เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2011 ถูกผลักลงลึกไปเรื่อยๆ ในลิ้นชักความทรงจำของคนทั่วไป แม้ว่าในความทรงจำของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่ต่อด้วยคลื่นยักษ์และหายนะทางนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ทุกอย่างยังคงสดใหม่อยู่ก็ตามที
ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงดังกล่าว คือผู้ที่ญาติมิตรตกเป็นเหยื่อของสึนามิไปในวันนั้นร่วมๆ 19,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่พำนักอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของฟุคุชิมา วินาศภัยที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ฟุกุชิมา-ไดอิจิ ในเวลาต่อมา ส่งผลให้ทางการญี่ปุ่นต้องบังคับอพยพผู้คนโดยรอบบริเวณ ออกนอกที่อยู่อาศัยดั้งเดิมอีกกว่า 160,000 คน
6 ปีผ่านไป มีเพียงจำนวนน้อยมากของตัวเลขดังกล่าวนั้นสามารถเดินทางกลับเข้าไปอยู่ในถิ่นที่อยู่อาศัยแต่เดิม เมื่อเจ้าหน้าที่ทางการคิดว่าพื้นที่เหล่านั้นปลอดภัยแล้ว
ในปัจจุบันนี้ เมื่อตรวจสอบอาณาบริเวณ ฟุคุชิมา-ไดอิจิ และพื้นที่โดยรอบเพียงผิวเผินก็จะพบเห็นการเปลี่ยนแปลงมากมายจากบริเวณเดียวกันนี้เมื่อ 5 ปีก่อน อันเป็นวาระแรกๆ ที่บุคคลภายนอกได้รับการยินยอมให้เดินทางเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว
เมื่อ 5 ปีก่อน ฟุคุชิมา-ไดอิจิ เต็มไปด้วยเศษซากสิ่งของปรักหักพังที่คลื่นยักษ์หอบมาจากที่ไหนก็ไม่รู้มากองเอาไว้ ท่อฉีดน้ำดับเพลิง ท่อนเหล็ก ซีเมนต์ อิฐที่เป็นซากสิ่งปลูกสร้างและอาคารกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ขณะที่คนงานหลายพันพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อจัดการกับปัญหาการรั่วไหลในเตาปฏิกรณ์ ท่ามกลางความหวั่นกลัวระดับกัมมันตภาพรังสีที่กำกับอยู่ในทุกย่างก้าวของพวกเขา
6 ปีผ่านไป อาคารเตาปฏิกรณ์ที่เสียหายถูกเสริมความแข็งแรงขึ้นมาอีกครั้ง แท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วมากกว่า 1,300 ชิ้น ถูกจัดการเก็บรวบรวมและเคลื่อนย้ายออกจากสระเก็บของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 พื้นดินของโรงไฟฟ้าทุกตารางนิ้วถูกเคลือบด้วยสารเคลือบพิเศษ ที่จะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำฟ้า-ฝน หิมะ และอื่นใด แทรกซึมลงไปใต้ดิน เพิ่มปัญหาให้กับการบริหารจัดการน้ำใต้ดินของ บริษัท โตเกียว อิเลคทริก เพาเวอร์ หรือ เทปโก ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ให้มากยิ่งขึ้นไปอีก
คนงานซึ่งครั้งหนึ่งเคยจำเป็นต้องเปลี่ยนการแต่งกายเป็นชุดป้องกันรังสีหนาหนักทุกครั้งที่จำเป็นต้องย่างกรายเข้าไปในอาณาบริเวณโรงไฟฟ้า ตอนนี้เพียงสวมเสื้อผ้าบางๆ ตามปกติทั่วไปและใช้เพียงหน้ากากศัลยกรรมเท่านั้นในพื้นที่ส่วนใหญ่ภายในโรงไฟฟ้า
พนักงาน 6,000 คนซึ่งส่วนหนึ่งเป็นพนักงานสัญญาจ้าง สามารถดื่มกิน “อาหารอุ่น” และหยุดพักผ่อนบรรเทาความเหนื่อยล้าที่อาคาร “เรสต์ เฮาส์” ซึ่งเพิ่งเปิดใช้งานเมื่อปี 2015
มองจากภายนอก อันตรายไร้ตัวตน ไม่มีรูปลักษณ์จาก ฟุคุชิมา-ไดอิจิ บรรเทาเบาบางลงเรื่อยๆ สถานการณ์ดูเหมือนจะมากหรือน้อยก็ “อาจ” อยู่ภายใต้การควบคุม
คอลัมน์ โกลบอลโฟกัส: 6 ปี ฟุคุชิมากับความจริง
ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงดังกล่าว คือผู้ที่ญาติมิตรตกเป็นเหยื่อของสึนามิไปในวันนั้นร่วมๆ 19,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่พำนักอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของฟุคุชิมา วินาศภัยที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ฟุกุชิมา-ไดอิจิ ในเวลาต่อมา ส่งผลให้ทางการญี่ปุ่นต้องบังคับอพยพผู้คนโดยรอบบริเวณ ออกนอกที่อยู่อาศัยดั้งเดิมอีกกว่า 160,000 คน
6 ปีผ่านไป มีเพียงจำนวนน้อยมากของตัวเลขดังกล่าวนั้นสามารถเดินทางกลับเข้าไปอยู่ในถิ่นที่อยู่อาศัยแต่เดิม เมื่อเจ้าหน้าที่ทางการคิดว่าพื้นที่เหล่านั้นปลอดภัยแล้ว
ในปัจจุบันนี้ เมื่อตรวจสอบอาณาบริเวณ ฟุคุชิมา-ไดอิจิ และพื้นที่โดยรอบเพียงผิวเผินก็จะพบเห็นการเปลี่ยนแปลงมากมายจากบริเวณเดียวกันนี้เมื่อ 5 ปีก่อน อันเป็นวาระแรกๆ ที่บุคคลภายนอกได้รับการยินยอมให้เดินทางเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว
เมื่อ 5 ปีก่อน ฟุคุชิมา-ไดอิจิ เต็มไปด้วยเศษซากสิ่งของปรักหักพังที่คลื่นยักษ์หอบมาจากที่ไหนก็ไม่รู้มากองเอาไว้ ท่อฉีดน้ำดับเพลิง ท่อนเหล็ก ซีเมนต์ อิฐที่เป็นซากสิ่งปลูกสร้างและอาคารกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ขณะที่คนงานหลายพันพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อจัดการกับปัญหาการรั่วไหลในเตาปฏิกรณ์ ท่ามกลางความหวั่นกลัวระดับกัมมันตภาพรังสีที่กำกับอยู่ในทุกย่างก้าวของพวกเขา
6 ปีผ่านไป อาคารเตาปฏิกรณ์ที่เสียหายถูกเสริมความแข็งแรงขึ้นมาอีกครั้ง แท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วมากกว่า 1,300 ชิ้น ถูกจัดการเก็บรวบรวมและเคลื่อนย้ายออกจากสระเก็บของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 พื้นดินของโรงไฟฟ้าทุกตารางนิ้วถูกเคลือบด้วยสารเคลือบพิเศษ ที่จะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำฟ้า-ฝน หิมะ และอื่นใด แทรกซึมลงไปใต้ดิน เพิ่มปัญหาให้กับการบริหารจัดการน้ำใต้ดินของ บริษัท โตเกียว อิเลคทริก เพาเวอร์ หรือ เทปโก ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ให้มากยิ่งขึ้นไปอีก
คนงานซึ่งครั้งหนึ่งเคยจำเป็นต้องเปลี่ยนการแต่งกายเป็นชุดป้องกันรังสีหนาหนักทุกครั้งที่จำเป็นต้องย่างกรายเข้าไปในอาณาบริเวณโรงไฟฟ้า ตอนนี้เพียงสวมเสื้อผ้าบางๆ ตามปกติทั่วไปและใช้เพียงหน้ากากศัลยกรรมเท่านั้นในพื้นที่ส่วนใหญ่ภายในโรงไฟฟ้า
พนักงาน 6,000 คนซึ่งส่วนหนึ่งเป็นพนักงานสัญญาจ้าง สามารถดื่มกิน “อาหารอุ่น” และหยุดพักผ่อนบรรเทาความเหนื่อยล้าที่อาคาร “เรสต์ เฮาส์” ซึ่งเพิ่งเปิดใช้งานเมื่อปี 2015
มองจากภายนอก อันตรายไร้ตัวตน ไม่มีรูปลักษณ์จาก ฟุคุชิมา-ไดอิจิ บรรเทาเบาบางลงเรื่อยๆ สถานการณ์ดูเหมือนจะมากหรือน้อยก็ “อาจ” อยู่ภายใต้การควบคุม