วันที่ 7 มีนาคม คณะกรรมการการค้ายุติธรรมเกาหลีใต้ (Korean Fair Trade Commission,KFTC) ได้เปิดเผยผลการสืบสวนเกี่ยวกับสัญญาที่ไม่เป็นธรรมระหว่างบริษัทและเด็กฝึกหรือสัญญาทาส จากทั้ง 8 บริษัทที่มีสินทรัพย์มากกว่า 12,000 ล้านวอน(ประมาณ 370 ล้านบาท) คือ SM Entertainment, YG Entertainment, JYP Entertainment, Loen Entertainment, FNC Entertainment, Cube Entertainment, Jellyfish Entertainment และ DSP Media โดยสรุปออกมาเป็น 6 หัวข้อใหญ่ดังนี้
1.การใช้บทลงโทษที่มากเกินไปเมื่อมียกเลิกสัญญา
KFTC กล่าวว่าเด็กฝึกของทั้ง 8 บริษัทข้างต้น จะต้องจ่ายค่าปรับให้กับบริษัทกรณีที่มีการยกเลิกสัญญาเป็นจำนวนเงิน 2-3 เท่าของที่บริษัทลงทุนไปกับเด็กฝึกคนนั้น ซึ่งโดยทั่วไปสัญญาจะอยู่ที่ประมาณ 3 ปี แปลว่าเด็กฝึกต้องจ่ายค่าปรับในการยกเลิกสัญญาสูงถึง 150 ล้านวอน(ประมาณ 4.5 ล้านบาท) ซึ่ง KFTC มองว่ามันเป็นบทลงโทษที่รุนแรงเกินไป และสั่งให้แก้ไขเรื่องนี้ในสัญญา โดยให้เด็กฝึกจ่ายค่าปรับเท่ากับค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปตามจริงเท่านั้น ห้ามปรับเกินกว่านี้
2.การบังคับให้ศิลปินต่อสัญญาใหม่เมื่อใกล้หมดสัญญา
JYP , Cube และ DSP มีการระบุในสัญญาที่กดดันให้ศิลปินในค่ายต้องต่อสัญญาใหม่ทันทีเมื่อหมดสัญญา หรือไม่ก็ต้องจ่ายเงินคืนให้กับบริษัทเป็นจำนวน 2 เท่าของที่ลงทุนไปแทน KFTC จึงสั่งให้แก้ไขรายละเอียดตรงนี้ โดยให้บริษัทสามารถเริ่มเจรจาได้หลังจากที่ศิลปินหมดสัญญาแล้วเท่านั้น ไม่สามารถเจรจาล่วงหน้าได้อีก
3.การยกเลิกสัญญาทันทีโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
ในสัญญาของ Loen Entertainment, YG Entertainment, Cube Entertainment, JYP Entertainment และ DSP Media มีการระบุว่าบริษัทสามารถยกเลิกสัญญาได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า KFTC จึงสั่งให้แก้ไข โดยบริษัทจะต้องมีการแจ้งให้ทราบก่อนระยะเวลาหนึ่งเพื่อใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นจึงจะสามารถยกเลิกสัญญาได้ เช่น กรณีที่ศิลปินมีข่าวลือเสียหาย บริษัทก็จะไม่สามารถยกเลิกได้ทันที อาจจะแจ้งให้ศิลปินพักงานก่อนและแก้ปัญหา หากแก้ไม่ได้ถึงจะสามารถยกเลิกได้ในเวลาต่อมา ไม่สามารถยกเลิกได้ทันทีอีกต่อไป
4.การยกเลิกสัญญาด้วยเหตุผลที่ไม่ชัดเจน
ในสัญญาของ SM Entertainment, FNC Entertainment และ DSP Media สามารถยกเลิกสัญญาได้ไม่ว่าสาเหตุนั้นจะสมเหตุสมผลหรือไม่ก็ตาม ซึ่ง KFTC ก็สั่งให้เอาเงื่อนไขนี้ออกไป
5.การบังคับให้เด็กฝึกต้องจ่ายค่าปรับทันทีที่มีการละเมิดสัญญา
มีการระบุในสัญญาว่าเด็กฝึกจะต้องจ่ายค่าปรับทันทีที่มีการละเมิดเงื่อนไขใด ๆ ในสัญญา ซึ่ง KFTC ก็สั่งให้แก้ไขโดยให้การดำเนินการจ่ายค่าปรับเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งของเกาหลี
6.การจำกัดสิทธิ์ในการต่อสู้คดี
มีการระบุในสัญญาว่าเด็กฝึกสามารถต่อสู้คดีหรือข้อพิพาทระหว่างบริษัท เช่น การขอแก้ไขสัญญา ได้เฉพาะที่ศาลประจำกรุงโซลเท่านั้น ซึ่ง KFTC ก็สั่งให้เอาเงื่อนไขนี้ออกไป และให้เด็กฝึกสามารถสู้คดีที่ศาลใดก็ได้
หัวหน้าทีมสอบสวนของ KFTC ยังอีกกล่าวว่า "ทั้งหมดนี้นี้เพื่อให้สิทธิ์ของเด็กฝึกในสัญญามีความเป็นธรรมมากขึ้น และยังเป็นการกระตุ้นให้บริษัทอื่น ๆ เลือกเซ็นสัญญาที่เป็นธรรมกับเด็กฝึกมากกว่าที่จะใช้สัญญาทาส เพราะแนวโน้มของการแข่งขันในวงการบันเทิงเริ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ" (คำแถลงฉบับเต็มอ่านได้จากต้นฉบับภาษาเกาหลี)
ที่มาภาษาอังกฤษ :
Soompi
ที่มาภาษาเกาหลี :
Focusnews
[K-Pop] KFTC เผยรายชื่อ 8 บริษัทวงการบันเทิงของเกาหลี ที่ต้องปรับปรุงแก้ไขสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
วันที่ 7 มีนาคม คณะกรรมการการค้ายุติธรรมเกาหลีใต้ (Korean Fair Trade Commission,KFTC) ได้เปิดเผยผลการสืบสวนเกี่ยวกับสัญญาที่ไม่เป็นธรรมระหว่างบริษัทและเด็กฝึกหรือสัญญาทาส จากทั้ง 8 บริษัทที่มีสินทรัพย์มากกว่า 12,000 ล้านวอน(ประมาณ 370 ล้านบาท) คือ SM Entertainment, YG Entertainment, JYP Entertainment, Loen Entertainment, FNC Entertainment, Cube Entertainment, Jellyfish Entertainment และ DSP Media โดยสรุปออกมาเป็น 6 หัวข้อใหญ่ดังนี้
1.การใช้บทลงโทษที่มากเกินไปเมื่อมียกเลิกสัญญา
KFTC กล่าวว่าเด็กฝึกของทั้ง 8 บริษัทข้างต้น จะต้องจ่ายค่าปรับให้กับบริษัทกรณีที่มีการยกเลิกสัญญาเป็นจำนวนเงิน 2-3 เท่าของที่บริษัทลงทุนไปกับเด็กฝึกคนนั้น ซึ่งโดยทั่วไปสัญญาจะอยู่ที่ประมาณ 3 ปี แปลว่าเด็กฝึกต้องจ่ายค่าปรับในการยกเลิกสัญญาสูงถึง 150 ล้านวอน(ประมาณ 4.5 ล้านบาท) ซึ่ง KFTC มองว่ามันเป็นบทลงโทษที่รุนแรงเกินไป และสั่งให้แก้ไขเรื่องนี้ในสัญญา โดยให้เด็กฝึกจ่ายค่าปรับเท่ากับค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปตามจริงเท่านั้น ห้ามปรับเกินกว่านี้
2.การบังคับให้ศิลปินต่อสัญญาใหม่เมื่อใกล้หมดสัญญา
JYP , Cube และ DSP มีการระบุในสัญญาที่กดดันให้ศิลปินในค่ายต้องต่อสัญญาใหม่ทันทีเมื่อหมดสัญญา หรือไม่ก็ต้องจ่ายเงินคืนให้กับบริษัทเป็นจำนวน 2 เท่าของที่ลงทุนไปแทน KFTC จึงสั่งให้แก้ไขรายละเอียดตรงนี้ โดยให้บริษัทสามารถเริ่มเจรจาได้หลังจากที่ศิลปินหมดสัญญาแล้วเท่านั้น ไม่สามารถเจรจาล่วงหน้าได้อีก
3.การยกเลิกสัญญาทันทีโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
ในสัญญาของ Loen Entertainment, YG Entertainment, Cube Entertainment, JYP Entertainment และ DSP Media มีการระบุว่าบริษัทสามารถยกเลิกสัญญาได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า KFTC จึงสั่งให้แก้ไข โดยบริษัทจะต้องมีการแจ้งให้ทราบก่อนระยะเวลาหนึ่งเพื่อใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นจึงจะสามารถยกเลิกสัญญาได้ เช่น กรณีที่ศิลปินมีข่าวลือเสียหาย บริษัทก็จะไม่สามารถยกเลิกได้ทันที อาจจะแจ้งให้ศิลปินพักงานก่อนและแก้ปัญหา หากแก้ไม่ได้ถึงจะสามารถยกเลิกได้ในเวลาต่อมา ไม่สามารถยกเลิกได้ทันทีอีกต่อไป
4.การยกเลิกสัญญาด้วยเหตุผลที่ไม่ชัดเจน
ในสัญญาของ SM Entertainment, FNC Entertainment และ DSP Media สามารถยกเลิกสัญญาได้ไม่ว่าสาเหตุนั้นจะสมเหตุสมผลหรือไม่ก็ตาม ซึ่ง KFTC ก็สั่งให้เอาเงื่อนไขนี้ออกไป
5.การบังคับให้เด็กฝึกต้องจ่ายค่าปรับทันทีที่มีการละเมิดสัญญา
มีการระบุในสัญญาว่าเด็กฝึกจะต้องจ่ายค่าปรับทันทีที่มีการละเมิดเงื่อนไขใด ๆ ในสัญญา ซึ่ง KFTC ก็สั่งให้แก้ไขโดยให้การดำเนินการจ่ายค่าปรับเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งของเกาหลี
6.การจำกัดสิทธิ์ในการต่อสู้คดี
มีการระบุในสัญญาว่าเด็กฝึกสามารถต่อสู้คดีหรือข้อพิพาทระหว่างบริษัท เช่น การขอแก้ไขสัญญา ได้เฉพาะที่ศาลประจำกรุงโซลเท่านั้น ซึ่ง KFTC ก็สั่งให้เอาเงื่อนไขนี้ออกไป และให้เด็กฝึกสามารถสู้คดีที่ศาลใดก็ได้
หัวหน้าทีมสอบสวนของ KFTC ยังอีกกล่าวว่า "ทั้งหมดนี้นี้เพื่อให้สิทธิ์ของเด็กฝึกในสัญญามีความเป็นธรรมมากขึ้น และยังเป็นการกระตุ้นให้บริษัทอื่น ๆ เลือกเซ็นสัญญาที่เป็นธรรมกับเด็กฝึกมากกว่าที่จะใช้สัญญาทาส เพราะแนวโน้มของการแข่งขันในวงการบันเทิงเริ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ" (คำแถลงฉบับเต็มอ่านได้จากต้นฉบับภาษาเกาหลี)
ที่มาภาษาอังกฤษ : Soompi
ที่มาภาษาเกาหลี : Focusnews