เห็นกระทู้บ่นเรื่องความเละเทะไร้ระเบียบใน กทม. รวมถึงการที่คนต้องถอยรถส่วนตัวมาใช้จนรถติด เพราะขนส่งมวลชนใน กทม. ไม่ครอบคลุม อยู่เรื่อยๆ
.
ผมก็นึกได้อย่างหนึ่งว่าเขตชุมชนใน กทม. มันค่อนข้างสะเปะสะปะ ที่เห็นได้ชัดๆ คือเรามีชุมชนประเภท
"เมืองที่ซ่อนอยู่ในเมือง" เยอะมาก
.
นิยามชุมชนประเภทนี้ คือหากมองจากถนนสายหลัก บริเวณที่เป็นปากทาง-ปากซอยเข้าไป จะคิดว่าไม่มีอะไร เป็นซอยเปลี่ยวซอยตัน แต่ลึกเข้าไปกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีบ้านคน มีร้านค้า มีสำนักงานตึกแถว มีสถานบันเทิง ฯลฯ ผู้คนค่อนข้างพลุกพล่าน
.
ตัวอย่างชุมชนทำนองนี้ ผมนึกถึง
"โชคชัย 4" ก่อนเลย โชคชัย 4 เข้าได้ 2 ทางหลักๆ คือจาก ถ.ลาดพร้าว ( ปากซอยคือ สน.โชคชัย ) กับทาง ถ.พหลโยธิน ( ซอยเสนานิคม ทะลุถนนลาดพร้าววังหิน ) ปากทางเข้าไม่ว่าฝั่งไหน บรรยากาศค่อนข้างเงียบๆ มองเข้าไปไม่น่ามีอะไร แต่พอเข้าไปนี่เหมือนอยู่ในเมืองๆ หนึ่งเลย
.
( ถ้าใครเป็นคนแถวนั้น ผมรบกวนเล่าประวัติชุมชนของท่านหน่อยนะครับ น่าสนใจดี )
.
หรือแถวๆ ห้วยขวาง-ดินแดง ตรงพระพรหม ถ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ ถนนแคบ 2-3 เลน ดูแล้วไม่ใช่ถนนสายหลัก แต่ตลอดเส้นทางที่เต็มไปด้วยซอยเล็กซอยน้อย พบชุมชนหนาแน่นมาก มีทั้งบ้าน อพาร์ตเมนต์ ตึกแถวเชิงพาณิชย์ ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ จากฝั่งห้วยขวางมาทะลุแถวๆ แฟลตดินแดง-ถนนวิภาวดี
.
ฝั่งธนบ้านผมก็มีชุมชนแนวๆ นี้ เช่น ซอยจรัญฯ 13 ที่มีถนนเชื่อมทะลุไปบางแค , ชุมชนวัดสิงห์-กำนันแม้น เชื่อมถนนเพชรเกษม ( บางแค ) กับถนนเอกชัย ( บางบอน ) , ถนนวุฒากาศ เชื่อมระหว่างถนนรัชดาท่าพระ กับเอกชัยบางบอน หรือถ้าใหม่ๆ ก็พวกเพชรเกษมหนองแขม ซอยย่อยๆ พวก 63 , 69 , 77 , 81 เมื่อก่อนเปลี่ยวมาก ตอนนี้หมู่บ้าน ตึกแถว คอนโด เกิดใหม่เพียบ คนพลุกพล่านแม้จะมืดค่ำแล้วก็ตาม
.
เรามีชุมชนแบบนี้เกิดเยอะมาก ขนส่งหลักๆ อย่างรถเมล์เลยไม่มีทางพอ ( และรถไฟฟ้าคงเข้าไม่ถึงทุกจุด อย่างวุฒากาศนี่โชคดีมาก เป็นชุมชนแนวๆ นี้ที่เดียวที่มี BTS ผ่าน ) จึงเกิดขนส่งกระแสรองๆ อย่างวินมอไซค์ สองแถว รถกระป๋องซูบารุ รถตู้ ขึ้นมาทดแทน แรกๆ ก็เป็นบริการเถื่อน แต่สุดท้ายรัฐก็ต้องเอาขึ้นบนดินทำให้ถูก กม. เพราะคนจำเป็นต้องใช้
.
จากนั้นนานๆ ไป พอคนในชุมชนทำนองนี้เริ่มมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ก็เริ่มถอยมอไซค์บ้าง รถยนต์ 4 ล้อบ้างออกมาใช้ เพราะมันสะดวกกว่านั่งขนส่งสาธารณะกระแสรองประเภทต่างๆ ที่ว่ามา
.
( ถึงปากซอยจะมีรถไฟฟ้าผ่าน แต่ถ้าระยะทางจากบ้านออกมาปากซอยห่างเป็นกิโล การขับรถหรือขี่มอไซค์ออกไปเองคงสะดวกกว่า ยิ่งถ้ากลับค่ำๆ สองแถวหมด วินมอไซค์หมด นั่งแท็กซี่ทุกวันก็ไม่ไหว รถส่วนตัวก็ยิ่งจำเป็น )
.
.
เคยอ่านเคยฟังเรื่องของเมืองใหญ่ๆ ใน ปท. เจริญแล้ว เขามีขนส่งมวลชนที่ครอบคลุม สะดวกจนคนไม่รู้สึกว่าต้องถอยรถมาขับ แล้วสังเกตเห็นอย่างหนึ่ง คือเมืองพวกนี้จะมีการแบ่งชัดเจน ร้านค้า สำนักงาน ที่อยู่อาศัย ฯลฯ ผมมองว่าตรงนี้แหละทำให้ง่ายต่อการบริหารจัดการขนส่งที่มีอยู่ เช่น รถเมล์ต่อรถไฟฟ้า หรือรถเมล์วิ่งระหว่างย่านต่างๆ รวมถึงงานลาดดระเวนของตำรวจ ( บ้านเราตั้งด่านไป บางทีเด็กแว้น-คนเมาแล้วขับ ก็หาซอยลัดหลบด่านได้ ) หรืองานอื่นๆ ได้เป็นระบบและลงตัว
.
สงสัยว่าเมืองนอกที่เจริญแล้ว เขามีชุมชนสายรองสะเปะสะปะแบบบ้านเราบ้างไหมครับ? ถ้ามีแล้วเขาแก้ปัญหาขนส่งสาธารณะไม่ครอบคลุมได้ยังไง?
เมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ ของประเทศเจริญแล้ว เขามีชุมชนประเภท "เมืองที่ซ่อนอยู่ในเมือง" แบบ กทม. บ้านเราบ้างไหมครับ?
.
ผมก็นึกได้อย่างหนึ่งว่าเขตชุมชนใน กทม. มันค่อนข้างสะเปะสะปะ ที่เห็นได้ชัดๆ คือเรามีชุมชนประเภท "เมืองที่ซ่อนอยู่ในเมือง" เยอะมาก
.
นิยามชุมชนประเภทนี้ คือหากมองจากถนนสายหลัก บริเวณที่เป็นปากทาง-ปากซอยเข้าไป จะคิดว่าไม่มีอะไร เป็นซอยเปลี่ยวซอยตัน แต่ลึกเข้าไปกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีบ้านคน มีร้านค้า มีสำนักงานตึกแถว มีสถานบันเทิง ฯลฯ ผู้คนค่อนข้างพลุกพล่าน
.
ตัวอย่างชุมชนทำนองนี้ ผมนึกถึง "โชคชัย 4" ก่อนเลย โชคชัย 4 เข้าได้ 2 ทางหลักๆ คือจาก ถ.ลาดพร้าว ( ปากซอยคือ สน.โชคชัย ) กับทาง ถ.พหลโยธิน ( ซอยเสนานิคม ทะลุถนนลาดพร้าววังหิน ) ปากทางเข้าไม่ว่าฝั่งไหน บรรยากาศค่อนข้างเงียบๆ มองเข้าไปไม่น่ามีอะไร แต่พอเข้าไปนี่เหมือนอยู่ในเมืองๆ หนึ่งเลย
.
( ถ้าใครเป็นคนแถวนั้น ผมรบกวนเล่าประวัติชุมชนของท่านหน่อยนะครับ น่าสนใจดี )
.
หรือแถวๆ ห้วยขวาง-ดินแดง ตรงพระพรหม ถ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ ถนนแคบ 2-3 เลน ดูแล้วไม่ใช่ถนนสายหลัก แต่ตลอดเส้นทางที่เต็มไปด้วยซอยเล็กซอยน้อย พบชุมชนหนาแน่นมาก มีทั้งบ้าน อพาร์ตเมนต์ ตึกแถวเชิงพาณิชย์ ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ จากฝั่งห้วยขวางมาทะลุแถวๆ แฟลตดินแดง-ถนนวิภาวดี
.
ฝั่งธนบ้านผมก็มีชุมชนแนวๆ นี้ เช่น ซอยจรัญฯ 13 ที่มีถนนเชื่อมทะลุไปบางแค , ชุมชนวัดสิงห์-กำนันแม้น เชื่อมถนนเพชรเกษม ( บางแค ) กับถนนเอกชัย ( บางบอน ) , ถนนวุฒากาศ เชื่อมระหว่างถนนรัชดาท่าพระ กับเอกชัยบางบอน หรือถ้าใหม่ๆ ก็พวกเพชรเกษมหนองแขม ซอยย่อยๆ พวก 63 , 69 , 77 , 81 เมื่อก่อนเปลี่ยวมาก ตอนนี้หมู่บ้าน ตึกแถว คอนโด เกิดใหม่เพียบ คนพลุกพล่านแม้จะมืดค่ำแล้วก็ตาม
.
เรามีชุมชนแบบนี้เกิดเยอะมาก ขนส่งหลักๆ อย่างรถเมล์เลยไม่มีทางพอ ( และรถไฟฟ้าคงเข้าไม่ถึงทุกจุด อย่างวุฒากาศนี่โชคดีมาก เป็นชุมชนแนวๆ นี้ที่เดียวที่มี BTS ผ่าน ) จึงเกิดขนส่งกระแสรองๆ อย่างวินมอไซค์ สองแถว รถกระป๋องซูบารุ รถตู้ ขึ้นมาทดแทน แรกๆ ก็เป็นบริการเถื่อน แต่สุดท้ายรัฐก็ต้องเอาขึ้นบนดินทำให้ถูก กม. เพราะคนจำเป็นต้องใช้
.
จากนั้นนานๆ ไป พอคนในชุมชนทำนองนี้เริ่มมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ก็เริ่มถอยมอไซค์บ้าง รถยนต์ 4 ล้อบ้างออกมาใช้ เพราะมันสะดวกกว่านั่งขนส่งสาธารณะกระแสรองประเภทต่างๆ ที่ว่ามา
.
( ถึงปากซอยจะมีรถไฟฟ้าผ่าน แต่ถ้าระยะทางจากบ้านออกมาปากซอยห่างเป็นกิโล การขับรถหรือขี่มอไซค์ออกไปเองคงสะดวกกว่า ยิ่งถ้ากลับค่ำๆ สองแถวหมด วินมอไซค์หมด นั่งแท็กซี่ทุกวันก็ไม่ไหว รถส่วนตัวก็ยิ่งจำเป็น )
.
.
เคยอ่านเคยฟังเรื่องของเมืองใหญ่ๆ ใน ปท. เจริญแล้ว เขามีขนส่งมวลชนที่ครอบคลุม สะดวกจนคนไม่รู้สึกว่าต้องถอยรถมาขับ แล้วสังเกตเห็นอย่างหนึ่ง คือเมืองพวกนี้จะมีการแบ่งชัดเจน ร้านค้า สำนักงาน ที่อยู่อาศัย ฯลฯ ผมมองว่าตรงนี้แหละทำให้ง่ายต่อการบริหารจัดการขนส่งที่มีอยู่ เช่น รถเมล์ต่อรถไฟฟ้า หรือรถเมล์วิ่งระหว่างย่านต่างๆ รวมถึงงานลาดดระเวนของตำรวจ ( บ้านเราตั้งด่านไป บางทีเด็กแว้น-คนเมาแล้วขับ ก็หาซอยลัดหลบด่านได้ ) หรืองานอื่นๆ ได้เป็นระบบและลงตัว
.
สงสัยว่าเมืองนอกที่เจริญแล้ว เขามีชุมชนสายรองสะเปะสะปะแบบบ้านเราบ้างไหมครับ? ถ้ามีแล้วเขาแก้ปัญหาขนส่งสาธารณะไม่ครอบคลุมได้ยังไง?