วันนี้มาชวนคุยเรื่องการแต่งกลอนค่ะ
ถ้าใครเป็นนักอ่าน นักเขียน นักคิด น้อยคนที่จะไม่รู้จักบทกวีกัน บทกวีในบ้านเรามีหลายแบบ หลายลักษณะ
มีการแบ่งจำแนก บทกวีออกมาหลายรูปแบบ เรียกกันว่า กาพย์ กลอน โคลง และ ฉันท์ ขึ้นอยู่กับการข้อกำหนด
และฉันท์ลักษณ์นั้นๆ ( หากใครสนใจ หรืออยากเรียนรู้ ก็สามารถ เข้าไปหาดูได้ในกูเกิ้ล มีหลายบทความดีๆ ให้อ่าน)
และถ้ามองย้อนไปในประวัติศาสตร์ คนไทยเป็นคนเจ้าสำบัด สำนวนและใช้ภาษาเชื่อมโยงได้อย่างงดงาม อ่อนโยน
และล้ำลึกในการแฝงความหมาย เพื่อให้คนอ่านตีความ และรู้สึกถึงความสุนทรีย์ในการใช้ภาษาไทย ที่ยากหาจะหาประเทศใด
เทียมเสมอกับการใช้ภาษาทางด้านกวี ของเราได้ มันน่าภูมิใจนะ ที่ภาษาไทยที่เป็นเอกลักษณ์ไทย สามารถนำมาสื่อสารให้สวยงาม
ตามอักษรที่คนเขียนคิดประดิษฐ์ โดยการนำมาร้อยเรียงคำได้อย่างสวยงาม และน่าอ่าน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้แน่นอน คนที่เป็นปูชนีย์บุคคล และเป็นต้นแบบการเขียนกลอนที่สละสลวยและงดงาม คงไม่มีใครเกิน กวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
อันเป็นเอกอุ บรมครูอย่างท่านสุนทรภู่ ที่มีคนเคารพและนำมาเป็นต้นแบบหรือประยุกต์ใช้ มาจนทุกวันนี้
ในบทกวีหนึ่งๆ เราสามารถ เขียนเรื่องราวที่ต้องการถ่ายทอดได้ออกมาได้หลายหลากแนว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวในชีวิตประจำวัน
เรื่องความรัก ที่สมหวัง หรือผิดหวัง เรื่องการเมือง การปกครอง เรียกว่าแทบจะทุกเรื่อง เราสามารถานำมาเขียนเป็นโคลงกลอน
ได้ทั้งนั้น ภาษาไทยจึงน่ามหัศจรรย์เป็นยิ่งนัก
และในอดีต เราจะเห็นว่าคนที่เป็นนักเขียน เป็นกวี มักจะมีมีศิลป์ และมุมมองที่ต่างจากคนทั่วไป การเขียนเรื่องราวที่เป็นทั้งบทความ
เป็นทั้งข่าวสาร บันทึก บทเพลงหรือกลอน ที่ถ่ายทอดออกมา จึงเป็นยุคที่คนสนใจมาก นั่นเพราะสมัยก่อน การศึกษายังไม่ทั่วถึง
คนที่กล้าเขียนอะไรๆ ออกมาสู่สังคม ในวงกว้างจนเป็นการยอมรับ จึงถูกยกย่องให้เป็นปราชญ์
มีหลายคนที่ผ่านยุคการเปลี่ยนแปลงบ้านเรา เคยเขียนเรื่องราวที่สะท้อนมุมความคิด และประสบการณ์ที่เจอออกมา ทั้งในรูปบทความ
และบทกวี บทเพลง ในยุคนั้น กลอนที่มีเนื้อหาหนักๆ ทางการเมือง ยังไม่เป็นที่ยอมรับกับฝ่ายกุมอำนาจมากนัก เนื่องจากผู้กุมอำนาจ
มองว่าเป็นการปลุกระดม จนเกิดการแข็งข้อนั่นเอง แต่ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง แรงกดใด มาก แรงต้านก็จะมีเยอะ
เราจึงเห็น กวีการเมือง เกิดขึ้นมาหลายท่าน และเกิดมาทุกยุคทุกสมัย ตราบใดที่ความคิดในเสรี ที่เป็นอิสระ ยังเกิดขึ้นกับเสรีชน
ผู้ที่มองเห็นว่าความเท่าเทียม ความเป็นธรรม ต้องปลดแอกจากการกดขี่
ขออนุญาต แปะลิงค์บทกวีการเมือง จากท่านผู้ทรงคุณวุฒิผ่านยุค 14 ตุลามา และกวีซีไรซ ์ที่ จขกท ชื่นชอบ อย่างคุณจีระนันท์
และอีกหลายท่านค่ะ Cr : M thai
http://talk.mthai.com/topic/26254
และเท่าที่เห็นในห้องการเมือง เห็นหลายท่านเลยแต่งกลอนเก่งมาก ระดับฝีมือไม่ธรรมดาเลย
มีหลายท่านเขียนด้วยการใช้ภาษาได้อย่างน่าทึ่ง และน่าเคารพ ภาษาสวย จนน่านำเอาเป็นเยี่ยงอย่าง เช่น
คุณช่างอาร์ต ( ปรศุราม) คุณอาร์ต โฟลค์สวาเก้น คุณหล่อขวัญ คุณพิราบขาว คุณเป็นต่อ คุณลุงโอลด์ คุณกุลมิตรา
คุณครูเคียงเดือน คุณเพรียว คุณร้ายสาระ คุณมาลาริน คุณจิ้งจก และคุณมาริโอ้ ซึ่งแต่ละท่านจะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง
และมีอีกหลายท่านที่เป็นตัวเลข ที่จขกท ไม่ได้เอ่ยนาม ต้องขออภัย คนในนี้เขียนกลอนเก่งเยอะ
แต่ก็เห็นมีหลายท่าน ที่เขียนสัมผัสระหว่างบทผิดไป แต่ไม่ได้หมายความว่า อรรรถในการอ่านจะเสียไปนะ
เพราะถ้าเราอ่าน และเห็นความตั้งใจในการสื่ออักษร เราก็จะเข้าใจว่าคนแต่งกลอน ใช้ความพยายามแค่ไหน
มันก็เป็นความสวยงามของความคิดที่ส่งออกมา
จขกท เลยขออนุญาต เอาข้อชี้แนะ ที่เป็นวิธีเขียนกลอนมาแปะไว้ให้อ่านกัน เพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติมนะคะ
เผื่อเด็กรุ่นใหม่ มาเห็นมาอ่านเข้าจะได้เข้าใจว่า กลอนแปด นั้น เขียนไม่ยากหากใจรัก และการใช้สัมผัสใน สัมผัสนอก
สัมผัสระหว่างบท เป็นอย่างไร อย่างน้อยการเขียนกลอนที่ถูกวิธี ก็คือการรักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทยของเราให้ยาวนานต่อไป
เอามาฝาก 2 ลิงค์ค่ะ ใครสนใจว่าเขียนกลอนอย่างไรให้ถูกวิธี ลองคลิ๊กเข้าไปอ่านค่ะ เป็นความรู้ที่ติดตัวเราหากเราสนใจจะเขียนกลอนค่ะ
http://www.looktan.4t.com/poem/howto.htm
https://sites.google.com/site/chanthalakklonthai/1-klxn-xan/klxn-paed
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ กลอนแปดเป็น คำประพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มีความเรียบเรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยมคือกลอนสุภาพ
ลักษณะคำประพันธ์กลอนแปด
๑. บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียกวรรครับ วรรคที่สามเรียกวรรครอง วรรคที่สี่เรียกวรรคส่งแต่ละวรรคมีแปดคำ จึงเรียกว่า กลอนแปด
๒. เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้
คำท้ายวรรคสดับ กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง คำท้ายวรรครับกำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี คำท้ายวรรครองกำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี คำท้ายวรรคส่งกำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
๓. สัมผัส
ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามหรือที่ห้า ของวรรคที่สอง (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคำที่สามหรือที่ห้าของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)
สัมผัสระหว่างบท ของกลอนแปด คือ
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัส ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)
ข. สัมผัสใน แต่ละวรรคของกลอนแปด แบ่งช่วงจังหวะออกเป็นสามช่วง ดังนี้
หนึ่งสองสาม – หนึ่งสอง – หนึ่งสองสาม
ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะในแต่ละวรรคนั่นเอง ดังตัวอย่าง
อันกลอนแปด – แปด คำ – ประจำวรรค
วางเป็นหลัก – อัก ษร – สุนทรศรี
ตัวอย่างกลอนแปด
เรื่องกานท์กลอนอ่อนด้อยค่อยค่อยหัด
แม้นอึดอัดขัดใจอย่าไปเลี่ยง
ทีละวรรคถักถ้อยนำร้อยเรียง
แม้ไม่เคียงเยี่ยงเขาจะเศร้าไย
วางเค้าโครงโยงคำค่อยนำเขียน
เฝ้าพากเพียรเจียรจารนำขานไข
จะถูกนิดผิดบ้างช่างปะไร
เขียนด้วยใจใฝ่รักอักษรา
แม้ไม่เก่งเพลงกลอนยังอ่อนด้อย
แต่ใจรักถักถ้อยร้อยภาษา
แม้ถ้อยคำนำเขียนไม่เนียนตา
อย่าโมโหโกรธาต่อว่ากัน
ทุกทุกวรรคถัก-ร่ายหมายสืบสาน
ทุกอักษรกลอนกานท์บนลานฝัน
อาบคุณค่าช้านานแห่งวารวัน
เพื่อสร้างสรร วรรณศิลป์ กวินทร์ไทย
( อันนี้ เข้าใจว่า วรรคสุดท้ายคงหายไป จขกท เลยแต่งเพิ่ม ผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยค่ะ )
กฎของกลอนแปด
การสัมผัส
ให้คำสุดท้ายวรรคแรก(วรรคสดับ) ไปสัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคที่ ๒(วรรครับ)ให้คำสุดท้ายวรรคที่สอง(วรรครับ) ไปสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓(วรรครอง)ให้คำสุดท้ายของวรรคที่สาม(วรรครอง) ไปสัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)การสัมผัสระหว่างบท หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การสัมผัสเชื่อมร้อยระหว่างบท” การเชื่อมสัมผัสระหว่างบท ให้คำสุดท้ายของวรรคทึ่สี่ คือ วรรคส่ง ไปสัมผัส กับคำสุดท้ายของวรรคที่สอง คือวรรครับของบทถัดไป ให้แต่งเชื่อมบทอย่างนี้ เรื่อยไปจนจบเนื้อความตามที่ต้องการ
การบังคับสัมผัส
มีข้อบังคับสัมผัสนอก ๓ แห่ง คือ ในบท ๒ แห่ง และสัมผัสเชื่อมระหว่างบท ๑ แห่ง และอีกอย่างหนึ่ง ถ้าจะสัมผัสสระ หรือพยัญชนะเพื่อความไพเราะในบทเดียวกัน ก็จักทำให้กลอนแต่ละบทมีความไพเราะเสียงกลมกลืนยิ่งขึ้น
ข้อบังคับ เรื่องการกำหนดเสียงวรรณยุกต์ ในคำสุดท้ายของแต่ละวรรค มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ใช้เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา แต่ไม่นิยมสามัญ
คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ห้ามใช้เสียง สามัญ และตรี นิยมใช้ จัตวา เป็นส่วนมาก
คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ใช้เสียง สามัญ หรือ ตรี ห้ามใช้ เอก โท จัตวา
คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ใช้เสียงสามัญ หรือ ตรี ห้ามเสียง เอก โท จัตวา ส่วนมากนิยมเสียงสามัญ
เพิ่มเติม ผังกลอนที่ถูกต้องตามข้อกำหนดค่ะ
ปล จขกท ไม่ได้เป็นผู้เก่งกาจด้านอักษรศาสคร์นะคะ เพียงแต่อยากเสนอมุมมองในความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น
จึงยังต้องใช้การอ้างอิง บทเขียน ข้อกำหนดการเขียนกลอนที่ถูกต้องจาก ท่านผู้รู้อื่นๆ ที่ท่านกรุณาเขียนไว้ในบล๊อคต่างๆมาประกอบ
หากมีใครที่เป็นผู้รู้ จะกรุณามาเพิ่มเติม ชี้แนะประการใด จขกท ก็น้อมรับ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ
ราชดำเนิน : กวีการเมือง และบทกวี ข้อควรรู้ ...แม่ไก่ตัวเล็ก
ถ้าใครเป็นนักอ่าน นักเขียน นักคิด น้อยคนที่จะไม่รู้จักบทกวีกัน บทกวีในบ้านเรามีหลายแบบ หลายลักษณะ
มีการแบ่งจำแนก บทกวีออกมาหลายรูปแบบ เรียกกันว่า กาพย์ กลอน โคลง และ ฉันท์ ขึ้นอยู่กับการข้อกำหนด
และฉันท์ลักษณ์นั้นๆ ( หากใครสนใจ หรืออยากเรียนรู้ ก็สามารถ เข้าไปหาดูได้ในกูเกิ้ล มีหลายบทความดีๆ ให้อ่าน)
และถ้ามองย้อนไปในประวัติศาสตร์ คนไทยเป็นคนเจ้าสำบัด สำนวนและใช้ภาษาเชื่อมโยงได้อย่างงดงาม อ่อนโยน
และล้ำลึกในการแฝงความหมาย เพื่อให้คนอ่านตีความ และรู้สึกถึงความสุนทรีย์ในการใช้ภาษาไทย ที่ยากหาจะหาประเทศใด
เทียมเสมอกับการใช้ภาษาทางด้านกวี ของเราได้ มันน่าภูมิใจนะ ที่ภาษาไทยที่เป็นเอกลักษณ์ไทย สามารถนำมาสื่อสารให้สวยงาม
ตามอักษรที่คนเขียนคิดประดิษฐ์ โดยการนำมาร้อยเรียงคำได้อย่างสวยงาม และน่าอ่าน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในบทกวีหนึ่งๆ เราสามารถ เขียนเรื่องราวที่ต้องการถ่ายทอดได้ออกมาได้หลายหลากแนว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวในชีวิตประจำวัน
เรื่องความรัก ที่สมหวัง หรือผิดหวัง เรื่องการเมือง การปกครอง เรียกว่าแทบจะทุกเรื่อง เราสามารถานำมาเขียนเป็นโคลงกลอน
ได้ทั้งนั้น ภาษาไทยจึงน่ามหัศจรรย์เป็นยิ่งนัก
และในอดีต เราจะเห็นว่าคนที่เป็นนักเขียน เป็นกวี มักจะมีมีศิลป์ และมุมมองที่ต่างจากคนทั่วไป การเขียนเรื่องราวที่เป็นทั้งบทความ
เป็นทั้งข่าวสาร บันทึก บทเพลงหรือกลอน ที่ถ่ายทอดออกมา จึงเป็นยุคที่คนสนใจมาก นั่นเพราะสมัยก่อน การศึกษายังไม่ทั่วถึง
คนที่กล้าเขียนอะไรๆ ออกมาสู่สังคม ในวงกว้างจนเป็นการยอมรับ จึงถูกยกย่องให้เป็นปราชญ์
มีหลายคนที่ผ่านยุคการเปลี่ยนแปลงบ้านเรา เคยเขียนเรื่องราวที่สะท้อนมุมความคิด และประสบการณ์ที่เจอออกมา ทั้งในรูปบทความ
และบทกวี บทเพลง ในยุคนั้น กลอนที่มีเนื้อหาหนักๆ ทางการเมือง ยังไม่เป็นที่ยอมรับกับฝ่ายกุมอำนาจมากนัก เนื่องจากผู้กุมอำนาจ
มองว่าเป็นการปลุกระดม จนเกิดการแข็งข้อนั่นเอง แต่ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง แรงกดใด มาก แรงต้านก็จะมีเยอะ
เราจึงเห็น กวีการเมือง เกิดขึ้นมาหลายท่าน และเกิดมาทุกยุคทุกสมัย ตราบใดที่ความคิดในเสรี ที่เป็นอิสระ ยังเกิดขึ้นกับเสรีชน
ผู้ที่มองเห็นว่าความเท่าเทียม ความเป็นธรรม ต้องปลดแอกจากการกดขี่
ขออนุญาต แปะลิงค์บทกวีการเมือง จากท่านผู้ทรงคุณวุฒิผ่านยุค 14 ตุลามา และกวีซีไรซ ์ที่ จขกท ชื่นชอบ อย่างคุณจีระนันท์
และอีกหลายท่านค่ะ Cr : M thai
http://talk.mthai.com/topic/26254
และเท่าที่เห็นในห้องการเมือง เห็นหลายท่านเลยแต่งกลอนเก่งมาก ระดับฝีมือไม่ธรรมดาเลย
มีหลายท่านเขียนด้วยการใช้ภาษาได้อย่างน่าทึ่ง และน่าเคารพ ภาษาสวย จนน่านำเอาเป็นเยี่ยงอย่าง เช่น
คุณช่างอาร์ต ( ปรศุราม) คุณอาร์ต โฟลค์สวาเก้น คุณหล่อขวัญ คุณพิราบขาว คุณเป็นต่อ คุณลุงโอลด์ คุณกุลมิตรา
คุณครูเคียงเดือน คุณเพรียว คุณร้ายสาระ คุณมาลาริน คุณจิ้งจก และคุณมาริโอ้ ซึ่งแต่ละท่านจะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง
และมีอีกหลายท่านที่เป็นตัวเลข ที่จขกท ไม่ได้เอ่ยนาม ต้องขออภัย คนในนี้เขียนกลอนเก่งเยอะ
แต่ก็เห็นมีหลายท่าน ที่เขียนสัมผัสระหว่างบทผิดไป แต่ไม่ได้หมายความว่า อรรรถในการอ่านจะเสียไปนะ
เพราะถ้าเราอ่าน และเห็นความตั้งใจในการสื่ออักษร เราก็จะเข้าใจว่าคนแต่งกลอน ใช้ความพยายามแค่ไหน
มันก็เป็นความสวยงามของความคิดที่ส่งออกมา
จขกท เลยขออนุญาต เอาข้อชี้แนะ ที่เป็นวิธีเขียนกลอนมาแปะไว้ให้อ่านกัน เพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติมนะคะ
เผื่อเด็กรุ่นใหม่ มาเห็นมาอ่านเข้าจะได้เข้าใจว่า กลอนแปด นั้น เขียนไม่ยากหากใจรัก และการใช้สัมผัสใน สัมผัสนอก
สัมผัสระหว่างบท เป็นอย่างไร อย่างน้อยการเขียนกลอนที่ถูกวิธี ก็คือการรักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทยของเราให้ยาวนานต่อไป
เอามาฝาก 2 ลิงค์ค่ะ ใครสนใจว่าเขียนกลอนอย่างไรให้ถูกวิธี ลองคลิ๊กเข้าไปอ่านค่ะ เป็นความรู้ที่ติดตัวเราหากเราสนใจจะเขียนกลอนค่ะ
http://www.looktan.4t.com/poem/howto.htm
https://sites.google.com/site/chanthalakklonthai/1-klxn-xan/klxn-paed
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เพิ่มเติม ผังกลอนที่ถูกต้องตามข้อกำหนดค่ะ
ปล จขกท ไม่ได้เป็นผู้เก่งกาจด้านอักษรศาสคร์นะคะ เพียงแต่อยากเสนอมุมมองในความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น
จึงยังต้องใช้การอ้างอิง บทเขียน ข้อกำหนดการเขียนกลอนที่ถูกต้องจาก ท่านผู้รู้อื่นๆ ที่ท่านกรุณาเขียนไว้ในบล๊อคต่างๆมาประกอบ
หากมีใครที่เป็นผู้รู้ จะกรุณามาเพิ่มเติม ชี้แนะประการใด จขกท ก็น้อมรับ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ