สวัสดีครับวันนี้มีบทความเกี่ยวกับ PTSD มาฝากครับ
PTSD คืออะไร
อาการความเครียดหลังจากเหตุการณ์สะเทือนใจ
(Post-Traumatic Stress Disorder)
PTSD (Post – Traumatric Stress Disorder ) คือ โรคที่มีอาการเครียดและเจ็บป่วยหลังจากเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อจิตใจอย่างรุนแรง ถ้าใครที่รับชม ภาพยนตร์ ซีรีส์ของฝรั่ง จะได้ยินคำนี้บ่อยมาก PTSD หรือถ้าใครได้ยินคำนี้มานานแสนนานแต่ยังไม่รู้ว่ามันมีความหมายว่าอย่างไรกันแน่ มาดูกันว่า PTSD นี้มันคืออะไร มันมีอาการอย่างไร เกิดจากอะไรกัน
PTSD จะเกิดขึ้นหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อจิตใจอย่างรุนแรง เหตุการณ์ที่สะเทือนใจ โดยส่วนหนึ่งจะมาจากเหตุการณ์หายนะภัยพิบัติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สึนามิ , แผ่นดินไหว หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้น อย่าง การจมน้ำ , ไฟไหม้ , การผลักตกจากที่สูง หรือ อุบัติเหตุทางรถยนต์ บางครั้งก็เกิดจากภัยที่เกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่น ระเบิดปรมาณูที่แสนน่ากลัว สารกัมตรังสีรั่วไหล เทคโนโลยีที่อันตรายเกินไป และสิ่งที่เป็นสาเหตุที่น่ากลัวที่สุดที่จะก่อให้เกิดโรค PTSD นี้คือ เหตุการณ์สะเทือนใจที่เกิดจาก มนุษย์ด้วยกันเองมากมายหลายสิ่ง อย่างเช่น การฆาตกรรม , การก่อการร้าย , การลักพาตัว ข่มขู่ , การถูกข่มขืน , การถูกทำร้ายทารุณอย่างรุนแรง , สงคราม , การสูญเสียคนที่รักจากเหตุการณ์สะเทือนใจ หรือที่เลวร้ายที่สุดจาก การล้างฆ่าเผ่าพันธุ์.
70% ของเหตุการณ์สะเทือนใจที่เกิดจาก มนุษย์ด้วยกันเองไม่ว่าจะเกิดขึ้นต่อผู้ป่วยโดยตรงหรือคนรอบข้าง ล้วนมีผลก่อให้เกิดอาการโรค PTSD มากขึ้น
( ทหาร หรือผู้ผ่านสงครามมีโอกาสเสี่ยงสูงในการเป็นโรค PTSD เนื่องจากความโหดร้ายของสงคราม )
อาการเจ็บป่วยจากความเครียดหลังจากเหตุการณ์สะเทือนใจ โรค PTSD
หนึ่งใน อาการที่สำคัญที่สุดและน่ากลัวที่สุดของโรคนี้ คือ การเห็นภาพเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบความฝัน หรือ เจอสิ่งกระตุ้นที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำแล้วซ้ำแล้ว อย่างเช่น คนที่จมน้ำในทะเลตั้งแต่เด็กๆ แล้วป่วยเป็นโรค PTSD เมื่อเห็นทะเลและเข้าใกล้น้ำก็จะเห็นภาพเหตุการณ์จมน้ำของตัวเองซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือการที่เห็นคนรักของตัวเองถูกฆาตกรรมต่อหน้าต่อตา เหตุการณ์นั้นก็ตามมาหลอกหลอนซ้ำแล้วซ้ำอีก
อาการอีกอาการหนึ่งก็คือ การพยายามหลบหลีก หนีจากสิ่งที่กระตุ้นหรือทำให้นึกถึงเหตุการณ์ที่สะเทือนใจ อย่างเช่น คนที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ พวกเขาไม่อยากที่จะนั่งรถยนต์อีกต่อไป พวกเขาจะพยายามหลีกหนีการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับรถยนต์ แม้แต่อุบัติเหตุการขับรถชนคนเสียชีวิต พวกเขาไม่สามารถที่จะขับรถได้อีกต่อไป หรือการที่เกิดอุบัติเหตุ การเกิดสูญเสียคนรักในสถานที่บางแห่ง ทำให้พวกเขาไม่สามารถเผชิญหน้าหรือเข้าไปอยู่ในสถานที่แห่งนั้นได้
อาการทางจิตทั่วๆไปที่เกิดขึ้น อาการวิตกกังวล หวาดระแวงตลอดเวลา อาการนอนไม่หลับ ตื่นตัวตลอดเวลา ไม่มีสมาธิเหมือนแต่ก่อน เกิดความเครียดง่ายขึ้นกว่าปกติ รู้สึกหวาดกลัว สิ้นหวัง หรือบางครั้งก็มีอาการโกรธผู้คนเนื่องจากไม่มีใครช่วยเหลือพวกเขาในเหตุการณ์สะเทือนใจเหล่านั้น
อาการซึมเศร้า และโทษตัวเองซ้ำแล้วซ้ำอีก รู้สึกไร้ค่า วิตกกังวล หันไปพึ่งสิ่งเสพติดเพื่อช่วยจากอาการให้ไม่ต้องนึกถึงเหตุการณ์ที่สะเทือนใจ หันไปพึ่งเหล้า ยาเสพติด จนกลายเป็นผู้เสพติดสิ่งเหล่านั้น ติดเหล้า จนกระทั่ง มีการทำร้ายตนเอง และ พยายามฆ่าตัวตาย
หากคุณหรือคนรอบข้าง คนรู้จักมีอาการเหล่านี้ ถือว่าเป็นกลุ่มคนเสี่ยงที่โอกาสเป็นโรค PTSD แต่ถึงกระนั้นไม่ใช่ว่าทุกคนที่มีอาการเหล่านี้จะเป็นกลุ่มเสี่ยงเป็นโรค PTSD ทุกคน แต่ต้องเป็นกลุ่มคนที่มีอาการเหล่านี้ยาวนานมากกว่า 1 เดือนถึงจะถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นโรค PTSD
วิธีการรักษา บรรเทาอาการโรค PTSD
สำหรับการรักษาอาการและบรรเทาอาการของโรค PTSD ส่วนใหญ่มีวิธีการดังนี้ ในทางที่ดีที่สุดผู้ป่วย PTSD ที่มีอาการไม่เกิน 6 เดือนจะสามารถรักษาตนเองได้รวดเร็วมากขึ้น
การรักษาด้วยจิตบำบัด (Psychotherapy) การเข้าพบจิตแพทย์ เพื่อทำการรักษา บำบัดอาการจากโรค PTSD เป็นการรักษาทางจิตวิทยาก่อน ในกรณีที่อาการยังไม่รุนแรงมาก
การรักษาด้วยยา ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาหรือบรรเทาด้วย การรักษาแบบจิตบำบัดได้ จิตแพทย์จึงจะมอบยาที่ช่วยบรรเทา รักษาอาการ PTSD ให้โดยมียาดังนี้ ยาฟลูอ็อกเซทีน (Fluoxetine) เป็นยาประเภทต้านโรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ และโรคตื่นตระหนก ยาที่คลายความกังวล (Anti-anxiety drugs) อย่างเช่น ยาไดอะซีแพม (Diazepam or Valium) เป็นยาที่ทางการแพทย์ใช้ในการกล่อมประสาทหรือสงบประสาท (Tranquilize)
การรักษาด้วยการสะกดจิต ( Hypnosis ) ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่วย PTSD
การรักษาด้วยวิธีการ จิตบำบัดแบบกลุ่ม (Group Therapy) ซึ่งเป็นการรักษาที่สามารถเข้าถึงได้มากกว่าและเป็นที่นิยมมากขึ้นในต่างประเทศ เป็นการบำบัดรักษาด้วยวิธีการพูดคุยถึงอาการป่วย แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ป่วยคนอื่น อย่างในต่างประเทศมีกลุ่มบำบัดคนติดเหล้าที่มีวิธีการบำบัดที่เรียกว่า 12 ขั้นตอนบำบัด , คนติดยาเสพติด หรือ ผู้ป่วย PTSD
การบรรเทาเบื้องต้นที่สำคัญที่สุด คือ การให้ความสนับสนุนผู้ป่วยจากบุคคลรอบข้าง ครอบครัว เพื่อนฝูง การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย อย่ากล่าวโทษหรือกดดันพวกเขา ให้ความช่วยเหลือพวกเขา ช่วยเหลือส่งต่อพวกเขาให้ถึงมือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง
เหตุการณ์สะเทือนใจที่เป็นสาเหตุของโรค PTSD สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และโรค PTSD ก็มีโอกาสเช่นเดียวกัน สิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเราทำได้คือการทำความรู้จักกับโรคนี้ เพื่อให้รู้ว่า PTSD คืออะไร และเรียนรู้ที่จะรับมือกับมัน หากตัวเราเองมีอาการเสี่ยงที่จะเป็นโรค PTSD หรือคนรอบตัว เพื่อที่จะรักษาอาการได้อย่างรวดเร็ว.
อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือประเทศไทย จากสถิติผู้ป่วย PTSD ในปี ค.ศ.2004 นั้นมีผู้ป่วยเป็นโรค PTSD เฉลี่ย 59 คนต่อ 100,000 คนเลยทีเดียว อ้างอิงจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/Posttraumatic_stress_disorder ซึ่งถือว่ามากที่สุดเลยจากแบบสำรวจ
โรค PTSD เหตุการณ์พวกนี้เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากๆสำหรับตัวผู้เขียนคิดว่า โรค PTSD เป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงมาก และคนหลายๆคนควรที่จะได้รับความรู้ ได้รู้จักว่า โรค PTSD คืออะไร มากขึ้น ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านที่อ่านเข้าใจโรค PTSD มากขึ้นและสามารถรับมือจัดการกับมันได้หากเกิดขุ้นกับตนเองหรือคนรอบข้าง เพราะมันเป็นสิ่งที่น่ากลัวเหลือเกินที่ต้องมาทุกข์ทรมาณกับเหตุการณ์สะเทือนใจซ้ำแล้วซ้ำแล้ว สำหรับคนที่มีอาการป่วยเป็นโรค PTSD ขอให้ผ่านพ้นมันไปได้ด้วยดีนะครับ ค่อยๆรักษาตนเอง ขอให้โชคดีครับ.
เว็บนี้มีแฟนเพจด้วยนะ ขอฝากหน่อย : แรงดลใจ l The Inspiration
[ทำการแก้ไขตรงนี้] เว็บไซต์ปัจจุบัน
http://allofimpulsio.com
วิกิพิเดีย : ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ( Posttraumatic stress disorder)
Maxmen, J. S.; Ward, N. G. (2002). Psychotropic drugs: fast facts (third ed.). New York: W. W. Norton. pp. 347–349. ISBN 0-393-70301-0.
ข้อมูลยาคลายกังวล :
http://adisaksopat.blogspot.com/2013/09/1_3.html
การบำบัดรักษาทางจิตเวช Psychiatric Therapies :
http://www.banphuengsuk.com/14612814/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%88
PTSD คืออะไร อาการความเครียดหลังจากเหตุการณ์สะเทือนใจ (POST-TRAUMATIC STRESS DISORDER)
PTSD คืออะไร
อาการความเครียดหลังจากเหตุการณ์สะเทือนใจ
(Post-Traumatic Stress Disorder)
PTSD (Post – Traumatric Stress Disorder ) คือ โรคที่มีอาการเครียดและเจ็บป่วยหลังจากเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อจิตใจอย่างรุนแรง ถ้าใครที่รับชม ภาพยนตร์ ซีรีส์ของฝรั่ง จะได้ยินคำนี้บ่อยมาก PTSD หรือถ้าใครได้ยินคำนี้มานานแสนนานแต่ยังไม่รู้ว่ามันมีความหมายว่าอย่างไรกันแน่ มาดูกันว่า PTSD นี้มันคืออะไร มันมีอาการอย่างไร เกิดจากอะไรกัน
PTSD จะเกิดขึ้นหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อจิตใจอย่างรุนแรง เหตุการณ์ที่สะเทือนใจ โดยส่วนหนึ่งจะมาจากเหตุการณ์หายนะภัยพิบัติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สึนามิ , แผ่นดินไหว หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้น อย่าง การจมน้ำ , ไฟไหม้ , การผลักตกจากที่สูง หรือ อุบัติเหตุทางรถยนต์ บางครั้งก็เกิดจากภัยที่เกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่น ระเบิดปรมาณูที่แสนน่ากลัว สารกัมตรังสีรั่วไหล เทคโนโลยีที่อันตรายเกินไป และสิ่งที่เป็นสาเหตุที่น่ากลัวที่สุดที่จะก่อให้เกิดโรค PTSD นี้คือ เหตุการณ์สะเทือนใจที่เกิดจาก มนุษย์ด้วยกันเองมากมายหลายสิ่ง อย่างเช่น การฆาตกรรม , การก่อการร้าย , การลักพาตัว ข่มขู่ , การถูกข่มขืน , การถูกทำร้ายทารุณอย่างรุนแรง , สงคราม , การสูญเสียคนที่รักจากเหตุการณ์สะเทือนใจ หรือที่เลวร้ายที่สุดจาก การล้างฆ่าเผ่าพันธุ์.
70% ของเหตุการณ์สะเทือนใจที่เกิดจาก มนุษย์ด้วยกันเองไม่ว่าจะเกิดขึ้นต่อผู้ป่วยโดยตรงหรือคนรอบข้าง ล้วนมีผลก่อให้เกิดอาการโรค PTSD มากขึ้น
( ทหาร หรือผู้ผ่านสงครามมีโอกาสเสี่ยงสูงในการเป็นโรค PTSD เนื่องจากความโหดร้ายของสงคราม )
อาการเจ็บป่วยจากความเครียดหลังจากเหตุการณ์สะเทือนใจ โรค PTSD
หนึ่งใน อาการที่สำคัญที่สุดและน่ากลัวที่สุดของโรคนี้ คือ การเห็นภาพเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบความฝัน หรือ เจอสิ่งกระตุ้นที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำแล้วซ้ำแล้ว อย่างเช่น คนที่จมน้ำในทะเลตั้งแต่เด็กๆ แล้วป่วยเป็นโรค PTSD เมื่อเห็นทะเลและเข้าใกล้น้ำก็จะเห็นภาพเหตุการณ์จมน้ำของตัวเองซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือการที่เห็นคนรักของตัวเองถูกฆาตกรรมต่อหน้าต่อตา เหตุการณ์นั้นก็ตามมาหลอกหลอนซ้ำแล้วซ้ำอีก
อาการอีกอาการหนึ่งก็คือ การพยายามหลบหลีก หนีจากสิ่งที่กระตุ้นหรือทำให้นึกถึงเหตุการณ์ที่สะเทือนใจ อย่างเช่น คนที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ พวกเขาไม่อยากที่จะนั่งรถยนต์อีกต่อไป พวกเขาจะพยายามหลีกหนีการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับรถยนต์ แม้แต่อุบัติเหตุการขับรถชนคนเสียชีวิต พวกเขาไม่สามารถที่จะขับรถได้อีกต่อไป หรือการที่เกิดอุบัติเหตุ การเกิดสูญเสียคนรักในสถานที่บางแห่ง ทำให้พวกเขาไม่สามารถเผชิญหน้าหรือเข้าไปอยู่ในสถานที่แห่งนั้นได้
อาการทางจิตทั่วๆไปที่เกิดขึ้น อาการวิตกกังวล หวาดระแวงตลอดเวลา อาการนอนไม่หลับ ตื่นตัวตลอดเวลา ไม่มีสมาธิเหมือนแต่ก่อน เกิดความเครียดง่ายขึ้นกว่าปกติ รู้สึกหวาดกลัว สิ้นหวัง หรือบางครั้งก็มีอาการโกรธผู้คนเนื่องจากไม่มีใครช่วยเหลือพวกเขาในเหตุการณ์สะเทือนใจเหล่านั้น
อาการซึมเศร้า และโทษตัวเองซ้ำแล้วซ้ำอีก รู้สึกไร้ค่า วิตกกังวล หันไปพึ่งสิ่งเสพติดเพื่อช่วยจากอาการให้ไม่ต้องนึกถึงเหตุการณ์ที่สะเทือนใจ หันไปพึ่งเหล้า ยาเสพติด จนกลายเป็นผู้เสพติดสิ่งเหล่านั้น ติดเหล้า จนกระทั่ง มีการทำร้ายตนเอง และ พยายามฆ่าตัวตาย
หากคุณหรือคนรอบข้าง คนรู้จักมีอาการเหล่านี้ ถือว่าเป็นกลุ่มคนเสี่ยงที่โอกาสเป็นโรค PTSD แต่ถึงกระนั้นไม่ใช่ว่าทุกคนที่มีอาการเหล่านี้จะเป็นกลุ่มเสี่ยงเป็นโรค PTSD ทุกคน แต่ต้องเป็นกลุ่มคนที่มีอาการเหล่านี้ยาวนานมากกว่า 1 เดือนถึงจะถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นโรค PTSD
วิธีการรักษา บรรเทาอาการโรค PTSD
สำหรับการรักษาอาการและบรรเทาอาการของโรค PTSD ส่วนใหญ่มีวิธีการดังนี้ ในทางที่ดีที่สุดผู้ป่วย PTSD ที่มีอาการไม่เกิน 6 เดือนจะสามารถรักษาตนเองได้รวดเร็วมากขึ้น
การรักษาด้วยจิตบำบัด (Psychotherapy) การเข้าพบจิตแพทย์ เพื่อทำการรักษา บำบัดอาการจากโรค PTSD เป็นการรักษาทางจิตวิทยาก่อน ในกรณีที่อาการยังไม่รุนแรงมาก
การรักษาด้วยยา ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาหรือบรรเทาด้วย การรักษาแบบจิตบำบัดได้ จิตแพทย์จึงจะมอบยาที่ช่วยบรรเทา รักษาอาการ PTSD ให้โดยมียาดังนี้ ยาฟลูอ็อกเซทีน (Fluoxetine) เป็นยาประเภทต้านโรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ และโรคตื่นตระหนก ยาที่คลายความกังวล (Anti-anxiety drugs) อย่างเช่น ยาไดอะซีแพม (Diazepam or Valium) เป็นยาที่ทางการแพทย์ใช้ในการกล่อมประสาทหรือสงบประสาท (Tranquilize)
การรักษาด้วยการสะกดจิต ( Hypnosis ) ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่วย PTSD
การรักษาด้วยวิธีการ จิตบำบัดแบบกลุ่ม (Group Therapy) ซึ่งเป็นการรักษาที่สามารถเข้าถึงได้มากกว่าและเป็นที่นิยมมากขึ้นในต่างประเทศ เป็นการบำบัดรักษาด้วยวิธีการพูดคุยถึงอาการป่วย แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ป่วยคนอื่น อย่างในต่างประเทศมีกลุ่มบำบัดคนติดเหล้าที่มีวิธีการบำบัดที่เรียกว่า 12 ขั้นตอนบำบัด , คนติดยาเสพติด หรือ ผู้ป่วย PTSD
การบรรเทาเบื้องต้นที่สำคัญที่สุด คือ การให้ความสนับสนุนผู้ป่วยจากบุคคลรอบข้าง ครอบครัว เพื่อนฝูง การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย อย่ากล่าวโทษหรือกดดันพวกเขา ให้ความช่วยเหลือพวกเขา ช่วยเหลือส่งต่อพวกเขาให้ถึงมือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง
เหตุการณ์สะเทือนใจที่เป็นสาเหตุของโรค PTSD สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และโรค PTSD ก็มีโอกาสเช่นเดียวกัน สิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเราทำได้คือการทำความรู้จักกับโรคนี้ เพื่อให้รู้ว่า PTSD คืออะไร และเรียนรู้ที่จะรับมือกับมัน หากตัวเราเองมีอาการเสี่ยงที่จะเป็นโรค PTSD หรือคนรอบตัว เพื่อที่จะรักษาอาการได้อย่างรวดเร็ว.
อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือประเทศไทย จากสถิติผู้ป่วย PTSD ในปี ค.ศ.2004 นั้นมีผู้ป่วยเป็นโรค PTSD เฉลี่ย 59 คนต่อ 100,000 คนเลยทีเดียว อ้างอิงจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Posttraumatic_stress_disorder ซึ่งถือว่ามากที่สุดเลยจากแบบสำรวจ
โรค PTSD เหตุการณ์พวกนี้เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากๆสำหรับตัวผู้เขียนคิดว่า โรค PTSD เป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงมาก และคนหลายๆคนควรที่จะได้รับความรู้ ได้รู้จักว่า โรค PTSD คืออะไร มากขึ้น ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านที่อ่านเข้าใจโรค PTSD มากขึ้นและสามารถรับมือจัดการกับมันได้หากเกิดขุ้นกับตนเองหรือคนรอบข้าง เพราะมันเป็นสิ่งที่น่ากลัวเหลือเกินที่ต้องมาทุกข์ทรมาณกับเหตุการณ์สะเทือนใจซ้ำแล้วซ้ำแล้ว สำหรับคนที่มีอาการป่วยเป็นโรค PTSD ขอให้ผ่านพ้นมันไปได้ด้วยดีนะครับ ค่อยๆรักษาตนเอง ขอให้โชคดีครับ.
เว็บนี้มีแฟนเพจด้วยนะ ขอฝากหน่อย : แรงดลใจ l The Inspiration
[ทำการแก้ไขตรงนี้] เว็บไซต์ปัจจุบัน http://allofimpulsio.com
วิกิพิเดีย : ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ( Posttraumatic stress disorder)
Maxmen, J. S.; Ward, N. G. (2002). Psychotropic drugs: fast facts (third ed.). New York: W. W. Norton. pp. 347–349. ISBN 0-393-70301-0.
ข้อมูลยาคลายกังวล : http://adisaksopat.blogspot.com/2013/09/1_3.html
การบำบัดรักษาทางจิตเวช Psychiatric Therapies : http://www.banphuengsuk.com/14612814/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%88