เดิมที ถ้าผมจำไม่ผิด เมื่อ 20 ปีที่แล้ว คนที่จบมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อะไรประเภทนี้
ที่พอจะมีหลักสูตรวิชาที่ใกล้เคียงกับ ครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ สามารถที่จะสอบบรรจุเป็นครูได้เหมือนกัน
แต่ในช่วงหลังๆ จะมีลักษณะที่ต้องมีวุฒิในทางวิชาชีพครู ซึ่งเปิดให้ผู้ที่จบสาขาวิชาอื่นสามารถเรียนต่อเนื่องได้
หรือที่เรียนกันว่า ป.บัณฑิต เพื่อให้มีวุฒิครูไปสอบครูผู้ช่วยได้...
โดยส่วนตัว ผมมองว่าวิชาชีพครูยังไม่ถึงกับเป็นวิชาชีพเฉพาะทางอย่างแพทย์หรือวิศวกร ที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ
เฉพาะด้านซึ่งหากไม่ได้รับการศึกษาและฝึกปฏิบัติมาเป็นเวลาหลายปี จะไม่สามารถปฏิบัติงานในวิชาชีพนั้นๆ ได้
เพียงแต่ก็มีหลักสูตรที่เกี่ยวข้องและจำเป็นในการใช้ประกอบการสอนอยู่หลายตัว ซึ่งผู้ที่จบจากสาขาวิชาอื่นมา
ไม่ได้เรียนรู้ (และตรงนี้ผมมองว่ามันมาเรียนรู้กันทีหลังได้) เพราะแม้แต่ผู้ที่จบครูมาโดยตรง เรียนมาแล้วก็ยังปรับใช้
ในการสอนไม่ได้ หรือไม่โอเคเลยก็มี...
นี่ยังไม่รวมถึง การ Rotation ครูภายในโรงเรียนขนาดกลางหรือขนาดเล็กนะครับ ครูมีจำนวนจำกัด ครู 1 คน ต่อเด็ก
2 ชั้นเรียนก็มี แล้วก็ต้องสอนให้ได้ทุกวิชา บางทีก็เห็นครูพละไปสอนคณิต ครูวิทย์ไปสอนอังกฤษ ถามว่าแล้วครู
เหล่านั้น เค้าได้จบในสาขาวิชาที่จำเป็นต้องไปสอนมั้ย? ก็ไม่ไง...
แต่คิดว่าหลักสูตรในการสอบครูผู้ช่วย คงเป็นตัวคัดกรองได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นผู้ที่จบวุฒิครูมา ก็ถือว่ามีภาษี
ที่ดีกว่าคนที่จบวุฒิอื่น เหมือนเปิดสอบตำแหน่งที่ต้องใช้กฎหมายเป็นหลัก แต่รับทุกสาขา คิดว่าคนที่จบอะไรมาจะได้เปรียบ
ในการสอบมากกว่ากัน? ก็คนจบนิติศาสตร์อยู่ดีนั่นแหละ เพียงแต่คนที่จบครูมาโดยตรง หากไม่ได้มีความรู้ความสามารถพอ
ที่จะสอบบรรจุได้เอง ก็ไม่ควรโทษว่าสาขาวิชาอื่นมาแย่งเก้าอี้ตัวเองนะครับ พวกสาขาอื่นที่สอบบรรจุได้ แสดงว่าเค้าเก่งมาก
จริงๆ เพราะต้องใช้ความพยายามในการทำความเข้าใจในสิ่งที่พวกคุณเรียนมาหลายปี ภายในเวลาแค่ไม่กี่วัน...
การเปิดโอกาสให้คนที่จบสาขาวิชาชีพอื่นนอกจาก "ครู" สามารถสอบบรรจุครูผู้ช่วยได้ เป็นผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน?
ที่พอจะมีหลักสูตรวิชาที่ใกล้เคียงกับ ครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ สามารถที่จะสอบบรรจุเป็นครูได้เหมือนกัน
แต่ในช่วงหลังๆ จะมีลักษณะที่ต้องมีวุฒิในทางวิชาชีพครู ซึ่งเปิดให้ผู้ที่จบสาขาวิชาอื่นสามารถเรียนต่อเนื่องได้
หรือที่เรียนกันว่า ป.บัณฑิต เพื่อให้มีวุฒิครูไปสอบครูผู้ช่วยได้...
โดยส่วนตัว ผมมองว่าวิชาชีพครูยังไม่ถึงกับเป็นวิชาชีพเฉพาะทางอย่างแพทย์หรือวิศวกร ที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ
เฉพาะด้านซึ่งหากไม่ได้รับการศึกษาและฝึกปฏิบัติมาเป็นเวลาหลายปี จะไม่สามารถปฏิบัติงานในวิชาชีพนั้นๆ ได้
เพียงแต่ก็มีหลักสูตรที่เกี่ยวข้องและจำเป็นในการใช้ประกอบการสอนอยู่หลายตัว ซึ่งผู้ที่จบจากสาขาวิชาอื่นมา
ไม่ได้เรียนรู้ (และตรงนี้ผมมองว่ามันมาเรียนรู้กันทีหลังได้) เพราะแม้แต่ผู้ที่จบครูมาโดยตรง เรียนมาแล้วก็ยังปรับใช้
ในการสอนไม่ได้ หรือไม่โอเคเลยก็มี...
นี่ยังไม่รวมถึง การ Rotation ครูภายในโรงเรียนขนาดกลางหรือขนาดเล็กนะครับ ครูมีจำนวนจำกัด ครู 1 คน ต่อเด็ก
2 ชั้นเรียนก็มี แล้วก็ต้องสอนให้ได้ทุกวิชา บางทีก็เห็นครูพละไปสอนคณิต ครูวิทย์ไปสอนอังกฤษ ถามว่าแล้วครู
เหล่านั้น เค้าได้จบในสาขาวิชาที่จำเป็นต้องไปสอนมั้ย? ก็ไม่ไง...
แต่คิดว่าหลักสูตรในการสอบครูผู้ช่วย คงเป็นตัวคัดกรองได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นผู้ที่จบวุฒิครูมา ก็ถือว่ามีภาษี
ที่ดีกว่าคนที่จบวุฒิอื่น เหมือนเปิดสอบตำแหน่งที่ต้องใช้กฎหมายเป็นหลัก แต่รับทุกสาขา คิดว่าคนที่จบอะไรมาจะได้เปรียบ
ในการสอบมากกว่ากัน? ก็คนจบนิติศาสตร์อยู่ดีนั่นแหละ เพียงแต่คนที่จบครูมาโดยตรง หากไม่ได้มีความรู้ความสามารถพอ
ที่จะสอบบรรจุได้เอง ก็ไม่ควรโทษว่าสาขาวิชาอื่นมาแย่งเก้าอี้ตัวเองนะครับ พวกสาขาอื่นที่สอบบรรจุได้ แสดงว่าเค้าเก่งมาก
จริงๆ เพราะต้องใช้ความพยายามในการทำความเข้าใจในสิ่งที่พวกคุณเรียนมาหลายปี ภายในเวลาแค่ไม่กี่วัน...