เมื่อวาน ตามคณะเกษตร มหาลัยแม่โจ้ ไปดูงานมา เลยอยากเอามาแชร์ เริ่มแรกจากปี 2554 เมื่อผู้ใหญ่คนปัจจุบัน นายวิบูลย์ รุดจันทึก เข้ามารับหน้าที่ พบว่าบริเวณพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน ซึ่งอดีตเป็นป่าช้าของชุมชน ประมาณ 11 ไร่ ถูกบุกรุกปลูกมันสำปะหลัง จึงได้ของบประมาณโครงการ SML จำนวน 4 แสนบาท และขอความร่วมมือจากชาวบ้าน ให้ส่งคืนพื้นที่กลับมาเป็นของส่วนรวม ใช้งบประมาณส่วนหนึ่งนำไปพัฒนาพื้นที่ ส่วนที่เหลืออีก 3 แสนบาท นำไปทำลานตากมันสำปะหลังให้ชาวบ้านในชุมชนใช้พื้นที่สาธารณะประโยชน์ร่วมกัน
ในปี 2555 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดนครราชสีมา เข้ามาส่งเสริมและพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอพียง โดยพาไปอบรมและดูงาน ขณะนั้นมีสมาชิกในโครงการจำนวน 12 คน แบ่งเป็นกลุ่มการเรียนรู้ 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มมันสำปะหลัง กลุ่มข้าวโพด กลุ่มหญ้าเลี้ยงสัตว์ กลุ่มเตาเผาถ่าน กลุ่มข้าว กลุ่มสมุนไพร
ในปี 2557 CPF ได้จัดให้มีการสานเสวนา พบว่า ชาวบ้านส่วนมาก มีอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดโดยปัญหาภัยแล้ง มีความรุนแรงเดือดร้อน สูงที่สุด รองลงมาเป็นปัญหารายได้ลดลง , ปัญหาต้นทุนภาคเกษตรสูงขึ้น , ปัญหายาเสพติด และ โรงเรียนขาดแคลนอุปกรณ์การศึกษา ตามลำดับ
ดังนั้น CPF ธุรกิจไก่พันธุ์โคราช จึงได้เข้ามาส่งเสริมและจัดตั้งกลุ่มอาชีพการเลี้ยงสัตว์ปีกและประมง (ซึ่งเป็นความถนัดของธุรกิจฯ) โดยส่งเสริมการเลี้ยงเป็ดไข่ และเลี้ยงปลาดุก เริ่มต้นเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2557 จนถึงปัจจุปันมีการปรับเปลี่ยนมาเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของสมาชิกกลุ่ม นอกจากกลุ่มอาชีพการเลี้ยงสัตว์ปีกและประมงแล้ว ยังมีกลุ่มอาชีพอื่นๆอีก ได้แก่ กลุ่มเพาะเห็ด, กลุ่มสมุนไพร, กลุ่มข้าวโพด, กลุ่มไม้ผล, กลุ่มปลูกผักปลอดสาร, กลุ่มข้าว และกลุ่มปุ๋ยหมัก รวมทั้งหมด 8 กลุ่มอาชีพ
เดี๋ยวจะกลับมาเล่าว่า อีก 1 เดือน โครงการคืบหน้าไปถึงไหน
สุดยอดมาก...ศูนย์การเรียนรู้เกษตรผสมผสานแบบเศรษฐกิจพอเพียง บ้านดอนวัวโครงการดีๆ ซีพีเพื่อความ ยั่งยืน CP sustainability
ในปี 2555 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดนครราชสีมา เข้ามาส่งเสริมและพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอพียง โดยพาไปอบรมและดูงาน ขณะนั้นมีสมาชิกในโครงการจำนวน 12 คน แบ่งเป็นกลุ่มการเรียนรู้ 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มมันสำปะหลัง กลุ่มข้าวโพด กลุ่มหญ้าเลี้ยงสัตว์ กลุ่มเตาเผาถ่าน กลุ่มข้าว กลุ่มสมุนไพร
ในปี 2557 CPF ได้จัดให้มีการสานเสวนา พบว่า ชาวบ้านส่วนมาก มีอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดโดยปัญหาภัยแล้ง มีความรุนแรงเดือดร้อน สูงที่สุด รองลงมาเป็นปัญหารายได้ลดลง , ปัญหาต้นทุนภาคเกษตรสูงขึ้น , ปัญหายาเสพติด และ โรงเรียนขาดแคลนอุปกรณ์การศึกษา ตามลำดับ
ดังนั้น CPF ธุรกิจไก่พันธุ์โคราช จึงได้เข้ามาส่งเสริมและจัดตั้งกลุ่มอาชีพการเลี้ยงสัตว์ปีกและประมง (ซึ่งเป็นความถนัดของธุรกิจฯ) โดยส่งเสริมการเลี้ยงเป็ดไข่ และเลี้ยงปลาดุก เริ่มต้นเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2557 จนถึงปัจจุปันมีการปรับเปลี่ยนมาเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของสมาชิกกลุ่ม นอกจากกลุ่มอาชีพการเลี้ยงสัตว์ปีกและประมงแล้ว ยังมีกลุ่มอาชีพอื่นๆอีก ได้แก่ กลุ่มเพาะเห็ด, กลุ่มสมุนไพร, กลุ่มข้าวโพด, กลุ่มไม้ผล, กลุ่มปลูกผักปลอดสาร, กลุ่มข้าว และกลุ่มปุ๋ยหมัก รวมทั้งหมด 8 กลุ่มอาชีพ
เดี๋ยวจะกลับมาเล่าว่า อีก 1 เดือน โครงการคืบหน้าไปถึงไหน