สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
เร ิ่มต้นจากเราใส่เงินเข้าไปในเครื่อง มันก็จะกรีด/รีดแบงค์ทีละใบผ่านชุดตรวจจับความหนา (ถ้ามี เครื่องบางรุ่นไม่มี) จากนั้นก็ผ่านไปที่เครื่องสแกนตรวจแบงค์ [ตรวจเยอะ ทั้งภาพ/สี การสะท้อนแสง ที่เห็นได้ด้วยตามนุษย์ และที่ไม่เห็นด้วยตามนุษย์ เช่นพวกรังสี UV และอื่น ๆ เช่นอ่านรหัสแถบ (แบบแบงค์ญี่ปุ่น) อ่านรหัสแม่เหล็ก (แบบแบงค์สหรัฐ) และอื่น ๆ (บอกหมดไม่ได้)] โดยเครื่องจะมีแผนที่ต้นแบบของแบงค์แต่ละชนิดอยู่แล้ว เมื่อเทียบแล้วเหมือนในเปอร์เซ็นที่ตั้งไว้ เช่น 95% + หรือ 85% + เครื่องก็จะผ่านให้ ใบที่ไม่ผ่านก็จะดีดทิ้งมาให้เราเลือกที่จะฝากเพิ่ม/เปลี่ยนใบ/ฝากแต่ที่เครื่องตรวจผ่าน ซึ่งเงินที่ตรวจผ่านทั้งหมดนี้จะถูกพักไว้ในกระเปาะ (Escrow) พักเงินเพื่อให้เราตัดสินใจว่า จะฝากต่อจนจบขั้นตอนหรือยกเลิกรายการฝากนี้ ถ้ากดยกเลิก เครื่องจะคืนเงินในกระเปาะพักเงินทั้งหมดมาให้เรา แต่ถ้ากดยืนยันฝาก (รู้ตัวเลขจำนวนเงินแล้ว) เครื่องก็จะฝากเงินจำนวนนั้นเข้าบัญชีที่เราระบุ ****ซึ่งก็ต้องเก็บสำเนาการฝากนั้นไว้อยู่ดี จนกว่าจะได้รับการยืนยันยอดในบัญชีแล้ว ****** ซึ่งส่วนมากจะแนะนำให้กดถามยอดไปอีกหนึ่งรายการ (แต่ถ้าเป็นการโอนเงินและเราไม่ได้ถือบัญชีนั้น ๆ หรือไม่มีบัตร ATM ก็จะทำให้ไม่ทราบว่ายอดเงินเข้าจริงหรือไม่ จึงควรเก็บสำเนาไว้จนกว่าจะได้รับการยืนยันว่าบัญชีปลายทางได้เงินเข้าจริง
เงินที่เข้าไปในเครื่องรับฝาก รุ่นเก่า (ที่เรียกว่า CDM - Cash Deposit Machine) เงินจะไปกองในกล่องตามลำดับการฝาก ทำให้ (ถ้าธนาคารต้องการ) เขาสามารถ ไล่ลำดับย้อนได้ว่า เงินปึกไหนเป็นของใคร แต่จนท ธ.ต้องรู้ล่วงหน้าว่า เงินในกล่องนั้น ๆ มีปัญหาต้องการการตรวจสอบเป็นพิเศษ) ดังนั้นหากเกิดเหตุใด ๆ ก็ต้องแจ้งธนาคารโดยด่วน - แต่ก็ขึ้นกับธนาคารนั้น ๆ ว่าระบบสื่อสารภายในรวดเร็วแค่ไหน คนที่รับเรื่องจะกระตือรือร้นให้ความสำคัญกับเรื่องที่เราแจ้งแค่ไหน) แต่ปกติเขาจะจ้างยริษัทข้างนอก นับเงิน พวกนี้ก็จะ "เททั้งกล่อง"แล้วก็แยกชนิดของแบงค์แล้งค่อยนับ (นั่นคือที่ทำกันเมื่อก่อน) ไม่รู้ว่าปัจจุบันเปลี่ยนวิธีการบ้างไหม?
เครื่องฝากเงินรุ่นใหม่ เราเรียกว่า "เครื่องรับฝากเงินแบบหมุนเวียนเงินไปให้ถอนได้ Recycle Machine" ที่บางธนาคารกำลังใช้อยู่ตอนนี้นั้น (ก่อนหน้านี้ ในยุโรปหลายประเทศ "ห้ามใช้" ด้วยเหตุผลที่ว่า มันสามารถใช้เป็นที่ฟอกเงินได้) ส่วนบ้านเราที่ก่อนหน้านี้ไม่ยอมใช้ก็เน ื่องจาก"ลูกค้า" ไม่มีคุณภาพ นำเงินมั่ว ๆ เน่า ๆ มาเข้าเครื่อง ซึ่งรุ่นล่าสุด สามารถจัดการแยกเงินคุณภาพห่วย ออกต่างหากได้ ทำให้อัตราการเสีย/ติดขัดของเครื่อง (ชุดรับฝากเงิน) ต่ำลง แต่เราเองเชื่อว่าในไม่ช้านี้อาจพบกับประเด็นถูกใช้เป็นเครื่องฟอกเงินก็ได้ (ขออนุฐญาตไม่เล่ารายละเอียดว่าทำไมถึงใช้ฟอกเงืนได้)
กรณีที่เงินหายจากเครื่อง ทั้งที่มั่นใจว่าเรานับแล้วนับอีก ก่อนยัดเข้าเครือ่ง มีหลายสาเหตุ ขอเล่าเท่าที่(ลูกน้อง)เคยเจอด้วยตัวเอง คือเงินวิ่งออกนอกลู่ เพราะอะไรก็แล้วแต่ เลยพุ่งออกไปนอกเส้นทางที่จะไปคืนเงินเราได้ ซึ่งทั่ว ๆ ไปคนฝากมีส่วนผิดอยู่ด้วยเช่นติดคลิป ติดกาว ขาด แหว่ง พับ ใส่ไม่ดี ยับจัด ทำให้วิ่งในลู่ไม่ดี กระเดิดไปชนอุปกรณ์ในลู่วิ่งจนออกนอกเส้นทางหล่นไปในเครื่องบ้าง ฯลฯ
เครื่องรุ่นล่าสุดที่มีกล้องบันทึกตลอดเส้นทางที่เงินวิ่งเข้า/ออก (เกิน 4 ตัว) และมาตราการอื่น ๆ (เช่นตรวจแบงค์ปลอม และ...ฯลฯ (ขออนุญาตไม่บอกจนกว่าการซื้อขายจะสำเร็จ) มีแล้วและใช้ได้ในเชิงพานิขย์ แต่ธนาคารไทยยังเกี่ยงหลาย ๆ เรื่องอยู่
กรณี จขกท ถ้าไม่มีความผิดพลาดภายนอก น่าจะสันนิษฐานได้ว่าเกิดจากการพับและรัดยางไว้ข้ามคืน ทำให้เงินกระเดิดจนมีโอกาสชนและวิ่งออกนอกเส้นทางได้ 555 ยากที่จะเจอ แต่ยังไงก็ควรจะแจ้งทางธนาคาร แล้วถ้าได้เงินจำนวนนี้คืน แนะนำให้นำไปทำบุญทั้งจำนวน โอกาสมีแค่ 1 ในล้านล้าน และเลิกเสี่ยงโชคทั้งปี เพราะเชื่อว่าถูกหวยรางวัลที่ 1 ง่ายกว่ามากกกกกกกก
เงินที่เข้าไปในเครื่องรับฝาก รุ่นเก่า (ที่เรียกว่า CDM - Cash Deposit Machine) เงินจะไปกองในกล่องตามลำดับการฝาก ทำให้ (ถ้าธนาคารต้องการ) เขาสามารถ ไล่ลำดับย้อนได้ว่า เงินปึกไหนเป็นของใคร แต่จนท ธ.ต้องรู้ล่วงหน้าว่า เงินในกล่องนั้น ๆ มีปัญหาต้องการการตรวจสอบเป็นพิเศษ) ดังนั้นหากเกิดเหตุใด ๆ ก็ต้องแจ้งธนาคารโดยด่วน - แต่ก็ขึ้นกับธนาคารนั้น ๆ ว่าระบบสื่อสารภายในรวดเร็วแค่ไหน คนที่รับเรื่องจะกระตือรือร้นให้ความสำคัญกับเรื่องที่เราแจ้งแค่ไหน) แต่ปกติเขาจะจ้างยริษัทข้างนอก นับเงิน พวกนี้ก็จะ "เททั้งกล่อง"แล้วก็แยกชนิดของแบงค์แล้งค่อยนับ (นั่นคือที่ทำกันเมื่อก่อน) ไม่รู้ว่าปัจจุบันเปลี่ยนวิธีการบ้างไหม?
เครื่องฝากเงินรุ่นใหม่ เราเรียกว่า "เครื่องรับฝากเงินแบบหมุนเวียนเงินไปให้ถอนได้ Recycle Machine" ที่บางธนาคารกำลังใช้อยู่ตอนนี้นั้น (ก่อนหน้านี้ ในยุโรปหลายประเทศ "ห้ามใช้" ด้วยเหตุผลที่ว่า มันสามารถใช้เป็นที่ฟอกเงินได้) ส่วนบ้านเราที่ก่อนหน้านี้ไม่ยอมใช้ก็เน ื่องจาก"ลูกค้า" ไม่มีคุณภาพ นำเงินมั่ว ๆ เน่า ๆ มาเข้าเครื่อง ซึ่งรุ่นล่าสุด สามารถจัดการแยกเงินคุณภาพห่วย ออกต่างหากได้ ทำให้อัตราการเสีย/ติดขัดของเครื่อง (ชุดรับฝากเงิน) ต่ำลง แต่เราเองเชื่อว่าในไม่ช้านี้อาจพบกับประเด็นถูกใช้เป็นเครื่องฟอกเงินก็ได้ (ขออนุฐญาตไม่เล่ารายละเอียดว่าทำไมถึงใช้ฟอกเงืนได้)
กรณีที่เงินหายจากเครื่อง ทั้งที่มั่นใจว่าเรานับแล้วนับอีก ก่อนยัดเข้าเครือ่ง มีหลายสาเหตุ ขอเล่าเท่าที่(ลูกน้อง)เคยเจอด้วยตัวเอง คือเงินวิ่งออกนอกลู่ เพราะอะไรก็แล้วแต่ เลยพุ่งออกไปนอกเส้นทางที่จะไปคืนเงินเราได้ ซึ่งทั่ว ๆ ไปคนฝากมีส่วนผิดอยู่ด้วยเช่นติดคลิป ติดกาว ขาด แหว่ง พับ ใส่ไม่ดี ยับจัด ทำให้วิ่งในลู่ไม่ดี กระเดิดไปชนอุปกรณ์ในลู่วิ่งจนออกนอกเส้นทางหล่นไปในเครื่องบ้าง ฯลฯ
เครื่องรุ่นล่าสุดที่มีกล้องบันทึกตลอดเส้นทางที่เงินวิ่งเข้า/ออก (เกิน 4 ตัว) และมาตราการอื่น ๆ (เช่นตรวจแบงค์ปลอม และ...ฯลฯ (ขออนุญาตไม่บอกจนกว่าการซื้อขายจะสำเร็จ) มีแล้วและใช้ได้ในเชิงพานิขย์ แต่ธนาคารไทยยังเกี่ยงหลาย ๆ เรื่องอยู่
กรณี จขกท ถ้าไม่มีความผิดพลาดภายนอก น่าจะสันนิษฐานได้ว่าเกิดจากการพับและรัดยางไว้ข้ามคืน ทำให้เงินกระเดิดจนมีโอกาสชนและวิ่งออกนอกเส้นทางได้ 555 ยากที่จะเจอ แต่ยังไงก็ควรจะแจ้งทางธนาคาร แล้วถ้าได้เงินจำนวนนี้คืน แนะนำให้นำไปทำบุญทั้งจำนวน โอกาสมีแค่ 1 ในล้านล้าน และเลิกเสี่ยงโชคทั้งปี เพราะเชื่อว่าถูกหวยรางวัลที่ 1 ง่ายกว่ามากกกกกกกก
แสดงความคิดเห็น
เครื่อง CDM (เครื่องฝากเงิน) ทำงานยังไง รบกวนนักสืบพันทิปช่วยวิเคราะห์สาเหตุเงินหาย
เมื่อวานเช้าเรากดตังค์มาจากธนาคารที่หนึ่ง 40000
(ครั้งละ 20000 ทั้งหมด 2 ครั้ง เพราะบัญชีเราจำกัดให้กดจากเอทีเอ็มได้ไม่เกินวันละ 40000)
พอกดได้เราก็เอาใส่กระเป๋าถือเรา คือไม่ได้ใส่ในกระเป๋าตังค์เพราะมันหนา ใส่แล้วกระเป๋าตังค์จะพับไม่ได้
พอกลางวันเราก็แบ่งเงินเป็นสามกอง 12000 - 19000 - 9000 เงินอยู่ครบถ้วน
กอง 12000 เราเอาแบงค์ร้อยจากกระเป๋าตังค์เรา 300 ใส่เพิ่มไปเป็น 12300
กอง 19000 ก็พับเก็บไว้เท่านั้น
กอง 9000 เอาแบงค์ร้อยจากกระเป๋าตังค์เราใส่เพิ่ม 1 ใบ เป็น 9100
แล้วเราก็พับครึ่ง เป็น 3 ปึก ไว้ในกระเป๋าถือเราเช่นเดิม
พอตอนค่ำเราก็เอา 12300 ไปฝากเข้าบัญชีสามีเราที่ธนาคารที่สอง โดยฝากผ่านเครื่อง CDM
เอา 19000 ไปฝากบัญชีตัวเองธนาคารที่สองเหมือนกัน เครื่อง CDM เครื่องเดียวกัน
ระหว่างที่ฝากสองครั้งนี้ มีบางทีเครื่องตีแบงค์บางใบออกมาว่าฝากไม่ได้
เราก็ใส่ใหม่บ้าง สลับกับปึกที่ยังไม่ได้ฝากบ้าง ฝากเพิ่มเข้าไปจนในที่สุดก็ฝากได้ครบ
พอวันนี้เช้า เราหยิบปึกที่เหลือ 9100 ออกมา นับเร็วๆ ก็ว่ายังนับได้ 9100
ตอนนับ เรามองเร็วๆ กางแบงค์เป็นพัดแล้วสายตาเราก็แบ่งแบงค์พันเป็นสามช่วง 3-3-3
ก็ยังเห็น 9 ใบ มีแบงค์ร้อยแปะเสริม 1 ใบ ก็ว่าครบ
แล้วเราก็เอาไปฝากธนาคารที่สาม ผ่านเครื่อง CDM
ปรากฎว่าเครื่องนับได้แบงค์พันแค่ 8 ใบ และแบงค์ร้อย 1 ใบ เราก็เลยงง ว่าแบงค์มันติดกันหรือเปล่า
ก็เลยแคนเซิลออกมา ปรากฎว่าเงินเราเหลือแค่ 8100 จริงๆ
เราเลยคิดว่าเราอาจจะนับผิดหรือเปล่าตอนก่อนฝากที่ยังเห็นว่ามี 9 ใบ
แบงค์อีกใบจะหล่นในกระเป๋าถือตอนสลับแบงค์ไปมาเมื่อวานหรือเปล่านะ
ก็เลยค้นในกระเป๋าถือดู ก็ไม่มีค่ะ
ก็เลยต้องหยิบแบงค์พันจากกระเป๋าตังค์เราที่เราใส่ไว้ก้นกระเป๋าเวลาฉุกเฉิน มาเติมเข้าไป
จนฝากได้ 9100
พอมาถึงที่ทำงาน เลยค้นกระเป๋าถือดูอีกที เทของออกมาหมดแล้ว ก็ไม่มีแน่นอน
ก็เลยงงว่า เป็นไปได้หรือเปล่าว่าเครื่อง CDM มันทำงานผิดพลาด แบงค์ถูกดูดไปไว้ไหนอะไรงี้มั้ย
เป็นไปได้หรือเปล่า ..
เพิ่มเติมว่า เมื่อวานเราหยิบเงินจากกระเป๋าตังค์มาใช้แค่ช่วงเดียวตอนเย็นกลับบ้าน มีซื้อของกิน กับจ่ายค่าวิน
ซึ่งก็ไม่ได้ยุ่งกับปึกเงินนอกกระเป๋าตังค์เลย
กำลังงงว่าเงินหายไปไหน จะว่าหล่น ก็ไม่น่าใช่เพราะเราพับครึ่งแบบเอาแบงค์ร้อยไว้ด้านนอก
ถ้าจะมีแบงค์ไหนติดขึ้นมาเวลาหยิบของ ก็น่าจะเป็นแบงค์ร้อยก่อน
ตอนนับก่อนเอาฝาก เราก็ว่าเรามองดีแล้วนะ เพราะสายตาเราแบ่งแบงค์นับเป็น 3-3-3 หรือเราอาจจะนับผิด
แต่ถ้านับผิดจริงมันก็ควรจะมีอีกใบอยู่ไหนสักที่สิ หรือมันหล่นจริง .. โอ๊ยยยย ตั้งพันนึงแน่ะ ฮือออ
สรุปคือ จะถามว่าเครื่อง CDM ทำงานยังไง มีโอกาสที่จะทำเงินเราหายแบบนี้ไหมคะ เผื่อถ้าเป็นไปได้จะขอให้ธนาคารตรวจสอบให้ ขอบคุณค่ะ
ปล.พยายามเลือกแท็กที่ใกล้เคียงสุดแล้ว ถ้าผิดพลาดขออภัยค่ะ