ชีวิตอับเฉา กับกระเป๋าตังอีเลคทรอนิค หนึ่งวันในเซี่ยงไฮ้
ตั้งชื่อมาราวกับโดเรมอนกับของวิเศษ ที่แท้วันนี้อับเฉาจะมาขอรีวิวหนึ่งวันในเซี่ยงไฮ้ที่ที่ไม่พกเงินสดแม้แต่หยวนเดียวเลยนะครับ โดยสถานที่ก็เป็นย่าน Xujiahui ใจกลางเซี่ยงไฮ้ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน Xujiahui สาย 1,9,11
รีวิวนี้เกิดจากเพื่อนร่วมงานคนเซี่ยงไฮ้ได้กล่าวไว้ว่า สมัยนี้มีแอพจ่ายเงินได้แบบนี้ คุณออกจากบ้านไม่ต้องพกเงินสดแล้ว จริงหรือไม่ เราไปดูกันครับ โดยอันจะกล่าวบทไปถึงแอพกระเป๋าตังอีเลคทรอนิคที่เป็นที่นิยมในจีนแผ่นดินใหญ่ 2 แอพใหญ่ๆคือ
1. WeChat wallet เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม messenger ชื่อ WeChat(微信) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่คนจีนใช้แชทกันเป็นอันดับหนึ่งคล้ายกับไลนของบ้านเรา ซึ่งฟังก์ชั่นที่สำคัญคือการเปลี่ยนแผงคียบอร์ดเป็นปุ่มกดค้างสำหรับอัดเสียงได้ไม่เกิดครั้งละหนึ่งนาที เหมาะสำหรับเวลาอธิบายอะไรยาวๆ หรือเวลาที่มือไม่ว่างครับ โปรแกรมดังกล่าวพัฒนาขึ้นจากบริษัท Tencent บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของจีน เจ้าของเดียวกับ คิวคิว แต่ไม่ได้ทำโทนาฟแต่อย่างใด
2. Alipay หรือตามชื่อจีนว่า จือฟู่เป่า 支付宝 โปรแกรมกระเป๋าตังอีเลคทรอนิคโดยเฉพาะ พัฒนาโดยบริษัยักษ์ใหญ่อาลีบาบา阿里巴巴เจ้าของถาวเป่า และเวปไซท์อาลีบาบา เฮียแจ๊คหม่าที่เราคุ้นหน้ากันดี
เมื่อพร้อมแล้วเราก็เริ่มออกเดินทางกัน
ร้านมินิโซะ miniso
ร้านเบ็ดเตล็ดขวัญใจคนไทยที่ขายตั้งแต่สักกะเบือยันเรือรบนะครับ โดยวันนี้ตั้งใจจะมาซื้อปากกาหลายสี ปากกาก็ถูกแสนถูกโดยราคาอยู่ที่ 10หยวน 3ด้าม! (ประมาณ 50บาท) ใช่แล้วครับเพื่อนๆไม่ได้อ่านผิด อับเฉาเองก็เข้าใจว่าเราอ่านผิดหรือเปล่ายังถามพนักงานอยู่เลยว่าแบบนี้ 3 ด้าม 10 หยวนจริงหรือ ก็นำลงไปชำระเงินที่เคาท์เตอร์ สำหรับร้านมินิโซะนี้ก็สามารถเลือกจ่ายได้ทั้ง WeChat wallet และ Alipay ครับ โดยการเปิด app ขึ้นมา เลือก pay แอพก็จะสร้างทั้งบาร์โค้ดปกติและ QR code ทางร้านก็จะใช้เครื่องแสกนบาร์โค้ดอันเดียวกันกับที่ใช้แสกนสินค้านั้นแหละแสกนไปที่มือถือเรา โดยโค้ดบนแอพของเราก็จะทำการ refresh ใหม่ทุกๆ 30 วินาทีเพื่อความปลอดภัยของเงินนะครับ
กดให้ app แสดงบาร์โค้ด ให้พนักงานแสกนครับ
ศูนย์อาหาร Food Republic
สถานีต่อไปมื้อเที่ยงนี้มาทานฟู้ดคอร์ทที่หลายๆคนน่าจะคุ้นเคยกันดีแต่ขอบอกไว้ก่อนนะครับว่า Food Republic ที่นี่ไม่เหมือนที่ฮ่องกงหรือสิงคโปร์ที่ขายอาหารนานาชาติ ร้านนึงเป็นอาหารประเทศนึงนะครับ ที่นี่จะเป็นการรวบรวมอาหารจีนในตำรับต่างๆมามากกว่า ซึ่งเมนูที่อับเฉาทานวันนี้คือ ข้าวผัดเนื้อ 牛肉炒饭 จากรูปจะเป็นว่าร้านมีการเตรียมข้าวห่อในใบไม้คล้ายใบตองไว้อยู่แล้วลักษณะต่อห่อไว้คล้ายกับบะจ่างเป็นห่อๆ เมื่อผัดเสร็จแล้วก็เสิร์ฟโดยวางไว้บนใบนี้บนจานอีกทีนึงครับ ซึ่งโดยปกติถ้าเราไม่จ่ายเงินด้วยแอพนี้เราต้องไปต่อแถวแลกบัตรเติมเงินศูนย์อาหารนะครับ แต่ถ้ามีแอพก็สะดวกรวดเร็วควักมือถือมาจ่ายเลย ศูนย์อาหารที่นี่ก็รับทั้ง WeChat wallet และ Alipay คราวนี้อับเฉาลองเปลี่ยนมาจ่ายด้วย WeChat wallet ดีกว่า ลักษณะเดียวกันเปิดแอพขึ้นมาแล้วเลือกเลือก pay แอพก็จะสร้างทั้งบาร์โค้ดปกติและ QR code ทางร้านก็จะใช้เครื่องแสกน
รายการชำระเรียบร้อย แอพก็จะขึ้นเป็นหลักฐาน
ร้านชานมฮ่องกง
วันนี้ยังต้องไปอีกหลายทีรวมทั้งคอแห้งด้วยเลยอยากทานชานมฮ่องกงให้ตื่นหน่อย สำหรับเพื่อนๆที่หวังจะให้ตาสว่างก็ขอแนะนำให้เลือกชาฮ่องกง มากกว่าชาไต้หวันนะครับ เนื่องจากรสชาติชาจะชัดเจนแล้วทำให้ลืมง่วงไปได้อย่างจัดเจน คราวนี้อับเฉาก็สั่งชามะนาวเย็น 冻柠茶 จ่ายด้วย WeChat เช่นเดียวกัน
เติมบัตรรถไฟฟ้า
บ่ายจะออกไปยิมซะหน่อย นึดขึ้นมาได้ว่าบัตรรถไฟฟ้าของอับเฉาเหลืออยู่แค่ 50 หยวนพอดีเลยตั้งใจจะรีวิวเขียนด้วยดีกว่า แต่เมื่อไปถึงสถานีพบว่าบัตรรถไฟฟ้าใต้ดินยังไม่สามารเติมเงินด้วยแอพได้นะครับ ได้เพียงแค่เงินสดและบัตรเครดิต Unionpay(银联) เท่านั้นเอง รวมทั้งจากการสังเกตตู้ขายของอัตโนมัติต่างๆในสถานีก็ไม่สามารถจ่ายด้วยแอพได้เช่นกัน
ตู้เย็นที่ยิมฟิตเนส
แม้แต่ตู้เย็นธรรมด๊าธรรมดาที่ยิมยังมีบาร์โค้ดของ WeChat wallet และ Alipay โดยก่อนหน้านี้ผู้ที่มาใช้บริการยิม ถ้ามาหยิบน้ำก็แค่หยอดเงินลงในตู้คล้ายๆกระปุกง่ายๆเอง แต่ตอนนี้ตู้เย็นธรรมดาๆนี้ติดบาร์โค้ดเรียบร้อยแล้ว สำหรับผู้(ที่ซื่อสัตย์)ก็สามารถแสกนบาร์โค้ดแล้วก็กดพิมพ์จำนวนเงินด้วยตัวเอง เช่น น้ำเปล่า 3 หยวน เครื่องดื่มเกลือแร่ 5 หยวนแล้วก็กดจ่ายด้วยตัวเอง วิธีนี้เราใช้แอพแสกนแล้วพิมพ์จำนวนเงินเอง แตกต่างจากการไปจ่ายเงินที่ร้านที่ผ่านๆมาที่พนักงานมาแสนบาร์โค้ดจากหน้าจอมือถือเราแล้วเราก็รอกดยืนยันเท่านั้นเองครับ
ซุปเปอร์มาร์เกตหัวเหลียน 华联超市
อับเฉามาซื้อน้ำเปล่า แชมพู แล้วก็ไอติม (ฮั่นแน่ ที่ออกกำลังกลายไปกลับมาหมดเลย) ขนาดซุปเปอร์มาร์เกตท้องถิ่นขนาดนี้ก็สามารถจ่ายด้วยแอดได้ด้วยเช่นกันครับ กดให้แอพแสดงโค้ดแล้วให้คุณป้าพนักงานแสกนแล้วก็เอาของไป ไอติมมาแทะได้เลย
ร้านหมาล่าทั่ง
คราวนี้ลองหมาล่าทั่งเมนูขวัญใจคนไทย เนื่องจากรสชาติที่จัดจ้านรวมทั้งเลือกได้เองว่าจะใส่เนื้อใส่ผักอย่างไร คราวนี้อับเฉาก็เลือกร้านเล็กๆดู แม้ร้านจะเล็กแบบนี้แต่หน้าประตูก็มีเขียนแล้วว่ารับ WeChat wallet และ Alipay ของร้านนี้ก็เราต้องเป็นคนแสกนและพิมพ์จำนวนตัวเลขที่จะโอนเองนะครับ
ร้านเล็กๆส่วนใหญ่เราจะเป็นคนแสกนเค้า แล้วพิมพ์ตัวเลขที่จะจ่ายเองครับ
หักเงินเรียบร้อย
สรุปความเสียหาย
สำหรับวีแชท ทุกครั้งที่มีการหักเงินก็จะได้รับข้อความ WeChat Wallet เหมือนเป็น contact ชื่อหนึ่ง สามารถติดตามได้ว่าหักเงินไปเท่าไหร่ให้กับร้านใด เวลาใดครับ ซึ่งถ้าอยากดูสรุปรายการมากๆก็สามารถเข้ามาดูในหน้า ข้อมูลส่วนตัว และเลือก Wallet อย่างในคำสั่ง utility นั่นก็สามารถเลือกชำร่ะค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก๊ส ได้ด้วยนะครับ โดยต้องเลือกเขตที่เราอาศัยอยู่และเลือกบริษัทรับให้ถูกต้อง
ส่วน Alipay ก็คล้ายคลึงกันครับ ปกติอับเฉาก็เติมเงินมือถือทางนี้ทุกเดือน ในรายการจ่ายเก่าๆจะเห็นว่ามีหักค่าจองโรงแรมและค่าตั๋วเครื่องบินผ่านเวปไซท์หรือแอพฯต่างๆ
เป็นไงบ้างครับสำหรับบันทึกหนึ่งวันที่ไม่ได้ควักเงินสดเลย ถ้าเพื่อนๆจะใช้ WeChat wallet และ Alipay ก็อย่าลืมลงทะเบียนและเติมเงินให้เรียบร้อยนะครับ รวมทั้งหลายๆครั้งจ่ายด้วยแอพก็มีโปรโมชั่นมากกว่าเช่นอับเฉาเคยซื้อลิปเมนทอรอทั่มจาก Watson’s ก็ลดครึ่งราคาเมื่อจ่ายด้วย Alipay
ถ้าเพื่อนๆสนใจเรื่องราวของอับเฉาสามารถติดตามได้ที่นี่ครับ
http://www.facebook.com/apchaolife
[CR] ริวิว แอพฯกระเป๋าตังอีเลคทรอนิค หนึ่งวันในเซี่ยงไฮ้ที่ไม่พกเงินสด
ตั้งชื่อมาราวกับโดเรมอนกับของวิเศษ ที่แท้วันนี้อับเฉาจะมาขอรีวิวหนึ่งวันในเซี่ยงไฮ้ที่ที่ไม่พกเงินสดแม้แต่หยวนเดียวเลยนะครับ โดยสถานที่ก็เป็นย่าน Xujiahui ใจกลางเซี่ยงไฮ้ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน Xujiahui สาย 1,9,11
รีวิวนี้เกิดจากเพื่อนร่วมงานคนเซี่ยงไฮ้ได้กล่าวไว้ว่า สมัยนี้มีแอพจ่ายเงินได้แบบนี้ คุณออกจากบ้านไม่ต้องพกเงินสดแล้ว จริงหรือไม่ เราไปดูกันครับ โดยอันจะกล่าวบทไปถึงแอพกระเป๋าตังอีเลคทรอนิคที่เป็นที่นิยมในจีนแผ่นดินใหญ่ 2 แอพใหญ่ๆคือ
1. WeChat wallet เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม messenger ชื่อ WeChat(微信) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่คนจีนใช้แชทกันเป็นอันดับหนึ่งคล้ายกับไลนของบ้านเรา ซึ่งฟังก์ชั่นที่สำคัญคือการเปลี่ยนแผงคียบอร์ดเป็นปุ่มกดค้างสำหรับอัดเสียงได้ไม่เกิดครั้งละหนึ่งนาที เหมาะสำหรับเวลาอธิบายอะไรยาวๆ หรือเวลาที่มือไม่ว่างครับ โปรแกรมดังกล่าวพัฒนาขึ้นจากบริษัท Tencent บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของจีน เจ้าของเดียวกับ คิวคิว แต่ไม่ได้ทำโทนาฟแต่อย่างใด
2. Alipay หรือตามชื่อจีนว่า จือฟู่เป่า 支付宝 โปรแกรมกระเป๋าตังอีเลคทรอนิคโดยเฉพาะ พัฒนาโดยบริษัยักษ์ใหญ่อาลีบาบา阿里巴巴เจ้าของถาวเป่า และเวปไซท์อาลีบาบา เฮียแจ๊คหม่าที่เราคุ้นหน้ากันดี
เมื่อพร้อมแล้วเราก็เริ่มออกเดินทางกัน
ร้านมินิโซะ miniso
ร้านเบ็ดเตล็ดขวัญใจคนไทยที่ขายตั้งแต่สักกะเบือยันเรือรบนะครับ โดยวันนี้ตั้งใจจะมาซื้อปากกาหลายสี ปากกาก็ถูกแสนถูกโดยราคาอยู่ที่ 10หยวน 3ด้าม! (ประมาณ 50บาท) ใช่แล้วครับเพื่อนๆไม่ได้อ่านผิด อับเฉาเองก็เข้าใจว่าเราอ่านผิดหรือเปล่ายังถามพนักงานอยู่เลยว่าแบบนี้ 3 ด้าม 10 หยวนจริงหรือ ก็นำลงไปชำระเงินที่เคาท์เตอร์ สำหรับร้านมินิโซะนี้ก็สามารถเลือกจ่ายได้ทั้ง WeChat wallet และ Alipay ครับ โดยการเปิด app ขึ้นมา เลือก pay แอพก็จะสร้างทั้งบาร์โค้ดปกติและ QR code ทางร้านก็จะใช้เครื่องแสกนบาร์โค้ดอันเดียวกันกับที่ใช้แสกนสินค้านั้นแหละแสกนไปที่มือถือเรา โดยโค้ดบนแอพของเราก็จะทำการ refresh ใหม่ทุกๆ 30 วินาทีเพื่อความปลอดภัยของเงินนะครับ
กดให้ app แสดงบาร์โค้ด ให้พนักงานแสกนครับ
ศูนย์อาหาร Food Republic
สถานีต่อไปมื้อเที่ยงนี้มาทานฟู้ดคอร์ทที่หลายๆคนน่าจะคุ้นเคยกันดีแต่ขอบอกไว้ก่อนนะครับว่า Food Republic ที่นี่ไม่เหมือนที่ฮ่องกงหรือสิงคโปร์ที่ขายอาหารนานาชาติ ร้านนึงเป็นอาหารประเทศนึงนะครับ ที่นี่จะเป็นการรวบรวมอาหารจีนในตำรับต่างๆมามากกว่า ซึ่งเมนูที่อับเฉาทานวันนี้คือ ข้าวผัดเนื้อ 牛肉炒饭 จากรูปจะเป็นว่าร้านมีการเตรียมข้าวห่อในใบไม้คล้ายใบตองไว้อยู่แล้วลักษณะต่อห่อไว้คล้ายกับบะจ่างเป็นห่อๆ เมื่อผัดเสร็จแล้วก็เสิร์ฟโดยวางไว้บนใบนี้บนจานอีกทีนึงครับ ซึ่งโดยปกติถ้าเราไม่จ่ายเงินด้วยแอพนี้เราต้องไปต่อแถวแลกบัตรเติมเงินศูนย์อาหารนะครับ แต่ถ้ามีแอพก็สะดวกรวดเร็วควักมือถือมาจ่ายเลย ศูนย์อาหารที่นี่ก็รับทั้ง WeChat wallet และ Alipay คราวนี้อับเฉาลองเปลี่ยนมาจ่ายด้วย WeChat wallet ดีกว่า ลักษณะเดียวกันเปิดแอพขึ้นมาแล้วเลือกเลือก pay แอพก็จะสร้างทั้งบาร์โค้ดปกติและ QR code ทางร้านก็จะใช้เครื่องแสกน
รายการชำระเรียบร้อย แอพก็จะขึ้นเป็นหลักฐาน
ร้านชานมฮ่องกง
วันนี้ยังต้องไปอีกหลายทีรวมทั้งคอแห้งด้วยเลยอยากทานชานมฮ่องกงให้ตื่นหน่อย สำหรับเพื่อนๆที่หวังจะให้ตาสว่างก็ขอแนะนำให้เลือกชาฮ่องกง มากกว่าชาไต้หวันนะครับ เนื่องจากรสชาติชาจะชัดเจนแล้วทำให้ลืมง่วงไปได้อย่างจัดเจน คราวนี้อับเฉาก็สั่งชามะนาวเย็น 冻柠茶 จ่ายด้วย WeChat เช่นเดียวกัน
เติมบัตรรถไฟฟ้า
บ่ายจะออกไปยิมซะหน่อย นึดขึ้นมาได้ว่าบัตรรถไฟฟ้าของอับเฉาเหลืออยู่แค่ 50 หยวนพอดีเลยตั้งใจจะรีวิวเขียนด้วยดีกว่า แต่เมื่อไปถึงสถานีพบว่าบัตรรถไฟฟ้าใต้ดินยังไม่สามารเติมเงินด้วยแอพได้นะครับ ได้เพียงแค่เงินสดและบัตรเครดิต Unionpay(银联) เท่านั้นเอง รวมทั้งจากการสังเกตตู้ขายของอัตโนมัติต่างๆในสถานีก็ไม่สามารถจ่ายด้วยแอพได้เช่นกัน
ตู้เย็นที่ยิมฟิตเนส
แม้แต่ตู้เย็นธรรมด๊าธรรมดาที่ยิมยังมีบาร์โค้ดของ WeChat wallet และ Alipay โดยก่อนหน้านี้ผู้ที่มาใช้บริการยิม ถ้ามาหยิบน้ำก็แค่หยอดเงินลงในตู้คล้ายๆกระปุกง่ายๆเอง แต่ตอนนี้ตู้เย็นธรรมดาๆนี้ติดบาร์โค้ดเรียบร้อยแล้ว สำหรับผู้(ที่ซื่อสัตย์)ก็สามารถแสกนบาร์โค้ดแล้วก็กดพิมพ์จำนวนเงินด้วยตัวเอง เช่น น้ำเปล่า 3 หยวน เครื่องดื่มเกลือแร่ 5 หยวนแล้วก็กดจ่ายด้วยตัวเอง วิธีนี้เราใช้แอพแสกนแล้วพิมพ์จำนวนเงินเอง แตกต่างจากการไปจ่ายเงินที่ร้านที่ผ่านๆมาที่พนักงานมาแสนบาร์โค้ดจากหน้าจอมือถือเราแล้วเราก็รอกดยืนยันเท่านั้นเองครับ
ซุปเปอร์มาร์เกตหัวเหลียน 华联超市
อับเฉามาซื้อน้ำเปล่า แชมพู แล้วก็ไอติม (ฮั่นแน่ ที่ออกกำลังกลายไปกลับมาหมดเลย) ขนาดซุปเปอร์มาร์เกตท้องถิ่นขนาดนี้ก็สามารถจ่ายด้วยแอดได้ด้วยเช่นกันครับ กดให้แอพแสดงโค้ดแล้วให้คุณป้าพนักงานแสกนแล้วก็เอาของไป ไอติมมาแทะได้เลย
ร้านหมาล่าทั่ง
คราวนี้ลองหมาล่าทั่งเมนูขวัญใจคนไทย เนื่องจากรสชาติที่จัดจ้านรวมทั้งเลือกได้เองว่าจะใส่เนื้อใส่ผักอย่างไร คราวนี้อับเฉาก็เลือกร้านเล็กๆดู แม้ร้านจะเล็กแบบนี้แต่หน้าประตูก็มีเขียนแล้วว่ารับ WeChat wallet และ Alipay ของร้านนี้ก็เราต้องเป็นคนแสกนและพิมพ์จำนวนตัวเลขที่จะโอนเองนะครับ
ร้านเล็กๆส่วนใหญ่เราจะเป็นคนแสกนเค้า แล้วพิมพ์ตัวเลขที่จะจ่ายเองครับ
หักเงินเรียบร้อย
สรุปความเสียหาย
สำหรับวีแชท ทุกครั้งที่มีการหักเงินก็จะได้รับข้อความ WeChat Wallet เหมือนเป็น contact ชื่อหนึ่ง สามารถติดตามได้ว่าหักเงินไปเท่าไหร่ให้กับร้านใด เวลาใดครับ ซึ่งถ้าอยากดูสรุปรายการมากๆก็สามารถเข้ามาดูในหน้า ข้อมูลส่วนตัว และเลือก Wallet อย่างในคำสั่ง utility นั่นก็สามารถเลือกชำร่ะค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก๊ส ได้ด้วยนะครับ โดยต้องเลือกเขตที่เราอาศัยอยู่และเลือกบริษัทรับให้ถูกต้อง
ส่วน Alipay ก็คล้ายคลึงกันครับ ปกติอับเฉาก็เติมเงินมือถือทางนี้ทุกเดือน ในรายการจ่ายเก่าๆจะเห็นว่ามีหักค่าจองโรงแรมและค่าตั๋วเครื่องบินผ่านเวปไซท์หรือแอพฯต่างๆ
เป็นไงบ้างครับสำหรับบันทึกหนึ่งวันที่ไม่ได้ควักเงินสดเลย ถ้าเพื่อนๆจะใช้ WeChat wallet และ Alipay ก็อย่าลืมลงทะเบียนและเติมเงินให้เรียบร้อยนะครับ รวมทั้งหลายๆครั้งจ่ายด้วยแอพก็มีโปรโมชั่นมากกว่าเช่นอับเฉาเคยซื้อลิปเมนทอรอทั่มจาก Watson’s ก็ลดครึ่งราคาเมื่อจ่ายด้วย Alipay
ถ้าเพื่อนๆสนใจเรื่องราวของอับเฉาสามารถติดตามได้ที่นี่ครับ http://www.facebook.com/apchaolife