รับงานเป็น freelance ต้องการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่มีเพียงตัวคนเดียว ทำได้แล้วรึยังค่ะ ต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง

จากข่าวด้านล่างนี้ ทำให้เราเกิดความสนใจ เพราะปัจจุบันรับงาน freelance อยู่แต่ต้อง sub งานต่อจากบริษัทอื่น (เขาหักค่าหัวคิวไป 15-20%) เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคล เลยอยากไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเดี่ยว (ไม่แน่ใจว่าเรียกอย่างนี้ถูกต้องรึเปล่า) เพื่อให้สามารถรับงานตรงได้ และยังสามารถรับงานเพิ่มได้มากขึ้นกว่าเดิม (มีอีกหลายบริษัทรอจ้างอยู่ แต่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก่อน)
อยากขอคำชี้แนะเนื่องจากเราทำงานแบบตัวคนเดียว ไม่มีความรู้ด้านบัญชี กฎหมาย อะไรเลย
1. เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
2. ใช้เอกสารอะไรยุ่งยากมั๊ย
3. ตอนนี้เข้าใจว่ายังไม่มีคำสั่งอนุมัติให้ทำได้จริง ๆ ใช่มั๊ยค่ะ ต้องรอสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเขาประกาศอีกทีใช่มั๊ยค่ะ ติดตามข่าวได้จากไหนกันอ่ะคะ
4. เพื่อน ๆ คิดว่าใช้เวลานานมั๊ยค่ะ กว่าเขาจะประกาศอนุญาตให้จดได้จริง ๆ เนื่องจากตอนนี้มีงานมาจ่ออีกมากเลย ถ้ายิ่งจดทะเบียนได้เร็วเท่าไรก็ยิ่งได้เงินมากขึ้นเท่านั้น เพราะไม่ต้องไปเสียค่าหักหัวคิวจากบริษัทอื่นที่รับงานแทนให้
5. หากมีคำแนะนำอื่น ๆ ยินดีรับฟังค่ะ
ขอบคุณทุกคำตอบและคำแนะนำล่วงหน้านะคะ
ป.ล.1 ดิฉันไม่สะดวกจดทะเบียนนิติบุคคลแบบปกติที่ต้องมีผู้ถือหุ้น 3 คนค่ะ เนื่องจากงานที่รับ รับเป็นส่วนตัวทำคนเดียวและไม่อยากมีหุ้นส่วน (กลัวไปยืมชื่อเขามาแล้วทำเขาเดือดร้อนต้องมาลำบากเซ็นต์นู้นนี่นั่นให้) และอีกอย่างคือ ดิฉันไม่มีเงินจะทำให้ทุนจดทะเบียนเยอะ ๆ แบบรูปบริษัทนิติบุคคลจริงๆ
ป.ล.2 ไม่รู้ว่าต้องแท๊กห้องในบ้างเลยเอาตาม auto tag ที่แนะนำมานะคะ ผิดห้องประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ค่ะ

updated: 24 ม.ค. 2560 เวลา 18:15:00 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ว่า ครม.มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดตั้งบริษัทจำกัดคนเดียว พ.ศ...... เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 2 ล้านกว่าราย เข้าสู่ระบบด้วยการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเพื่อเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ภาครัฐจัดให้ โดยกำหนดความเป็นนิติบุคคลของบริษัทที่จัดตั้งโดยบุคคลคนเดียว โดยเจ้าของบริษัทต้องมีสัญชาติไทย และไม่เคยต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาศาลถึงที่สุด หรือถูกเปรียบเทียบปรับในความผิดมีอำนาจครอบงบกิจการหรือแสดงออกว่าเป็นธุรกิจของตนเพียงแห่งเดียวหรือลงทุนแทนคนต่างด้าวโดยอัตราค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัทจำกัดคนเดียวอยู่ที่2,000 บาท

ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รับร่างพ.ร.บ.นี้ไปพิจารณาแก้ไขในกฎหมายที่เกี่ยวข้องแทนการตราเป็นกฎหมายเฉพาะ โดยให้รับความเห็นจากกระทรวงยุติธรรม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วนำเสนอ ครม.อีกครั้งหนึ่ง

"ประโยชน์ของกฎหมายฉบับนี้เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SME รวมทั้ง Start Up เพราะการที่มีสภาพเป็นนิติบุคคลจะทำให้ เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น อีกทั้งลดปัญหาข้อพิพาทผู้ถือหุ้นได้ด้วย"นายณัฐพรกล่าว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่