“ขอต้อนรับ มวลมิตร จากเมืองใหญ่
สู่เมืองไม้ เมืองไพร ในป่ากว้าง
มาเสพซับ เรื่องราว ในเถื่อนทาง
ที่สืบสร้าง เป็นตำนาน บ้านกลางไพร
ณ ดินแดน ถิ่นนี้ มีชีวิต
มีดวงจิต แห่งพนา สัตว์อาศัย
หวังท่านช่วย รักษา ป่าดวงใจ
ท่องเที่ยวไป อย่างผู้ให้ ไม่ทำลาย”
โฮมสเตย์บ้านแม่จันใต้ ผายมือต้อนรับผม พร้อมพ้องเพื่อนอีกหลายชีวิต ชาวอาข่าในฐานะผู้ต้อนรับ เผยรอยยิ้มเปื้อนบนใบหน้า พอๆ กันกับความรู้สึกผม หลังจากที่อ่านบทกลอนบรรทัดข้างต้นเสร็จ อันเป็นบทกลอนที่ถูกแปะเอาไว้ข้างฝาผนังศูนย์การเรียนรู้ประจำหมู่บ้าน
38 หลังคาเรือน บนพื้นที่ราบสูง ใน ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย มี “อาบ๊อ แลจือ” เป็นคนก่อตั้งหมู่บ้าน พาลูกหลานอพยพโยกย้ายถิ่นมาจากทางตอนใต้ของจีน
เข็มนาฬิกากระดิกตามหน้าที่ จากพื้นที่ปลูกฝิ่นในสมัยก่อน แปรเปลี่ยนเป็นไร่ชา กาแฟ หลายร้อยไร่ พลิกชีวิตความเป็นความอยู่ จากหลังเท้าเป็นหน้ามือ แต่ยังคงรักษาประเพณี วัฒนธรรม ของชนเผ่าเอาไว้เหมือนเดิม ไม่เสื่อมคลายไปตามยุคสมัย และหลากเรื่องราวต่อไปนี้ คือสิ่งที่ผมต้องเอามาบอกต่อ ดีกว่าห่อเก็บเอาไว้คนเดียว
วิถีอาข่า (1)
เท่าที่สัมผัสมา พบว่าชาวเขาหลายเผ่าในเมืองไทย ยังคงรักษาประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อของตัวเองเอาไว้อย่างเคร่งครัดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ อาจจะมีบางอย่างที่ถูกปรับเปลี่ยนไปตามยุคคสมัยบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้ว ทุกอย่างยังแทบจะเป๊ะทุกกระเบียดนิ้ว
ชาวอาข่า แห่งบ้านแม่จันใต้ ก็เช่นกัน
ประตูบ้าน ซุ้มประตูไม้เล็กๆ ที่หัวหมู่บ้าน ที่เป็นเสมือนเขตแดนบ่งบอกที่อยู่ของชาวอาข่า นัยนึงเอาไว้เป็นที่กันผีป่า หรือสิ่งไม่ดีไม่ให้เข้ามาในหมู่บ้าน บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ บ่อน้ำของชาวบ้าน เอาไว้เป็นที่ชำระล้างของเซ่นไหว้ เพื่อใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ประเพณีโล้ชิงช้า หนึ่งในประเพณีสำคัญของชาวอาข่า ที่จัดขึ้นทุกปีในเดือนสิงหาคม ใครอยากมาชมและสัมผัส ต้องมากันในช่วงนี้ นอกเหนือจากนั้น ไม่มีให้เล่น ใครซักคนโยนคำถามว่า ถ้าทำโล้ชิงช้าไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ลองสัมผัสในช่วงที่ไม่ใช่งานประเพณี ที่นี่จะทำหรือไม่ ถ้าทำแล้วมันช่วยส่งเสริมรายได้ของชุมชนในเรื่องของการท่องเที่ยว
“ที่อื่นอาจจะมีให้เล่น แต่ที่นี่โล้ชิงช้าจะทำกันเล่นๆ ไม่ได้ครับ พวกเราถือว่าเป็นประเพณีที่ศักดิ์สิทธิ์ และควรจะเป็นในแบบที่มันควรเป็น ถ้าอยากมาเห็น และเรียนรู้ ก็ต้องมาในช่วงงานประเพณีในเดือนสิงหาเท่านั้นครับ”
เป็นคำตอบที่ได้ฟังแล้ว สมควรปรบมือให้ซัก 10 รอบ
วิถีอาข่า (2)
ที่บราซิลมีเต้น “แซมบ้า” อันเป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นที่นิยมมากที่สุด จนกลายเป็นอัตลักษณ์แห่งชาติของบราซิล ชาวอาข่าก็มี “กระทุ้งไม้ไผ่” มานำเสนอ
การละเล่นกระทุ้งไม่ไผ่ หรือ "บ่อฉ่องตูเออ" เป็นการเต้นเป็นวงกลมตามจังหวะของกลอง ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ อย่างพร้อมเพรียงกัน โดยมีผู้หญิง หรือกลุ่มแม่บ้าน กระทุ้งไม่ไผ่ไปด้วย การละเล่นนี้จะเล่นกันในช่วงเทศกาลประเพณีที่สำคัญในหมู่บ้าน เช่น ประเพณีโล้ชิงช้า ไล่ผี และเทศกาลต่างๆ บางงานมีเต้นกันทั้งคืนถึงเช้าก็มี จนบางทีหมอลำซิ่งในแถบภาคอีสานยังมีอาย
ชุดของชาวอาข่า เป็นอีกหนึ่งอย่างที่จัดได้ว่ามีความโดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำชาวบ้าน ทั้งในแง่ของความสวยงาม และการบ่งบอกถึงสัญลักษณ์ของชนเผ่า ขีดเส้นวงกลมถึงจุดโฟกัส ก็จะชี้ชัดไปที่ “หมวก” ของสตรี
หมวกสตรีของชาวอาข่า บ้านแม่จันใต้ เป็นการแต่งกายแบบ "ผาหมีอาข่า"
รูปทรงคล้ายหมวกเกราะของนักรบโบราณและประดับด้วย กระดุมเงิน เหรียญ (ในภาพด้านบนเป็นเหรียญเงินอินเดีย) ลูกปัด ไม่เว้นช่องว่าง ด้านข้างห้อยสายลูกปัดสีแดงร้อยยาวเกือบถึงเอว น้ำหนักหมวกจากการจับถือ ตกอยู่ราวๆ 4 กิโลกรัม
ตามธรรมเนียมปฏิบัติ เด็กอาข่าไม่ว่าจะหญิงหรือชายเกิดมา แม่หรือย่าของเด็กต้องทำหมวกให้เพื่อรับขวัญลูกหลาน จะพิเศษใส่ไข่ขึ้นมาหน่อยก็แบบของสตรีที่มีลวดลายมากขึ้น แต่ยังไม่ใช่เป็นแบบที่แม่ๆ สวมใส่ แบบนั้นต้องรอให้บรรลุนิติภาวะก่อนถึงจะมีได้
โดยปกติแล้วในสมัยก่อน หมวกจะต้องทำเอง เสื้อผ้าต้องทอเอง แม่จะเป็นคนสอน พอมีลูกสาวก็ต้องสอนทอผ้า ปักผ้า ทำหมวก เรื่องการสืบทอดหมวกต้องสืบทอดในตอนที่เจ้าของหมวกยังมีชีวิตอยู่ แต่ถ้าเสียชีวิตแล้ว ก็ต้องฝังไปกับเจ้าตัว การสืบทอดก็แล้วแต่ว่าใครจะให้ใคร
ส่วนเหรียญเงินประดับบนหมวกถูกนำมาใช้ประดับ เพราะความสวยงาม และเครื่องเงินบนหมวกเป็นการบ่งบอกว่าสามีเป็นคนขยันแค่ไหน (สมัยก่อนเครื่องเงินมีราคาสูง) ส่วนลวดลายบนเสื้อผ้าของฝ่ายชาย ก็บ่งบอกว่าภรรยาของเขาเอาใจใส่มากน้อยแค่ไหนกันครับ
ความพิเศษของหมวกไม่ได้มีอยู่แค่เรื่องของความสวยงามเท่านั้น มันยังมีเรื่องของราคา ชนิดที่ว่าไฮโซแถวบางกอกได้ยินแล้วคงมีสะดุ้ง
ราคาเกือบสองแสน! (ใบที่เห็นในภาพเลย)
เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมดของหมวกใบนั้น มันคือมรดกที่บรรพบุรุษมอบให้กันจากรุ่นสู่รุ่น
อันเป็นคุณค่า ที่แม้แต่เงินตราก็ประเมินไม่ได้
AKAZA กาแฟรสชาติจากใจ
AKAZA เป็นภาษาอาข่า ที่แปลว่า ชาวอาข่า และชื่อนี้ก็เป็นชื่อของแบรนด์กาแฟที่นี่กันครับ
กาแฟ บ้านแม่จันใต้ เป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่ทำเงินให้กับชาวบ้าน จากปี 2543 ที่ปลูกกันเล่นๆ จนต่อมาเริ่มจะเห็นว่ามันเข้าท่า 5 ปี ต่อมาเลยเริ่มปลูกกันอย่างจริงจัง จนถึงทุกวันนี้
กาแฟที่นี่มีความไม่ธรรมดา และไอ้ความไม่ธรรมดาของมันก็คือ รสชาติ ที่เปรียบไปแล้วก็เหมือนกันกับ “ดนตรีสด”
ดนตรีสด ที่บางโชว์ก็เล่นเอาใจแฟนคลับเดนตายอย่างสุดหวี่ยง ในขณะที่บางโชว์ ก็มีความนุ่มแบบละเมียดละไมมอบให้กับคู่รักหนุ่มสาว
รสเข้ม รสอ่อน มีระยะเวลาในการคั่วของมัน และบ้านแต่ละหลัง ก็จะมีกาแฟรสชาติที่ไม่ซ้ำกัน
คนที่รักใคร่ชอบพอกับการฟังเพลงจากแผ่นซีดี ที่ไม่ว่าจะเปิดในช่วงเวลาไหนก็ยังให้เสียงแบบเดิม อาจจะทักท้วงว่ามันคือ “ความไม่มีมาตรฐาน” แต่สำหรับคนที่อยากจะโอบกอดดนตรีสด และละทิ้งเครื่องเสียงที่บ้าน พวกเขาพร้อมจะยักไหล่ใส่แล้วก็บอกว่า นั่นมันคือเสน่ห์
เสน่ห์ของรสชาติกาแฟที่ออกมาจากใจ และใส่ใจคนดื่ม ว่าอยากจะได้อารมณ์ไหนในช่วงเวลานั้น
นอกจากกาแฟจะเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของที่นี่ “ชา”ก็ตีคู่กันมาในฐานะพืชเศรษฐกิจเช่นกัน
กระทะใบใหญ่เขื่อง ให้อารมณ์คล้ายกันกับ “ชามอ่างยักษ์” (แบบจำลอง) ของสนามเหย้าสโมสรบาร์เซโลน่า ภายใต้ก้นกระทะถูกสุมไฟในขนาดอุณหภูมิที่พอเหมาะในการคั่วใบชา หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้ชารสชาติออกมาดี ผมยิงคำถามใส่ ”อนุสรณ์” ว่าในระหว่างที่กำลังคั่ว ทำไมถึงต้องนวดใบชาไปด้วย
“ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับ รู้แต่ว่าถ้านวดไปด้วยในระหว่างที่กำลังคั่ว มันจะมีสารอะไรซักอย่างหลั่งออกมา ทำให้รสชาติของชาดีขึ้นกว่าเดิม”
ลีลาการนวดใบชาของอนุสรณ์ ไม่ได้แพ้ลีลาของหมอนวดสาวๆ รุ่นป้า กันเลยทีเดียว
เป็นคำตอบที่เหมือนจะไม่มีอะไร แต่ก็มีอะไรในนั้น
อนุสรณ์ ยังบอกต่อด้วยอีกว่า การนวดใบชามันเป็นเหมือนกับศิลปะสำหรับเขา ซึ่งจะว่าไปถ้าผมโยนกีตาร์ให้หมอนี้เล่น เขาก็คงชำเรามันบนเส้นสายในสำเนียงแธรชเมทัลอย่างเมามันส์
โฮมสเตย์บ้านแม่จันใต้ : อาข่า กาแฟ และอร่อย
สู่เมืองไม้ เมืองไพร ในป่ากว้าง
มาเสพซับ เรื่องราว ในเถื่อนทาง
ที่สืบสร้าง เป็นตำนาน บ้านกลางไพร
ณ ดินแดน ถิ่นนี้ มีชีวิต
มีดวงจิต แห่งพนา สัตว์อาศัย
หวังท่านช่วย รักษา ป่าดวงใจ
ท่องเที่ยวไป อย่างผู้ให้ ไม่ทำลาย”
โฮมสเตย์บ้านแม่จันใต้ ผายมือต้อนรับผม พร้อมพ้องเพื่อนอีกหลายชีวิต ชาวอาข่าในฐานะผู้ต้อนรับ เผยรอยยิ้มเปื้อนบนใบหน้า พอๆ กันกับความรู้สึกผม หลังจากที่อ่านบทกลอนบรรทัดข้างต้นเสร็จ อันเป็นบทกลอนที่ถูกแปะเอาไว้ข้างฝาผนังศูนย์การเรียนรู้ประจำหมู่บ้าน
38 หลังคาเรือน บนพื้นที่ราบสูง ใน ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย มี “อาบ๊อ แลจือ” เป็นคนก่อตั้งหมู่บ้าน พาลูกหลานอพยพโยกย้ายถิ่นมาจากทางตอนใต้ของจีน
เข็มนาฬิกากระดิกตามหน้าที่ จากพื้นที่ปลูกฝิ่นในสมัยก่อน แปรเปลี่ยนเป็นไร่ชา กาแฟ หลายร้อยไร่ พลิกชีวิตความเป็นความอยู่ จากหลังเท้าเป็นหน้ามือ แต่ยังคงรักษาประเพณี วัฒนธรรม ของชนเผ่าเอาไว้เหมือนเดิม ไม่เสื่อมคลายไปตามยุคสมัย และหลากเรื่องราวต่อไปนี้ คือสิ่งที่ผมต้องเอามาบอกต่อ ดีกว่าห่อเก็บเอาไว้คนเดียว
วิถีอาข่า (1)
เท่าที่สัมผัสมา พบว่าชาวเขาหลายเผ่าในเมืองไทย ยังคงรักษาประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อของตัวเองเอาไว้อย่างเคร่งครัดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ อาจจะมีบางอย่างที่ถูกปรับเปลี่ยนไปตามยุคคสมัยบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้ว ทุกอย่างยังแทบจะเป๊ะทุกกระเบียดนิ้ว
ชาวอาข่า แห่งบ้านแม่จันใต้ ก็เช่นกัน
ประตูบ้าน ซุ้มประตูไม้เล็กๆ ที่หัวหมู่บ้าน ที่เป็นเสมือนเขตแดนบ่งบอกที่อยู่ของชาวอาข่า นัยนึงเอาไว้เป็นที่กันผีป่า หรือสิ่งไม่ดีไม่ให้เข้ามาในหมู่บ้าน บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ บ่อน้ำของชาวบ้าน เอาไว้เป็นที่ชำระล้างของเซ่นไหว้ เพื่อใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ประเพณีโล้ชิงช้า หนึ่งในประเพณีสำคัญของชาวอาข่า ที่จัดขึ้นทุกปีในเดือนสิงหาคม ใครอยากมาชมและสัมผัส ต้องมากันในช่วงนี้ นอกเหนือจากนั้น ไม่มีให้เล่น ใครซักคนโยนคำถามว่า ถ้าทำโล้ชิงช้าไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ลองสัมผัสในช่วงที่ไม่ใช่งานประเพณี ที่นี่จะทำหรือไม่ ถ้าทำแล้วมันช่วยส่งเสริมรายได้ของชุมชนในเรื่องของการท่องเที่ยว
“ที่อื่นอาจจะมีให้เล่น แต่ที่นี่โล้ชิงช้าจะทำกันเล่นๆ ไม่ได้ครับ พวกเราถือว่าเป็นประเพณีที่ศักดิ์สิทธิ์ และควรจะเป็นในแบบที่มันควรเป็น ถ้าอยากมาเห็น และเรียนรู้ ก็ต้องมาในช่วงงานประเพณีในเดือนสิงหาเท่านั้นครับ”
เป็นคำตอบที่ได้ฟังแล้ว สมควรปรบมือให้ซัก 10 รอบ
วิถีอาข่า (2)
ที่บราซิลมีเต้น “แซมบ้า” อันเป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นที่นิยมมากที่สุด จนกลายเป็นอัตลักษณ์แห่งชาติของบราซิล ชาวอาข่าก็มี “กระทุ้งไม้ไผ่” มานำเสนอ
การละเล่นกระทุ้งไม่ไผ่ หรือ "บ่อฉ่องตูเออ" เป็นการเต้นเป็นวงกลมตามจังหวะของกลอง ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ อย่างพร้อมเพรียงกัน โดยมีผู้หญิง หรือกลุ่มแม่บ้าน กระทุ้งไม่ไผ่ไปด้วย การละเล่นนี้จะเล่นกันในช่วงเทศกาลประเพณีที่สำคัญในหมู่บ้าน เช่น ประเพณีโล้ชิงช้า ไล่ผี และเทศกาลต่างๆ บางงานมีเต้นกันทั้งคืนถึงเช้าก็มี จนบางทีหมอลำซิ่งในแถบภาคอีสานยังมีอาย
ชุดของชาวอาข่า เป็นอีกหนึ่งอย่างที่จัดได้ว่ามีความโดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำชาวบ้าน ทั้งในแง่ของความสวยงาม และการบ่งบอกถึงสัญลักษณ์ของชนเผ่า ขีดเส้นวงกลมถึงจุดโฟกัส ก็จะชี้ชัดไปที่ “หมวก” ของสตรี
หมวกสตรีของชาวอาข่า บ้านแม่จันใต้ เป็นการแต่งกายแบบ "ผาหมีอาข่า"
รูปทรงคล้ายหมวกเกราะของนักรบโบราณและประดับด้วย กระดุมเงิน เหรียญ (ในภาพด้านบนเป็นเหรียญเงินอินเดีย) ลูกปัด ไม่เว้นช่องว่าง ด้านข้างห้อยสายลูกปัดสีแดงร้อยยาวเกือบถึงเอว น้ำหนักหมวกจากการจับถือ ตกอยู่ราวๆ 4 กิโลกรัม
ตามธรรมเนียมปฏิบัติ เด็กอาข่าไม่ว่าจะหญิงหรือชายเกิดมา แม่หรือย่าของเด็กต้องทำหมวกให้เพื่อรับขวัญลูกหลาน จะพิเศษใส่ไข่ขึ้นมาหน่อยก็แบบของสตรีที่มีลวดลายมากขึ้น แต่ยังไม่ใช่เป็นแบบที่แม่ๆ สวมใส่ แบบนั้นต้องรอให้บรรลุนิติภาวะก่อนถึงจะมีได้
โดยปกติแล้วในสมัยก่อน หมวกจะต้องทำเอง เสื้อผ้าต้องทอเอง แม่จะเป็นคนสอน พอมีลูกสาวก็ต้องสอนทอผ้า ปักผ้า ทำหมวก เรื่องการสืบทอดหมวกต้องสืบทอดในตอนที่เจ้าของหมวกยังมีชีวิตอยู่ แต่ถ้าเสียชีวิตแล้ว ก็ต้องฝังไปกับเจ้าตัว การสืบทอดก็แล้วแต่ว่าใครจะให้ใคร
ส่วนเหรียญเงินประดับบนหมวกถูกนำมาใช้ประดับ เพราะความสวยงาม และเครื่องเงินบนหมวกเป็นการบ่งบอกว่าสามีเป็นคนขยันแค่ไหน (สมัยก่อนเครื่องเงินมีราคาสูง) ส่วนลวดลายบนเสื้อผ้าของฝ่ายชาย ก็บ่งบอกว่าภรรยาของเขาเอาใจใส่มากน้อยแค่ไหนกันครับ
ความพิเศษของหมวกไม่ได้มีอยู่แค่เรื่องของความสวยงามเท่านั้น มันยังมีเรื่องของราคา ชนิดที่ว่าไฮโซแถวบางกอกได้ยินแล้วคงมีสะดุ้ง
ราคาเกือบสองแสน! (ใบที่เห็นในภาพเลย)
เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมดของหมวกใบนั้น มันคือมรดกที่บรรพบุรุษมอบให้กันจากรุ่นสู่รุ่น
อันเป็นคุณค่า ที่แม้แต่เงินตราก็ประเมินไม่ได้
AKAZA กาแฟรสชาติจากใจ
AKAZA เป็นภาษาอาข่า ที่แปลว่า ชาวอาข่า และชื่อนี้ก็เป็นชื่อของแบรนด์กาแฟที่นี่กันครับ
กาแฟ บ้านแม่จันใต้ เป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่ทำเงินให้กับชาวบ้าน จากปี 2543 ที่ปลูกกันเล่นๆ จนต่อมาเริ่มจะเห็นว่ามันเข้าท่า 5 ปี ต่อมาเลยเริ่มปลูกกันอย่างจริงจัง จนถึงทุกวันนี้
กาแฟที่นี่มีความไม่ธรรมดา และไอ้ความไม่ธรรมดาของมันก็คือ รสชาติ ที่เปรียบไปแล้วก็เหมือนกันกับ “ดนตรีสด”
ดนตรีสด ที่บางโชว์ก็เล่นเอาใจแฟนคลับเดนตายอย่างสุดหวี่ยง ในขณะที่บางโชว์ ก็มีความนุ่มแบบละเมียดละไมมอบให้กับคู่รักหนุ่มสาว
รสเข้ม รสอ่อน มีระยะเวลาในการคั่วของมัน และบ้านแต่ละหลัง ก็จะมีกาแฟรสชาติที่ไม่ซ้ำกัน
คนที่รักใคร่ชอบพอกับการฟังเพลงจากแผ่นซีดี ที่ไม่ว่าจะเปิดในช่วงเวลาไหนก็ยังให้เสียงแบบเดิม อาจจะทักท้วงว่ามันคือ “ความไม่มีมาตรฐาน” แต่สำหรับคนที่อยากจะโอบกอดดนตรีสด และละทิ้งเครื่องเสียงที่บ้าน พวกเขาพร้อมจะยักไหล่ใส่แล้วก็บอกว่า นั่นมันคือเสน่ห์
เสน่ห์ของรสชาติกาแฟที่ออกมาจากใจ และใส่ใจคนดื่ม ว่าอยากจะได้อารมณ์ไหนในช่วงเวลานั้น
นอกจากกาแฟจะเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของที่นี่ “ชา”ก็ตีคู่กันมาในฐานะพืชเศรษฐกิจเช่นกัน
กระทะใบใหญ่เขื่อง ให้อารมณ์คล้ายกันกับ “ชามอ่างยักษ์” (แบบจำลอง) ของสนามเหย้าสโมสรบาร์เซโลน่า ภายใต้ก้นกระทะถูกสุมไฟในขนาดอุณหภูมิที่พอเหมาะในการคั่วใบชา หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้ชารสชาติออกมาดี ผมยิงคำถามใส่ ”อนุสรณ์” ว่าในระหว่างที่กำลังคั่ว ทำไมถึงต้องนวดใบชาไปด้วย
“ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับ รู้แต่ว่าถ้านวดไปด้วยในระหว่างที่กำลังคั่ว มันจะมีสารอะไรซักอย่างหลั่งออกมา ทำให้รสชาติของชาดีขึ้นกว่าเดิม”
เป็นคำตอบที่เหมือนจะไม่มีอะไร แต่ก็มีอะไรในนั้น
อนุสรณ์ ยังบอกต่อด้วยอีกว่า การนวดใบชามันเป็นเหมือนกับศิลปะสำหรับเขา ซึ่งจะว่าไปถ้าผมโยนกีตาร์ให้หมอนี้เล่น เขาก็คงชำเรามันบนเส้นสายในสำเนียงแธรชเมทัลอย่างเมามันส์