สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
งั้นกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ ที่ใช้ปกครองดูแลพระสงฆ์ทั้งประเทศ ก็ " ผิด " ซินะ งั้นก็เปิดหน้ากันมาคุยเถอะ อย่าหลบอยู่หลังชายจีวรเลย
การขาดจากความเป็นพระภิกษุ
มีหมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๗๘๒/๒๕๔๓ ซึ่งนายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ ผู้พิพากษาศาลฏีกา ได้เขียนหมายเหตุไว้น่าสนใจสมควรที่เอามาคุยกัน จะได้รับทราบเรื่องการขาดจากความเป็นพระภิกษุ ดังต่อไปนี้ “การขาดจากความเป็นพระภิกษุ” ตามพระธรรมวินัยนั้น ทางหนึ่งได้แก่กรณีที่พระภิกษุต้องอาบัติปาราชิกซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ๔ ประการด้วยกันคือ (๑) เสพเมถุน (๒) เอาของที่เจ้าของไม่ให้ ซึ่งพระราชาจะลงโทษถึงประหารชีวิต จองจำหรือเนรเทศ(สมัยนั้นได้แก่การลักเอาของที่มีค่าตั้งแต่ ๕ มาสก (๑ บาท) ขึ้นไป (๓) ฆ่ามนุษย์ และ (๔) อวดอ้างคุณวิเศษที่ไม่มีในตน (ดู วินัยปิฎกเล่มที่ ๑ ชื่อมหาวิภังค์)
ภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิกเป็นอันขาดจากความเป็นภิกษุทันที โดยไม่ต้องมีพิธีใดๆ และห้ามอุปสมบทอีก ดังนี้ ภิกษุที่ประพฤติพรหมจรรย์อยู่จึงย่อมจะ “รู้อยู่แก่ใจ” ดีว่าตนได้ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ต้องอาบัติถึงปาราชิกหรือไม่และตนได้พ้นจากความเป็นภิกษุแล้วหรือยัง
ส่วนการ “ขาดจากความเป็นพระภิกษุ”อีกทางหนึ่งนั้นได้แก่ “การลาสิกขา” หรือการสละ “สมณเพศ”ซึ่งได้มีการกำหนดไว้ในพระธรรมวินัย (ดูเพิ่มเติม-สมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระพระยาวชิรญาณวโรรส,วินัยมุข เล่ม ๓,กัณฑ์ที่ ๓๓ มหามกุฎราชวิทยาลัย ๒๕๓๘ น. ๒๑๐-๒๑๕ ) ความโดยสรุปว่า ภิกษุผู้เบื่อหน่ายแต่การประพฤติพรหมจรรย์ปราถนาจะกลับคืนไปสู่ความเป็นคฤหัสถ์ย่อมทำได้ด้วยการลาสิกขา คือปฏิญญาตนเป็นคฤหัสถ์ต่อคณะสงฆ์หรือต่อหน้าบุคคลอื่นที่มิใช่ภิกษุก็ได้แต่ต้องเป็นผู้ที่มีสติสมบูรณ์เข้าใจถึงปฏิญญาด้วย
วิธีการปฏิญญา (ตามอรรถคถา) กำหนดไว้ให้ “ตั้งนโม ๓ จบ แล้วกล่าวคำว่าสิกขํปจจกขามิคิ
ติมํธาเรถ ข้าพเจ้าขอลาสิกขาขอให้ท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์แล้ว ว่าอย่างนี้ ๓ จบต่อจากนั้นถึงเปลื้องผ้าครอง สวมเสื้อผ้าและรับศีล ๕ ต่อไปพร้อมรับพรจากพระเพื่อความเป็นสิริมงคลหากลาสิกขากับคฤหัสถ์ไม่ต้องรับศีล ๕ และรับพร” หรือกล่าวด้วยถ้อยคำอย่างอื่นทำนองเดียวกัน
(จากคู่มือการเรียนการสอนนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก,สำนักพิมพ์เลี่ยงเซียง, ๒๕๔๓ น. ๓๔๗-๓๔๘ ) ดังนี้จะเห็นได้ว่า หากเป็นกรณีขาดจากความเป็นพระภิกษุเมื่อต้องอาบัติปาราชิกนั้นเป็นไปเพราะภิกษุผู้นั้นได้กระทำความผิดขึ้นเอง จึงไม่จำต้องสมัครใจหรือบอกลาสิกขาก็ถือว่าขาดจากความเป็นสมณะแล้ว เปรียบเสมือนเป็นการตายจากการเป็นพระ ถึงไม่ลาออกก็ขาดคุณสมบัติ
ส่วนการลาสิกขาหรือสละสมณเพศนั้นเป็นเรื่องที่พระภิกษุผู้ใดเบื่อหน่ายต่อการประพฤติพรหมจรรย์ พระธรรมวินัยจึงถือเอาความสมัครใจเป็นที่ตั้ง เพียงขอให้มีพยานรู้เห็นการสละสมณเพศนั้นก็เพียงพอแล้วไม่จำต้องมีพิธีการเป็นพิเศษแต่อย่างใด
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา ๒๙ กำหนดให้พนักงานสอบสวน “มีอำนาจจัดดำเนินการให้พระภิกษุที่ต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาสละสมณเพศได้”เมื่อพนักงานสอบสวนและอัยการเห็นว่าไม่ควรปล่อยชั่วคราว สมควรควบคุมตัวไว้ แต่
๑.เจ้าอาวาสที่พระรูปนั้นสังกัด ไม่ยอมรับตัวไว้ควบคุม หรือ
๒.เห็นว่าไม่ควรให้เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุม หรือ
๓.พระรูปนั้นไม่มีสังกัด หรือเป็นพระจรจัดนั่นเอง
การจัดดำเนินการให้พระภิกษุดังกล่าวสละสมณเพศเสีย ก็เพื่อไม่ต้องการให้พระภิกษุในผ้าเหลืองต้องเข้าไปอยู่ในคุกนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การ”การดำเนินการให้สละสมณเพศ”จะต้องทำอย่างไรนั้นตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา ๒๗ บัญญัติให้เป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคมซึ่งยังมิได้มีการบัญญัติขึ้นแต่อย่างใด ดังนี้พนักงานสอบสวนจะต้องทำอย่างไรจึงจะถือว่าได้ดำเนินการให้สละสมณเพศแล้ว
ประเด็นปัญหาตามข้อเท็จจริงของคำพิพากษาศาลฎีกานี้จึงอยู่ที่ว่า
๑. การที่พนักงานสอบสวนให้จำเลยกล่าวลาสิกขาต่อหน้าพระพุทธรูปที่อยู่บนสถานีตำรวจนั้นเป็นการ “จัดดำเนินการให้(จำเลย)สละสมณเพศ”ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ หรือไม่
๒. การกระทำของพนักงานสอบสวนตามข้อ ๑ เป็นการกระทำโดยพลการหรือไม่........
ประเด็นที่ ๑
เมื่อพิจารณาจากกรอบการลาสิกขาบทตาม “วินัยมุข”ดังที่อ้างไว้ข้างต้นแล้วจะพบว่าสาระของเรื่องคือ ต้องมีการ “เปล่งวาจาลาสิกขา” ต่อหน้าพระภิกษุสงฆ์ หรือหากไม่มีก็ให้กระทำต่อหน้าคฤหัสถ์ ที่มีสติสมบูรณ์เข้าใจการปฏิญญานั้น คือให้มีพยานรับรู้นั่นเอง การปฏิญญาต่อหน้าพระพุทธรูปย่อมไม่ใช่สงฆ์ แต่การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำลาสิกขาบทบนสถานีตำรวจนั้นเท่ากับได้กระทำต่อหน้าคฤหัสถ์ซึ่งมีสติสมบูรณ์เข้าใจการปฏิญญานั้นแล้วจึงถือได้ว่าเป็นการ “จัดดำเนินการให้ (จำเลย) สละสมณเพศ”ตามพระราชบัญญัติสงฆ์ ภายในกรอบแห่งพระธรรมวินัยแล้ว
ประเด็นที่ ๒
โดยวัตถุประสงค์ของกฎหมายไม่ต้องการให้กักขัง ควบคุมพระภิกษุที่ยังอยู่ในผ้าเหลือง ดังนั้น การที่ตำรวจได้พาจำเลยไปที่วัดที่จำเลยสังกัดเพื่อให้จำเลยสึกแต่เจ้าอาวาสไม่ยอมสึกให้ถือว่าเป็นวิธีการหนึ่งในการ “จัดดำเนินการให้สละสมณเพศ” ตามพระราชบัญญัติสงฆ์ เมื่อวิธีดังกล่าวไม่ได้ผล พนักงานสอบสวนจึงต้องดำเนินการอย่างอื่นในทางที่จะให้เกิดผลจึงได้ดำเนินการให้จำเลยเปล่งวาจาลาสิกขาต่อหน้าพยานที่เป็นคฤหัสถ์ซึ่งก็สามารถทำได้ตามกรอบแห่งพระธรรมวินัย จะว่าเป็นการกระทำโดยพลการไม่ได้เพราะสงฆ์ที่จำเลยสังกัดไม่ยอมรับเสียแล้ว.....
นี่เป็นส่วนหนึ่งของหมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่คัดย่อมาเพื่อให้ทราบ ซี่งเป็นการอธิบายหลักกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงเหตุผลที่ใช้ในการพิพากษาคดีด้วย
กฎหมายสงฆ์ที่ใช้ปกครองสงฆ์ แบบนี้ไม่ยอมรับก็ได้ว่างั้นหรือก็ไปล่ารายชื่อคัดค้านขอเปลี่ยนแปลงกฎหมายซิครับ ลูกศิษย์ลูกหาเยอะแยะนี่นาไม่ใช่หรือ มาเพ้อโพสต์ทำแต้มตรงนี้จะได้อะไรจ๊ะ
การขาดจากความเป็นพระภิกษุ
มีหมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๗๘๒/๒๕๔๓ ซึ่งนายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ ผู้พิพากษาศาลฏีกา ได้เขียนหมายเหตุไว้น่าสนใจสมควรที่เอามาคุยกัน จะได้รับทราบเรื่องการขาดจากความเป็นพระภิกษุ ดังต่อไปนี้ “การขาดจากความเป็นพระภิกษุ” ตามพระธรรมวินัยนั้น ทางหนึ่งได้แก่กรณีที่พระภิกษุต้องอาบัติปาราชิกซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ๔ ประการด้วยกันคือ (๑) เสพเมถุน (๒) เอาของที่เจ้าของไม่ให้ ซึ่งพระราชาจะลงโทษถึงประหารชีวิต จองจำหรือเนรเทศ(สมัยนั้นได้แก่การลักเอาของที่มีค่าตั้งแต่ ๕ มาสก (๑ บาท) ขึ้นไป (๓) ฆ่ามนุษย์ และ (๔) อวดอ้างคุณวิเศษที่ไม่มีในตน (ดู วินัยปิฎกเล่มที่ ๑ ชื่อมหาวิภังค์)
ภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิกเป็นอันขาดจากความเป็นภิกษุทันที โดยไม่ต้องมีพิธีใดๆ และห้ามอุปสมบทอีก ดังนี้ ภิกษุที่ประพฤติพรหมจรรย์อยู่จึงย่อมจะ “รู้อยู่แก่ใจ” ดีว่าตนได้ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ต้องอาบัติถึงปาราชิกหรือไม่และตนได้พ้นจากความเป็นภิกษุแล้วหรือยัง
ส่วนการ “ขาดจากความเป็นพระภิกษุ”อีกทางหนึ่งนั้นได้แก่ “การลาสิกขา” หรือการสละ “สมณเพศ”ซึ่งได้มีการกำหนดไว้ในพระธรรมวินัย (ดูเพิ่มเติม-สมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระพระยาวชิรญาณวโรรส,วินัยมุข เล่ม ๓,กัณฑ์ที่ ๓๓ มหามกุฎราชวิทยาลัย ๒๕๓๘ น. ๒๑๐-๒๑๕ ) ความโดยสรุปว่า ภิกษุผู้เบื่อหน่ายแต่การประพฤติพรหมจรรย์ปราถนาจะกลับคืนไปสู่ความเป็นคฤหัสถ์ย่อมทำได้ด้วยการลาสิกขา คือปฏิญญาตนเป็นคฤหัสถ์ต่อคณะสงฆ์หรือต่อหน้าบุคคลอื่นที่มิใช่ภิกษุก็ได้แต่ต้องเป็นผู้ที่มีสติสมบูรณ์เข้าใจถึงปฏิญญาด้วย
วิธีการปฏิญญา (ตามอรรถคถา) กำหนดไว้ให้ “ตั้งนโม ๓ จบ แล้วกล่าวคำว่าสิกขํปจจกขามิคิ

(จากคู่มือการเรียนการสอนนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก,สำนักพิมพ์เลี่ยงเซียง, ๒๕๔๓ น. ๓๔๗-๓๔๘ ) ดังนี้จะเห็นได้ว่า หากเป็นกรณีขาดจากความเป็นพระภิกษุเมื่อต้องอาบัติปาราชิกนั้นเป็นไปเพราะภิกษุผู้นั้นได้กระทำความผิดขึ้นเอง จึงไม่จำต้องสมัครใจหรือบอกลาสิกขาก็ถือว่าขาดจากความเป็นสมณะแล้ว เปรียบเสมือนเป็นการตายจากการเป็นพระ ถึงไม่ลาออกก็ขาดคุณสมบัติ
ส่วนการลาสิกขาหรือสละสมณเพศนั้นเป็นเรื่องที่พระภิกษุผู้ใดเบื่อหน่ายต่อการประพฤติพรหมจรรย์ พระธรรมวินัยจึงถือเอาความสมัครใจเป็นที่ตั้ง เพียงขอให้มีพยานรู้เห็นการสละสมณเพศนั้นก็เพียงพอแล้วไม่จำต้องมีพิธีการเป็นพิเศษแต่อย่างใด
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา ๒๙ กำหนดให้พนักงานสอบสวน “มีอำนาจจัดดำเนินการให้พระภิกษุที่ต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาสละสมณเพศได้”เมื่อพนักงานสอบสวนและอัยการเห็นว่าไม่ควรปล่อยชั่วคราว สมควรควบคุมตัวไว้ แต่
๑.เจ้าอาวาสที่พระรูปนั้นสังกัด ไม่ยอมรับตัวไว้ควบคุม หรือ
๒.เห็นว่าไม่ควรให้เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุม หรือ
๓.พระรูปนั้นไม่มีสังกัด หรือเป็นพระจรจัดนั่นเอง
การจัดดำเนินการให้พระภิกษุดังกล่าวสละสมณเพศเสีย ก็เพื่อไม่ต้องการให้พระภิกษุในผ้าเหลืองต้องเข้าไปอยู่ในคุกนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การ”การดำเนินการให้สละสมณเพศ”จะต้องทำอย่างไรนั้นตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา ๒๗ บัญญัติให้เป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคมซึ่งยังมิได้มีการบัญญัติขึ้นแต่อย่างใด ดังนี้พนักงานสอบสวนจะต้องทำอย่างไรจึงจะถือว่าได้ดำเนินการให้สละสมณเพศแล้ว
ประเด็นปัญหาตามข้อเท็จจริงของคำพิพากษาศาลฎีกานี้จึงอยู่ที่ว่า
๑. การที่พนักงานสอบสวนให้จำเลยกล่าวลาสิกขาต่อหน้าพระพุทธรูปที่อยู่บนสถานีตำรวจนั้นเป็นการ “จัดดำเนินการให้(จำเลย)สละสมณเพศ”ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ หรือไม่
๒. การกระทำของพนักงานสอบสวนตามข้อ ๑ เป็นการกระทำโดยพลการหรือไม่........
ประเด็นที่ ๑
เมื่อพิจารณาจากกรอบการลาสิกขาบทตาม “วินัยมุข”ดังที่อ้างไว้ข้างต้นแล้วจะพบว่าสาระของเรื่องคือ ต้องมีการ “เปล่งวาจาลาสิกขา” ต่อหน้าพระภิกษุสงฆ์ หรือหากไม่มีก็ให้กระทำต่อหน้าคฤหัสถ์ ที่มีสติสมบูรณ์เข้าใจการปฏิญญานั้น คือให้มีพยานรับรู้นั่นเอง การปฏิญญาต่อหน้าพระพุทธรูปย่อมไม่ใช่สงฆ์ แต่การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำลาสิกขาบทบนสถานีตำรวจนั้นเท่ากับได้กระทำต่อหน้าคฤหัสถ์ซึ่งมีสติสมบูรณ์เข้าใจการปฏิญญานั้นแล้วจึงถือได้ว่าเป็นการ “จัดดำเนินการให้ (จำเลย) สละสมณเพศ”ตามพระราชบัญญัติสงฆ์ ภายในกรอบแห่งพระธรรมวินัยแล้ว
ประเด็นที่ ๒
โดยวัตถุประสงค์ของกฎหมายไม่ต้องการให้กักขัง ควบคุมพระภิกษุที่ยังอยู่ในผ้าเหลือง ดังนั้น การที่ตำรวจได้พาจำเลยไปที่วัดที่จำเลยสังกัดเพื่อให้จำเลยสึกแต่เจ้าอาวาสไม่ยอมสึกให้ถือว่าเป็นวิธีการหนึ่งในการ “จัดดำเนินการให้สละสมณเพศ” ตามพระราชบัญญัติสงฆ์ เมื่อวิธีดังกล่าวไม่ได้ผล พนักงานสอบสวนจึงต้องดำเนินการอย่างอื่นในทางที่จะให้เกิดผลจึงได้ดำเนินการให้จำเลยเปล่งวาจาลาสิกขาต่อหน้าพยานที่เป็นคฤหัสถ์ซึ่งก็สามารถทำได้ตามกรอบแห่งพระธรรมวินัย จะว่าเป็นการกระทำโดยพลการไม่ได้เพราะสงฆ์ที่จำเลยสังกัดไม่ยอมรับเสียแล้ว.....
นี่เป็นส่วนหนึ่งของหมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่คัดย่อมาเพื่อให้ทราบ ซี่งเป็นการอธิบายหลักกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงเหตุผลที่ใช้ในการพิพากษาคดีด้วย
กฎหมายสงฆ์ที่ใช้ปกครองสงฆ์ แบบนี้ไม่ยอมรับก็ได้ว่างั้นหรือก็ไปล่ารายชื่อคัดค้านขอเปลี่ยนแปลงกฎหมายซิครับ ลูกศิษย์ลูกหาเยอะแยะนี่นาไม่ใช่หรือ มาเพ้อโพสต์ทำแต้มตรงนี้จะได้อะไรจ๊ะ
แสดงความคิดเห็น
การสึกของพระเป็นเรื่องพุทธบัญญัติไม่ใช่โลกบัญญัติ
เรื่องการบวช หรือสึกของพระนี่สิ ไม่ใช่โลกสมมติให้เป็น แต่ว่าเป็นเรื่องพุทธบัญญัติ คือ สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้ เป็นระเบียบแบบแผน เอาไว้เพื่อเป็นหลักตัดสินหรือปฏิบัติ
การบวชถ้าไม่ได้ทำให้ถูกต้องตามหลักธรรมวินัย หรือพุทธบัญญัติ ท่านเรียกว่าเป็น "คนลักเพศ" คือตัวเองเป็นคฤหัสถ์ครองเรือน แต่ไปลัก "เพศสมณะ"มาเป็นของตน ท่านว่าผู้นั้น จักได้รับบาปเป็นอันมาก
ฉะนั้น ไม่มีใครในโลกสามารถบังคับให้พระสึกได้ ถ้าหากเจ้าตัวไม่เต็มใจยินยอมจะสึกอย่างมากก็ทำได้เพียง จับถอดผ้าจีวรออกจากตัวเท่านั้น
ดังนั้น การจับเปลื้องผ้าจีวรออก กับการสึก จึงไม่ใช่เรื่องเดียวกัน