ราชสำนักนครทิพย์ vs ราชสำนักนครมัณฑ์ ในยุคอัสดง

ในที่สุดเพลิงพระนางเข้าสู่ยุครุ่นลูกกันแล้ว
เป็นการเปิดตัวกษัตริย์และมเหสีองค์สุดท้าย "เจ้าม่านฟ้าและเจ้านางปิ่นมณี"
ซึ่งการเมืองในราชสำนักและการล่าอาณานิคมของตะวันตกจะยิ่งเข้มข้นยิ่งขึ้น


ในเรื่องรากนคราและเพลิงพระนาง มีจุดร่วมกันคือตัวละครสองคู่
คือ (เจ้าม่านฟ้า - เจ้านางปิ่นมณี) และ (เจ้าหลวง - เจ้านางปัทมสุดา) ผู้กุมอำนาจนครหลวงก่อนถึงการล่มสลาย และอาณาจักรก็ตกอยู่ภายใต้จักรวรรดินิยมตะวันตก




หากพูดตามตรงแล้วตัวละครสองคู่คือการตีความภาพของกษัตริย์สีป่อและพระนางเจ้าศุภยาลัต กษัตริย์และราชินีเมืองพม่าในสายตาคนไทย


"รากนครา" ดัดแปลงมาจากนิยายชื่อเดียวกัน ประพันธ์โดย ปิยะพร ศักดิ์เกษม

"เพลิงพระนาง" ดัดแปลงมากจาก "เที่ยวเมืองพม่า" บทประพันธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ และ "พม่าเสียเมือง" ของคึกฤษธิ์ ปราโมช



การตีความผ่านตัวละครสองเรื่องมีจุดร่วมกันคือ
"เจ้าหลวงไม่ปรีชา หลงในสุรานารี จนทำให้สตรีข้างกายมากุมอำนาจบริหารบ้านเมือง จนบ้านเมืองพ่ายให้กับตะวันตก"  

ส่วนจุดร่วมอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ
"การมีบทบาททางการเมืองของสตรี และอคติของตัวละครอื่นๆที่มีต่อสตรี (เจ้านางหลวง) ที่จะมาปกครองบ้านเมืองแทนบุรุษ และจะกล่าวโทษสตรีว่าเป็นคนทำให้บ้านเมืองล่มจม"


เจ้าม่านฟ้าและเจ้านางหลวงปิ่นมณี นครทิพย์ เเห่งเพลิงพระนาง


เจ้าหลวงและเจ้านางหลวงปัทมสุดา นครมัณฑ์ แห่งรากนครา




ปล. ดูเพลิงพระนางจบ รอติดตามชมรากนครากันต่อนะคะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่