คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ต้องแยกประเก็นออกมาอย่างนี้ครับ
หากสถานที่ที่ถูกจับเป็นบริเวณภายในโรงแรมหรือรีสอร์ท ไม่ใช้ห้องพัก บริเวณภายในโรงแรมไม่ถือว่าเป็นที่รโหฐาน แต่เป็นที่สาธารณสถานที่ประชาชนทั่วไปมีสิทธิเข้าไปใช้บริการได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจย่อมมีสิทธิเข้าไปในบริเวณโรงแรมหรือรีสอร์ทได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นหรือหมายจับครับ
เพียงแต่ว่าตํารวจต้องมีเหตุที่ควรสงสัยได้ว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93
สอง ในห้องพักของผู้เข้ามาพัก เป็นที่รโหฐานที่ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิเข้าไปได้ การจับหรือค้นจึงต้องมีหมายค้นที่ออกโดยศาลเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92 เว้นแต่มีเหตุยกเว้นดังนี้
(1) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียงหรือพฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐานนั้น
(2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน
(3) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น
(4) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดหรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทำความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน
(5) เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78
ดังนั้นตามสอง หากไม่มีเหตุตาม 1 – 5 เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจจับใครได้นะครับ
การเข้าไปจับย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีผลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจอาจมีความผิดฐานบุกรุกได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 หรือ มาตรา 364 หรือมาตรา 365/ทนายอภิสิทธิ์
หากสถานที่ที่ถูกจับเป็นบริเวณภายในโรงแรมหรือรีสอร์ท ไม่ใช้ห้องพัก บริเวณภายในโรงแรมไม่ถือว่าเป็นที่รโหฐาน แต่เป็นที่สาธารณสถานที่ประชาชนทั่วไปมีสิทธิเข้าไปใช้บริการได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจย่อมมีสิทธิเข้าไปในบริเวณโรงแรมหรือรีสอร์ทได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นหรือหมายจับครับ
เพียงแต่ว่าตํารวจต้องมีเหตุที่ควรสงสัยได้ว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93
สอง ในห้องพักของผู้เข้ามาพัก เป็นที่รโหฐานที่ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิเข้าไปได้ การจับหรือค้นจึงต้องมีหมายค้นที่ออกโดยศาลเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92 เว้นแต่มีเหตุยกเว้นดังนี้
(1) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียงหรือพฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐานนั้น
(2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน
(3) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น
(4) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดหรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทำความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน
(5) เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78
ดังนั้นตามสอง หากไม่มีเหตุตาม 1 – 5 เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจจับใครได้นะครับ
การเข้าไปจับย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีผลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจอาจมีความผิดฐานบุกรุกได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 หรือ มาตรา 364 หรือมาตรา 365/ทนายอภิสิทธิ์
แสดงความคิดเห็น
การเข้าตรวจค้นผู้ต้องสงสัยในโรงแรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องใช้หมายค้นหรือไม่