อ่านเจอบทความของ Stock tomorrow ที่รวบรวมสถิติต่างๆมา อย่างน่าสนใจ:
หากดูการแข่งขันทั้ง 3 เจ้า เอไอเอส ในฐานะผูกขาดตลาดมือถือมากว่า 20 ปี มี Market share ในอดีตมากกว่า 50% ทำให้ยังคงมีความได้เปรียบในการรักษาฐานลูกค้าเดิม ในขณะที่คนที่เสียลูกค้าให้กับเอไอเอส และทรู ...ยังคงเป็นค่ายดีแทค ที่ปรับยุทธศาสตร์ให้เลือดหยุดไหล ซึ่ง การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่เป็นจุดแข็งของดีแทค จะช่วยลดข้อเสียเปรียบเรื่องคลื่นที่มีน้อยและหมดก่อนอีก 2 เจ้า
ทรู ลงทุนไปมากด้านเน็ตเวิร็ค โดยเฉพาะการเอาคลื่นส่วนใหญ่มาทุ่มทำ 4G ทำให้ระยะยาวทรู จะไม่เสียเปรียบ เอไอเอส ทำให้อยู่ที่ฝีมือในการแข็งขัน
สำหรับดีแทคเอง การมีกระแสข่าว ว่าจะมีผู้ซื้อรายวันนั้น ทำให้หุ้นวิ่งขึ้น วิ่งลง แต่ถึงจะทำให้หุ้นขึ้นระยะสั้น แต่ความเชื่อมั่นในดีแทคนั้นลดลง แต่อย่างไรก็ตาม ค่ายอย่างเทเลนอร์ ซึ่งมีซิกเวย์อยู่ทั้งคน เปรียบเสมือนดีแทคเป็นลูกของเขาทีเดียว คงไม่ยอมเพลี้ยงพร้ำง่ายๆ การทวงตำแหน่งเบอร์2 กลับจากทรูนั้น คงต้องรอหลังประมูลคลื่น ว่าจะได้คลื่นมากน้อยแค่ไหน แต่ต้องภาวนา อย่าให้เอไอเอส และ ทรู หนีสโต้ค ไปไกลเกินไป
ทั้งเอไอเอส และ ทรู ปีนี้ ชูจุดแข็งด้าน Platform ซึ่งเอไอเอส ได้เช่าใช้แพลตฟอร์มดิจิตอล ที่ทันสมัยจาก Singtel ทั้งตัว amobee เป็นตัว Digital marketing ตัวใหม่ และ Geo analytics ที่สิงค์เทล แชร์ให้ AIS ใช้วิเคราะห์ข้อมูล analytics ได้เชิงลึก
ในขณะที่ทรู เอง ทุ่มงบประมาณ เพื่อสร้าง digital platform เพื่อรองรับ IOT (Internet of things ) รองรับอุปกรณ์ที่หลากหลาย และเชื่อมต่อยุทธศาสตร์ คอนเวอร์เจน ซึ่งทำมากกว่า 10 ปี
หากพิจารณากีๆ จะพบว่า ปีนี้ telecom ไทย เปลี่ยน สิ่งแวดล้อมทางการแข็งขัน เหมือน เป็นยุคใหม่ ที่ ทุกคนเริ่มวิ่งกันใหม่. สิ่งที่ดีคือการลงทุนให้ประเทศไทย ยิ่งทุกเจ้าลงทุน คนที่ได้ประโยชน์คือลูกค้า
จากนี้ไม่ว่าใครจะชนะ จะแพ้ ก็เป็นเรื่องธุรกิจ แต่คำถามที่สำคัญคือ คนไทย จะใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ ต่อยอดการแข่งขัน เป็นผู้นำระดับภูมิภาคได้อย่างไร
Source: abuken
Source: Thank you info graphic from stock tomorrow
บทสรุป 3 ค่าย มือถือ 2017 AIS True Dtac กับสงครามที่ลูกค้าได้ประโยชน์
หากดูการแข่งขันทั้ง 3 เจ้า เอไอเอส ในฐานะผูกขาดตลาดมือถือมากว่า 20 ปี มี Market share ในอดีตมากกว่า 50% ทำให้ยังคงมีความได้เปรียบในการรักษาฐานลูกค้าเดิม ในขณะที่คนที่เสียลูกค้าให้กับเอไอเอส และทรู ...ยังคงเป็นค่ายดีแทค ที่ปรับยุทธศาสตร์ให้เลือดหยุดไหล ซึ่ง การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่เป็นจุดแข็งของดีแทค จะช่วยลดข้อเสียเปรียบเรื่องคลื่นที่มีน้อยและหมดก่อนอีก 2 เจ้า
ทรู ลงทุนไปมากด้านเน็ตเวิร็ค โดยเฉพาะการเอาคลื่นส่วนใหญ่มาทุ่มทำ 4G ทำให้ระยะยาวทรู จะไม่เสียเปรียบ เอไอเอส ทำให้อยู่ที่ฝีมือในการแข็งขัน
สำหรับดีแทคเอง การมีกระแสข่าว ว่าจะมีผู้ซื้อรายวันนั้น ทำให้หุ้นวิ่งขึ้น วิ่งลง แต่ถึงจะทำให้หุ้นขึ้นระยะสั้น แต่ความเชื่อมั่นในดีแทคนั้นลดลง แต่อย่างไรก็ตาม ค่ายอย่างเทเลนอร์ ซึ่งมีซิกเวย์อยู่ทั้งคน เปรียบเสมือนดีแทคเป็นลูกของเขาทีเดียว คงไม่ยอมเพลี้ยงพร้ำง่ายๆ การทวงตำแหน่งเบอร์2 กลับจากทรูนั้น คงต้องรอหลังประมูลคลื่น ว่าจะได้คลื่นมากน้อยแค่ไหน แต่ต้องภาวนา อย่าให้เอไอเอส และ ทรู หนีสโต้ค ไปไกลเกินไป
ทั้งเอไอเอส และ ทรู ปีนี้ ชูจุดแข็งด้าน Platform ซึ่งเอไอเอส ได้เช่าใช้แพลตฟอร์มดิจิตอล ที่ทันสมัยจาก Singtel ทั้งตัว amobee เป็นตัว Digital marketing ตัวใหม่ และ Geo analytics ที่สิงค์เทล แชร์ให้ AIS ใช้วิเคราะห์ข้อมูล analytics ได้เชิงลึก
ในขณะที่ทรู เอง ทุ่มงบประมาณ เพื่อสร้าง digital platform เพื่อรองรับ IOT (Internet of things ) รองรับอุปกรณ์ที่หลากหลาย และเชื่อมต่อยุทธศาสตร์ คอนเวอร์เจน ซึ่งทำมากกว่า 10 ปี
หากพิจารณากีๆ จะพบว่า ปีนี้ telecom ไทย เปลี่ยน สิ่งแวดล้อมทางการแข็งขัน เหมือน เป็นยุคใหม่ ที่ ทุกคนเริ่มวิ่งกันใหม่. สิ่งที่ดีคือการลงทุนให้ประเทศไทย ยิ่งทุกเจ้าลงทุน คนที่ได้ประโยชน์คือลูกค้า
จากนี้ไม่ว่าใครจะชนะ จะแพ้ ก็เป็นเรื่องธุรกิจ แต่คำถามที่สำคัญคือ คนไทย จะใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ ต่อยอดการแข่งขัน เป็นผู้นำระดับภูมิภาคได้อย่างไร
Source: abuken
Source: Thank you info graphic from stock tomorrow