ในการสอบเข้าบรรจุเข้ารับราชการครู ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ที่กำลังเป็นประเด็น มาม่า กันอยู่ไม่จบในขณะนี้ มันมีสาเหตุอะไรกันบ้าง จึงอยากเชิญเพื่อนๆ พี่ๆ บุคคลากร เจ้าหน้าที่ ทั้งหลายแหล่ มาร่วมพูดคุยกันอย่างจริงจังถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
"ในความคิดของผม"
ประเด็นแรกที่ผมสนใจคือ อัตราครูวิชาเอกที่ขาดแคลนจริงๆ ไม่ได้มีเปิดในหลักสูตร 5 ปี เยอะเท่าที่ควร หรือ ไม่มีเปิดเลย แต่มีเปิดในหลักสูตร 4 ปี ที่ไม่ใช่สายครูโดยตรง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เสนอว่า ครูที่ขาดแคลในสายอาชีพมีดังต่อไปนี้
ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม, ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, ไฟฟ้ากำลัง, โทรคมนาคม, แมคคาทรนิกส์,เครื่องวัดและควบคุม, เทคนิคอุตสาหกรรม, เทคนิคการผลิต, ช่างกลโรงงาน, เขียนแบบเครื่องกล, เครื่องกล, เครื่องมือและซ่อมบำรุง, ช่าง เชื่อมโลหะ/เทคนิคโลหะ, แม่พิมพ์โลหะ, แม่พิมพ์พลาสติก, ช่างยนต์, ช่างก่อสร้าง, โยธา, ช่างสำรวจ, สถาปัตยกรรม/มัณฑนศิลป์/ออกแบบตกแต่ง, อุตสาหกรรมเครื่องเรือน และตกแต่งภายใน, อุตสาหกรรมต่อเรือ, พาณิชย์นาวี, การ จัดการโลจิสติกส์, อุตสาหกรรมยาง, เทคโนโลยียางและโพลิเมอร์, ปิโตรเคมี, การพิมพ์, การตรวจสอบโดยไม่ทำลาย, การขุดเจาะน้ำมัน, เทคโนโลยีแสงและเสียง, ปิโตรเลียม, เทคนิคพลังงาน, เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว,การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประเภทวิชาพณิชยกรรม สาขาวิชาเลขานุการ, การจัดการธุรกิจ, การจัดการสำนักงาน, การตลาด, การบัญชี, บริหารธุรกิจและพณิชยการ, โลจิสติกส์, คอมพิวเตอร์ธุรกิจ, ธุรกิจค้าปลีก และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ, เสื้อผ้าสำเร็จรูป และเคมีสิ่งทอ ประเภทวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาเกษตรอุตสาหกรรม, ช่างกลเกษตร,เทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตร, เทคโนโลยีภูมิทัศน์, ผลิตภัณฑ์ยาง, พืชศาสตร์, สัตวศาสตร์, พืชไร่ และปฐพีวิทยา ประเภทวิชาการประมง สาขาวิชาการควบคุมเครื่องจักร (เรือประมง), ประมงทะเล, เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, แปรรูปสัตว์น้ำและอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
ประเภทวิชาคหกรรม
สาขาวิชาการบริหารงานคหกรรมศาสตร์, คหกรรมศาสตร์,เทคโนโลยีการออกแบบเครื่องแต่งกาย, เทคโนโลยีผ้าและเครื่องแต่งกาย,แฟชั่นและสิ่งทอ, สปาและความงาม และเสริมสวย (เทคโนโลยีความงาม)
ประเภทวิชาศิลปกรรม
สาขาวิชาวิจิตรศิลป์, ศิลปกรรม, เซรามิก/เทคโนโลยีเครื่องเคลือบดินเผา,ศิลปหัตถกรรม (รูปพรรณและเครื่องสาน),การออกแบบเครื่องประดับ และอัญมณี, ช่างทองหลวง, การออกแบบ, คอมพิวเตอร์กราฟิกส์, คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย, การถ่ายภาพและวีดิทัศน์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเครื่องหนัง
สาขาวิชาขาดแคลนตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เสนอเพิ่มเติมอีก 12 สาขา ได้แก่ นิติศาสตร์ อาหารและโภชนาการ/โภชนาการชุมชน การโรงแรม/การโรงแรมและบริการ/ธุรกิจโรงแรม เทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เคมีอุตสาหกรรม วิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม วิศวกรรมพลังงาน/พลังงานทดแทน เทคโนโลยีระบบราง/วิศวกรรมขนส่งระบบราง เทคโนโลยีอุตสาหกรรมบันเทิง/แอนนิเมชั่น การตลาดดิจิตอล อุตสาหกรรมศิลป์ และช่างเครื่องเรือนและตกแต่ง โดยที่ประชุมได้พิจารณาอย่างละเอียดแล้วเห็นว่าเป็นสาขาที่คณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ไม่ได้เปิดสอน
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้ผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาทุกประเภทที่ไม่ได้จบสายครูสามารถสมัครสอบเข้าเป็นครูได้ แต่ต้องมีการพัฒนาตนเองภายใน 2 ปี เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามเกณฑ์ของคุรุสภาด้วย โดยสำหรับหลักเกณฑ์ปฏิบัตินั้น ได้กำหนดว่าเมื่อสอบบรรจุเป็นครูได้แล้ว ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนด คือ ภายในระยะเวลา 2 ปี ต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ส่วนสถานศึกษาที่จัดโครงการพิเศษ สามารถนำบุคคลภายนอกที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูมาช่วยงานได้ โดยแต่ละโครงการต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 4 ปี หลังสิ้นสุดโครงการ ให้ถือว่าพ้นสถานะไป
อ้างอิงจาก
https://blog.eduzones.com/magazine/138845
ข้อมูล-คุรุสภา
http://www.ksp.or.th
จากสาขาวิชาข้างต้น ไม่ได้มีเปิดสอนในหลักสูตรครู 5 ปี แต่เปิดใน คณะต่างๆที่เป็นหลัก สูตร 4 ปี จึงเป็นเหตุต้องรับ ป.บัณฑิต 4 ปีเข้ามาเพื่อทดแทนอัตราการขาดแคลนครู ประเด็นนี้ผมว่าสมเหตุสมผล เพราะเราต้องการครูเอกสาขาเฉพาะนี้จริงๆ และไม่มีเปิดในคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์(บางแห่งมีเปิดแต่น้อย)
ประเด็นที่ 2 สถาบันผลิตครู(บางที่)มีมาตรฐานที่ต่ำมาก
ในการรับนักเรียนเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยสมัยนี้ มีการสอบแข่งขันกันสูงมาก ยิ่งมีการแข่งขันกันสูงนั่นหมายความว่าในสถาบันนั้น ในคณะนั้น ก็จะได้เด็กที่มีศักยภาพสูงมาเรียนเช่นกัน เกณฑ์การรับของแต่ละสถาบันก็จะแตกต่างกันออกไป แต่ถึงยังไงก็ต้องสมัครสอบแข่งขันกันอยู่ดี แต่... ในการรับสมัครของมรภ.ในต่างจังหวัด มีเกณฑ์ การ รับ คือ สมัครเข้าได้เลย ไม่ต้องซีเรียสกับการสอบใดๆ ไม่มีการแข่งขันที่สูง สมัครแล้วเข้าเรียนได้เลย แถวๆบ้านผม เวลาเด็กสอบไม่ติดที่ไหนเลย ก็เข้ามรภ. ไม่รู้จะเรียนอะไร ก็เรียนครู หรือ สอบอะไรไม่ติดเลย ก็มาเรียนครูที่มรภ. ในสมัยก่อน คนที่เรียนครูราชภัฏผมว่า ก็เป็นคนเก่งนะ แต่ทุกวันนี้เด็กมันเป็นยังไงทุกคนก็น่าจะรู้อยู่ ฉะนั้น คุณภาพในการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อที่มรภ. อยู่ตรงไหน ? แต่ก่อนมรภ.เคยเป็นสถาบันที่ผลิตครูดีๆ ครูที่ผมเรียนมาด้วย ครูที่สอนผมมา ก็จบมาจากมรภ.ทั้งนั้น แต่สมัยนี้มันไม่เหมือนแต่ก่อนแล้ว จะหาคุณภาพจาก เด็กที่เรียนมรภ.สมัยนี้ก็ยากเหลือเกิน ยกตัวอย่างเช่น มีเด็กมรภ.มาฝึกสอนในที่ที่ผมทำงานอยู่และก็มีสถาบันอื่นมาฝึกสอนด้วยเช่นกัน แต่ภาวะความเป็นผู้นำนั้นต่างกันลิบ ไม่รู้ว่าที่อื่นเป็นหรือเปล่า แต่มรภ.ที่ผมเจอมานั้น หนีงานตลอด ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่มีความอดทน ไม่มีความช่วยเหลือเอื้อเฝื้อ ผิดกับอีกสถาบันอีกสถาบันนึง ที่เขาเต็มใจทำ(อันนี้เข้าใจเพราะเราใช้) แต่ความรับผิดชอบในงานมีมากกว่า อดทนอดกลั้นก็ดีกว่า
ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมไม่เหมารวม มรภ. ทั้งหมด แต่ขอเจาะจงแค่ของภาคเหนือ กับอิสานเท่านั้น ในการรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาต่อก็ง่าย ไม่แข่งขัน จบก็ง่ายแค่เข้าเรียนก็มีคะแนนเข้าห้องแล้ว สอบตกก็มีซ่อม แต่คุณภาพเด็กที่ได้ไป มันน้อย แล้วเด็กที่เรียนครู มรภ. ก็เยอะ เพราะเข้าง่าย จบออกมา มันก็เฟ้อ ว่างงานไปเป็นแถว ถ้าการเข้าเรียนครูมันมีการสอบแข่งขันที่สูง ครูที่จบออกมา จะมีคุณภาพมากๆ ดูตัวอย่างจากประเทษสิงคโปร์ สอบเข้าครูก็ยาก สถาบันที่เปิดรับให้เรียนครูก็น้อย(ประเทศเขาเล็กด้วยแหละ) แต่เด็กที่จบมา มีคุณภาพมาก เงินเดือนก็สูง สวัสดิการก็ดี ใครๆก็อยากเป็น แล้วหันมามองสถาบันผลิตครูที่ประเทศไทย ทำไมช่างเข้าง่ายเหลือเกิน นี่วิชาชีพชั้นสูงนะ เข้าง่ายจังล่ะ ..... มีคุณภาพน้อย จบออกมาก สอบไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดอีก(60%) ก็ไม่มีใครสอบบรรจุได้ ครูก็ขาดแคลน แล้วจะทำยังไงครับ ก็เปิดรับวุฒิ 4 ปี ที่เก่งๆเข้ามาทดแทน เพราะอะไร ....... คิดเอา
อันนี้แค่ความคิดเห็นของผมครับ แค่คนๆเดียว อาจจะมีทัศนคติที่แย่ เกี่ยวกับ มรภ. แต่เพราะผมเจอมา ผมเลยพูดได้
พร้อมรับฟังคำด่าครับ จะเก็บไว้แก้ไข
มาร่วมสนทนาประเด็นที่คิดว่ามันเป็นปัญหาจึงต้องรับวุฒิ 4 ปีเข้ามากันครับ
มาร่วมพูดคุยกันเกี่ยวกับประเด็น การผลิต "ครู" จนเป็นสาเหตุต้องเปิดรับวุฒิป.บัณฑิต 4 ปีเข้าสอบ
"ในความคิดของผม"
ประเด็นแรกที่ผมสนใจคือ อัตราครูวิชาเอกที่ขาดแคลนจริงๆ ไม่ได้มีเปิดในหลักสูตร 5 ปี เยอะเท่าที่ควร หรือ ไม่มีเปิดเลย แต่มีเปิดในหลักสูตร 4 ปี ที่ไม่ใช่สายครูโดยตรง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เสนอว่า ครูที่ขาดแคลในสายอาชีพมีดังต่อไปนี้
ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม, ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, ไฟฟ้ากำลัง, โทรคมนาคม, แมคคาทรนิกส์,เครื่องวัดและควบคุม, เทคนิคอุตสาหกรรม, เทคนิคการผลิต, ช่างกลโรงงาน, เขียนแบบเครื่องกล, เครื่องกล, เครื่องมือและซ่อมบำรุง, ช่าง เชื่อมโลหะ/เทคนิคโลหะ, แม่พิมพ์โลหะ, แม่พิมพ์พลาสติก, ช่างยนต์, ช่างก่อสร้าง, โยธา, ช่างสำรวจ, สถาปัตยกรรม/มัณฑนศิลป์/ออกแบบตกแต่ง, อุตสาหกรรมเครื่องเรือน และตกแต่งภายใน, อุตสาหกรรมต่อเรือ, พาณิชย์นาวี, การ จัดการโลจิสติกส์, อุตสาหกรรมยาง, เทคโนโลยียางและโพลิเมอร์, ปิโตรเคมี, การพิมพ์, การตรวจสอบโดยไม่ทำลาย, การขุดเจาะน้ำมัน, เทคโนโลยีแสงและเสียง, ปิโตรเลียม, เทคนิคพลังงาน, เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว,การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประเภทวิชาพณิชยกรรม สาขาวิชาเลขานุการ, การจัดการธุรกิจ, การจัดการสำนักงาน, การตลาด, การบัญชี, บริหารธุรกิจและพณิชยการ, โลจิสติกส์, คอมพิวเตอร์ธุรกิจ, ธุรกิจค้าปลีก และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ, เสื้อผ้าสำเร็จรูป และเคมีสิ่งทอ ประเภทวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาเกษตรอุตสาหกรรม, ช่างกลเกษตร,เทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตร, เทคโนโลยีภูมิทัศน์, ผลิตภัณฑ์ยาง, พืชศาสตร์, สัตวศาสตร์, พืชไร่ และปฐพีวิทยา ประเภทวิชาการประมง สาขาวิชาการควบคุมเครื่องจักร (เรือประมง), ประมงทะเล, เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, แปรรูปสัตว์น้ำและอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
ประเภทวิชาคหกรรม
สาขาวิชาการบริหารงานคหกรรมศาสตร์, คหกรรมศาสตร์,เทคโนโลยีการออกแบบเครื่องแต่งกาย, เทคโนโลยีผ้าและเครื่องแต่งกาย,แฟชั่นและสิ่งทอ, สปาและความงาม และเสริมสวย (เทคโนโลยีความงาม)
ประเภทวิชาศิลปกรรม
สาขาวิชาวิจิตรศิลป์, ศิลปกรรม, เซรามิก/เทคโนโลยีเครื่องเคลือบดินเผา,ศิลปหัตถกรรม (รูปพรรณและเครื่องสาน),การออกแบบเครื่องประดับ และอัญมณี, ช่างทองหลวง, การออกแบบ, คอมพิวเตอร์กราฟิกส์, คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย, การถ่ายภาพและวีดิทัศน์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเครื่องหนัง
สาขาวิชาขาดแคลนตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เสนอเพิ่มเติมอีก 12 สาขา ได้แก่ นิติศาสตร์ อาหารและโภชนาการ/โภชนาการชุมชน การโรงแรม/การโรงแรมและบริการ/ธุรกิจโรงแรม เทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เคมีอุตสาหกรรม วิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม วิศวกรรมพลังงาน/พลังงานทดแทน เทคโนโลยีระบบราง/วิศวกรรมขนส่งระบบราง เทคโนโลยีอุตสาหกรรมบันเทิง/แอนนิเมชั่น การตลาดดิจิตอล อุตสาหกรรมศิลป์ และช่างเครื่องเรือนและตกแต่ง โดยที่ประชุมได้พิจารณาอย่างละเอียดแล้วเห็นว่าเป็นสาขาที่คณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ไม่ได้เปิดสอน
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้ผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาทุกประเภทที่ไม่ได้จบสายครูสามารถสมัครสอบเข้าเป็นครูได้ แต่ต้องมีการพัฒนาตนเองภายใน 2 ปี เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามเกณฑ์ของคุรุสภาด้วย โดยสำหรับหลักเกณฑ์ปฏิบัตินั้น ได้กำหนดว่าเมื่อสอบบรรจุเป็นครูได้แล้ว ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนด คือ ภายในระยะเวลา 2 ปี ต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ส่วนสถานศึกษาที่จัดโครงการพิเศษ สามารถนำบุคคลภายนอกที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูมาช่วยงานได้ โดยแต่ละโครงการต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 4 ปี หลังสิ้นสุดโครงการ ให้ถือว่าพ้นสถานะไป
อ้างอิงจาก https://blog.eduzones.com/magazine/138845
ข้อมูล-คุรุสภา http://www.ksp.or.th
จากสาขาวิชาข้างต้น ไม่ได้มีเปิดสอนในหลักสูตรครู 5 ปี แต่เปิดใน คณะต่างๆที่เป็นหลัก สูตร 4 ปี จึงเป็นเหตุต้องรับ ป.บัณฑิต 4 ปีเข้ามาเพื่อทดแทนอัตราการขาดแคลนครู ประเด็นนี้ผมว่าสมเหตุสมผล เพราะเราต้องการครูเอกสาขาเฉพาะนี้จริงๆ และไม่มีเปิดในคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์(บางแห่งมีเปิดแต่น้อย)
ประเด็นที่ 2 สถาบันผลิตครู(บางที่)มีมาตรฐานที่ต่ำมาก
ในการรับนักเรียนเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยสมัยนี้ มีการสอบแข่งขันกันสูงมาก ยิ่งมีการแข่งขันกันสูงนั่นหมายความว่าในสถาบันนั้น ในคณะนั้น ก็จะได้เด็กที่มีศักยภาพสูงมาเรียนเช่นกัน เกณฑ์การรับของแต่ละสถาบันก็จะแตกต่างกันออกไป แต่ถึงยังไงก็ต้องสมัครสอบแข่งขันกันอยู่ดี แต่... ในการรับสมัครของมรภ.ในต่างจังหวัด มีเกณฑ์ การ รับ คือ สมัครเข้าได้เลย ไม่ต้องซีเรียสกับการสอบใดๆ ไม่มีการแข่งขันที่สูง สมัครแล้วเข้าเรียนได้เลย แถวๆบ้านผม เวลาเด็กสอบไม่ติดที่ไหนเลย ก็เข้ามรภ. ไม่รู้จะเรียนอะไร ก็เรียนครู หรือ สอบอะไรไม่ติดเลย ก็มาเรียนครูที่มรภ. ในสมัยก่อน คนที่เรียนครูราชภัฏผมว่า ก็เป็นคนเก่งนะ แต่ทุกวันนี้เด็กมันเป็นยังไงทุกคนก็น่าจะรู้อยู่ ฉะนั้น คุณภาพในการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อที่มรภ. อยู่ตรงไหน ? แต่ก่อนมรภ.เคยเป็นสถาบันที่ผลิตครูดีๆ ครูที่ผมเรียนมาด้วย ครูที่สอนผมมา ก็จบมาจากมรภ.ทั้งนั้น แต่สมัยนี้มันไม่เหมือนแต่ก่อนแล้ว จะหาคุณภาพจาก เด็กที่เรียนมรภ.สมัยนี้ก็ยากเหลือเกิน ยกตัวอย่างเช่น มีเด็กมรภ.มาฝึกสอนในที่ที่ผมทำงานอยู่และก็มีสถาบันอื่นมาฝึกสอนด้วยเช่นกัน แต่ภาวะความเป็นผู้นำนั้นต่างกันลิบ ไม่รู้ว่าที่อื่นเป็นหรือเปล่า แต่มรภ.ที่ผมเจอมานั้น หนีงานตลอด ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่มีความอดทน ไม่มีความช่วยเหลือเอื้อเฝื้อ ผิดกับอีกสถาบันอีกสถาบันนึง ที่เขาเต็มใจทำ(อันนี้เข้าใจเพราะเราใช้) แต่ความรับผิดชอบในงานมีมากกว่า อดทนอดกลั้นก็ดีกว่า
ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมไม่เหมารวม มรภ. ทั้งหมด แต่ขอเจาะจงแค่ของภาคเหนือ กับอิสานเท่านั้น ในการรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาต่อก็ง่าย ไม่แข่งขัน จบก็ง่ายแค่เข้าเรียนก็มีคะแนนเข้าห้องแล้ว สอบตกก็มีซ่อม แต่คุณภาพเด็กที่ได้ไป มันน้อย แล้วเด็กที่เรียนครู มรภ. ก็เยอะ เพราะเข้าง่าย จบออกมา มันก็เฟ้อ ว่างงานไปเป็นแถว ถ้าการเข้าเรียนครูมันมีการสอบแข่งขันที่สูง ครูที่จบออกมา จะมีคุณภาพมากๆ ดูตัวอย่างจากประเทษสิงคโปร์ สอบเข้าครูก็ยาก สถาบันที่เปิดรับให้เรียนครูก็น้อย(ประเทศเขาเล็กด้วยแหละ) แต่เด็กที่จบมา มีคุณภาพมาก เงินเดือนก็สูง สวัสดิการก็ดี ใครๆก็อยากเป็น แล้วหันมามองสถาบันผลิตครูที่ประเทศไทย ทำไมช่างเข้าง่ายเหลือเกิน นี่วิชาชีพชั้นสูงนะ เข้าง่ายจังล่ะ ..... มีคุณภาพน้อย จบออกมาก สอบไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดอีก(60%) ก็ไม่มีใครสอบบรรจุได้ ครูก็ขาดแคลน แล้วจะทำยังไงครับ ก็เปิดรับวุฒิ 4 ปี ที่เก่งๆเข้ามาทดแทน เพราะอะไร ....... คิดเอา
อันนี้แค่ความคิดเห็นของผมครับ แค่คนๆเดียว อาจจะมีทัศนคติที่แย่ เกี่ยวกับ มรภ. แต่เพราะผมเจอมา ผมเลยพูดได้
พร้อมรับฟังคำด่าครับ จะเก็บไว้แก้ไข
มาร่วมสนทนาประเด็นที่คิดว่ามันเป็นปัญหาจึงต้องรับวุฒิ 4 ปีเข้ามากันครับ