ก่อนที่จะเข้าเรื่องของหัวข้อรีวิว "
สีรองพื้นปูน" ขอเกริ่นเรื่องระบบสี และหน้าที่ (
คุณสมบัติ) ของสีรองพื้นให้เข้าใจเป็นพื้นฐานก่อน เพื่อจะได้เข้าใจง่ายขึ้นและลึกซึ้งขึ้น >> โดยทั่วๆไปจะเข้าใจว่ามีเพียงว่าทาสีรองพื้นกับทาสีทับหน้าเท่านั้น ซึ่งไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ในงานระบบสีนั้นจะมีสีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ
:- สีรองพื้น (
Primer)
:- สีชั้นกลาง (
Undercoat)
:- สีทับหน้า (
Top Coat)
แต่ด้วยในระบบสีทาอาคาร (
Decorative Paint) แทบทั้งหมดแทบจะไม่มีขั้นตอนในสีชั้นกลาง (
Undercoat) ที่เห็นจะพอมีก็ในระบบสีน้ำมันทาพื้นผิวไม้ กล่าวคือ สีรองพื้นจะเป็น "สีรองพื้นไม้ป้องกันยางไม้ / Aluminium Wood Primer", สีชั้นกลางก็จะเป็น "สีรองพื้นไม้กันเชื้อรา / Universal Undercoat หรือ Wood Undercoat" และสีทับหน้าก็คือ "สีน้ำมัน / High Gloss Enamel" ดังนั้นต่อไปก็ขอข้ามสีชั้นกลาง & สีทับหน้าไปก่อน เพื่อกล่าวถึงสีรองพื้นตามหัวข้อรีวิว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แต่ด้วยมีการละเลยในขั้นตอนสีรองพื้นเที่ยวแรก ปัจจุบันจึงแทบไม่พบมีการใช้ผลิตภัณฑ์ "สีรองพื้นไม้ อลูมิเนียม" นี้กันแล้ว ส่วนในงานระบบสีอุตสาหกรรม (Heavy Duty Coating) จะมีสีชั้นกลางใช้กันในหลายๆกรณี & หลายๆสถานะการณ์อยู่
สีรองพื้น (
Primer) : หมายถึงสีชั้นแรกสุดในระบบงานสีพื้นผิวนั้นๆ เช่น สีรองพื้นกันสนิม, สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง และสีรองพื้นไม้อลูมิเนียม (
ป้องกันยางไม้) โดยทั่วไปสีรองพื้นจะมีคุณสมบัติเด่น / ลักษณะเฉพาะ คือ มีการ "ยึดเกาะดีกับพื้นผิว" นั้นๆ, "ป้องกันปัญหาของเนื้อวัสดุ" ที่จะมีปฏิกิริยาหรือมีผลกับความคงทนของสีทับหน้า เช่น ป้องกันสนิมในงานเหล็ก, ป้องกันยางไม้ในงานไม้ และป้องกันความเป็นด่างในงานปูน-คอนกรีต และหากมีคุณสมบัติในการ "ลดความสิ้นเปลืองของสีทับหน้า" ได้ด้วยยิ่งดี
ในงานทาสีผนังปูนฉาบ การเลือกสีรองพื้นให้เหมาะสม เพื่อให้การทาทับหน้ายึดเกาะกับผนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความคงทนนานหลายๆปีเท่าที่ควรจะเป็น โดยทั่วๆไปสีรองพื้นปูนจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ "
สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง / Acrylic Alkali Resisting Primer" และ "
น้ำยารองพื้นปูนทับสีเก่า / Contact Primer" ที่มักเรียกกันจนย่อเป็น "สีรองพื้นปูนเก่า" โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งานต่างกัน กล่าวคือ
>>>
สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง : โดยทั่วไปจะเป็น "สูตรน้ำ" ซึ่งมีกาวเป็นอะครีลิค 100% (
100% Acrylic Resin) ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันความเป็นด่าง (
Alkali) ได้ดี รวมทั้งให้การยึดเกาะได้ดีเยี่ยมบนผนังปูน เนื้อสีเป็นสีขาว จึงทำให้ประหยัดสีทับหน้าไปในตัว โดยควรทาหลังจากการฉาบปูนทิ้งไว้อย่างน้อย 4 สัปดาห์ เพื่อให้ความเป็นด่างลดลง & ความชื้นในปูนฉาบลดลงด้วย (
ไม่เกิน 14%) โดยทั่วไปผู้ผลิตจำหน่ายกำหนดให้ทา 1 เที่ยว แต่ไม่ควรทิ้งให้สีรองพื้นตากแดดตากฝนนานเกินไป ควรทาสีทับหน้าภายใน 2-3 สัปดาห์
อนึ่งควรเลือกใช้สีรองพื้นปูนใหม่ให้ถูกรุ่นกับสีทับหน้า ตามที่ผู้ผลิตจำหน่ายกำหนดไว้ เพราะบางครั้งช่างก็ใช้รองพื้นยี่ห้อตามที่ถูกกำหนดมา แต่ไปเลือกใช้สีรองพื้นปูนใหม่สลับรุ่นไป (
ยี่ห้อหนึ่งๆ จะมีสีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง หลายรุ่น คู่กับสีทับหน้าแต่ละรุ่น) ซึ่งพบว่าบ่อยครั้งที่ช่างสีมักจะใช้เรื่องนี้ไปหลอกใช้กับผู้ว่าจ้าง เพราะผู้ว่าจ้างไม่ทราบในรายละอียดตรงนี้ หรือหากมีการทักท้วงก็จะอ้างว่าก็เป็นยี่ห้อที่ตกลงกันไว้
>>>
น้ำยารองพื้นปูนทับสีเก่า : โดยทั่วไปเดิมจะเป็น "สูตรน้ำมัน" ที่มีลักษณะเป็นสีใส เหลวพร้อมใช้งาน มีกลิ่นค่อนข้างแรง (
ฉุน) เหมาะกับงานผนังปูนที่ผ่านการทาสีมาแล้ว ด้วยเป็นสีที่มีคุณสมบัติในการแทรกซึมได้ดีเยี่ยม โดยจะแทรกซึมผ่านเข้าไปในเนื้อฟิล์มสีเดิม (
ที่หลงเหลืออยู่หลังการเตรียมพื้นผิว >> ขัดล้าง หรือฉัดล้าง) เพื่อเข้าไปฟื้นฟูสภาพฟิล์มสีเดิม รวมทั้งน้ำยารองพื้นบางส่วนยังแทรกซึมผ่านฟิล์มสีเดิมเข้าสู่เนื้อปูน เพื่อเพิ่มแรงยึดเกาะให้สีเดิมยึดเกาะผนังได้แข็งแรงขึ้น ไม่หลุดล่อนออกมาภายหลังการทาสีทับหน้าปรับปรุงใหม่ไปแล้ว
หมายเหตุ : กรณีพื้นผิวไม้เทียม (
Fiber Cement Board) หรือ ไม้อัดซีเมนต์ (
Wood Cement Board) ที่จะทาสีน้ำอะครีลิคนั้น แนะนำให้เลือกใช้รองพื้นเป็น "สีรองพื้นปูนทับสีเก่า" หรือไปเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับพื้นผิวชนิดนี้ที่มีผู้ผลิตจำหน่ายสีบางรายทำออกมาโดยเฉพาะแล้ว อาทิ TOA : FiberCement Shield, Nippon Paint : Fiber Cote หรือ Captain : FiberCement Shield เป็นต้น
ต่อมามีผู้ผลิตจำหน่ายหลายๆยี่ห้อ ได้เริ่มออกผลิตภัณฑ์สีรองพื้นปูนเก่าเป็นชนิด "
สูตรน้ำ" ที่ใช้งานง่ายกว่า แห้งเร็วกว่า (
ทาสีทับหน้าได้เร็วกว่า) และกลิ่นอ่อนมาเป็นทางเลือกให้กับช่างสี & เจ้าของบ้าน ที่ต้องการหลีกเลี่ยงจากปัญหาเรื่องกลิ่นฉุนของสูตรน้ำมันดั้งเดิม (
แต่หากเทียบประสิทธิภาพแล้ว สูตรน้ำมันจะมีคุณภาพมากกว่า ดังนั้นสูตรน้ำจึงน่าจะเหมาะกับงานผนังภายในมากกว่า)
อนึ่งมักพบคำถามหนึ่งอยู่เสมอๆว่า "ผนังเดิม สียังดูสภาพก็ดีอยู่ ไม่มีปัญหา จำเป็นต้องทารองพื้นปูนเก่าหรือไม่ ?" >> หากสีเดิมเป็นสีเกรดดี และใช้งานมาไม่นานมาก ก็พออนุโลมจะไม่ทารองพื้นก็ได้ แต่หากไม่ทราบคุณภาพ/ยี่ห้อสีเดิม หรือสีผ่านการใช้งานมานาน ก็ควรทารองพื้นปูนเก่าจะมั่นใจกว่าว่าสีจะไม่หลุดล่อนมาภายหลังทาสีใหม่ไป หรือเราอาจจะไม่แน่ใจในคุณภาพการยึดเกาะ (
Adhesion) ของฟิล์มสีเดิม ก็มีการทดสอบง่ายๆด้วยตนเอง โดยใช้คมมีดคัตเตอร์กรีดฟิล์มสีเดิมเป็นรูปกากบาท (X) ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว (
Cross-Cut) > ใช้สก๊อตเทปปิดทับ รีดด้วยนิ้วมือ แล้วลองดึงเทปออกดู หากฟิล์มสีหลุดออกมาตรงจุดตัดโดยง่าย ก็แปลว่าฟิล์มสีเดิมยึดเกาะไม่ดี (
ควรทำจุดทดสอบหลายๆจุด)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หรือกรีดเป็นตาราง (ตามรูป 2) ที่ผู้ผลิตสีใช้ทดสอบใน Lab ดังนั้นลักษณะนี้ควรรองพื้นก่อนด้วย "น้ำยารองพื้นปูนทับสีเก่า" จำนวน 1 เที่ยว โดยงานภายในควรเลือกใช้ชนิด "สูตรน้ำ" และเลือกใช้ชนิด "สูตรน้ำมัน" สำหรับงานภายนอก
ปัจจุบันในงานปูนนั้น มีสีรองพื้นอีกประเภทหนึ่งที่มีผู้ผลิตจำหน่ายสีหลายๆราย ได้ออกมาตอบสนองการใช้งานได้ทั้งปูนเก่า (
ผ่านการทาสีมาแล้ว) และปูนฉาบใหม่ (
ที่ยังไม่เคยทาสี) นิยมเรียกกันว่า "
สีรองพื้นอเนกประสงค์" หรือ Fresh Concrete Primer ที่โดดเด่นตรงที่มีคุณสมบัติในการทาบนผนังปูนใหม่ที่เพิ่งฉาบปูนไปเพียง 2-3 วันได้ (
โดยไม่จำเป็นต้องรอปูนเซ็ทตัว 4 สัปดาห์ ตามที่เกริ่นข้างต้น) จึงเหมาะกับงานที่เร่งการทำงาน รวมทั้งงานต่อเติมบ้านที่อาจจะมีทั้งปูนเก่า & ปูนใหม่ผสมผสานกัน จะได้เลือกใช้สีรองพื้นเพียงชนิดเดียว โดยสีรองพื้นชนิดนี้มีเนื้อเป็นสีขาว และส่วนใหญ่จะเป็นสูตรน้ำมัน (
ยกเว้น Jotun) อาทิ TOA : Quick Primer, ICI : Dulux Weathershield Power Plus, Captain : Perfex Primer, Jotun : Ultra Primer และ Nippon Paint : Express Kote เป็นต้น
[CR] สีรองพื้นปูนมีเพียง >> สีรองพื้นปูนใหม่ & สีรองพื้นปูนทับสีเก่าเท่านั้นหรือ ?
ก่อนที่จะเข้าเรื่องของหัวข้อรีวิว "สีรองพื้นปูน" ขอเกริ่นเรื่องระบบสี และหน้าที่ (คุณสมบัติ) ของสีรองพื้นให้เข้าใจเป็นพื้นฐานก่อน เพื่อจะได้เข้าใจง่ายขึ้นและลึกซึ้งขึ้น >> โดยทั่วๆไปจะเข้าใจว่ามีเพียงว่าทาสีรองพื้นกับทาสีทับหน้าเท่านั้น ซึ่งไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ในงานระบบสีนั้นจะมีสีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ
:- สีรองพื้น (Primer)
:- สีชั้นกลาง (Undercoat)
:- สีทับหน้า (Top Coat)
แต่ด้วยในระบบสีทาอาคาร (Decorative Paint) แทบทั้งหมดแทบจะไม่มีขั้นตอนในสีชั้นกลาง (Undercoat) ที่เห็นจะพอมีก็ในระบบสีน้ำมันทาพื้นผิวไม้ กล่าวคือ สีรองพื้นจะเป็น "สีรองพื้นไม้ป้องกันยางไม้ / Aluminium Wood Primer", สีชั้นกลางก็จะเป็น "สีรองพื้นไม้กันเชื้อรา / Universal Undercoat หรือ Wood Undercoat" และสีทับหน้าก็คือ "สีน้ำมัน / High Gloss Enamel" ดังนั้นต่อไปก็ขอข้ามสีชั้นกลาง & สีทับหน้าไปก่อน เพื่อกล่าวถึงสีรองพื้นตามหัวข้อรีวิว [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สีรองพื้น (Primer) : หมายถึงสีชั้นแรกสุดในระบบงานสีพื้นผิวนั้นๆ เช่น สีรองพื้นกันสนิม, สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง และสีรองพื้นไม้อลูมิเนียม (ป้องกันยางไม้) โดยทั่วไปสีรองพื้นจะมีคุณสมบัติเด่น / ลักษณะเฉพาะ คือ มีการ "ยึดเกาะดีกับพื้นผิว" นั้นๆ, "ป้องกันปัญหาของเนื้อวัสดุ" ที่จะมีปฏิกิริยาหรือมีผลกับความคงทนของสีทับหน้า เช่น ป้องกันสนิมในงานเหล็ก, ป้องกันยางไม้ในงานไม้ และป้องกันความเป็นด่างในงานปูน-คอนกรีต และหากมีคุณสมบัติในการ "ลดความสิ้นเปลืองของสีทับหน้า" ได้ด้วยยิ่งดี
ในงานทาสีผนังปูนฉาบ การเลือกสีรองพื้นให้เหมาะสม เพื่อให้การทาทับหน้ายึดเกาะกับผนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความคงทนนานหลายๆปีเท่าที่ควรจะเป็น โดยทั่วๆไปสีรองพื้นปูนจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ "สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง / Acrylic Alkali Resisting Primer" และ "น้ำยารองพื้นปูนทับสีเก่า / Contact Primer" ที่มักเรียกกันจนย่อเป็น "สีรองพื้นปูนเก่า" โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งานต่างกัน กล่าวคือ
>>> สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง : โดยทั่วไปจะเป็น "สูตรน้ำ" ซึ่งมีกาวเป็นอะครีลิค 100% (100% Acrylic Resin) ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันความเป็นด่าง (Alkali) ได้ดี รวมทั้งให้การยึดเกาะได้ดีเยี่ยมบนผนังปูน เนื้อสีเป็นสีขาว จึงทำให้ประหยัดสีทับหน้าไปในตัว โดยควรทาหลังจากการฉาบปูนทิ้งไว้อย่างน้อย 4 สัปดาห์ เพื่อให้ความเป็นด่างลดลง & ความชื้นในปูนฉาบลดลงด้วย (ไม่เกิน 14%) โดยทั่วไปผู้ผลิตจำหน่ายกำหนดให้ทา 1 เที่ยว แต่ไม่ควรทิ้งให้สีรองพื้นตากแดดตากฝนนานเกินไป ควรทาสีทับหน้าภายใน 2-3 สัปดาห์
อนึ่งควรเลือกใช้สีรองพื้นปูนใหม่ให้ถูกรุ่นกับสีทับหน้า ตามที่ผู้ผลิตจำหน่ายกำหนดไว้ เพราะบางครั้งช่างก็ใช้รองพื้นยี่ห้อตามที่ถูกกำหนดมา แต่ไปเลือกใช้สีรองพื้นปูนใหม่สลับรุ่นไป (ยี่ห้อหนึ่งๆ จะมีสีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง หลายรุ่น คู่กับสีทับหน้าแต่ละรุ่น) ซึ่งพบว่าบ่อยครั้งที่ช่างสีมักจะใช้เรื่องนี้ไปหลอกใช้กับผู้ว่าจ้าง เพราะผู้ว่าจ้างไม่ทราบในรายละอียดตรงนี้ หรือหากมีการทักท้วงก็จะอ้างว่าก็เป็นยี่ห้อที่ตกลงกันไว้
>>> น้ำยารองพื้นปูนทับสีเก่า : โดยทั่วไปเดิมจะเป็น "สูตรน้ำมัน" ที่มีลักษณะเป็นสีใส เหลวพร้อมใช้งาน มีกลิ่นค่อนข้างแรง (ฉุน) เหมาะกับงานผนังปูนที่ผ่านการทาสีมาแล้ว ด้วยเป็นสีที่มีคุณสมบัติในการแทรกซึมได้ดีเยี่ยม โดยจะแทรกซึมผ่านเข้าไปในเนื้อฟิล์มสีเดิม (ที่หลงเหลืออยู่หลังการเตรียมพื้นผิว >> ขัดล้าง หรือฉัดล้าง) เพื่อเข้าไปฟื้นฟูสภาพฟิล์มสีเดิม รวมทั้งน้ำยารองพื้นบางส่วนยังแทรกซึมผ่านฟิล์มสีเดิมเข้าสู่เนื้อปูน เพื่อเพิ่มแรงยึดเกาะให้สีเดิมยึดเกาะผนังได้แข็งแรงขึ้น ไม่หลุดล่อนออกมาภายหลังการทาสีทับหน้าปรับปรุงใหม่ไปแล้ว
หมายเหตุ : กรณีพื้นผิวไม้เทียม (Fiber Cement Board) หรือ ไม้อัดซีเมนต์ (Wood Cement Board) ที่จะทาสีน้ำอะครีลิคนั้น แนะนำให้เลือกใช้รองพื้นเป็น "สีรองพื้นปูนทับสีเก่า" หรือไปเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับพื้นผิวชนิดนี้ที่มีผู้ผลิตจำหน่ายสีบางรายทำออกมาโดยเฉพาะแล้ว อาทิ TOA : FiberCement Shield, Nippon Paint : Fiber Cote หรือ Captain : FiberCement Shield เป็นต้น
ต่อมามีผู้ผลิตจำหน่ายหลายๆยี่ห้อ ได้เริ่มออกผลิตภัณฑ์สีรองพื้นปูนเก่าเป็นชนิด "สูตรน้ำ" ที่ใช้งานง่ายกว่า แห้งเร็วกว่า (ทาสีทับหน้าได้เร็วกว่า) และกลิ่นอ่อนมาเป็นทางเลือกให้กับช่างสี & เจ้าของบ้าน ที่ต้องการหลีกเลี่ยงจากปัญหาเรื่องกลิ่นฉุนของสูตรน้ำมันดั้งเดิม (แต่หากเทียบประสิทธิภาพแล้ว สูตรน้ำมันจะมีคุณภาพมากกว่า ดังนั้นสูตรน้ำจึงน่าจะเหมาะกับงานผนังภายในมากกว่า)
อนึ่งมักพบคำถามหนึ่งอยู่เสมอๆว่า "ผนังเดิม สียังดูสภาพก็ดีอยู่ ไม่มีปัญหา จำเป็นต้องทารองพื้นปูนเก่าหรือไม่ ?" >> หากสีเดิมเป็นสีเกรดดี และใช้งานมาไม่นานมาก ก็พออนุโลมจะไม่ทารองพื้นก็ได้ แต่หากไม่ทราบคุณภาพ/ยี่ห้อสีเดิม หรือสีผ่านการใช้งานมานาน ก็ควรทารองพื้นปูนเก่าจะมั่นใจกว่าว่าสีจะไม่หลุดล่อนมาภายหลังทาสีใหม่ไป หรือเราอาจจะไม่แน่ใจในคุณภาพการยึดเกาะ (Adhesion) ของฟิล์มสีเดิม ก็มีการทดสอบง่ายๆด้วยตนเอง โดยใช้คมมีดคัตเตอร์กรีดฟิล์มสีเดิมเป็นรูปกากบาท (X) ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว (Cross-Cut) > ใช้สก๊อตเทปปิดทับ รีดด้วยนิ้วมือ แล้วลองดึงเทปออกดู หากฟิล์มสีหลุดออกมาตรงจุดตัดโดยง่าย ก็แปลว่าฟิล์มสีเดิมยึดเกาะไม่ดี (ควรทำจุดทดสอบหลายๆจุด) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ดังนั้นลักษณะนี้ควรรองพื้นก่อนด้วย "น้ำยารองพื้นปูนทับสีเก่า" จำนวน 1 เที่ยว โดยงานภายในควรเลือกใช้ชนิด "สูตรน้ำ" และเลือกใช้ชนิด "สูตรน้ำมัน" สำหรับงานภายนอก
ปัจจุบันในงานปูนนั้น มีสีรองพื้นอีกประเภทหนึ่งที่มีผู้ผลิตจำหน่ายสีหลายๆราย ได้ออกมาตอบสนองการใช้งานได้ทั้งปูนเก่า (ผ่านการทาสีมาแล้ว) และปูนฉาบใหม่ (ที่ยังไม่เคยทาสี) นิยมเรียกกันว่า "สีรองพื้นอเนกประสงค์" หรือ Fresh Concrete Primer ที่โดดเด่นตรงที่มีคุณสมบัติในการทาบนผนังปูนใหม่ที่เพิ่งฉาบปูนไปเพียง 2-3 วันได้ (โดยไม่จำเป็นต้องรอปูนเซ็ทตัว 4 สัปดาห์ ตามที่เกริ่นข้างต้น) จึงเหมาะกับงานที่เร่งการทำงาน รวมทั้งงานต่อเติมบ้านที่อาจจะมีทั้งปูนเก่า & ปูนใหม่ผสมผสานกัน จะได้เลือกใช้สีรองพื้นเพียงชนิดเดียว โดยสีรองพื้นชนิดนี้มีเนื้อเป็นสีขาว และส่วนใหญ่จะเป็นสูตรน้ำมัน (ยกเว้น Jotun) อาทิ TOA : Quick Primer, ICI : Dulux Weathershield Power Plus, Captain : Perfex Primer, Jotun : Ultra Primer และ Nippon Paint : Express Kote เป็นต้น