ยานอวกาศที่บินเร็วมากๆ จะไม่มีปัญหาเรื่อง สะเก็ดดาวหรือครับ

ผมเห็นแต่การคิดที่จะสร้างยานอวกาศที่เร็วที่สุด แต่ทำไมนักวิทยาศาสตร์ ไม่กังวลเรื่องสะเก็ดดาวเลยครับ เพราะยิ่งเร็วมากแรงกระทบยิ่งสูงมาก โอกาสที่ยานอวกาศจะเสียหายเพราะเจอสะเก็ดดาวก็ยิ่งสูงไปด้วยครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ตามที่คุณ zodiac28 กล่าวใว้ครับ

อวกาศนั้นมีพื้นที่กว้างขวาง  ยานสำรวจอวกาศมีขนาดเล็กนิดเดียว  โอกาสชนแทบเป็นศูนย์เลยครับ
แม้แต่บริเวณแถบดาวเคราะห์น้อย (Asteriod belt) ที่มีสะเก็ดดาวเคราะห์น้อยหนาแน่น
ระยะห่างระหว่างสะเก็ดดาวเหล่านั้นยังห่างเฉลี่ย 50,000 - 80,000 กิโลเมตร

ระบบป้องกันของยานสำรวจอวกาศ นั้น  ไม่มีเลยครับ  
หากเกิด jackpot จริง ๆ (ซึ่งน้อยมากกกก) ถูกสะเก็ดหินวิ่งชนก็เสียหายอย่างไม่มีทางเลือก
ซึ่งในยามปกติแล้ว ยานสำรวจอาจถูกพวกอุกกาบาตขนาดจิ๋วเท่าเม็ดทราย (Micrometeorites)
วิ่งชนอยู่บ้าง  ซึ่งโครงสร้างของยานสำรวจเหล่านี้ ก็พอที่จะทนทาน micrometeorites ได้
เพราะยานสำรวจทุกลำจะมีการ shield ด้วยแผ่นปกป้องที่ชื่อว่า Kapton - silver film (Polyimide film)
Multi-layer insulation (MLI) เพื่อป้องกันรังสีและการรบกวนอื่น ๆ และตัว Kapton และ MLI นี่เอง
ที่เป็นตัวต้านแรงเฉี่ยวชนเล็ก ๆ น้อย ๆ จากพวก micrometeorites นี้ได้
โดยมันจะทำงานเหมือน "เสื้อเกราะ" ทีเดียว  หากมี micrometeorites มาชน
ก็จะผ่อนแรงได้มากโดยไม่ทะลุเข้าไปถึงเนื้อเหล็กด้านในครับ

ภาพการเตรียมห่อ shield ชั้นของ Kapton - silver film  และ Multi-layer insulation (MLI)


อีกอย่างคือการออกแบบโครงสร้างของยานสำรวจโดยมี Whipple shield
ซึ่งก็คือการออกแบบแผ่นเหล็กซ้อนกันกับแผ่นสังเคราะห์รับแรงกระแทก
โดยสามารถรับมือกับ micrometeorites ที่มีความเร็วสูงถึง 5 - 15 กม./วินาทีได้ครับ

ภาพของ Whipple shield
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่