...ถ้าลองคำนวณต้นทุนค่าเสียโอกาส ของผู้ที่เรียนหลักสูตร 5 ปี คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ ก็จะเข้าใจว่า
ทำไมผู้ที่เรียนหลักสูตรนี้จะต้องออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้าน...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ดิฉันเป็นหนึ่งคนที่มีความใฝ่ฝันอยากจะเป็นอาจารย์ ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์สอนในระดับอุดมศึกษา หรือ ครูผู้สอนในระดับประถม และมัธยมศึกษา แม้ว่าจะเรียนมัธยมแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ แต่ก็มีความถนัดด้านภาษาด้วย จึงมักได้เป็นตัวแทนไปแข่งขันทักษะทางวิชาการ และได้รับรางวัลอยู่เสมอ แรงบันดาลใจต่างๆ ที่เคยได้รับ อีกทั้งความมุ่งมั่นภายในจิตใจ จึงทำให้เกิดความมุ่งหวังตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะเรียนต่อระดับอุดมศึกษาในคณะอักษรศาสตร์ เพื่อที่ในอนาคตจะมาเป็นอาจารย์ หรือคุณครู ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้ศิษย์ต่อไป
ชีวิตของทุกคนย่อมเคยผ่านสถานการณ์ที่ต้องเลือก
ถ้าเป็นสิ่งของ อาหาร เสื้อผ้า หนังสือ ฯลฯ เราสามารถเลือกและซื้อสิ่งที่ชอบได้หลากหลายอย่าง
แต่...อนาคต ขึ้นอยู่กับว่าวันนี้เราเลือกที่จะเดินทางไหน ซึ่งสำหรับคนส่วนมากนั้น จะเลือกเส้นทางเดินชีวิตได้หนึ่งทางเท่านั้น
เมื่อถึงคราวที่ดิฉันต้องเลือก...เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา...เนื่องจากเรียนแผนการเรียน วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ดังนั้นโอกาสในการเลือกเส้นทางเดินชีวิตจึงมีอย่างหลากหลาย ดิฉันเลือกสอบเข้าในระบบรับตรงของมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีชื่อเสียงในระดับต้นๆ ของประเทศ ทั้งคณะกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี รวมทั้งกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ซึ่งในการสอบกลุ่มวิทยาศาสตร์นั้นขออนุญาตตอบอย่างละอายใจว่า ไปสอบเป็นเพื่อนเพื่อนสนิทเท่านั้น แต่การสอบแต่ละครั้งก็ไม่ทำให้ตัวเองและพ่อแม่ผิดหวัง เพราะสอบติดทุกสาขาวิชาที่เลือกสอบ แต่ก็ได้สละสิทธิ์ให้ผู้ที่มุ่งหวังในคณะเหล่านั้นจริงๆ ได้ก้าวเข้าไปตามเส้นทางที่พวกเขาหมายมั่น เพราะอย่างไรก็ตามเป้าหมายที่แท้จริงของดิฉันคือการสอบเข้าเรียนในคณะอักษรศาสตร์เท่านั้น
อาจจะเกิดคำถามว่าทำไม ดิฉันจึงไม่สอบคณะที่ตนเองหวัง นั่นเพราะว่าคณะอักษรศาสตร์ ซึ่งเปิดการเรียนการสอนอยู่เพียงสองสถาบันคือ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษานั้นไม่เปิดรับนักศึกษาในระบบรับตรง มีเพียงการสอบรอบแอดมิชชั่นเท่านั้น ดังนั้นดิฉันจึงรู้ดีว่าเป้าหมายคือการแอดมิชชั่นที่ใช่ เพื่อเลือกคณะที่ชอบ
และแล้ววันหนึ่งโชคชะตาก็เล่นตลก เมื่อดิฉันเลือกสอบในระบบรับตรงของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยแห่งนั้นมีเพียงคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่อักษรศาสตร์ที่ใฝ่ฝัน ดิฉันจึงเลือกสอบคณะศึกษาศาสตร์ สาขาที่หวังว่าจะเรียนในคณะอักษรศาสตร์ และผลปรากฏว่าดิฉันสอบติด ซึ่งจะไม่เกิดปัญหาถ้าไม่มีนโยบายใหม่นี้
การเลือกเส้นทางเดินชีวิตจึงเริ่มขึ้นเมื่อพบว่ามีการเริ่มใช้นโยบายใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการที่ว่าผู้ที่จะเป็นครูจะต้องเรียนจบ
คณะศึกษาศาสตร์ หรือครุศาสตร์ ซึ่งเป็นการเรียนหลักสูตร 5 ปี เท่านั้น
ดังนั้นผู้ที่จบการศึกษาจากคณะอื่นๆ ที่ไม่ใช่สองคณะที่กล่าวมานี้ไม่มีสิทธิ์ได้รับใบประกอบวิชาชีพครู และไม่สามารถสอบเพื่อเป็นครูผู้สอนในสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการได้
จิตใจมนุษย์ใช่จะแน่นหนักดั่งหินผา เมื่อทราบดังนั้นมีหรือหัวใจดวงน้อยๆ ดวงนี้ จะไม่ไหวเอน
ความฝันที่มั่นคงมาตลอดเริ่มเกิดความไม่แน่นอน ด้วยเหตุที่ว่า
1. อยากเป็นอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา + อยากเรียนคณะอักษรศาสตร์ = ความฝันเป็นไปได้
2. อยากเป็นครู + อยากเรียนคณะอักษรศาสตร์ = ความฝันพังทลาย
จากผลข้างต้นทางเลือกใหม่ในชีวิตจึงเกิดขึ้น เมื่อการเลือกทางเดินสู่อนาคต ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ พิจารณา และปรึกษาคนในครอบครัวอย่างหนัก ก็ได้ข้อสรุปว่า
หากเรียนคณะอักษรศาสตร์ในระดับปริญญาตรี ก็ไม่สามารถเป็นอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาได้ทันที ต้องศึกษาในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกต่อจึงจะมีความรู้เพียงพอ แต่หากยังไม่ได้เป็นอาจารย์ดังที่หวัง ก็ไม่สามารถผันตัวเองมาเป็นครูสอนในโรงเรียนได้ จึงพิจารณาว่า หากเรียนคณะศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์ก็จะสามารถเป็นได้ทั้งครูและอาจารย์ดังที่หวัง
ส่วนคณะในฝันนั้นมีความคาดหวังว่าจะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท จึงตัดสินใจเลือกเรียนคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ไม่ได้รอคัดเลือกในรอบแอดมิชชั่นดังที่วางแผนไว้
...เส้นทางที่เลือกไม่ได้เปลี่ยนแปลงอนาคตทางด้านสายงานและวิชาชีพ เพราะเป้าหมายมีเพียงหนึ่งเดียวคือการเป็นครู เป็นอาจารย์
แต่ระหว่างทางนั้นย่อมมีความแตกต่าง เพราะคณะที่เลือกเรียนนั้นแตกต่างกัน...
เมื่อเพื่อนๆ ทั่วประเทศแอดมิชชั่นเลือกคณะที่ใช่ มหาวิทยาลัยที่ชอบ ดิฉันก็ได้แต่นั่งคำนวณคะแนนของตนเองเล่นๆ บ้างว่าคะแนนของเราถึงคณะที่เราใฝ่ฝันหรือไม่ หากเราเป็นหนึ่งในผู้แอดมิชชั่นจะสมหวังหรือผิดหวัง ซึ่งผลปรากฏว่า คะแนนของดิฉันสามารถเข้าเรียนในคณะอักษรศาสตร์ได้ ทั้งสองมหาวิทยาลัย แต่ก็ทำได้เพียงเสียดาย เพราะได้หมุนพวงมาลัยชีวิตเลี้ยวไปทางอื่นเรียบร้อยแล้ว ถึงแม้อยากจะหาช่องทางเพื่อยูเทิร์นกลับมาก็ไม่สามารถเป็นไปได้ เพราะผู้ที่ยืนยันสิทธิ์ในรอบรับตรงจะถูกตัดสิทธิ์ในรอบแอดมิชชั่นโดยอัตโนมัติ
ไม่ว่าอย่างไรก็ตามดิฉันก็มีความภาคภูมิใจในสิ่งที่ได้เลือก และเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีความสุข มีเพื่อนที่น่ารัก คอยช่วยเหลือกัน มีอาจารย์ที่คอยประสิทธิ์ประสาทวิชา และจิตวิญญาณของความเป็นครูที่ดีให้แก่ศิษย์ อาจารย์คอยดูแลเอาใจใส่ ห่วงใยศิษย์ไม่ต่างไปจากพ่อแม่ และคนในครอบครัว
พวกเราได้รับการบ่มเพาะจากสถาบันการผลิตครูที่มีคุณภาพตลอดระยะเวลา 4 ปี ในคณะและสาขาวิชาที่เปรียบเสมือนบ้านหลังที่สอง เมื่อขึ้นชั้นปีที่ 5 พวกเราจะถูกเรียกว่า นักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา เพราะนักศึกษาชั้นปีที่ 5 จะต้องไปปฏิบัติการสอนจริง (หลายๆ คนเรียกว่าฝึกสอน) ในโรงเรียนเป็นระยะเวลา 2 ภาคการศึกษา (1 ปี) ซึ่งนับเป็นประสบการณ์และความทรงจำที่ดีที่สุด
อย่างหนึ่งในชีวิตก็ว่าได้ เพราะพวกเราจะมีคุณครูพี่เลี้ยงที่คอยดูแลและให้คำแนะนำ ให้ความรักและความอบอุ่นประหนึ่งเราเป็นน้อง เป็นลูกหลานที่ท่านเอ็นดู นอกจากนั้นยังมีอาจารย์ทั้งจากคณะ และอาจารย์ประจำสาขาวิชาคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำอยู่เสมอ และครูคนสำคัญที่ช่วยให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไปพร้อมกับพวกเขาก็คือเหล่าลูกศิษย์ตัวน้อย ลูกศิษย์ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น และลูกศิษย์วัยรุ่นของเรานั่นเอง นักเรียนของเราจะช่วยกระตุ้นให้เราปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
จากเรื่องราวข้างต้นนั้นนอกจากจะเล่าประสบการณ์ของเจ้าของกระทู้ แล้ว ยังต้องการสื่อให้ผู้อ่านเห็นว่าชีวิตของคนเราไม่แน่นอน เป้าหมายและเส้นทางเดินมักจะปรับเปลี่ยนไปตามสภาพสังคมและสภาพแวดล้อม ดังนั้นมนุษย์จึงต้องดิ้นรนและเอาชีวิตรอด
ในสังคมอันยุ่งเหยิงนี้
ขอโยงเข้าสู่สถานการณ์ปัจจุบัน ดังข่าวต่อไปนี้
ที่มา
http://www.matichon.co.th/news/503357
จากข่าวจะเห็นว่าเนื้อหา ที่ท่านอาจารย์ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้กล่าวนั้นสามารถสื่อความในใจของนักศึกษาวิชาชีพครูได้อย่างครบถ้วนชัดเจน
ถึงแม้จะกล่าวว่า “การเรียนครูประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนหลัก คือ เนื้อหาความรู้ วิธีการสอน เทคนิคการถ่ายทอดจิตวิทยาการถ่ายทอดองค์ความรู้ การประเมินผล และส่วนสำคัญที่สุดคือ จิตวิญญาณความเป็นครู”
แต่หลายคนอาจจะแย้งได้ว่า แม้จบการศึกษาจากคณะอื่นๆ ก็สามารถพัฒนาตนเอง และเรียนรู้ได้เทียบเท่าผู้ที่เรียนคณะที่ผลิตครูโดยตรง ส่วนประเด็นจิตวิญญาณความเป็นครูนั้น หากต้องการเป็นครูด้วยใจ ย่อมมีความรักและปรารถนาดีต่อศิษย์และไม่ทำสิ่งใดผิดจรรยาบรรณแน่นอน ซึ่งดิฉันก็เห็นด้วยถ้าหากจะกล่าวดังที่ว่ามานี้
ประเด็นที่ดิฉันจะขยายความต่อไปนี้คือเรื่องของต้นทุนค่าเสียโอกาส ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบข้างต้น
ต้นทุนค่าเสียโอกาสคืออะไร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AA
...ทำไมเราถึงคัดค้าน...
? : “คนเก่งไม่เรียนครู หรือ ครูเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่สอบไม่ติดคณะอื่น”
ความเห็นส่วนตัว : สิ่งที่ท่านกล่าวอาจจะเคยเป็นความจริงในอดีตเมื่อนานมาแล้ว หรืออาจจะเป็นเรื่องจริงเพียงบางส่วนเท่านั้นแต่
หากท่านสนใจติดตามข้อมูลข่าวสารในการสอบ หรือการแอดมิชชั่นจะพบว่าคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ มีคะแนนแอดมิชชั่น และอัตราการแข่งขันสูงมาก แสดงให้เห็นว่ามีนักเรียนจำนวนมากต้องการเป็นครู และผู้ที่ได้ไปต่อคือคนเก่งที่มีคะแนนสูง ไม่ใช่สอบคณะอื่นไม่ติด แต่พวกเราเลือกที่จะเรียนคณะนี้
ท่านอย่าบอกว่าคนเก่งไปเรียนคณะอื่น ดิฉันเองสอบติดทุกคณะที่สมัคร แต่ได้ผ่านการไต่ตรองอย่างหนักจนเลือกเรียนในคณะนี้ ไม่ใช่ไร้ทางเลือกอย่างที่ถูกหลายๆ คนกล่าวหา มันน่าน้อยใจนะคะ
? : “พวกที่เรียนครูจะดราม่าทำไม ถ้าเก่งจริงทำไมต้องกลัว แค่เปิดโอกาสให้คนอื่นมาสอบบ้าง อย่าใจแคบ”
ความเห็นส่วนตัว : ถ้าท่านได้อ่านเรื่องราวชีวิตของดิฉันก็จะทราบว่า ทำไมดิฉันซึ่งได้บรรจุเป็นข้าราชการครูแล้วต้องมาเป็นเดือดเป็นร้อน หรืออธิบายยาวเหยียด ก็เพราะว่า นโยบายต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปไม่เว้นแต่ละวันนั้นทำให้ผู้ที่เรียนครู 5 ปีเสียสิทธิ หากใช้ระยะเวลาเรียนเท่ากัน ความคับแค้นใจของเหล่านักศึกษาครูคงจะน้อยกว่านี้ พวกเราเลือกเรียนครูด้วยหวังว่า คณะศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ จะเป็นเบ้าที่จะหล่อหลอมเราให้เป็นครูที่สมบูรณ์ แม้ว่าจะต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาถึง 5 ปี และที่สำคัญในช่วงเวลานั้นทุกคนที่จะสอบคัดเลือกเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาทราบดีว่า หากต้องการเป็นครู ก็ต้องเรียนคณะที่ผลิตครูเท่านั้น เรียนคณะอื่นๆ ไม่สามารถประกอบวิชาชีพครู (สังกัด สพฐ.) ได้ พวกเราจึงมุ่งมั่น ตั้งใจแข่งขันกับผู้สอบทั่วประเทศเพื่อเดินตามเส้นทางฝัน
ดังนั้นท่านที่เลือกเรียนคณะอื่นๆ แล้วอยากมาสอบครู หากจะว่าเราใจแคบดิฉันก็ยินดี เพราะตอนสอบเข้าท่านรู้และเลือกเส้นทางในสายงานอื่นไปแล้ว ในระยะเวลา 1 ปีที่ท่านเรียนจบออกไปหาประสบการณ์ ทำงาน หาเงิน แต่พวกเราฝึกสอน 1 ปี ไม่ได้รับเงินเดือน ในขณะที่ผู้เรียนคณะอื่นๆ ฝึกงานและได้ค่าตอบแทน แต่พวกเรานอกจากจะไม่ได้เงินแล้ว ยังต้องจ่ายเงินเพื่อทำสื่อการสอนมากมาย หากจะพูดว่าการศึกษาคือการลงทุน แต่ในเมื่อถ้าเราเรียน 3 ปีครึ่ง / 4 ปี เหมือนท่านก็เป็นครูได้เหมือนกัน พวกเราจะมาเรียนทำไมตั้ง 5 ปี แล้วใครจะยังอยากเรียนคณะศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ ที่ต้องใช้เวลาถึง 5 ปี ในเมื่อเรียนสาขาวิชาเดียวกันในคณะอื่นก็เป็นครูได้ และใช้เวลาน้อยกว่าอีกด้วย
คำนวณดูสิคะ เราเสียโอกาสไปเท่าไหร่ ?
สุดท้ายอยากฝากถึงท่านทั้งหลายในกระทรวงค่ะ ขอความเห็นใจให้แก่ผู้ที่ถูกล่อเข้ามาติดกับด้วยนโยบายในอดีต แต่ถูกท่านหักอกด้วยนโยบายในปัจจุบัน แม้ว่าจะเปลี่ยนผู้บริหารบ่อยแต่ขอให้คำนึงถึงความต่อเนื่องของนโยบายหรือการดำเนินงาน เช่นกรณีของดิฉันที่มีข้อกำหนดว่าผู้ที่จะเป็นครูต้องเรียนคณะศึกษาศาสตร์ ครูศาสตร์ หลักสูตรครู 5 ปี เท่านั้น ดิฉันจึงไม่เรียนคณะอักษรศาสตร์ที่เคยคาดว่าเป็นครูได้เช่นกัน แต่ไม่นานท่านกลับบอกว่าคณะไหนก็เป็นครูได้ ช่วยรับความเห็นนี้ไปพิจารณาด้วยเถอะค่ะ แม้จะเป็นหนึ่งเสียงเล็กๆ แต่คาดว่าจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาต่อไปค่ะ
สิ่งที่เล่ามานี้ไม่ใช่ทั้งหมดที่อัดอั้นอยู่ภายในใจ แต่เนื่องจากกระทู้นี้ยาวมากแล้ว ขอขอบคุณทุกคนที่อ่านจนจบนะคะ ที่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้นค่ะ แสดงความคิดเห็นได้นะคะ เพราะบางทีอาจมีมุมอื่นๆ ที่เจ้าของกระทู้ลืมกล่าวถึง
เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์เช่นนี้ ก็ได้แต่โทษโชคชะตาของตนเอง และโชคชะตาของเพื่อนร่วมชะตากรรม[/
เมื่ออยากได้คนเก่งมาเป็นครู คณะศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ จึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป
ทำไมผู้ที่เรียนหลักสูตรนี้จะต้องออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้าน...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ขอโยงเข้าสู่สถานการณ์ปัจจุบัน ดังข่าวต่อไปนี้
ที่มา http://www.matichon.co.th/news/503357
จากข่าวจะเห็นว่าเนื้อหา ที่ท่านอาจารย์ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้กล่าวนั้นสามารถสื่อความในใจของนักศึกษาวิชาชีพครูได้อย่างครบถ้วนชัดเจน
ถึงแม้จะกล่าวว่า “การเรียนครูประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนหลัก คือ เนื้อหาความรู้ วิธีการสอน เทคนิคการถ่ายทอดจิตวิทยาการถ่ายทอดองค์ความรู้ การประเมินผล และส่วนสำคัญที่สุดคือ จิตวิญญาณความเป็นครู”
แต่หลายคนอาจจะแย้งได้ว่า แม้จบการศึกษาจากคณะอื่นๆ ก็สามารถพัฒนาตนเอง และเรียนรู้ได้เทียบเท่าผู้ที่เรียนคณะที่ผลิตครูโดยตรง ส่วนประเด็นจิตวิญญาณความเป็นครูนั้น หากต้องการเป็นครูด้วยใจ ย่อมมีความรักและปรารถนาดีต่อศิษย์และไม่ทำสิ่งใดผิดจรรยาบรรณแน่นอน ซึ่งดิฉันก็เห็นด้วยถ้าหากจะกล่าวดังที่ว่ามานี้
ประเด็นที่ดิฉันจะขยายความต่อไปนี้คือเรื่องของต้นทุนค่าเสียโอกาส ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบข้างต้น
ต้นทุนค่าเสียโอกาสคืออะไร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
...ทำไมเราถึงคัดค้าน...
? : “คนเก่งไม่เรียนครู หรือ ครูเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่สอบไม่ติดคณะอื่น”
ความเห็นส่วนตัว : สิ่งที่ท่านกล่าวอาจจะเคยเป็นความจริงในอดีตเมื่อนานมาแล้ว หรืออาจจะเป็นเรื่องจริงเพียงบางส่วนเท่านั้นแต่
หากท่านสนใจติดตามข้อมูลข่าวสารในการสอบ หรือการแอดมิชชั่นจะพบว่าคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ มีคะแนนแอดมิชชั่น และอัตราการแข่งขันสูงมาก แสดงให้เห็นว่ามีนักเรียนจำนวนมากต้องการเป็นครู และผู้ที่ได้ไปต่อคือคนเก่งที่มีคะแนนสูง ไม่ใช่สอบคณะอื่นไม่ติด แต่พวกเราเลือกที่จะเรียนคณะนี้
ท่านอย่าบอกว่าคนเก่งไปเรียนคณะอื่น ดิฉันเองสอบติดทุกคณะที่สมัคร แต่ได้ผ่านการไต่ตรองอย่างหนักจนเลือกเรียนในคณะนี้ ไม่ใช่ไร้ทางเลือกอย่างที่ถูกหลายๆ คนกล่าวหา มันน่าน้อยใจนะคะ
? : “พวกที่เรียนครูจะดราม่าทำไม ถ้าเก่งจริงทำไมต้องกลัว แค่เปิดโอกาสให้คนอื่นมาสอบบ้าง อย่าใจแคบ”
ความเห็นส่วนตัว : ถ้าท่านได้อ่านเรื่องราวชีวิตของดิฉันก็จะทราบว่า ทำไมดิฉันซึ่งได้บรรจุเป็นข้าราชการครูแล้วต้องมาเป็นเดือดเป็นร้อน หรืออธิบายยาวเหยียด ก็เพราะว่า นโยบายต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปไม่เว้นแต่ละวันนั้นทำให้ผู้ที่เรียนครู 5 ปีเสียสิทธิ หากใช้ระยะเวลาเรียนเท่ากัน ความคับแค้นใจของเหล่านักศึกษาครูคงจะน้อยกว่านี้ พวกเราเลือกเรียนครูด้วยหวังว่า คณะศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ จะเป็นเบ้าที่จะหล่อหลอมเราให้เป็นครูที่สมบูรณ์ แม้ว่าจะต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาถึง 5 ปี และที่สำคัญในช่วงเวลานั้นทุกคนที่จะสอบคัดเลือกเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาทราบดีว่า หากต้องการเป็นครู ก็ต้องเรียนคณะที่ผลิตครูเท่านั้น เรียนคณะอื่นๆ ไม่สามารถประกอบวิชาชีพครู (สังกัด สพฐ.) ได้ พวกเราจึงมุ่งมั่น ตั้งใจแข่งขันกับผู้สอบทั่วประเทศเพื่อเดินตามเส้นทางฝัน
ดังนั้นท่านที่เลือกเรียนคณะอื่นๆ แล้วอยากมาสอบครู หากจะว่าเราใจแคบดิฉันก็ยินดี เพราะตอนสอบเข้าท่านรู้และเลือกเส้นทางในสายงานอื่นไปแล้ว ในระยะเวลา 1 ปีที่ท่านเรียนจบออกไปหาประสบการณ์ ทำงาน หาเงิน แต่พวกเราฝึกสอน 1 ปี ไม่ได้รับเงินเดือน ในขณะที่ผู้เรียนคณะอื่นๆ ฝึกงานและได้ค่าตอบแทน แต่พวกเรานอกจากจะไม่ได้เงินแล้ว ยังต้องจ่ายเงินเพื่อทำสื่อการสอนมากมาย หากจะพูดว่าการศึกษาคือการลงทุน แต่ในเมื่อถ้าเราเรียน 3 ปีครึ่ง / 4 ปี เหมือนท่านก็เป็นครูได้เหมือนกัน พวกเราจะมาเรียนทำไมตั้ง 5 ปี แล้วใครจะยังอยากเรียนคณะศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ ที่ต้องใช้เวลาถึง 5 ปี ในเมื่อเรียนสาขาวิชาเดียวกันในคณะอื่นก็เป็นครูได้ และใช้เวลาน้อยกว่าอีกด้วย
สุดท้ายอยากฝากถึงท่านทั้งหลายในกระทรวงค่ะ ขอความเห็นใจให้แก่ผู้ที่ถูกล่อเข้ามาติดกับด้วยนโยบายในอดีต แต่ถูกท่านหักอกด้วยนโยบายในปัจจุบัน แม้ว่าจะเปลี่ยนผู้บริหารบ่อยแต่ขอให้คำนึงถึงความต่อเนื่องของนโยบายหรือการดำเนินงาน เช่นกรณีของดิฉันที่มีข้อกำหนดว่าผู้ที่จะเป็นครูต้องเรียนคณะศึกษาศาสตร์ ครูศาสตร์ หลักสูตรครู 5 ปี เท่านั้น ดิฉันจึงไม่เรียนคณะอักษรศาสตร์ที่เคยคาดว่าเป็นครูได้เช่นกัน แต่ไม่นานท่านกลับบอกว่าคณะไหนก็เป็นครูได้ ช่วยรับความเห็นนี้ไปพิจารณาด้วยเถอะค่ะ แม้จะเป็นหนึ่งเสียงเล็กๆ แต่คาดว่าจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาต่อไปค่ะ
สิ่งที่เล่ามานี้ไม่ใช่ทั้งหมดที่อัดอั้นอยู่ภายในใจ แต่เนื่องจากกระทู้นี้ยาวมากแล้ว ขอขอบคุณทุกคนที่อ่านจนจบนะคะ ที่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้นค่ะ แสดงความคิดเห็นได้นะคะ เพราะบางทีอาจมีมุมอื่นๆ ที่เจ้าของกระทู้ลืมกล่าวถึง