มุมมองความคิดของแต่ละคนที่มีต่อศิลปะ? (ทำไมศิลปะชอบทำตัวแบกโลก???)

ทำไมศิลปินชอบทำตัวแบกโลก?

ชอบเรียนรู้ ศึกษาความเป็นไปของจิตใจ ความรู้สึก ผู้คน สังคม สภาพแวดล้อม หรือ สิ่งข้างๆรอบตัว ไปจนตัวของตัวเอง

แล้วหลังจากนั้นก็ชอบแบกความรู้สึกนึกคิดของตัวเองเอาไว้ แล้วทำการกรั่นกรอง ตกผลึกมาถ่ายทอดให้ผู้คนได้รู้สึก

ไม่ว่าจะเป็นในเชิงบวก หรือเชิงลบ...

ศิลปินบางคนเลือกที่จะเสพติดความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง หรือไม่ก็พยายามหาวิธีเพื่อเข้าถึงความรู้สึกนั้นๆ บางคนอาจจะใช่ความมึนเมาหรือยาเสพติด เพื่อให้ได้เห็นมุมมองที่ต่างออกไป บางคนก็สุดโต่งซะแบบปัจเจก ปลีกวิเวกตัวเองไปอยู่ตามป่าตามเขา ในที่ห่างไกลผู้คน เพื่อเรียนรู้อะไรบางอย่าง...

คือผมสงสัยว่าเขาทำไปเพื่อสิ่งใด? ทำไมต้องเอาตัวเองเป็นตัวแบกรับเรื่องราวต่างๆเอาไว้ เขาทำไปเพียงเพื่อแค่ที่จะถ่ายทอดออกมาให้ผู้คนได้รู้สึก แค่นั้นเองเหรอ?

ศิลปินบางคนก็หมกหมุ่นกับความรู้สึกนึกคิดของตัวเองมากเกินไป  สุดท้ายก็หลงทาง โดนความคิดของตัวเองกัดกิน จนสูญเสียการมีชีวิต และความเป็นตัวของตัวเองไป ยกตัวอย่างก็พวก จิตรกรอย่างวินแซน แวนโก๊ะ(ที่หมกหมุ่นครุ่นคิดการงานศิลปะของตัวเองมากไป จนภาวะจิตใจและการรับรู้เริ่มที่จะสับสน(ตามที่ประวัติศาสตร์ได้อ้างอิ้งไว้ว่าช่วงสุดท้ายของชีวิตแวนโก๊ะ เขานั้นได้เป็นบ้า ยกตัวอย่างก็ การที่แวนโก๊ะได้ตัดใบหูของตัวเองไปให้กับหญิงสาว ที่บอกกับเขาว่าหล่อนนั้นชอบใบหูของเขา)  

หรืออีกด้านหนึ่งของศิลปะสาขาด้านดนตรี ยกตัวอย่างก็พวก ศิลปินเพลงร้อค&โรล อย่างพวก จิม มอร์ริสัน,จิมมี่ เฮนดริก,เคิ้ธ โคเบ้น,เจนนิส จ้อปปริ้น และศิลปินดังๆอีกหลายคนๆ(ที่ใช่ยาเสพติดเป็นพาหนะไปสู่การเข้าถึงความรู้สึกบางอย่าง เพื่อที่จะถ่ายทอดผมงานของตัวเองผ่านความรู้สึกและภาวะนั้นๆของตัวเอง ให้ผู้คนได้รับฟังรับเสพ)

แต่ก็ปฎิเสธิไม่ได้เลยว่า ผลงานของศิลปินแต่ละคน ที่ผมได้กล่าวมานั้น จะไม่มีผลต่อแวดวงการศิลปะรุ่นหลังๆในสาขานั้นๆเลย ผลงานของพวกเขาทุกวันนี้ เรียกได้ว่า ยกเอาขึ้นหิ้งไว้เทิดทูลบูชาเลยก็ว่าได้ ศิลปินรุ่นหลังๆก็ล้วนได้อิทธิพลและต้นแบบมาจากพวกเขาทั้งสิ้น อีกทั้งชื่อของพวกเขายังได้จารึกไว้ว่าเป็นตำนานกล่าวขานกันมาจนถึงทุกวันนี้...  

ที่นีย้อนกลับมาที่ความหมายของศิลปะ  

ในมุมมองความคิดของผม จากที่ผมได้ลองศึกษาเรื่องราวความเป็นมา และความหมายของศิลปะในแต่ละยุคสมัย ผมสรุปได้ว่า ศิลปะนั้นมีหลายแบบหลายขั้น  ไม่ว่าจะเป็นศิลปะแบบวิพากษ์(เกี่ยวกับสังคม สภาพแวดล้อม และความรู้สึกนึกคิดของศิลปินคนนั้นที่มีมุมมองต่อสิ่งรอบข้าง) หรือจะเป็นศิลปะแบบจรรโลง(ธรรมชาติ ชีวิต การยอมรับและความเป็นไป) หรือศิลปะที่ให้ความบันเทิง(ความสนุกสนาน คลายเครียส) และศิลปะแบบอื่นๆอีกมากมาย

แต่ขั้นสูงสุดของศิลปะเลยก็คือ ขั้นที่เหนือไปกว่า อัตตา-ตัวตน ของตัวเอง(คือไม่มีตัวตน ไม่รู้สึก ไม่มีภาวะการรับรู้ หรือสัมผัสทั้ง5(รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) ศิลปะแบบนั้นก็คือ "ศาสนา"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่