คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ต้องแยกออกจากกัน เพราะต่างกันโดยสิ้นเชิงครับ
1.สมณศักดิ์
ประเภทสมณศักดิ์ คือ ยศพระ ถ้าเทียบทางโลก ก็ได้แค่ 2 ประเภทคือ
ชั้นประทวน ก็ไล่ ไปตั้งแต่ พระครูประทวนสมณศักดิ์ ไปจนถึง พระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ
ชั้นสัญญาบัตร ก็ไล่ไปตั้งแต่ พระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก พัดเปลวเพลิง ไปจนถึง สมเด็จพระราชาคณะ
ซึ่งสมณศักดิ์คณะสงฆ์ไทยจะประกอบไปด้วย 11 ชั้น คือ
สมเด็จพระสังฆราช
สมเด็จพระราชาคณะ
พระราชาคณะเจ้าคณะรอง
พระราชาคณะชั้นธรรม
พระราชาคณะชั้นเทพ
พระราชาคณะชั้นราช
พระราชาคณะชั้นสามัญ
พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี-โท-เอก-พิเศษ
พระครูฐานานุกรม ตั้งได้ตามจำนวนที่ปรากฏในสัญญาบัตรของพระราชาคณะ
พระครูประทวนสมณศักดิ์ (พระครูผู้อุปการะการศึกษา)
พระเปรียญ ป.ธ.9 - ป.ธ.8 - ป.ธ.7 - ป.ธ.6 - ป.ธ.5 - ป.ธ.4 - ป.ธ.3
และมีลำดับเกียรติ 67 ชั้น
2.ตำแหน่ง
คณะสงห์ไทยมีตำแหน่ง หลายตำแหน่ง ทั้งทางวิชาการ และการปกครอง ขอยกที่ให้เห็นภาพชัดๆ ในด้านการปกครองนะครับ มีตำแหน่ง อยู่ 8 ลำดับชั้นคือ
สมเด็จพระสังฆราช เทียบเคียงได้เท่า พระประมุขแห่งคณะสงฆ์
กรรมการมหาเถรสมาคม เทียบได้ คณะรัฐมนตรี
เจ้าคณะใหญ่ หนต่างๆ เทียบเคียงได้เท่า สมุหเทศาภิบาลประจำมณฑล
เจ้าคณะภาค เทียบเคียงได้เท่า ผู้ตรวจราชการประจำกรม
เจ้าคณะจังหวัด เทียบเคียงได้เท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด
เจ้าคณะอำเภอ เทียบเทียงได้เท่า นายอำเภอ
เจ้าคณะตำบล เทียบเคียงได้เท่า กำนัน
เจ้าอาวาสวัด เทียบเคียงได้เท่า ผู้ใหญ่บ้าน
และในสายวิชาการก็ยังมี ตำแหน่ง พระคณาจารย์ หมายถึง พระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิในฝ่ายปริยัติที่ได้รับการแต่งตั้ง ตามประกาศสังฆนายก เรื่องระเบียบการแต่งตั้งพระคณาจารย์ พ.ศ. 2488 แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ พระคณาจารย์ทางเทศนา, พระคณาจารย์ทางรจนา และพระคณาจารย์ทางคันถธุระ ซึ่งจะเทียบเคียงตำแหน่งในสายปกครองได้ดังนี้
พระคณาจารย์ตรี เทียบเจ้าคณะอำเภอ
พระคณาจารย์โท เทียบเจ้าคณะจังหวัด
พระคณาจารย์เอก เทียบเจ้าคณะตรวจการภาค
3.การศึกษา
การศึกษาพระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์ไทยแบ่งเป็น 2 แผนก คือ
3.1.การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี หรือ เปรียญธรรม หรือ ประโยค หมายถึงระดับชั้นการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย มี 9 ชั้น 8 ระดับ แบ่งเป็นชั้นประโยค 1-2 (ระดับที่ 1 ใช้เวลาเรียน 1-2 ปี) และระดับเปรียญ (ป.ธ. 3-9) (7 ระดับ) รวม 8 ระดับ แยกส่วนได้เป็น
ชั้นเปรียญตรี (ชั้นที่ 1) ตั้งแต่ ประโยค 1-2 ถึงเปรียญธรรม 3 ประโยค
ชั้นเปรียญโท (ชั้นที่ 2) ตั้งแต่ เปรียญธรรม 4 ประโยค ถึงเปรียญธรรม 6 ประโยค
ชั้นเปรียญเอก (ชั้นที่ 3) ตั้งแต่ เปรียญธรรม 7 ประโยค ถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค
3.2.การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม หรือนักธรรม มี 3 ชั้น คือ
นักธรรมชั้นตรี
นักธรรมชั้นโท
นักธรรมชั้นเอก
การเทียบวุฒิกับทางโลก
น.ธ.ตรี, น.ธ.โท, น.ธ.เอก เทียบเท่า ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป.6) ประโยค 1-2, ป.ธ.3 เทียบเท่า มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) ป.ธ.4, ป.ธ.5 เทียบเท่า มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ป.ธ.6 เทียบเท่า ระดับปริญญาตรี (สาขาวิชาภาษาบาลี) ป.ธ.7, ป.ธ.8 เทียบเท่า ระดับปริญญาโท (สาขาวิชาภาษาบาลี) ป.ธ.9 เทียบเท่า ระดับปริญญาเอก (สาขาวิชาภาษาบาลี) ระดับปริญญาตามที่กล่าวมา คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก นั้นยังไม่มีกฏหมายรองรับ ข้อเท็จจริง สิ่งที่แสดงเบื้องต้นเกี่ยวกับ "การเทียบวุฒิกับทางโลก" นั้น จำเป็นต้องมีกฏหมายของไทยรองรับ
ตามกฏหมาย พระราชบัญญัติ กำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราช โองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จ วิชาการพระพุทธศาสนา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดย คำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะ ผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2527"
มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2527/140/4พ/8 ตุลาคม 2537]
มาตรา 3* วิชาการพระพุทธศาสนา หมายความว่า วิชาการ ซึ่งจัดให้พระภิกษุสามเณรศึกษาตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและ แผนกบาลีสนามหลวง *[มาตรา 3 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540]
มาตรา 4* ให้ผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนาตามหลักสูตร พระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลีสนามหลวงเปรียญธรรมเก้าประโยค มีวิทยฐานะชั้นปริญญาตรี เรียกว่า "เปรียญธรรมเก้าประโยค" ใช้อักษรย่อว่า "ป.ธ.9" *[มาตรา 4 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540]
มาตรา 5 นอกจากปริญญาตามมาตรา 4 พระภิกษุสามเณรซึ่งได้ ศึกษาวิชาการพระพุทธศาสนาอาจได้รับประกาศนียบัตรรับรองความรู้ตาม หลักสูตรที่คณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์ให้ความเห็นชอบ
มาตรา 6* ให้มีคณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์คณะหนึ่ง ประกอบด้วย สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานกรรมการ แม่กองบาลี สนามหลวง แม่กองธรรมสนามหลวง อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฎ ราชวิทยาลัย อธิการบดีมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เลขาธิการสภาสถาบันราชภัฏ อธิบดีกรมการศาสนา อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน อธิบดีกรมวิชาการ เลขาธิการคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งสมเด็จพระ สังฆราชทรงแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม เป็นกรรมการ ให้คณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์เลือกกรรมการผู้หนึ่งเป็น รองประธานกรรมการ
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระภิกษุ สามเณรซึ่งได้ศึกษาและสอบไล่ได้เปรียญเก้าประโยคตามหลักสูตรพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและแผนกบาลีสนามหลวงของคณะสงฆ์ ปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต ตามหลักสูตรปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิตของสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิตตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตร บัณฑิตของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีความรู้ความ สามารถและประสบการณ์เทียบขั้นบัณฑิตด้านสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ฝ่ายอาณาจักร สมควรกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร ทั้งสามนี้ให้สูงเท่ากับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยฝ่ายอาณาจักร จึงจำเป็น ต้องตราพระราชบัญญัตินี้
1.สมณศักดิ์
ประเภทสมณศักดิ์ คือ ยศพระ ถ้าเทียบทางโลก ก็ได้แค่ 2 ประเภทคือ
ชั้นประทวน ก็ไล่ ไปตั้งแต่ พระครูประทวนสมณศักดิ์ ไปจนถึง พระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ
ชั้นสัญญาบัตร ก็ไล่ไปตั้งแต่ พระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก พัดเปลวเพลิง ไปจนถึง สมเด็จพระราชาคณะ
ซึ่งสมณศักดิ์คณะสงฆ์ไทยจะประกอบไปด้วย 11 ชั้น คือ
สมเด็จพระสังฆราช
สมเด็จพระราชาคณะ
พระราชาคณะเจ้าคณะรอง
พระราชาคณะชั้นธรรม
พระราชาคณะชั้นเทพ
พระราชาคณะชั้นราช
พระราชาคณะชั้นสามัญ
พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี-โท-เอก-พิเศษ
พระครูฐานานุกรม ตั้งได้ตามจำนวนที่ปรากฏในสัญญาบัตรของพระราชาคณะ
พระครูประทวนสมณศักดิ์ (พระครูผู้อุปการะการศึกษา)
พระเปรียญ ป.ธ.9 - ป.ธ.8 - ป.ธ.7 - ป.ธ.6 - ป.ธ.5 - ป.ธ.4 - ป.ธ.3
และมีลำดับเกียรติ 67 ชั้น
2.ตำแหน่ง
คณะสงห์ไทยมีตำแหน่ง หลายตำแหน่ง ทั้งทางวิชาการ และการปกครอง ขอยกที่ให้เห็นภาพชัดๆ ในด้านการปกครองนะครับ มีตำแหน่ง อยู่ 8 ลำดับชั้นคือ
สมเด็จพระสังฆราช เทียบเคียงได้เท่า พระประมุขแห่งคณะสงฆ์
กรรมการมหาเถรสมาคม เทียบได้ คณะรัฐมนตรี
เจ้าคณะใหญ่ หนต่างๆ เทียบเคียงได้เท่า สมุหเทศาภิบาลประจำมณฑล
เจ้าคณะภาค เทียบเคียงได้เท่า ผู้ตรวจราชการประจำกรม
เจ้าคณะจังหวัด เทียบเคียงได้เท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด
เจ้าคณะอำเภอ เทียบเทียงได้เท่า นายอำเภอ
เจ้าคณะตำบล เทียบเคียงได้เท่า กำนัน
เจ้าอาวาสวัด เทียบเคียงได้เท่า ผู้ใหญ่บ้าน
และในสายวิชาการก็ยังมี ตำแหน่ง พระคณาจารย์ หมายถึง พระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิในฝ่ายปริยัติที่ได้รับการแต่งตั้ง ตามประกาศสังฆนายก เรื่องระเบียบการแต่งตั้งพระคณาจารย์ พ.ศ. 2488 แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ พระคณาจารย์ทางเทศนา, พระคณาจารย์ทางรจนา และพระคณาจารย์ทางคันถธุระ ซึ่งจะเทียบเคียงตำแหน่งในสายปกครองได้ดังนี้
พระคณาจารย์ตรี เทียบเจ้าคณะอำเภอ
พระคณาจารย์โท เทียบเจ้าคณะจังหวัด
พระคณาจารย์เอก เทียบเจ้าคณะตรวจการภาค
3.การศึกษา
การศึกษาพระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์ไทยแบ่งเป็น 2 แผนก คือ
3.1.การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี หรือ เปรียญธรรม หรือ ประโยค หมายถึงระดับชั้นการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย มี 9 ชั้น 8 ระดับ แบ่งเป็นชั้นประโยค 1-2 (ระดับที่ 1 ใช้เวลาเรียน 1-2 ปี) และระดับเปรียญ (ป.ธ. 3-9) (7 ระดับ) รวม 8 ระดับ แยกส่วนได้เป็น
ชั้นเปรียญตรี (ชั้นที่ 1) ตั้งแต่ ประโยค 1-2 ถึงเปรียญธรรม 3 ประโยค
ชั้นเปรียญโท (ชั้นที่ 2) ตั้งแต่ เปรียญธรรม 4 ประโยค ถึงเปรียญธรรม 6 ประโยค
ชั้นเปรียญเอก (ชั้นที่ 3) ตั้งแต่ เปรียญธรรม 7 ประโยค ถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค
3.2.การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม หรือนักธรรม มี 3 ชั้น คือ
นักธรรมชั้นตรี
นักธรรมชั้นโท
นักธรรมชั้นเอก
การเทียบวุฒิกับทางโลก
น.ธ.ตรี, น.ธ.โท, น.ธ.เอก เทียบเท่า ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป.6) ประโยค 1-2, ป.ธ.3 เทียบเท่า มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) ป.ธ.4, ป.ธ.5 เทียบเท่า มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ป.ธ.6 เทียบเท่า ระดับปริญญาตรี (สาขาวิชาภาษาบาลี) ป.ธ.7, ป.ธ.8 เทียบเท่า ระดับปริญญาโท (สาขาวิชาภาษาบาลี) ป.ธ.9 เทียบเท่า ระดับปริญญาเอก (สาขาวิชาภาษาบาลี) ระดับปริญญาตามที่กล่าวมา คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก นั้นยังไม่มีกฏหมายรองรับ ข้อเท็จจริง สิ่งที่แสดงเบื้องต้นเกี่ยวกับ "การเทียบวุฒิกับทางโลก" นั้น จำเป็นต้องมีกฏหมายของไทยรองรับ
ตามกฏหมาย พระราชบัญญัติ กำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราช โองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จ วิชาการพระพุทธศาสนา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดย คำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะ ผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2527"
มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2527/140/4พ/8 ตุลาคม 2537]
มาตรา 3* วิชาการพระพุทธศาสนา หมายความว่า วิชาการ ซึ่งจัดให้พระภิกษุสามเณรศึกษาตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและ แผนกบาลีสนามหลวง *[มาตรา 3 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540]
มาตรา 4* ให้ผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนาตามหลักสูตร พระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลีสนามหลวงเปรียญธรรมเก้าประโยค มีวิทยฐานะชั้นปริญญาตรี เรียกว่า "เปรียญธรรมเก้าประโยค" ใช้อักษรย่อว่า "ป.ธ.9" *[มาตรา 4 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540]
มาตรา 5 นอกจากปริญญาตามมาตรา 4 พระภิกษุสามเณรซึ่งได้ ศึกษาวิชาการพระพุทธศาสนาอาจได้รับประกาศนียบัตรรับรองความรู้ตาม หลักสูตรที่คณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์ให้ความเห็นชอบ
มาตรา 6* ให้มีคณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์คณะหนึ่ง ประกอบด้วย สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานกรรมการ แม่กองบาลี สนามหลวง แม่กองธรรมสนามหลวง อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฎ ราชวิทยาลัย อธิการบดีมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เลขาธิการสภาสถาบันราชภัฏ อธิบดีกรมการศาสนา อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน อธิบดีกรมวิชาการ เลขาธิการคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งสมเด็จพระ สังฆราชทรงแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม เป็นกรรมการ ให้คณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์เลือกกรรมการผู้หนึ่งเป็น รองประธานกรรมการ
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระภิกษุ สามเณรซึ่งได้ศึกษาและสอบไล่ได้เปรียญเก้าประโยคตามหลักสูตรพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและแผนกบาลีสนามหลวงของคณะสงฆ์ ปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต ตามหลักสูตรปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิตของสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิตตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตร บัณฑิตของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีความรู้ความ สามารถและประสบการณ์เทียบขั้นบัณฑิตด้านสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ฝ่ายอาณาจักร สมควรกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร ทั้งสามนี้ให้สูงเท่ากับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยฝ่ายอาณาจักร จึงจำเป็น ต้องตราพระราชบัญญัตินี้
แสดงความคิดเห็น
สมณศักดิ์ ตำแหน่ง การศึกษา (เปรียญ/ประโยค/นักธรรม) ของพระ มีกี่ระดับ ถ้าเทียบกับทางโลก (ราชการ) จะเป็นอย่างไรบ้าง