คอลัมน์: หุ้นส่วนประเทศไทย
หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์
“มอง...อนาคตประเทศไทย” กับ กรณ์ จาติกวณิช ตอนที่ 1
ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
www.CsiSociety.com
Add Line: @CsiSociety
เมื่อวันเสาร์ที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา ทางโครงการอบรมนักลงทุน CSI รุ่นที่ 12 วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เรียนเชิญอาจารย์กรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งประธานชมรมฟินเทคแห่งประเทศไทย มาบรรยายเกี่ยวกับ “อนาคตประเทศไทย” ซึ่งต้องขอขอบพระคุณอาจารย์กรณ์เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้
การบรรยายในครั้งนี้ทำให้ผมมีความรู้สึกว่า ได้เห็นภาพชัดๆของประเทศไทยที่กำลังจะเปลี่ยนไปในอนาคต และรู้ว่าเราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร? ซึ่งเข้าใจได้ง่ายๆและสนุกไปกับเนื้อหาเป็นอย่างมาก ผมจึงอยากนำมาเล่าให้คุณผู้อ่านได้อ่านกัน ดังนี้ครับ
หนึ่ง รายได้คนไทย...ก้าวกระโดด ในยุคไทยแลนด์ 3.0
คุณผู้อ่านหลายท่านคงคุ้นเคยกับคำว่า “พลาซ่าแอคคอร์ด” ซึ่งคือสนธิสัญญาที่ริเริ่มโดยสหรัฐอเมริกา และอีก 4 ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในขณะนั้นมาตกลงกันและร่วมลงนามได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมัน อังกฤษ และฝรั่งเศส โดยวัตถุประสงค์ของของสนธิสัญญาฉบับนี้ก็คือ การผูกมัดให้ทุกประเทศที่ลงนามต้องร่วมกันแทรกแซงตลาดเงินเพื่อให้ค่าเงินของอเมริกามีค่าอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินเยนของญี่ปุ่นและเงินดอยช์มาร์คของเยอรมนี และได้เซ็นสัญญากันในปี 1985 (อ่านรายละเอียดได้ในเรื่อง “Zombie Economy”
http://www.doctorwe.com/posttoday/20160524/6371)
หลังการเซ็นสนธิสัญญา ค่าเงินเยนก็แข็งขึ้นอย่างมาก ทำให้ญี่ปุ่นไม่สามารถผลิตสินค้าภายในประเทศได้ จึงต้องย้ายฐานการผลิตออกมาเข้ามาในประเทศกลุ่มอาเซียน ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย ดังนั้นนับตั้งแต่ปี 1986 ทั้งเม็ดเงินและเทคโนโลยี่จากญี่ปุ่นก็ถาโถมเข้ามาในประเทศไทยอย่างมหาศาล และผลักดันให้ไทยเข้าสู่ยุค “ไทยแลนด์ 3.0” โดยอัตโนมัติ หลังจากนั้นราคาที่ดินบางพื้นที่ก็เพิ่มขึ้น 10 เท่าตัว ดัชนีตลาดหุ้นไทยทำจุดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์กว่า 1,750 จุดในวันที่ 4 มกราคม 1994 จึงทำให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวแบบก้าวกระโดด และในช่วงเวลานั้นรายได้ต่อหัวของคนไทยก็ได้ขยับเพิ่มขึ้นจาก 800 ดอลลาร์ต่อหัว กลายไปเป็น 2,500 ดอลลาร์ต่อหัว เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าตัว ในระยะเวลาเพียง 8 ปี
จากนั้นมาในปี 1997 ประเทศไทยก็ประสบกับ “วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง” ดังนั้นในช่วงเวลาระหว่างปี 1994-2017 รายได้ต่อหัวของคนไทยจาก 2,500 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 5,800 ดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้น 1 เท่านิดหน่อย ภายใน 23 ปี ซึ่งถือได้ว่า เป็นการเติบโตที่...ช้ามาก
สอง เราจำเป็นต้องพัฒนาเศรษฐกิจให้มุ่งสู่ “ไทยแลนด์ 4.0” หรือไม่?
ในปี 2016 ที่ผ่านมา รายได้ต่อหัวของคนไทยอยู่ที่ 5,775 ดอลลาร์ต่อหัว ในขณะที่รายได้เฉลี่ยของประชากรทั้งโลกอยู่ที่ 10,058 ดอลลาร์ต่อหัว นั่นแสดงให้เห็นว่า รายได้ต่อหัวของคนไทยเทียบกับประชากรโลกแล้ว รายได้ของคนไทยต่อหัวอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นเอง
ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีทางเลือกเพียง 2 ทางด้วยกันคือ
หนึ่ง เราพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยไปสู่ “ไทยแลนด์ 4.0” ซึ่งน่าจะทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) เพิ่มขึ้นเป็น 5% ต่อปี และทำให้รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นถึงเป้าหมายในปี 2027
สอง เราก็ไปเรื่อยๆเหมือนทุกวันนี้ โดยมี GDP อยู่ที่ 2.5% ต่อปี เติบโตแบบเดิมคือ “ไทยแลนด์ 3.0” ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และก็จะทำให้รายได้ต่อหัวของคนไทยถึงเป้าหมายได้ในปี 2037 ช้ากว่าทางเลือกที่หนึ่ง... 10 ปี
จาก 2 ทางเลือกข้างต้น จึงไม่น่าแปลกใจว่า รัฐบาลไทยจะเลือกทางเลือกที่หนึ่งแน่ๆ และจะพยายามผลักดันให้ทุกองคพายพต้องมุ่งหน้าพัฒนาให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ยุค “ไทยแลนด์ 4.0” ให้จงได้
สาม ประเทศไทย...ในการจัดอันดับโลก
ในที่นี้ อาจารย์กรณ์ได้นำการจัดอันดับโลก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมาให้พวกเราได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น
หนึ่ง ดัชนีความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business Index) ในปี 2009 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 12 แต่เมื่อปีที่แล้ว 2016 อันดับของประเทศไทยกลับตกไปอยู่ในอันดับที่ 46 นั่นแสดงให้เห็นว่า ต่างชาติมองว่าการมาทำธุรกิจในประเทศไทยมีความยุ่งยากมากกว่าเดิม
สอง ความเหลื่อมล้ำของการกระจายความมั่งคั่งในประเทศไทย พบว่า รัสเซียมีความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่งสูงที่สุดที่ 74.5% อินเดียอันดับที่ 2 อยู่ที่ 58.4% และไทยอยู่อันดับที่ 3 ที่ 58% ในขณะที่ชาติอื่นล้วนมีความเหลื่อมล้ำของการกระจายความมั่งคั่งต่ำกว่า 50% ทั้งสิ้น นั่นแสดงให้เห็นว่า ในประเทศไทยความมั่งคั่งยังคงกระจุกตัวอยู่ในหมู่คนที่ร่ำรวยเป็นส่วนใหญ่ และคนส่วนใหญ่ของประเทศก็ยังคงยากจนอยู่
สาม คาดการณ์ว่าในปี 2030 ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยจะกระจุกตัวอยู่ในช่วงอายุ 50-60 ปี นั่นแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ยุค “สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์” ในระยะเวลาอันใกล้นี้
สี่ ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perception Index) ปี 1995 เราอยู่อันดับที่ 38 ปี 2010 อยู่อันดับที่ 78 และล่าสุดปี 2016 อยู่อันดับที่ 101 ก็คงได้แต่หวังว่า เมื่อไรก็ตามที่ไทยเริ่มจัดการเลือกตั้งได้แล้ว อันดับดังกล่าวก็คงจะดีขึ้น
ห้า คุณภาพการศึกษา พบว่าคุณภาพการศึกษาในระดับประถม อันดับของประเทศไทยอยู่ที่ 89 คุณภาพระบบการศึกษาอยู่อันดับที่ 74 และคุณภาพการศึกษาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อยู่อันดับที่ 79 ซึ่งนั่นสะท้อนให้เห็นถึง คุณภาพการศึกษาที่ยังไม่ดีนักของไทย
ในวันพรุ่งนี้ ผมจะพาคุณผู้อ่านไปเรียนรู้กันต่อว่า อาจารย์กรณ์ จาติกวณิช มองประเทศไทยกันอย่างไร? แล้วพบกัน...พรุ่งนี้ นะครับ
หาอ่านบทความ และความรู้ด้านการลงทุนของผู้เขียนได้เพิ่มเติมได้ที่
www.doctorwe.com
โพสต์ทูเดย์... “มอง...อนาคตประเทศไทย” กับ กรณ์ จาติกวณิช ตอนที่ 1
หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์
“มอง...อนาคตประเทศไทย” กับ กรณ์ จาติกวณิช ตอนที่ 1
ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
www.CsiSociety.com
Add Line: @CsiSociety
เมื่อวันเสาร์ที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา ทางโครงการอบรมนักลงทุน CSI รุ่นที่ 12 วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เรียนเชิญอาจารย์กรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งประธานชมรมฟินเทคแห่งประเทศไทย มาบรรยายเกี่ยวกับ “อนาคตประเทศไทย” ซึ่งต้องขอขอบพระคุณอาจารย์กรณ์เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้
การบรรยายในครั้งนี้ทำให้ผมมีความรู้สึกว่า ได้เห็นภาพชัดๆของประเทศไทยที่กำลังจะเปลี่ยนไปในอนาคต และรู้ว่าเราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร? ซึ่งเข้าใจได้ง่ายๆและสนุกไปกับเนื้อหาเป็นอย่างมาก ผมจึงอยากนำมาเล่าให้คุณผู้อ่านได้อ่านกัน ดังนี้ครับ
หนึ่ง รายได้คนไทย...ก้าวกระโดด ในยุคไทยแลนด์ 3.0
คุณผู้อ่านหลายท่านคงคุ้นเคยกับคำว่า “พลาซ่าแอคคอร์ด” ซึ่งคือสนธิสัญญาที่ริเริ่มโดยสหรัฐอเมริกา และอีก 4 ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในขณะนั้นมาตกลงกันและร่วมลงนามได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมัน อังกฤษ และฝรั่งเศส โดยวัตถุประสงค์ของของสนธิสัญญาฉบับนี้ก็คือ การผูกมัดให้ทุกประเทศที่ลงนามต้องร่วมกันแทรกแซงตลาดเงินเพื่อให้ค่าเงินของอเมริกามีค่าอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินเยนของญี่ปุ่นและเงินดอยช์มาร์คของเยอรมนี และได้เซ็นสัญญากันในปี 1985 (อ่านรายละเอียดได้ในเรื่อง “Zombie Economy” http://www.doctorwe.com/posttoday/20160524/6371)
หลังการเซ็นสนธิสัญญา ค่าเงินเยนก็แข็งขึ้นอย่างมาก ทำให้ญี่ปุ่นไม่สามารถผลิตสินค้าภายในประเทศได้ จึงต้องย้ายฐานการผลิตออกมาเข้ามาในประเทศกลุ่มอาเซียน ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย ดังนั้นนับตั้งแต่ปี 1986 ทั้งเม็ดเงินและเทคโนโลยี่จากญี่ปุ่นก็ถาโถมเข้ามาในประเทศไทยอย่างมหาศาล และผลักดันให้ไทยเข้าสู่ยุค “ไทยแลนด์ 3.0” โดยอัตโนมัติ หลังจากนั้นราคาที่ดินบางพื้นที่ก็เพิ่มขึ้น 10 เท่าตัว ดัชนีตลาดหุ้นไทยทำจุดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์กว่า 1,750 จุดในวันที่ 4 มกราคม 1994 จึงทำให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวแบบก้าวกระโดด และในช่วงเวลานั้นรายได้ต่อหัวของคนไทยก็ได้ขยับเพิ่มขึ้นจาก 800 ดอลลาร์ต่อหัว กลายไปเป็น 2,500 ดอลลาร์ต่อหัว เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าตัว ในระยะเวลาเพียง 8 ปี
จากนั้นมาในปี 1997 ประเทศไทยก็ประสบกับ “วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง” ดังนั้นในช่วงเวลาระหว่างปี 1994-2017 รายได้ต่อหัวของคนไทยจาก 2,500 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 5,800 ดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้น 1 เท่านิดหน่อย ภายใน 23 ปี ซึ่งถือได้ว่า เป็นการเติบโตที่...ช้ามาก
สอง เราจำเป็นต้องพัฒนาเศรษฐกิจให้มุ่งสู่ “ไทยแลนด์ 4.0” หรือไม่?
ในปี 2016 ที่ผ่านมา รายได้ต่อหัวของคนไทยอยู่ที่ 5,775 ดอลลาร์ต่อหัว ในขณะที่รายได้เฉลี่ยของประชากรทั้งโลกอยู่ที่ 10,058 ดอลลาร์ต่อหัว นั่นแสดงให้เห็นว่า รายได้ต่อหัวของคนไทยเทียบกับประชากรโลกแล้ว รายได้ของคนไทยต่อหัวอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นเอง
ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีทางเลือกเพียง 2 ทางด้วยกันคือ
หนึ่ง เราพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยไปสู่ “ไทยแลนด์ 4.0” ซึ่งน่าจะทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) เพิ่มขึ้นเป็น 5% ต่อปี และทำให้รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นถึงเป้าหมายในปี 2027
สอง เราก็ไปเรื่อยๆเหมือนทุกวันนี้ โดยมี GDP อยู่ที่ 2.5% ต่อปี เติบโตแบบเดิมคือ “ไทยแลนด์ 3.0” ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และก็จะทำให้รายได้ต่อหัวของคนไทยถึงเป้าหมายได้ในปี 2037 ช้ากว่าทางเลือกที่หนึ่ง... 10 ปี
จาก 2 ทางเลือกข้างต้น จึงไม่น่าแปลกใจว่า รัฐบาลไทยจะเลือกทางเลือกที่หนึ่งแน่ๆ และจะพยายามผลักดันให้ทุกองคพายพต้องมุ่งหน้าพัฒนาให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ยุค “ไทยแลนด์ 4.0” ให้จงได้
สาม ประเทศไทย...ในการจัดอันดับโลก
ในที่นี้ อาจารย์กรณ์ได้นำการจัดอันดับโลก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมาให้พวกเราได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น
หนึ่ง ดัชนีความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business Index) ในปี 2009 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 12 แต่เมื่อปีที่แล้ว 2016 อันดับของประเทศไทยกลับตกไปอยู่ในอันดับที่ 46 นั่นแสดงให้เห็นว่า ต่างชาติมองว่าการมาทำธุรกิจในประเทศไทยมีความยุ่งยากมากกว่าเดิม
สอง ความเหลื่อมล้ำของการกระจายความมั่งคั่งในประเทศไทย พบว่า รัสเซียมีความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่งสูงที่สุดที่ 74.5% อินเดียอันดับที่ 2 อยู่ที่ 58.4% และไทยอยู่อันดับที่ 3 ที่ 58% ในขณะที่ชาติอื่นล้วนมีความเหลื่อมล้ำของการกระจายความมั่งคั่งต่ำกว่า 50% ทั้งสิ้น นั่นแสดงให้เห็นว่า ในประเทศไทยความมั่งคั่งยังคงกระจุกตัวอยู่ในหมู่คนที่ร่ำรวยเป็นส่วนใหญ่ และคนส่วนใหญ่ของประเทศก็ยังคงยากจนอยู่
สาม คาดการณ์ว่าในปี 2030 ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยจะกระจุกตัวอยู่ในช่วงอายุ 50-60 ปี นั่นแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ยุค “สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์” ในระยะเวลาอันใกล้นี้
สี่ ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perception Index) ปี 1995 เราอยู่อันดับที่ 38 ปี 2010 อยู่อันดับที่ 78 และล่าสุดปี 2016 อยู่อันดับที่ 101 ก็คงได้แต่หวังว่า เมื่อไรก็ตามที่ไทยเริ่มจัดการเลือกตั้งได้แล้ว อันดับดังกล่าวก็คงจะดีขึ้น
ห้า คุณภาพการศึกษา พบว่าคุณภาพการศึกษาในระดับประถม อันดับของประเทศไทยอยู่ที่ 89 คุณภาพระบบการศึกษาอยู่อันดับที่ 74 และคุณภาพการศึกษาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อยู่อันดับที่ 79 ซึ่งนั่นสะท้อนให้เห็นถึง คุณภาพการศึกษาที่ยังไม่ดีนักของไทย
ในวันพรุ่งนี้ ผมจะพาคุณผู้อ่านไปเรียนรู้กันต่อว่า อาจารย์กรณ์ จาติกวณิช มองประเทศไทยกันอย่างไร? แล้วพบกัน...พรุ่งนี้ นะครับ
หาอ่านบทความ และความรู้ด้านการลงทุนของผู้เขียนได้เพิ่มเติมได้ที่ www.doctorwe.com