Ghost in the Shell Official Trailer 1 (2017)
แฟนๆการ์ตูนหลายคนอาจจะกำลังดีใจที่จะมีหนังที่สร้างมาจากการ์ตูนของนักเขียนมาซามูเน ชิโรวกำลังจะเข้าโรงในเร็ววันนี้ ใช่แล้วการ์ตูนเรื่องนั้นก็คือ Ghost in the Shell การ์ตูนมังงะที่เขียนไว้ย้อนไปตั้งแต่ปี 1989 นู่น
สารภาพตามตรงผมไม่ทันหรอก เพราะด้วยอายุและใบหน้าของผมนั้นยังอาจจัดได้ว่าเป็นผู้เยาว์ พึ่งมาทันตอนทีหลัง คือย้อนไปดูหนังแอนนิเมะที่สร้างปี 1995 จริงๆก็พึ่งดูเมื่อไม่นานมานี้เอง จริงๆก็คือพึ่งดูก่อนมาตั้งกระทู้นี่เอง แต่ได้ยินชื่อ Ghost in the Shell มานานมากแล้ว
แต่ถึงจะพูดอย่างนั้นก็เถอะนะ ในฐานะที่ชอบดูแอนนิเมะ อ่านมังงะมาบ้าง แล้วก็ยังชอบดูหนังแนวไซไฟ บวกกับทราบว่า Scarlett Johansson จะมารับบทเป็นตัวเอกอีก นี่จึงเป็นหนังอีกเรื่องในปี 2017 ที่น่าสนใจ
มันเป็นเรื่องราวในโลกอนาคตของหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายทางไซเบอร์ ชื่อว่าหน่วย Public Security Section 9 โดยมีตัวเอกของเราคือ โมโตโกะ คุซานากิ โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับ หุ่นยนต์ คอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์อะไรพวกนี้ ซึ่งผมเคยเขียนเรื่องราวเหล่านี้แล้วในกระทู้เก่า เผื่อใครสนใจสามารถไปอ่านได้ครับ
==ชีวประวัติอย่างย่อของนักคณิตศาสตร์ที่ชื่อแอลัน ทัวริง(Alan Turing) และมารู้จักกับการทดสอบทัวริง (Turing test)กันเถอะ==
https://ppantip.com/topic/36141756
แต่ในครั้งนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องราวของชื่อหนังและความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และปรัชญาที่เกี่ยวข้องครับ
แล้วผีในเครื่องจักร(Ghost in the Machine)คืออะไร ?
เราจะมาร่วมกันหาคำตอบในกระทู้นี้ครับ
เพื่อเข้ากับบรรยากาศกระทู้การ์ตูนญี่ปุ่นขอแนะนำเพลงอูมารุมาเป็นเพลงประกอบกระทู้ครับ
มาเริ่มกันเลย ชื่อการ์ตูนว่า Ghost in the Shell ผู้เขียนปรับมาจากชื่อหนังสือในปี 1967 ที่เขียนโดย Arthur Koestler ชื่อหนังสือนั้นคือ The Ghost in the Machine
ชื่อของหนังสือเล่มนี้ก็ได้รับแรงบันดาลใจต่อมาอีกทอดหนึ่ง คือนำมาจากประโยคของนักปรัชญาที่ชื่อ Gilbert Ryle นักปรัชญาชาวอังกฤษโดยเขาได้แนะนำวลีนี้ให้คนรู้จักกันในหนังสือ The Concept of Mind หนังสือปี 1949
โอเคเข้าใจที่มาแล้ว แล้วตกลงมันคืออะไร มันมีความสำคัญอย่างไรกันนะ
อธิบายอย่างสั้นๆก็คือ Ghost in the Machine เป็นประโยคของ Gilbert Ryle เพื่ออธิบายทฤษฎีทวินิยมของ เรอเน เดกาต นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ทวิแปลว่าสอง นั่นก็คือว่าทฤษฎีนี้มี 2 สิ่ง คือมนุษย์นั้นประกอบด้วย 2 อย่างคือกายกับจิต แยกออกจากกัน และร่างกายนั้นก็เปรียบเสมือนเครื่องจักรทำตามคำสั่งของจิต ประมาณว่าจิตเป็นนาย กายเป็นบ่าวนั่นแล แนวคิดนักเดกาตนี้คล้ายกับแนวคิดของศาสนาทางตะวันออกเลย
ซึ่งในการ์ตูน Ghost in the Shell นี้ เกิดขึ้นในยุคอนาคต ที่ซึ่งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พัฒนาขึ้นจนสามารถมีปัญญาประดิษบ์และสมองไซเบอร์ที่ฉลาดเสียจนไม่สามารถแยกออกจากสมองที่เป็นของมนุษย์จริงๆ ตัวนางเอกโมโตโกะ คุซานากิ นั้นมีร่างกายเป็นหุ่นยนต์ล้วนๆสมบูรณ์แบบขณะที่สมองของเธอนั้นยังเป็นส่วนเดียวที่เป็นของมนุษย์จริงๆ นี่เองที่เป็นความสัมพันธ์ของตัวละครกับชื่อเรื่อง
เนื้อหาต่อไปเราจะไม่เน้นพูดถึงหนังหรือการ์ตูนแล้วแต่เราจะพูดถึง ผีในเครื่องจักร (Ghost in the Machine) ในมุมมองของทางปรัชญา และต่อมาก็ในมุมมองของวิทยาศาสตร์ ถ้าให้ลงลึกไปก็คือในมุมมองทางฟิสิกส์ครับ
อ่านไปแล้ว เนื้อหาอาจจะออกแนววิชาการสักหน่อย แต่ก็น่าสนใจครับ
มุมมองทางปรัชญา
แนวคิดอาจจะมีมากมายหลากหลายสำนักมาก แต่ผมจะพูดถึงแค่ 2 อย่างหลักเท่านั้น
ในเรื่อง ผีในเครื่องจักร ยังมีประเด็นมากกว่านั้น เพราะสำนักทางปรัชญามีหลากหลายแนวคิด ซึ่งมักจะคัดแย้งกัน แล้วอันไหนหล่ะถูก แล้วอันไหนอธิบายได้ดีที่สุด ผมจะพูดถึง 2 อันที่สำคัญน่าสนใจ อันแรกเรียกว่า ทวินิยม(dualism) ชี้ชัดลงไปก็คือทวินิยมแบบเดกาต ทฤษฎีนี้เชื่อว่าปฐมธาตุที่ประกอบเป็นเอกภพนั้น มี 2 อย่าง คือจิตกับสสาร ดำรงคู่กันมาตั้งแต่แรก มนุษย์ประกอบด้วย 2 อย่างคือกายกับจิต ส่วนอีกแนวคิดหนึ่งที่เป็นคู่ตรงข้ามคือ เอกนิยม(monism) ในกลุ่มนี้มีกลุ่มย่อยที่เรียกว่า กายภาพนิยม(physicalism) กลุ่มนี้เชื่อว่าปฐมธาตุของเอกภพนั้นมีเพียงอย่างเดียวคือทางกายภาพ ไม่มีอะไรมากกว่านั้น คือปฎิเสธว่าไม่มีจิต
--------------------------------------------------
"โอนิจัง พี่จขกท สุดหล่อฝากมาบอกว่าเดี๋ยวจะมาเขียนต่อให้จบค่ะ
ถ้าชื่นชอบกระทู้ช่วยกดบวก กดถูกใจด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ"
-น้องสาวสุดติ่ง อูมารุจัง
==จากหนัง Ghost in the Shell (2017) มารู้จักกับผีในเครื่องจักร (Ghost in the Machine)ในมุมมองของวิทย์และปรัชญากันเถอะ==
แฟนๆการ์ตูนหลายคนอาจจะกำลังดีใจที่จะมีหนังที่สร้างมาจากการ์ตูนของนักเขียนมาซามูเน ชิโรวกำลังจะเข้าโรงในเร็ววันนี้ ใช่แล้วการ์ตูนเรื่องนั้นก็คือ Ghost in the Shell การ์ตูนมังงะที่เขียนไว้ย้อนไปตั้งแต่ปี 1989 นู่น
สารภาพตามตรงผมไม่ทันหรอก เพราะด้วยอายุและใบหน้าของผมนั้นยังอาจจัดได้ว่าเป็นผู้เยาว์ พึ่งมาทันตอนทีหลัง คือย้อนไปดูหนังแอนนิเมะที่สร้างปี 1995 จริงๆก็พึ่งดูเมื่อไม่นานมานี้เอง จริงๆก็คือพึ่งดูก่อนมาตั้งกระทู้นี่เอง แต่ได้ยินชื่อ Ghost in the Shell มานานมากแล้ว
แต่ถึงจะพูดอย่างนั้นก็เถอะนะ ในฐานะที่ชอบดูแอนนิเมะ อ่านมังงะมาบ้าง แล้วก็ยังชอบดูหนังแนวไซไฟ บวกกับทราบว่า Scarlett Johansson จะมารับบทเป็นตัวเอกอีก นี่จึงเป็นหนังอีกเรื่องในปี 2017 ที่น่าสนใจ
มันเป็นเรื่องราวในโลกอนาคตของหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายทางไซเบอร์ ชื่อว่าหน่วย Public Security Section 9 โดยมีตัวเอกของเราคือ โมโตโกะ คุซานากิ โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับ หุ่นยนต์ คอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์อะไรพวกนี้ ซึ่งผมเคยเขียนเรื่องราวเหล่านี้แล้วในกระทู้เก่า เผื่อใครสนใจสามารถไปอ่านได้ครับ
==ชีวประวัติอย่างย่อของนักคณิตศาสตร์ที่ชื่อแอลัน ทัวริง(Alan Turing) และมารู้จักกับการทดสอบทัวริง (Turing test)กันเถอะ==
https://ppantip.com/topic/36141756
แต่ในครั้งนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องราวของชื่อหนังและความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และปรัชญาที่เกี่ยวข้องครับ
แล้วผีในเครื่องจักร(Ghost in the Machine)คืออะไร ?
เราจะมาร่วมกันหาคำตอบในกระทู้นี้ครับ
เพื่อเข้ากับบรรยากาศกระทู้การ์ตูนญี่ปุ่นขอแนะนำเพลงอูมารุมาเป็นเพลงประกอบกระทู้ครับ
มาเริ่มกันเลย ชื่อการ์ตูนว่า Ghost in the Shell ผู้เขียนปรับมาจากชื่อหนังสือในปี 1967 ที่เขียนโดย Arthur Koestler ชื่อหนังสือนั้นคือ The Ghost in the Machine
ชื่อของหนังสือเล่มนี้ก็ได้รับแรงบันดาลใจต่อมาอีกทอดหนึ่ง คือนำมาจากประโยคของนักปรัชญาที่ชื่อ Gilbert Ryle นักปรัชญาชาวอังกฤษโดยเขาได้แนะนำวลีนี้ให้คนรู้จักกันในหนังสือ The Concept of Mind หนังสือปี 1949
โอเคเข้าใจที่มาแล้ว แล้วตกลงมันคืออะไร มันมีความสำคัญอย่างไรกันนะ
อธิบายอย่างสั้นๆก็คือ Ghost in the Machine เป็นประโยคของ Gilbert Ryle เพื่ออธิบายทฤษฎีทวินิยมของ เรอเน เดกาต นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ทวิแปลว่าสอง นั่นก็คือว่าทฤษฎีนี้มี 2 สิ่ง คือมนุษย์นั้นประกอบด้วย 2 อย่างคือกายกับจิต แยกออกจากกัน และร่างกายนั้นก็เปรียบเสมือนเครื่องจักรทำตามคำสั่งของจิต ประมาณว่าจิตเป็นนาย กายเป็นบ่าวนั่นแล แนวคิดนักเดกาตนี้คล้ายกับแนวคิดของศาสนาทางตะวันออกเลย
ซึ่งในการ์ตูน Ghost in the Shell นี้ เกิดขึ้นในยุคอนาคต ที่ซึ่งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พัฒนาขึ้นจนสามารถมีปัญญาประดิษบ์และสมองไซเบอร์ที่ฉลาดเสียจนไม่สามารถแยกออกจากสมองที่เป็นของมนุษย์จริงๆ ตัวนางเอกโมโตโกะ คุซานากิ นั้นมีร่างกายเป็นหุ่นยนต์ล้วนๆสมบูรณ์แบบขณะที่สมองของเธอนั้นยังเป็นส่วนเดียวที่เป็นของมนุษย์จริงๆ นี่เองที่เป็นความสัมพันธ์ของตัวละครกับชื่อเรื่อง
เนื้อหาต่อไปเราจะไม่เน้นพูดถึงหนังหรือการ์ตูนแล้วแต่เราจะพูดถึง ผีในเครื่องจักร (Ghost in the Machine) ในมุมมองของทางปรัชญา และต่อมาก็ในมุมมองของวิทยาศาสตร์ ถ้าให้ลงลึกไปก็คือในมุมมองทางฟิสิกส์ครับ
อ่านไปแล้ว เนื้อหาอาจจะออกแนววิชาการสักหน่อย แต่ก็น่าสนใจครับ
มุมมองทางปรัชญา
แนวคิดอาจจะมีมากมายหลากหลายสำนักมาก แต่ผมจะพูดถึงแค่ 2 อย่างหลักเท่านั้น
ในเรื่อง ผีในเครื่องจักร ยังมีประเด็นมากกว่านั้น เพราะสำนักทางปรัชญามีหลากหลายแนวคิด ซึ่งมักจะคัดแย้งกัน แล้วอันไหนหล่ะถูก แล้วอันไหนอธิบายได้ดีที่สุด ผมจะพูดถึง 2 อันที่สำคัญน่าสนใจ อันแรกเรียกว่า ทวินิยม(dualism) ชี้ชัดลงไปก็คือทวินิยมแบบเดกาต ทฤษฎีนี้เชื่อว่าปฐมธาตุที่ประกอบเป็นเอกภพนั้น มี 2 อย่าง คือจิตกับสสาร ดำรงคู่กันมาตั้งแต่แรก มนุษย์ประกอบด้วย 2 อย่างคือกายกับจิต ส่วนอีกแนวคิดหนึ่งที่เป็นคู่ตรงข้ามคือ เอกนิยม(monism) ในกลุ่มนี้มีกลุ่มย่อยที่เรียกว่า กายภาพนิยม(physicalism) กลุ่มนี้เชื่อว่าปฐมธาตุของเอกภพนั้นมีเพียงอย่างเดียวคือทางกายภาพ ไม่มีอะไรมากกว่านั้น คือปฎิเสธว่าไม่มีจิต
--------------------------------------------------
"โอนิจัง พี่จขกท สุดหล่อฝากมาบอกว่าเดี๋ยวจะมาเขียนต่อให้จบค่ะ
ถ้าชื่นชอบกระทู้ช่วยกดบวก กดถูกใจด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ"
-น้องสาวสุดติ่ง อูมารุจัง