชนิดต้นไม้ให้ร่มเงา ปลูกไว้ให้บ้านร่มรื่น >> http://home.kapook.com/view93150.html
:- นอกจากความร้อนที่ส่งผ่านมาทางผนังแล้ว ยังมีความร้อนที่ผ่านเข้ามาโดยตรงทางช่องเปิดของบ้าน (ประตู- หน้าต่าง) จึงควรทำส่วนบังแดดให้ร่มเงากับส่วนนี้ร่วมด้วย (รวมทั้งหากติดฟิล์มกรองแสงที่กระจก ก็จะช่วยได้อีกทางหนึ่ง)
:- การเลือกทาสีภายนอกที่นอกจากต้องทนแดด ทนฝน ไม่ซีดจางได้ง่าย (อย่างน้อยมาตรฐาน มอก.2321-2549 "สีอิมัลชั่น ทนสภาวะอากาศ") แล้ว ด้วยปัจจุบันมีสีบางยี่ห้อที่มีประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีความร้อนจากแสงอาทิตย์ ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 2514-2553 : สีอิมัลชั่น ลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ ที่กำหนดประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีได้ไม่น้อยกว่า 80% ร่วมอยู่ด้วย ซึ่งราคาก็แทบไม่ได้แตกต่างกันเลยกับสีในเกรดเดียวกัน ที่ไม่ได้การรับรอง มอก. ก็จะเป็นทางเลือกที่มาช่วยบรรเทาปัญหาความร้อนอบอ้าวได้อีกทางหนึ่ง (โดยมีทั้งชนิดทาผนังปูน & ทาหลังคาหรือดาดฟ้าให้เลือกใช้)
โดยมีทั้ง Jotun, TOA, Captain, Nippon Paint & Beger ที่ทำการตลาดผลิตภัณฑ์ในด้านนี้ โดยควรเลือกที่มีประสิทธิภาพที่สูงกว่า 95% (สีที่มีประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีความร้อนจากแสงอาทิตย์สูงที่สุดใกล้เคียงกัน ในตลาดสีทาอาคาร คือ 96.7% และ 96.2%) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หมายเหตุ : หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอีก ให้พิจารณาเลือกใช้สีรองพื้นปูนที่มีประสิทธิภาพในความเป็น "ฉนวน" ร่วมด้วย [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อนึ่งการที่จะให้ได้ผลในการป้องกันความร้อนที่ผนังจากแสงแดด ก็ควรใช้หลายๆวิธีร่วมกันเท่าที่พอจะกระทำได้ เพราะก็จะได้ร่วมช่วยกันการป้องกันทวีคูณไปด้วย แต่ละแบบก็แล้วแต่ความสะดวก / ความชอบ / ความคำนึงถึงรูปแบบความสวยงาม / งบประมาณที่จะใช้
แสดงความคิดเห็น
สีทาบ้าน "ภายนอก" กันความร้อน ได้จริงหรือเปล่าค่ะ
รายระเอียด
1. มันช่วยได้ในระดับหนึ่งไหมค่ะ (ดูทีวีเห็นโฆษณาแล้ว โอโห้แฮ่ะ มันเจ๋งอ่ะ)
2. ถ้าจะซื้อมาทาบ้าน ควรเลือกยี่ห้อไหนดี
3. ระยะเวลาของสี กับคุณสมบัติที่กันความร้อน ระยะเวลาเฉลี่ยๆ ประมาณเท่าไหร่ค่ะ